1,064 55 60MB
Thai Pages 376 [365] Year 2011
สถิติ วิE ศวกรรม S NGINEERING
TATISTICS
ผศ. ดร. นิลวรรณ ชุมฤทธิ์
สถิติวิศวกรรม (Engineering Statistics) โดย ผศ. ดร. นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์ สงวนลิขสิทธิ์ในประเทศไทยตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 โดย ดร. นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์ ห้ามคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำ�ซ้�ำ จัดพิมพ์ หรือกระทำ�อื่นใด โดยวิธีการใดๆ ในรูปแบบใดๆ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ เพื่อเผยแพร่ในสื่อทุกประเภท หรือเพื่อวัตถุประสงค์ ใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาต
ขอมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหงชาติ นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ.์ สถิตวิ ศิ วกรรม (Engineering Statistics). --กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน่ , 2556. 1. วิศวกรรม -- ระเบียบทางสถิต.ิ 2. คณิตศาสตร์สถิต.ิ 3. ความน่าจะเป็น. I. ชือ่ เรือ่ ง. 519.5
ISBN(e-book) : 978-616-08-1003-1 ผลิตและจัดจำ�หนายโดย อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท 0-2739-8000 [หากมีคำ�แนะนำ�หรือติชม สามารถติดตอไดที่ [email protected]]
คํานํา หนังสือ “สถิตวิ ศิ วกรรม (Engineering Statistics)” เลมนี้ เปนการประยุกตหลักทาง สถิตใิ นการวิเคราะหงานทีเ่ กีย่ วเนือ่ งทางดานวิศวกรรมหลากหลายสาขา ไมวา จะเปนทางดาน เคมี ไฟฟา เครื่องกล โยธา หรืออุตสาหการ เพื่อทําการตัดสินใจภายใตความไมแนนอนของ สถานการณ เนือ้ หาในหนังสือเลมนีป้ ระกอบดวย 11 บทเรียนทีป่ พู นื้ ฐานตัง้ แตสถิตเิ ชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ทีใ่ ชในการนําเสนอหรือวิเคราะหขอ มูลเบือ้ งตน จนถึงสถิตเิ ชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ที่ใชขอมูลจากกลุมตัวอยางไปสูกระบวนการตัดสินใจในการแกปญหา เนือ้ หาและตัวอยางภายในเลม พัฒนามาจากเอกสารประกอบการสอนวิชาสถิตวิ ศิ วกรรม ซึง่ มีการปรับปรุงและเรียบเรียงมาจากหนังสือหรือตําราตาง ๆ ทางสถิติ โดยมุง เนนทีก่ ารนําสถิติ ไปประยุกตกบั งานทางวิศวกรรมหรืองานทางวิทยาศาสตร จุดประสงคเพือ่ ใหผเู รียนเกิดความ รูความเขาใจในหลักวิชาการ และทราบถึงแนวทางการนําไปใชกับการแกปญหาจริงไดตอไป ผูเ ขียนขอขอบพระคุณทุกแหลงขอมูลทีม่ สี ว นเกือ้ หนุนใหเกิดฐานความรูท างสถิตทิ เี่ ปน ประโยชนตอ ภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม และหวังวาหนังสือเลมนีจ้ ะมีสว นชวยตอยอด ทางความคิดใหกับนิสิต นักศึกษา วิศวกร และผูสนใจในหลักการสถิติประยุกต
ผศ. ดร. นิลวรรณ ชุมฤทธิ์
สารบัญ
สารบัญ
บทที่ 1 สถิติ ......................................................................... 9 1. ประเภทของสถิติ ..............................................................................................11 2. ระเบียบวิธีการทางสถิติ ....................................................................................12 3. การนําเสนอขอมูล ............................................................................................16 4. การคํานวณคาของขอมูลทางสถิติ .....................................................................28 แบบฝกหัด............................................................................................................32
บทที่ 2 ความนาจะเปน .........................................................35 1. แซมเปลสเปซและเหตุการณ (Sample Space and Event) ..............................35 2. การนับจํานวนครั้งของเหตุการณ ......................................................................36 3. ทฤษฎีของความนาจะเปน ................................................................................42 4. ความนาจะเปนแบบมีเงื่อนไขและเหตุการณอิสระ ...............................................47 5. ทฤษฎีของเบย .................................................................................................54 แบบฝกหัด............................................................................................................60
5
6
สถิติวิศวกรรม
บทที่ 3 ตัวแปรสุม .................................................................65 1. ตัวแปรสุม ........................................................................................................66 2. ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน (Probability Density Function – pdf) .........68 3. ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนแบบสะสม (Cumulative Distribution Function – cdf) ........................................................74 4. การแจกแจงความนาจะเปนรวมกัน (Joint Probability Distribution) ..................78 5. การแจกแจงมารจินัล (Marginal Distribution) ...................................................84 6. การแจกแจงแบบมีเงื่อนไข (Conditional Distribution) .......................................88 7. ตัวแปรสุมเปนอิสระตอกัน (Statistical Independence) .....................................93 แบบฝกหัด............................................................................................................96
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม .....101 1. คาคาดหมาย (Expected Values) ...................................................................102 2. กฎของคาคาดหมาย.......................................................................................106 3. คาความแปรปรวน (Variance)........................................................................113 4. คาความแปรปรวนรวม (Covariance) .............................................................115 5. กฎของความแปรปรวน ..................................................................................118 6. โมเมนต (Moment) ของตัวแปรสุม..................................................................121 แบบฝกหัด..........................................................................................................124
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง ..........127 1. การแจกแจงยูนิฟอรม (Discrete Uniform Distribution) ...................................127 2. การแจกแจงแบรนูลลี (Bernoulli Distribution) .................................................129 3. การแจกแจงทวินาม (Binomial Distribution) ...................................................130 4. การแจกแจงเรขาคณิต (Geometric Distribution) ............................................135 5. การแจกแจงทวินามลบ (Negative Binomial Distribution) ...............................138
สารบัญ
7
6. การแจกแจงพหุนาม (Multinomial Distribution) ..............................................142 7. การแจกแจงไฮเพอรจีออเมตริก (Hypergeometric Distribution) ......................144 8. การแจกแจงปวสซอง (Poisson Distribution) ..................................................148 แบบฝกหัด..........................................................................................................156
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง .............161 1. การแจกแจงยูนิฟอรม (Continuous Uniform Distribution) ..............................161 2. การแจกแจงปกติ (Normal Distribution) .........................................................164 3. การแจกแจงเอกซโปเนนเชียล (Exponential Distribution)................................176 4. การแจกแจงแกมมา (Gamma Distribution) ....................................................186 5. การแจกแจงไวบูลล (Weibull Distribution) ......................................................190 6. การแจกแจงเออรแลง (Erlang Distribution) ....................................................193 แบบฝกหัด..........................................................................................................196
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง ...........................201 1. การแจกแจงแบบไค–สแควร (Chi – Squared Distribution) .............................205 2. การแจกแจงแบบ t (t – Distribution) ..............................................................207 3. การแจกแจงแบบ F (F – Distribution) ............................................................210 4. การแจกแจงของการสุมตัวอยาง (Sampling Distributions) ..............................214 แบบฝกหัด..........................................................................................................230
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา ............................................233 1. การประมาณคาแบบจุด (Point Estimation) ....................................................234 2. การประมาณคาแบบชวง (Interval Estimation)................................................236 3. การหาขนาดตัวอยาง (Sample Size)..............................................................250 แบบฝกหัด..........................................................................................................253
8
สถิติวิศวกรรม
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน............................................257 1. สมมติฐานสถิติ (Statistical Hypothesis) .........................................................257 2. ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอร ................................................260 3. คา P – Value.................................................................................................276 4. ประเภทของความผิดพลาดที่พบจากการทดสอบสมมติฐาน (Types of Error) ..277 5. ความสัมพันธระหวางการทดสอบสมมติฐานและการประมาณคาพารามิเตอร ....282 แบบฝกหัด..........................................................................................................285
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน ...............................289 1. Completely Randomized Design หรือ CRD.................................................292 2. เงื่อนไขของการวิเคราะหความแปรปรวน (Model Checking)...........................305 3. Completely Randomized Block Design หรือ CRBD ....................................308 แบบฝกหัด..........................................................................................................315
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหพันธ ...........................319 1. การถดถอยเชิงเสนอยางงาย (Simple Linear Regression) .............................319 2. การทดสอบความเหมาะสมของ Model............................................................335 3. สหสัมพันธเชิงเสน (Linear Correlation) .........................................................338 แบบฝกหัด..........................................................................................................341
ภาคผนวก ...........................................................................347 บรรณานุกรม ......................................................................369
1
บทนํา
การแกปญ หาเพือ่ หาคําตอบหรือตองทําการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดนัน้ การวิเคราะหสถิติ จัดเปนเครือ่ งมือพืน้ ฐานสําคัญทีจ่ ะใหผลลัพธหรือขอมูลเชิงตัวเลขทีน่ าํ ไปแปรความหมายเพือ่ ประกอบ การตัดสินใจไดอยางถูกตองและแมนยํามากยิ่งขึ้น ยกตัวอยางเชน ฝายตรวจสอบคุณภาพนํ้า ตองการทราบวาปริมาณของอนุภาคแขวนลอยในนํา้ อยูภ ายใตระดับมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม ในทางปฏิบตั ิ คงเปนไปไดยากทีจ่ ะสูบนํา้ จากแหลงนํา้ ทัง้ หมดมาตรวจสอบ เนือ่ งจากอาจมีขอ จํากัด ในการเก็บขอมูล ไมวาจะเปนเรื่องของเวลา ทรัพยากรดานบุคคล เครื่องมืออุปกรณ งบประมาณ หรือวิธีการเก็บขอมูล เพื่อจะทราบคําตอบที่ตองการภายใตขอจํากัดเหลานั้น ตัวอยางของนํ้าบาง สวนจะถูกสุมมาตรวจและวิเคราะหหาปริมาณอนุภาคแขวนลอย ขอมูลที่ไดจะเปนเสมือนตัวแทน ของขอมูลจากแหลงนํ้าทั้งหมด แลวใชหลักสถิติมาชวยวิเคราะหและประมวลผล คําตอบที่ไดรับ จากตัวอยางนํ้าจะถูกตีความหมายและอนุมานไปสูคําตอบที่ชวยในการตัดสินใจไดวา นํ้าในแหลง นํ้าทั้งหมดมีปริมาณอนุภาคแขวนลอยในระดับที่ปลอดภัยหรือไม หลักการทางสถิติจัดเปนองคประกอบสําคัญองคประกอบหนึ่งของการคนหาคําตอบของ ปญหาหรือการปรับปรุงงานทางวิศวกรรม เริ่มตนดวยวิศวกรจําเปนตองเรียนรูที่จะเจาะลึกลงไป ในขอมูลทีร่ วบรวมมาวากําลังสือ่ ความหมายถึงอะไร ตามดวยความเขาใจพืน้ ฐานในเรือ่ งของความ แปรปรวน (Variability) สหสัมพันธ (Correlation) ความไมแนนอน (Uncertainty) และความเสี่ยง ที่จะเจอกับเหตุการณที่ไมแนนอนตางๆ (Risk in the Face of Uncertainty) ซึ่งแฝงมากับขอมูลที่ รวบรวมมา เพือ่ ใหเกิดความเขาใจถึงการนําหลักการสถิตมิ าใชกบั ปญหางานวิศวกรรม ขอยกตัวอยาง ของกระบวนการผลิตโพลีเมอรชนิดใหมทขี่ ยายผลจากการทดลองในหองปฏิบตั กิ ารมาสูข นาดของ การผลิตในโรงงานจริง ในแตละขั้นตอนจะพบวามีการใชเครื่องมือทางสถิติเขามาชวย
10
สถิติวิศวกรรม
ผลผลิตจากระดับหองปฏิบัติการ ทดลองผลิตในโรงงานตนแบบ (การออกแบบการทดลอง) สรางตัวแบบของกระบวนการผลิต (การวิเคราะหสมการความสัมพันธ) การหนดปจจัยที่สําคัญ (การทดสอบสมมติฐาน) การระบุคาความเหมาะสมของกระบวนการ (การแสดงผลตอบสนองโครงรางพื้นผิว) การควบคุมติดตามผล (แผนภูมิควบคุม)
รูปที่ 1.1 บทบาทของหลักสถิติในตัวอยางงานทางวิศวกรรม ที่มา : Vining and Kowalski. 2006.
จากรูปที่ 1.1 หลังจากโพลีเมอรชนิดใหมถกู คนพบและผานการทดสอบในหองปฏิบตั กิ ารแลว ขั้นตอนตอไป จะนําไปสูการทดลองผลิตเต็มรูปแบบในโรงงานตนแบบ (Pilot Plant) ซึ่งวิศวกร จะตองกําหนดเงื่อนไขของการผลิต เชน อุณหภูมิ แรงดัน อัตราการไหล หรือปจจัยอื่นที่มีผลตอ คุณภาพที่ดีของโพลีเมอร นักเคมีในหองทดลองปฏิบัติการอาจใหแนวคิดการผลิตอยางหยาบๆ ในขณะทีว่ ศิ วกรจะนําแนวคิดมาขยายผลและทดลองกําหนดคาปจจัยการผลิตตางๆ โดยประยุกตใช หลักการออกแบบการทดลอง (Design of Experiment – DOE) การกําหนดวาปจจัยตางๆ นัน้ สงผล ตอคุณสมบัตทิ างกายภาพทีด่ ขี องโพลีเมอรไดอยางไรนัน้ อาจกําหนดอยูใ นรูปของสมการความสัมพันธ ซึ่งประยุกตใชหลักการวิเคราะหการถดถอย (Regression Analysis) วิศวกรอาจตองตรวจสอบดู วาปจจัยใดบางที่มีความสําคัญตอคาวัดทางกายภาพของโพลีเมอร โดยใชการทดสอบสมมติฐาน
บทที่ 1 บทนํา
11
(Hypothesis Testing) รวมทั้งระบุคาที่เหมาะสมของปจจัยเหลานั้น (Process Optimization) ดวย วิธีการแสดงผลตอบสนองแบบโครงรางพื้นผิว (Response Surface Methodology) และเมื่อได เงือ่ นไขการผลิตทีเ่ หมาะสมครบถวนแลว วิศวกรอาจติดตามและวัดคาทางกายภาพทีไ่ ดจากการผลิต เพื่อใหแนใจวาตรงตามที่กําหนดไวจริงหรือไม ดวยการใชแผนภูมิควบคุม (Control Chart) จะเห็นไดวาปญหางานวิศวกรรมขางตน มีการประยุกตใชหลักสถิติมากกวาหนึ่งหลักการ ในการวิเคราะหหาผลลัพธและควบคุมติดตามผล อาจกลาวไดวา สถิติวิศวกรรม (Engineering Statistics) เปนหลักการประยุกตทางคณิตศาสตรและวิทยาศาสตร เพื่อชวยในการตัดสินใจแก ปญหางานวิศวกรรมตางๆ ที่อยูภายใตความไมแนนอนและมีขอจํากัดทางดานทรัพยากร เพื่อให เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนือ้ หาในบทเรียนนี้ จะกลาวถึงประเภทของสถิติ ระเบียบวิธกี ารทางสถิติ การนําเสนอขอมูล และการคํานวณคาของขอมูลทางสถิติ เพื่อใหเกิดความรูความเขาใจในหลักการพื้นฐานทางสถิติ
1. ประเภทของสถิติ หากพิจารณาตามจุดประสงคของการนําสถิติไปใชในการตัดสินใจ สามารถแบงสถิติออก เปน 2 ประเภท ดังนี้
1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เปนสถิติที่ใชในการบรรยายลักษณะ
ของขอมูลที่รวบรวมมาจากประชากรหรือกลุมตัวอยาง ผานการนําเสนอขอมูลดวยกราฟและ แผนภาพตางๆ เพื่อใหเห็นภาพการแจกแจงของขอมูล จากนั้นสรุปและตีความหมายของขอมูล ในกลุมที่ศึกษาเทานั้น นอกจากการนําเสนอขอมูลแลว สถิติเชิงพรรณนายังรวมถึงการวิเคราะห กลุมขอมูลที่ศึกษาเพื่อหาความถี่ เปอรเซ็นต เปอรเซ็นไทล การวัดแนวโนมเขาสูสวนกลาง (เชน คาเฉลีย่ มัธยฐาน) การวัดการกระจาย (เชน สวนเบีย่ งเบนมาตรฐาน) หรือการวัดการแจกแจง (เชน ความเบ ความโดง)
2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เปนสถิติที่ใชขอมูลของกลุมตัวอยางมา
วิเคราะหเพื่อคาดคะเนและสรุปคําตอบ กอนที่จะนําไปสูการตัดสินใจเกี่ยวกับประชากรที่ศึกษา เปนสถิตทิ มี่ จี ดุ ประสงคเพือ่ การวินจิ ฉัยกลุม ตัวอยางเพือ่ คนหาขอสรุปเกีย่ วกับประชากร หลักการ ของสถิติเชิงอนุมานจะศึกษาในเรื่องทฤษฎีความนาจะเปน การสุมตัวอยาง การประมาณคาของ ประชากร และการทดสอบสมมติฐาน
12
สถิติวิศวกรรม
3L 3H 4L 4H 5L 5H 6L 6H 7L 7H 8L 8H 9L 9H
ตัวอยาง x1, x2, …, xn
0 3 9 9 2 0 5 0 5 0 5 2 6 3
2 5 0 2 2 5
2 6 0 2 2 9
3 6 0 6 2
3 7 1 7
4 7 7 7 8 9 9 1 2 3 4 7 7 7 8
9 9
(ก) สถิติเชิงพรรณนา ขอสรุป คําตอบ
ตัวอยาง x1, x2, …, xn
ประชากร X1, X2, …,XN
(ข) สถิติเชิงอนุมาน
รูปที่ 1.2 ประเภทของสถิติ
2. ระเบียบวิธีการทางสถิติ
ระเบียบวิธกี ารทางสถิตเิ ปนกระบวนการทางสถิตทิ ใี่ ชในการคนหาคําตอบของสิง่ ทีต่ อ งการ ศึกษา โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนสําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
บทที่ 1 บทนํา
13
2.1 การนิยามประชากร 1. ประชากร (Population) หมายถึง กลุมของสิ่งตางๆ ที่เราสนใจศึกษา เชน กลุม
ของเครื่องจักร กลุมของวิศวกรโรงงาน กลุมของสินคาที่ผลิต เปนตน หรือขอบเขตของขอมูลที่ กําลังศึกษา เชน เครื่องจักรในแผนกที่ 1 วิศวกรโรงงานของแผนกผลิต สินคาที่ผลิตในไตรมาสที่ 3 เปนตน
2. ตัวอยาง (Sample) หมายถึง ประชากรจํานวนหนึ่งที่ไดถูกเลือกออกมาเปนตัวแทน
ของประชากรทั้งหมดที่เราสนใจศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากมีขอจํากัดดานเวลา งบประมาณ ทรัพยากร หรือดวยเหตุผลอื่นๆ ที่ทําใหไมสามารถเก็บรวบรวมขอมูลจากประชากรทั้งหมดได ตัวอยาง X1, X2, …, Xn X1, X2, …, XN ประชากร
รูปที่ 1.3 ประชากรและตัวอยาง
คาที่บอกสภาพ ลักษณะ และคุณสมบัติของประชากร เรียกวา พารามิเตอร (Parameter) สวนคาที่บอกสภาพ ลักษณะ และคุณสมบัติของตัวอยาง เรียกวา คาสถิติ (Statistic) ตัวอยาง ของพารามิเตอรและคาสถิติที่พบบอย แสดงในตารางที่ 1.1 ตารางที่ 1.1 พารามิเตอรและตัวสถิติของลักษณะสมบัติตางๆ ลักษณะสมบัติ คาเฉลี่ย ความแปรปรวน คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัดสวน
ของประชากร (พารามิเตอร) µ σ2 σ
p
ของตัวอยาง (คาสถิติ) x S2 S p^
14
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางเชน การวัดกําลังผลิตของโรงไฟฟาในประเทศ สมมติวามีโรงไฟฟาทั่วประเทศ
จํานวน 200 แหง (ประชากร) สุมตัวอยางโรงไฟฟามาศึกษาจํานวน 5 แหง (ตัวอยาง) ถาวัด คากําลังผลิตของโรงไฟฟา จะได x1, x2, …, x200 ของประชากร และขอมูล x1, x2, …, x5 ของกลุมตัวอยาง เมื่อนําขอมูลมาหาคาเฉลี่ย จะไดคากําลังผลิตเฉลี่ยเปน พารามิเตอร x + x2 + … + x200 µ = 1 200 และคากําลังผลิตเฉลี่ยเปน คาสถิติ x +x +x +x +x x = 1 2 53 4 5
2.2 การรวบรวมขอมูล ขอมูล (Data) หมายถึง สิ่งที่รวบรวมไว ซึ่งขอเท็จจริง (Fact) แบงตามลักษณะของขอมูล เปนขอมูลจากการนับ (Discrete Data) และขอมูลจากการวัด (Continuous Data) การรวบรวม ขอมูลทําไดโดยรวบรวมจากประชากรทั้งหมด (100%) หรือสุมจากกลุมตัวอยางดวยวิธีการสุม ตัวอยาง (Sampling) ที่นิยมใชมีดังนี้
1. การสุมตัวอยางแบบธรรมดา (Simple Random Sampling) คือ การเลือก
ตัวอยางโดยไมเจาะจงจากประชากรทั้งหมด วิธีนี้จะคอนขางงาย แตไมเหมาะกับกรณีที่มีการสุม ตัวอยางจํานวนมากและมีเวลาไมมากนัก ใชเลขสุม (Random Number) จากตารางเลขสุมหรือ จากโปรแกรมทางสถิติเปนเครื่องมือในการสุมตัวอยาง
2. การสุมตัวอยางแบบแบงเปนพวก (Stratified Random Sampling) เปนการ
สุมตัวอยางโดยการแบงประชากรออกเปนพวกตามลักษณะของประชากร เชน เพศ คณะ สี เปนตน แลวสุม ตัวอยางแบบธรรมดาจากแตละพวก วิธนี จี้ ะทําใหไดตวั อยางซึง่ เปนเสมือนตัวแทน จากทุกพวก 3. การสุมตัวอยางแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เปนการสุม ตัวอยางโดยการแบงประชากรจํานวน N ออกเปน n กลุม กลุมละ k (k = N/n) การสุมตัวอยาง จะสุมจากทุกๆ กลุม โดยจะกําหนดวาจะสุมตัวอยางที่เทาใดในแตละกลุม เชน จํานวนประชากร N = 15 แบงเปน 3 กลุม กลุมละ 5 กําหนดสุมตัวอยางที่ 2 ดังนั้น ในแตละกลุมจะเลือกตัวอยาง ที่ 2 และจะไดจํานวนตัวอยางรวมทั้งสิ้น 3 ตัวอยาง วิธีนี้จะเปนการสุมตัวอยางที่กระจายไปทั่ว ทั้งประชากรอยางมีระบบ
บทที่ 1 บทนํา
ประชากร
ตัวอยาง
(ก) แบบธรรมดา ประชากร
ตัวอยาง
(ข) แบบแบงเปนพวก
ประชากร
ตัวอยาง
N = 15 n = 3, k = 5 (ค) แบบมีระบบ ประชากร
ตัวอยาง
(ง) แบบแบงเปนกลุม
รูปที่ 1.4 การสุมตัวอยางแบบตางๆ ที่มา : กิติศักดิ์. 2543.
15
16
สถิติวิศวกรรม
4. การสุม ตัวอยางแบบแบงเปนกลุม (Cluster Random Sampling) เริม่ ดวยการ
แบงประชากรออกเปนกลุม แตละกลุมมีลักษณะคลายกับประชากร แลวเลือกเพียงบางกลุมเปน ตัวอยาง โดยอาจใชตัวอยางทั้งหมดในกลุมนั้น หรือสุมเลือกเพียงบางสวนในกลุมมาเปนตัวอยาง
2.3 การนําเสนอขอมูลและการวิเคราะหขอมูล
หลังจากการรวบรวมขอมูลแลว จะตองนําเสนอขอมูลเพื่อใหงายตอการทําความเขาใจ ในลักษณะของขอมูล รวมถึงการวิเคราะหขอมูลเพื่อการตัดสินใจ รูปแบบของการนําเสนอมี หลากหลาย เชน กราฟ แผนภูมิ แผนภาพ ซึ่งจะกลาวถึงในรายละเอียดตอไป สวนการวิเคราะห ขอมูลนั้นจะตองเปนไปเพื่อบรรลุตามจุดประสงคของการวิเคราะหเปนสําคัญ โดยอาศัยเทคนิค การวิเคราะหทางสถิติทั้งเชิงพรรณนา (เชน การนําเสนอขอมูล และการคํานวณคาของขอมูล) และเชิงอนุมาน (เชน การประมาณคา และการทดสอบสมมติฐาน) มาประกอบกัน
2.4 การแปลความหมาย
การแปลความหมายจะตองอาศัยวิธีคิดเชิงสถิติในการพิจารณาถึงผลลัพธที่เกิดจากความ ผันแปรในขอมูลวามาจากสาเหตุอะไร ผูว เิ คราะหขอ มูลตองสามารถแปลผลจากขอมูลเชิงตัวเลขที่ เปนภาษาคณิตศาสตรใหเปนความหมายที่เขาใจทางวิศวกรรมศาสตร เพื่อนําผลที่ไดไปใชตอไป เชน คาประสิทธิภาพการเผาไหมเทากับ 77.5% อาจแปลความหมายไดวา อยูในระดับปาน กลาง ควรหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพใหสูงขึ้น หรือลดเปอรเซ็นตสูญเสีย 22.5% ใหนอยลง
2.5 การนําผลทางสถิติไปใช
การนําผลทางสถิตไิ ปใชเปนการนําผลจากการแปลความหมายไปใชในการแกปญ หา ทัง้ นี้ ควรจะตองมีการติดตามผลเพือ่ ตรวจสอบวาตรงกับทีว่ นิ จิ ฉัยหรือไม ถาไมตรงกัน ก็ใหทาํ การยอน กลับไปวิเคราะหหาความผิดพลาดเพื่อปรับแกไข
3. การนําเสนอขอมูล ในสถิติเชิงพรรณนา การนําเสนอขอมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อหาผลสรุปหรือแสดงลักษณะ ของขอมูลในรูปกราฟหรือตารางนั้นมีวิธีการนําเสนอไดหลายวิธี ในที่นี้จะยกตัวอยางการนําเสนอ 5 วิธีคือ
บทที่ 1 บทนํา
1. 2. 3. 4. 5.
17
กราฟแบบจุด (Dot Diagram) แผนภาพการกระจาย (Scatter Plot) ตารางแจกแจงความถี่และฮิสโตแกรม (Frequency Distribution and Histogram) แผนภาพลําตนและใบไม (Stem – and – Leaf Plot) กราฟแบบสี่เหลี่ยม (Box Plot)
3.1 กราฟแบบจุด (Dot Diagram)
กราฟแบบจุดเหมาะกับขอมูลของตัวแปรเดียวที่มีลักษณะตอเนื่อง (Continuous Data) และมีจาํ นวนของขอมูลนอย (จํานวนนอยกวา 30) เปนการนําเสนอขอมูลทีง่ า ย สะทอนใหเห็นการ กระจายหรือการกระจุกตัว และชวงหาง (Gaps) ของขอมูล
ตัวอยางที่ 1.1 คามอดูลัสของรอยแตกในไม Swedish Redwood และไม Whitewood เปน
ขอมูลที่แสดงถึงความแข็งแรงของไม (Timber Strength) (หนวย : N/mm2) จํานวน 15 คา จงสรางกราฟแบบจุดจากขอมูลชุดดังกลาว 29.11 40.53
29.93 41.64
32.02 45.54
32.40 48.37
33.06 48.78
34.12 50.98
35.58 65.35
วิธีทํา 25 30
35 40 45 50 55 60 คามอดูลัสของรอยแตกในไม (N/mm2)
65
รูปที่ 1.5 กราฟแบบจุดแสดงความแข็งแรงของไม ที่มา : Kottegoda and Rosso. 1997.
70
39.34
18
สถิติวิศวกรรม
3.2 แผนภาพการกระจาย (Scatter Plot)
70 60 50 40 30 20 10 0
80 60 แรงดึง
แรงดึง
แผนภาพการกระจายเปนลักษณะกราฟแบบจุดที่แสดงความสัมพันธของขอมูลระหวาง ตัวแปร 2 หรือ 3 ตัวแปร แสดงถึงแนวโนม (Trend) ของความสัมพันธระหวางตัวแปร จะแตกตาง จากกราฟแบบจุดตรงทีจ่ าํ นวนของขอมูลไมมผี ลตอการใชแผนภาพนีน้ าํ เสนอขอมูล สามารถใชได ทั้งขอมูลที่มีจํานวนนอยหรือมากได
40 20 0
0
10 ความยาวของลวด
20
0
4 8 ความยาวของล12 วด
16
600 500 400 300 200 มพิมพ แ 100 อง 20 0 สูงข ม า คว
รูปที่ 1.6 แผนภาพการกระจายแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ที่มา : Hines. 2003.
3.3 ตารางแจกแจงความถี่และฮิสโตแกรม (Frequency Distribution and Histogram) การสรางตารางแจกแจงความถี่ เปนการแบงขอมูลออกเปนกลุมๆ เพือ่ ศึกษาดูความถีข่ อง แตละกลุมขอมูล สําหรับจํานวนกลุมของขอมูลจะเทากับจํานวนชั้น (Classes) ซึ่งสามารถหาได จากหลายวิธี เชน เมื่อ หรือ หรือ เมื่อ
จํานวนชั้น = n n คือ จํานวนของขอมูล จํานวนชั้น = 1 + 3.3 log n 1/3 จํานวนชั้น = 2(Qrn – Q ) 3 1 r คือ คาพิสัย (Range) Q คือ คาควอไทล (Quartile)
บทที่ 1 บทนํา
19
หรือจํานวนชั้นสามารถกําหนดตามตารางที่ 1.2 ตารางที่ 1.2 จํานวนชั้นที่แนะนําในการสรางตารางแจกแจงความถี่ จํานวนขอมูล ตํ่ากวา 50 50 – 100 101 – 150 > 150
จํานวนชั้น 5–7 6 – 10 7 – 12 10 – 20
โดยแตละชั้นจะมีความกวางของชั้นหรืออันตรภาคชั้น เทากับ (Xmax – Xmin) ÷ จํานวนชั้น ตารางแจกแจงความถีม่ กั จะถูกใชในการสํารวจความถีข่ องขอมูลกอนทีจ่ ะใชสรางฮิสโตแกรม ตอไป อยางไรก็ตาม ถาจํานวนขอมูลมีนอยกวา 25 คา ก็ไมเหมาะที่จะใชวิธีการนําเสนอดวย ฮิสโตแกรม
ตัวอยางที่ 1.2 คามอดูลัสของรอยแตกในไม Swedish Redwood และไม Whitewood แสดง
ถึงคาความแข็งแรงของไม (หนวย : N/mm2) จํานวน 165 คา จงสรางตารางแจกแจงความถี่และ ฮิสโตแกรม 0.00 17.98 22.67 22.74 22.75 23.14 23.16 23.19 24.09 24.25 24.84 25.39 25.98 26.63 27.31 27.90 27.93
28.00 28.13 28.46 28.69 28.71 28.76 28.83 28.97 28.98 29.11 29.90 29.93 30.02 30.05 30.33 30.53 31.33
31.60 34.44 32.02 34.49 32.03 34.56 32.40 34.63 32.48 35.03 32.68 35.17 32.76 35.30 33.06 Q 1 35.43 33.14 35.58 33.18 35.67 33.19 35.88 33.47 35.89 33.61 36.00 33.71 36.38 33.92 36.47 34.12 36.53 34.40 36.81
36.84 39.21 36.85 39.33 36.88 39.34 36.92 39.60 37.51 39.62 37.65 39.77 37.69 39.93 37.78 39.97 38.00 40.20 38.05 40.27 38.16 40.39 38.64 40.53 38.71 40.71 38.81 40.85 39.05 Q2 40.85 39.15 41.64 39.20 41.72
41.75 41.78 41.85 42.31 42.47 43.07 43.12 43.26 43.33 43.33 43.41 43.48 43.48 43.64 43.99 44.00 44.07
44.30 47.25 44.36 47.42 44.36 47.61 44.51 47.74 44.54 47.83 44.59 Q3 48.37 44.78 48.39 44.78 48.78 45.19 49.57 45.54 49.59 45.92 49.65 45.97 50.91 46.01 50.98 46.33 51.39 46.50 51.90 46.86 53.00 46.99 53.63
53.99 54.04 54.71 55.23 56.60 56.80 57.99 58.34 65.35 65.61 69.07 70.22
20
สถิติวิศวกรรม
วิธีทํา
จากขอมูล n = 165 Xmax = 70.22 Xmin = 0 ดังนั้น พิสัย r = 70.22 – 0 = 70.22 N/mm2 การหาคาควอไทลตองเรียงลําดับขอมูลจากนอยไปหามาก ควอไทลที่ 1 Q1 = 32.91 N/mm2 (คาเฉลี่ยของขอมูลตําแหนงที่ 41 และ 42) ควอไทลที่ 3 Q3 = 44.57 N/mm2 (คาเฉลี่ยของขอมูลตําแหนงที่ 124 และ 125) พิสัยระหวางควอไทล (Interquartile Range – IQR) = Q3 – Q1 = 11.66 N/mm2 rn1/3 2(Q3 – Q1) = 16.52 ชั้น จํานวนชั้น = 1 + 3.3 log n = 8.32 ชั้น
ดังนั้น
จํานวนชั้น =
หรือ
ในที่นี้จะแบง 15 ชั้น เพราะจะไดความกวางของแตละชั้นประมาณ 5 ซึ่งทําใหงายตอการ แบงขอมูล ตารางที่ 1.3 ตารางแจกแจงความถี่ ชั้นที่
คาขีดจํากัดบน
ขีดจํากัดชั้น
ความถี่
ความถี่สัมพัทธ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
5 10 15 20 25 30 35 40 45 50 55 60 65 70 75
0 – 4.99 5 – 9.99 10 – 14.99 15 – 19.99 20 – 24.99 25 – 29.99 30 – 34.99 35 – 39.99 40 – 44.99 45 – 49.99 50 – 54.99 55 – 59.99 60 – 64.99 65 – 69.99 70 – 74.99
1 0 0 1 9 18 26 38 34 20 9 5 0 3 1
0.006 0.000 0.000 0.006 0.055 0.109 0.158 0.230 0.206 0.121 0.055 0.030 0.000 0.018 0.006
ความถี่สัมพัทธ สะสม 0.006 0.006 0.006 0.012 0.067 0.176 0.334 0.564 0.770 0.891 0.946 0.976 0.976 0.994 1.000
บทที่ 1 บทนํา
21
0.20
70 – 74.99
60 – 64.99
50 – 54.99
40 – 44.99
30 – 34.99
20 – 24.99
0.00
10 – 14.99
0.10
0 – 4.99
ความถี่สัมพัทธ
0.30
คามอดูลัสของรอยแตกในไม (N/mm2)
รูปที่ 1.7 ฮิสโตแกรมที่ความกวางของชั้นเทากับ 5 ที่มา : Kottegoda and Rosso.1997.
นอกจากขอมูลความถี่ (หรือความถี่สัมพัทธ) สามารถนําไปสรางฮิสโตแกรมไดแลว ยัง สรางกราฟของความถี่ไดดังรูปที่ 1.8 (ก) ซึ่งอาจเรียกกราฟนี้วากราฟความนาจะเปน (Probability Curve) แสดงใหเห็นถึงฟงกชันความหนาแนนของความนาจะเปน (Probability Density Function – pdf) หรือสรางกราฟของความถีส่ ะสมไดดงั รูปที่ 1.8 (ข) ซึง่ อาจเรียกกราฟนีว้ า กราฟการแจกแจง (Distribution Curve) แสดงใหเห็นถึงฟงกชันของความนาจะเปนสะสม (Cumulative Distribution Function – cdf) สําหรับรายละเอียดของ pdf และ cdf จะอธิบายไวในบทที่ 3
ความถี่สัมพัทธสะสม
ความถี่สัมพัทธ
0.3 0.2 0.1 0.0
0
20 40 60 80 2 คามอดูลัสของรอยแตกในไม (N/mm ) (ก)
1.0 0.8 0.6 0.4 0.2 0.0
0 20 40 60 80 2 คามอดูลัสของรอยแตกในไม (N/mm ) (ข)
รูปที่ 1.8 กราฟความนาจะเปนและกราฟความนาจะเปนสะสม ที่มา : Kottegoda and Rosso.1997.
22
สถิติวิศวกรรม
ฮิสโตแกรมมีไดหลายรูปแบบ ดังรูปที่ 1.9 ซึง่ แตละแบบจะมีรปู ทรงของการกระจาย (Shape of Distribution) รวมทั้งการตีความหมายที่แตกตางกัน ทรงระฆังควํ่า (Bell – Shaped) จะแสดง ถึงความปกติของขอมูล ทรงเบขวา (Right – Skewed) หรือทรงเบซาย (Left – Skewed) จะแสดง ถึงขอมูลที่ไมสมมาตรกัน ขณะที่ทรงสองยอด (Bimodal) หมายถึง ขอมูลมีแหลงความผันแปรมา จาก 2 สาเหตุที่แตกตางกัน เชน ชิ้นงานผลิตมาจากเครื่องจักรมากกวา 1 เครื่อง หรือพนักงาน มากกวา 1 คน หรือชวงเวลาผลิตที่ตางกัน ตองพิจารณาแยกขอมูลทั้ง 2 ชุดออกจากกันกอนการ วิเคราะหใดๆ ทรงถูกตัด (Truncated) จะมีลกั ษณะเปนรูปทรงระฆังควํา่ ทีม่ กี ารลบสวนใดสวนหนึง่ ออกไป ซึ่งจะตองพิจารณาวาเกิดจากสาเหตุอะไร
ทรงระฆังควํ่า
ทรงสมํ่าเสมอ
ทรงเบขวา
ทรงเบซาย
ทรงสองยอด
ทรงถูกตัด
รูปที่ 1.9 รูปทรงของฮิสโตแกรม ที่มา : Vardeman and Jobe. 2001.
3.4 แผนภาพลําตนและใบไม (Stem – and – Leaf Plot) แผนภาพลําตนและใบไมเปนเครื่องมือที่ใชจัดกลุมของขอมูล โดยแยกขอมูลแตละตัวออก เปน 2 สวนคือ สวนลําตน (Stem) และสวนใบไม (Leaf) สวนของลําตนจะเปนหลักของขอมูลเกือบ ทั้งหมด ในขณะที่หลักสุดทายจะเปนสวนของใบไม แผนภาพนี้จะแสดงใหเห็นถึงขอมูลที่แทจริง และการกระจายของขอมูลในลักษณะคลายกับฮิสโตแกรม
23
บทที่ 1 บทนํา
ตัวอยางที่ 1.3 ชิน้ สวนอัลลอยชนิด Aluminum – Lithium ซึง่ เปนสวนประกอบของเครือ่ งบิน ถูก
สุมตัวอยางมาจํานวน 58 ชิ้นเพื่อวัดคาแรงอัด (Compressive Strength) (หนวย : psi) จงสราง แผนภาพลําตนและใบไม 191 101 128 179 162 116
122 184 193 109 139 154
185 192 191 188 107 168
142 119 179 192 189 126
191 112 100 118 176 103
112 192 191 193 182 192
177 138 186 104 122 172
155 129 108 167 191 102
185 191 135 182 147
104 115 173 117 102
วิธีทํา ลําตน
ใบไม
19
1 3 1 23 12 1 1 2 2 1
18
4 5 8 92 62 5
17
3 2 6 97 9
16
287
15
54
14
72
13
598
12
8 2 6 92
11
6 5 2 78 92
10
4 1 8 37 90 4 2 2
รูปที่ 1.10 แผนภาพลําตนและใบไม
ขอมูล ลําตน 191
19
ใบไม 1
24
สถิติวิศวกรรม
3.5 กราฟแบบสี่เหลี่ยม (Box Plot)
กราฟแบบสีเ่ หลีย่ มเปนเครือ่ งมือในการนําเสนอขอมูลทีแ่ สดงใหเห็นแนวโนมเขาสูศ นู ยกลาง (Central Tendency) การกระจาย (Dispersion) และความเบ (Skewness) รวมถึงแสดงขอมูลที่ ผิดปกติ (Outlier) ซึ่งออกนอกขอบเขตที่กําหนด ซึ่งเปนจุดเดนของเครื่องมือนี้ ทําใหกราฟแบบ สี่เหลี่ยมมีประสิทธิผลที่เหนือกวาวิธีนําเสนออื่น 1.5 IQR คามากกวา (Xmin; Q1 – IQR)
IQR
1.5 IQR คานอยกวา (Xmax; Q3 + IQR)
ผิดปกติ
ผิดปกติ Q1 หนวดดานลาง
Q2
Q3
กลอง
หนวดดานบน
รูปที่ 1.11 โครงสรางทั่วไปของกราฟแบบสี่เหลี่ยม ที่มา : กิติศักดิ์. 2543.
ขั้นตอนแรกของการสรางกราฟแบบสี่เหลี่ยม จะตองเรียงขอมูลจากคานอยที่สุดไปหาคา มากที่สุด (หรือเรียงจากมากไปหานอย) จากนั้นคํานวณคา Q1, Q2 และ Q3 เพื่อสรางสวน "กลอง" ตําแหนงคา Q2 (Median Location) = n + 1 2 เมื่อ n คือ จํานวนขอมูล ตําแหนงคา Q1 และ Q3 (Quartile Location) = Lower Median Location + 1 2 คาพิสัยระหวางควอไทล (IQR) = Q3 – Q1 สําหรับหนวดดานบน จะเลือกคานอยกวาระหวาง xmax และ Q3 + IQR สวนหนวดดาน ลาง จะเลือกคามากกวาระหวาง Xmin และ Q1 – IQR เมื่อไดองคประกอบที่เปนกลองและหนวด ครบแลว ตรวจสอบความเปนปกติของขอมูลดวยคา Q1 – 1.5 IQR และคา Q3 + 1.5 IQR แทน ขอบเขตความปกตินี้ดวยเครื่องหมาย o ขอมูลใดที่เกินกวาขอบเขตดังกลาวจะเปนขอมูลผิดปกติ แทนดวยเครื่องหมายดอกจัน ( * )
บทที่ 1 บทนํา
25
การแปลความหมายของขอมูลที่นําเสนอดวยกราฟแบบสี่เหลี่ยม อธิบายไดดังนี้ • คาแนวโนมศูนยกลางของขอมูลคือ คา Q2 • การกระจายของขอมูลคือ คาตั้งแตหนวดดานลางจนถึงหนวดดานบน • รูปการแจกแจงของขอมูล ดูจากคา Q2 ถาอยูกึ่งกลางกลอง แสดงวาขอมูลมีลักษณะ สมมาตร (ไมเบ) ถาคา Q2 อยูชิดไปที่คา Q1 แสดงวาขอมูลมีลักษณะเบขวา ถาคา Q2 อยูชิดไปที่คา Q3 แสดงวาขอมูลมีลักษณะเบซาย Q3 Q1
เบขวา
Q2
Q2
Q2 สมมาตร
เบซาย
รูปที่ 1.12 การแจกแจงขอมูลในกราฟแบบสี่เหลี่ยม
เบซาย คาฐานนิยม > คามัธยฐาน > คาเฉลี่ย คาความเบที่ไดมีคาเปนลบ เบขวา คาฐานนิยม < คามัธยฐาน < คาเฉลี่ย คาความเบที่ไดมีคาเปนบวก
x x~ เบซาย
x x~ สมมาตร
x~ x เบขวา
รูปที่ 1.13 ลักษณะการเบของขอมูล ที่มา : Montgomery and Runger. 2003. •
ความผิดปกติในขอมูล ขอมูลที่อยูนอกขอบเขตที่กําหนดคือ นอยกวา (Q1 – 1.5 IQR) หรือมากกวา (Q3 + 1.5 IQR) จัดเปนขอมูลที่ผิดปกติแสดงดวยเครื่องหมายดอกจัน ( * ) ซึ่งการบงชี้ใหเห็นถึงความผิดปกตินี้ จะชวยใหผูวิเคราะหเห็นถึงขอมูลที่อาจเปนปญหา และนําไปคนหาสาเหตุตอไปได
26
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 1.4 คาความตานทานแรงดันทะลุ (Bursting Strength) (หนวย : psi) ในขวดแกว ขนาด 1 ลิตรทั้งหมด 100 ขวด แสดงดังตาราง จงนําเสนอขอมูลชุดนี้ดวยกราฟแบบสี่เหลี่ยม 265 205 263 307 220 268 260 234 299 215
197 286 274 243 231 267 281 265 214 318
346 317 242 258 276 300 208 187 264 271
280 242 260 321 228 250 299 258 267 293
265 254 281 294 223 260 308 235 283 277
200 235 246 328 296 276 264 269 235 290
221 176 248 263 231 334 280 265 272 283
265 262 271 245 301 280 274 253 287 258
261 248 260 274 337 250 278 254 274 275
278 250 265 270 298 257 210 280 269 251
วิธีทํา ขอมูลขางตนจะตองถูกจัดเรียงจากคานอยที่สุดคือ 176 ไปหาคามากที่สุดคือ 346 โดยมี จํานวนขอมูล n = 100 Q2 = 1002+ 1 = 50.5 อยูระหวางตําแหนงที่ 50 (Lower Median Location) และตําแหนงที่ 51 นําคาขอมูลใน ตําแหนงที่ 50 และตําแหนงที่ 51 มาหาคาเฉลี่ย จะไดคา Q2 = 265 ตําแหนงคา
ตําแหนงคา Q1 และ Q3 = 50 2+ 1 = 25.5 อยูระหวางตําแหนงที่ 25 และตําแหนงที่ 26 นําคาขอมูลในตําแหนงที่ 25 และตําแหนง ที่ 26 มาหาคาเฉลี่ย จะไดคา Q1 = 248 นําคาขอมูลในตําแหนงที่ 75 และตําแหนงที่ 76 มาหาคาเฉลี่ย จะไดคา Q3 = 280 IQR = Q3 – Q1 = 280 – 248 = 32 หนวดดานลาง : เลือกคามากที่สุดระหวาง (XMin, Q1 – IQR) นั่นคือ Max (176, 248 – 32) = Max (176, 216) = 216
บทที่ 1 บทนํา
27
หนวดดานบน : เลือกคานอยที่สุดระหวาง (XMax, Q3 + IQR) นั่นคือ Min (346, 280 + 32) = Min (346, 312) = 312 ตรวจสอบความผิดปกติของขอมูล โดยดูวามีขอมูลใดที่ออกนอกขอบเขต (Q1 – 1.5 IQR) ถึง (Q3 + 1.5 IQR) นั่นคือขอบเขต (200, 328) ดังนั้น ขอมูลที่ผิดปกติจะมี 6 คาคือ 176, 187, 197, 334, 337 และ 346 216
248 265 280
312
*** 175
*** 200
225
250
275
300
325
350
รูปที่ 1.14 กราฟแบบสี่เหลี่ยมของคาความตานทานแรงดันทะลุ ที่มา : Hines. 2003.
จากกราฟแบบสี่เหลี่ยมในรูปที่ 1.14 อธิบายไดดังนี้ • คาแนวโนมศูนยกลางคือ Q2 = 265 • การกระจายขอมูลตั้งแต 216 – 312 • การแจกแจงคอนขางสมมาตร • มีขอมูลผิดปกติ 6 คาคือ 176, 187, 197, 334, 337 และ 346
กราฟแบบสีเ่ หลีย่ มมักจะถูกนํามาใชในการเปรียบเทียบขอมูลระหวางกลุม ตัวอยาง 2 กลุม ขึน้ ไป เพือ่ ชีใ้ หเห็นถึงความแตกตางระหวางกลุม ตัวอยาง ซึง่ ผลความแตกตางนีอ้ าจถูกนํามาใชใน การตัดสินใจเลือกกลุมตัวอยางที่จะมาศึกษาหรือทําการวิเคราะหตอไป
28
สถิติวิศวกรรม
ความเร็วของแสง
1000 900 800 700 1
2
3 4 การทดลองที่
5
พนักงานทั้งหมด พนักงานคนที่ 5 พนักงานคนที่ 4 พนักงานคนที่ 3 พนักงานคนที่ 2 พนักงานคนที่ 1
14.7
14.8
14.9
15.0 นํ้าหนัก
15.1
15.2
15.3
รูปที่ 1.15 ตัวอยางการเปรียบเทียบกลุมตัวอยางหลายกลุมโดยใชกราฟแบบสี่เหลี่ยม
4. การคํานวณคาของขอมูลทางสถิติ เมื่อนําขอมูลมาเสนอดวยวิธีการนําเสนอขางตน เพื่อใหขอมูลเกิดประโยชนและสามารถ นํามาวิเคราะหตอไปอาจเพิ่มการคํานวณคาตางๆ ของขอมูล เชน คาเฉลี่ย ความแปรปรวน หรือ สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปนตน การคํานวณคาขอมูลทางสถิติแบงออกเปนการวัดคาแนวโนมสู ศูนยกลางของขอมูล (Central Tendency) และการวัดการกระจาย (Dispersion) สําหรับการวัดคา แนวโนมสูศ นู ยกลางเปนการวัดคาทีค่ วรจะเปน (คากลาง) ของขอมูล เชน คาเฉลีย่ คามัธยฐาน และ
บทที่ 1 บทนํา
29
คาฐานนิยม เปนตน สวนการวัดการกระจายจะอธิบายวาขอมูลมีการกระจายออกไปจากคากลาง มากนอยเพียงใด เชน พิสัย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวน เปนตน ในทางสถิติ ขอมูลแตละชุดจะมีทั้งความเที่ยงตรง (Accuracy) และความแมนยํา (Precision) ที่แตกตางกัน หากขอมูลชุดใดมีการเบี่ยงเบน (Bias) ไปจากคาแนวโนมสูศูนยกลางนอย อาจกลาวไดวาขอมูลชุดนั้นมีความเที่ยงตรงสูง (High Accuracy) ขณะเดียวกันขอมูลจะมีความ แมนยําสูง (High Precision) ถาการกระจายของขอมูลชุดนั้นนอย ดังรูปที่ 1.16 ขอมูลที่ดีควรจะ มีความเทีย่ งตรงและความแมนยําสูง ซึง่ เหมาะสมทีจ่ ะใชเปนตัวแทนของการวิเคราะหผลทางสถิติ ไมเที่ยงตรง และไมแมนยํา
ไมเที่ยงตรง แตแมนยํา
เที่ยงตรง แตไมแมนยํา
เที่ยงตรง และแมนยํา
รูปที่ 1.16 ความเที่ยงตรงและความแมนยําของขอมูล ที่มา : Vardeman and Jobe. 2001.
4.1 การวัดคาแนวโนมสูศูนยกลาง 1. คาเฉลีย่ (Mean) กําหนดให x1, x2, …, xN เปนขอมูลของประชากรขนาด N สัญลักษณ
ที่ใชแทนคาเฉลี่ยของประชากร (Population Mean) คือ µ N
µ
=
xi Σ i=1 N
กําหนดให x1, x2, …, xn เปนขอมูลของตัวอยางขนาด n สัญลักษณที่ใชแทนคาเฉลี่ย ของตัวอยาง (Sample Mean) คือ x
30
สถิติวิศวกรรม
n
x =
xi Σ i=1
n ;
n
x =
fixi Σ i=1 n
2. คามัธยฐาน (Median) กําหนดให x1, x2, …, xN เปนขอมูลของประชากรขนาด N
ที่เรียงลําดับจากนอยไปมากหรือจากมากไปนอย สัญลักษณที่ใชแทนคามัธยฐานของประชากร คือ µ∼ µ∼
=
x(N + 1)/2
เมื่อ N คือ เลขคี่
(xN/2 + x(N/2) + 1)/2
เมื่อ N คือ เลขคู
กําหนดให x1, x2, …, xn เปนขอมูลของตัวอยางขนาด n ที่เรียงลําดับจากนอยไปมาก หรือจากมากไปนอย สัญลักษณที่ใชแทนคามัธยฐานของตัวอยาง คือ x∼ x = ∼
x(n + 1)/2
เมื่อ n คือ เลขคี่
(xn/2 + x(n/2) + 1)/2
เมื่อ n คือ เลขคู
3. ฐานนิยม (Mode) คือ คาของขอมูลที่มีความถี่มากที่สุด คาฐานนิยมอาจมีมากกวา
หนึ่งคา หรืออาจจะไมมีก็ไดถามีความถี่เทากัน โดยจะถือวาทุกตัวเปนคาฐานนิยม
4.2 การวัดการกระจาย 1. พิสัย (Range) คือ ผลตางของคาสูงสุดและคาตํ่าสุดของขอมูล พิสัย = xmax – xmin
2. ความแปรปรวน (Variance) และคาเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
กําหนดให x1, x2, …, xN เปนขอมูลของประชากรขนาด N ซึ่งมี สัญลักษณที่ใชแทนความแปรปรวนของประชากร คือ σ2
µ
เปนคาเฉลี่ยของประชากร
N
σ2
=
(xi – µ)2 Σ i=1
N และรากทีส่ องของ σ2 ทีเ่ ปนคาบวก เรียกวาคาเบีย่ งเบนมาตรฐานของประชากร (Population Standard Deviation) σ ซึ่ง σ = σ2
บทที่ 1 บทนํา
31
กําหนดให x1, x2, …, xn เปนขอมูลของตัวอยางขนาด n ซึ่งมี x เปนคาเฉลี่ยของตัวอยาง สัญลักษณที่ใชแทนความแปรปรวนของตัวอยาง (Sample Variance) คือ S2 n
n
(xi – x)2 Σ i=1
S2 =
n
fix2i Σ i=1
x2i Σ i=1
= n – 1 – n ( x )2 ; S2 = n – 1 – n ( x )2 n–1 n–1
n–1
รากที่สองของ S2 ที่เปนคาบวก เรียกวาคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอยาง S ซึ่ง S = S2
ตัวอยางที่ 1.5 การตรวจวัดปริมาณออกซิเจนทีล่ ะลายนํา้ (Dissolved Oxygen – DO) จากตัวอยาง นํ้า 20 ตัวอยางที่ถูกรวบรวมไว มีคาดังนี้ (หนวย : ppm) 0.9 4.3
1.3 4.3
1.8 4.6
2.5 4.6
2.6 4.6
2.8 4.7
3.6 4.8
4.0 4.9
4.1 4.9
4.2 5.0
จงคํานวณหาคาเฉลี่ย คามัธยฐาน ฐานนิยม พิสัย คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคาความ แปรปรวนของคา DO
วิธีทํา
คาเฉลี่ย = x = 0.9 + 1.3 + … + 5.0 = 3.725 ppm 20 คามัธยฐาน = x~ = 4.2 +2 4.3 = 4.25 ppm คาฐานนิยม = 4.6 ppm คาพิสัย = 5.0 – 0.9 = 4.1 ppm n
คาความแปรปรวน = S2 =
(xi – x)2 Σ i=1
n–1 2 3.725)2 + ... + (5.0 – 3.725)2 = (0.9 – 3.725) + (1.3 – 20 –1 = 1.637 ppm2
คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน = S = =
S2
1.637 = 1.279 ppm
32
สถิติวิศวกรรม
แบบฝกหัด 1. การทดสอบคาความแข็งของไมทอน (หนวย : lb/in2) จํานวน 30 ทอน แสดงดังนี้ 1325 1828 2061 1419 1840 2104 1490 1856 2168 1633 1859 2199 1645 1867 2276 1655 1889 2326 1710 1899 2403 1712 1943 2983 1725 1954 1727 1976 1745 2046 ใหนําเสนอขอมูลกลุมนี้ดวยวิธี 1.1 กราฟแบบจุด 1.2 ตารางแจกแจงความถี่และฮิสโตแกรม 1.3 แผนภาพลําตนและใบไม 1.4 กราฟแบบสี่เหลี่ยม 2. เหล็กแผนถูกตัดแลวมวนเปนมวนขนาดใหญ (Large Rolls) จะตองตรวจความหนา (หนวย : mm) โดยการสุมเหล็กมวนจํานวน 10 ตัวอยาง ผลดังนี้ 32.2
32.0 30.4 31.0 31.2 31.2 30.3 29.6 30.5 30.7
จงคํานวณคาเฉลี่ยและควอไทล (Q1, Q2 และ Q3) ของเหล็กมวนกลุมนี้ (เฉลย : x = 30.91, Q1 = 30.53, Q2 = 30.85, Q3 = 31.2)
บทที่ 1 บทนํา
33
3. การศึกษาถึงคุณภาพของเชื้อเพลิงชนิดใหมที่ใชกับเครื่องกําเนิดไอนํ้า (Steam Generator) พบวาอัตราการสันดาปเชื้อเพลิงจํานวน 65 ครั้ง แสดงดังตาราง จงหาคาเฉลี่ย คาเบี่ยงเบน มาตรฐาน และคาความแปรปรวน อัตราการสันดาป 7.6 – 8.3 8.4 – 9.1 9.2 – 9.9 10.0 – 10.7 10.8 – 11.5 11.6 – 12.3 12.4 – 13.1
จํานวนครั้ง 2 9 11 20 13 7 3
(เฉลย : x = 10.36, S = 1.18, S2 = 1.38) 4. ในการวิเคราะหสวนผสมเคมีจํานวน 15 ตัวอยาง บันทึกเวลาในการแสดงผล (หนวย : min) ดังนี้ จงหาคาเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม 10
1 13
9
5
9
2 10
3
8
6 17
2 10 15
(เฉลย : x = 8, x~ = 9, ฐานนิยม = 10) 5. คาความเคนแรงเฉือนสูงสุดที่กระทําตอเพลา (หนวย : lb/in2) จํานวน 26 ทอน จงหาคา เบี่ยงเบนมาตรฐาน และคาความแปรปรวนของคาความเคน 191 122 125 179 163 130 140 101 119 111 120 172 (เฉลย : S = 30.9, S2 = 951.5)
145 102 170
119 187 130
144 183 190
118 160 115
182 191
34
สถิติวิศวกรรม
6. แทงคอนกรีตจํานวน 50 แทง ถูกนํามาทดสอบเปอรเซ็นตการหดตัว แสดงดังตาราง 18.2 16.4 17.4 20.5 19.6
21.2 18.7 23.6 19.0 20.6
23.1 18.2 17.5 17.6 14.8
18.5 19.6 20.3 22.3 19.7
15.6 14.3 16.6 18.4 20.5
20.8 16.6 19.3 21.2 18.0
19.4 24.0 18.5 20.4 20.8
15.4 17.6 19.3 21.4 15.8
21.2 17.8 21.2 20.3 23.1
13.4 20.2 13.9 20.1 17.0
6.1 สรางแผนภาพลําตนและใบไม 6.2 สรางฮิสโตรแกรมที่มีความกวางของชั้นเทากับ 1 โดยเริ่มชั้นแรกที่คา 13.0 6.3 คํานวณคาเฉลี่ย คามัธยฐาน และฐานนิยม (เฉลย : x = 18.98, x~ = 19.3, ฐานนิยม = 21.2) 6.4 คํานวณคาพิสัย คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคาความแปรปรวน (เฉลย : r = 10.6, S = 2.5, S2 = 6.25) 7. ในการทดสอบคาความหนืดของสารผสมทั้งหมด 5 ชนิด ไดทําการสุมตัวอยางสารผสมชนิด ละ 4 ตัวอยางมาทดสอบและวัดคาความหนืดใหผลดังนี้ สารผสม # 1 สารผสม # 2 สารผสม # 3 สารผสม # 4 สารผสม # 5 41 42 27 48 28 43 43 26 45 32 42 46 28 51 37 46 38 27 46 25 จงเปรียบเทียบความหนืดของสารผสมทั้ง 5 ชนิดโดยใชกราฟแบบสี่เหลี่ยม พรอมกับหา คาเฉลี่ยและคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของสารผสมแตละชนิด (เฉลย : x1 = 43, x2 = 42.3, x3 = 27, x4 = 47.5, x5 = 30.5 S1 = 2.2, S2 = 3.3, S3 = 0.8, S4 = 2.7, S5 = 5.2)
2
ความนาจะเปน
ทฤษฎี ค วามน า จะเป น จั ด เป น แขนงหนึ่ ง ทางคณิ ต ศาสตร ที่ มี ค วามเกี่ ย วข อ งกั บ เรื่องของความไมแนนอน (Uncertainty) และถูกนําไปใชเปนเครื่องมือทางวิทยาศาสตรในการ วิเคราะหเรื่องของโอกาส (Chance) เมื่อเริ่มศึกษาเกี่ยวกับความนาจะเปน เรามักจะคุนเคยกับ ตัวอยางของการโยนเหรียญหรือทอยลูกเตา ที่สอดแทรกความรูและความเขาใจในพื้นฐานของ ความนาจะเปน เชน ถาโยนเหรียญ 1 เหรียญ จะใหผลลัพธได 2 แบบคือ ไมออกหัวก็ออกกอย โดยมีโอกาสของการเกิดเหตุการณดังกลาว 50 : 50 นั่นคือความนาจะเปนของการเกิดหัวเทากับ 1/2 และความนาจะเปนของการเกิดกอยเทากับ 1/2 หรือถาทอยลูกเตา 1 ลูกจะใหผลลัพธได 6 แบบคือหนา 1, 2, 3, 4, 5, 6 ดวยคาความนาจะเปนของแตละหนาเทากับ 1/6 จะเห็นไดวาเมื่อ มีการทดลองใดๆ เกิดขึ้น ถาทราบผลลัพธวาจะเกิดเหตุการณใดบาง และทราบโอกาส (หรือความ นาจะเปน) วาเกิดขึ้นไดบอยครั้งเพียงใดแลว จะชวยใหเราสามารถวิเคราะหผล และทราบวาจะ ตัดสินใจหรือวางแผนดําเนินการไดอยางไร เนื้อหาในบทเรียนนี้ จะกลาวถึงหลักการพื้นฐานของความนาจะเปน ประกอบดวย (1) แซมเปลสเปซและเหตุการณ (2) การนับจํานวนครั้งของเหตุการณ (3) ทฤษฎีความนาจะเปน (4) ความนาจะเปนแบบมีเงื่อนไขและเหตุการณอิสระ และ (5) ทฤษฎีของเบย
1. แซมเปลสเปซและเหตุการณ (Sample Space and Event)
แซมเปลสเปซ (Sample Space) หมายถึง เซตที่มีสมาชิกเปนผลการทดลองทั้งหมด ใชสัญลักษณ S แทนเซตของแซมเปลสเปซ ตัวอยางเชน การตรวจสอบชิ้นสวนคอมพิวเตอร 500 ชิ้น แซมเปลสเปซ (S) ของการตรวจพบชิ้นสวนเสีย = {0, 1, 2, …, 500}
36
สถิติวิศวกรรม
การผลิตกระแสไฟฟาจากโรงไฟฟา 3 แหง S = {(0, 0, 0) (0, 0, 1) (0, 1, 0) (0, 1, 1) (1, 0, 0) (1, 0, 1) (1, 1, 0) (1, 1, 1)} เมื่อ 0 หมายถึง ไมมีการผลิต และ 1 หมายถึง มีการผลิตกระแสไฟฟา การโยนเหรียญบาท 2 เหรียญ S = {HH, HT, TH, TT} เมื่อ H คือ หัว และ T คือ กอย การทอยลูกเตา 2 ลูก S = {(1, 1) (1, 2) (1, 3) ... (6, 6)} เหตุการณ (Event) หมายถึง สับเซตของแซมเปลสเปซ ใชสัญลักษณ E ตัวอยางเชน การตรวจสอบชิ้นสวนคอมพิวเตอร พบชิ้นสวนที่เสียไมเกิน 5 ชิ้น E = {0, 1, 2, 3, 4, 5} การผลิตกระแสไฟฟาจากโรงไฟฟาแรก E = {(1, 0, 0) (1, 0, 1) (1, 1, 0) (1, 1, 1)} ผลรวมของลูกเตาทั้งสองเปน 6 E = {(1, 5) (2, 4) (3, 3) (4, 2) (5, 1)}
2. การนับจํานวนครั้งของเหตุการณ การคํานวณหาความนาจะเปนของเหตุการณใดๆ นั้น ถาทราบจํานวนครั้งของการเกิด เหตุการณและจํานวนครัง้ ของผลการทดลองทัง้ หมดแลว เมือ่ นํามาเทียบเปนอัตราสวนกัน ทําใหรู ถึงโอกาสทีจ่ ะพบเหตุการณนนั้ วามีมากนอยเพียงใด หลักการสําคัญทีใ่ ชในการนับจํานวนครัง้ ของ เหตุการณ (หรือของแซมเปลสเปซ) ประกอบดวย หลักการคูณ หลักการจัดลําดับ และหลักการจัดหมู
2.1 หลักการคูณ ถางานอยางหนึ่งมีขั้นตอนการทํางานทั้งหมด k ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 มีวิธีเลือกทําได n1 วิธี ในแตละวิธีของขั้นตอนที่ 1 มีวิธีเลือกทํางานในขั้นตอนที่ 2 ได n2 วิธี และในแตละวิธีที่เลือก ทํางานขั้นตอนที่ 1 และ 2 จะมีวิธีเลือกทํางานในขั้นตอนที่ 3 ได n3 วิธี จนถึงขั้นตอนสุดทายคือ ขั้นตอนที่ k วิธีเลือกทํางานในขั้นตอนที่ k มี nk วิธี ดังนั้น จํานวนทางเลือกที่จะทํางานทั้งหมด k ขัน้ ตอน เทากับ n1 . n2 . n3 . … . nk ทางเลือก แสดงดวยแผนภาพตนไม (Tree Diagram) ดังรูปที่ 2.1
บทที่ 2 ความนาจะเปน
37
ขั้นตอนที่ k ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 1
n1 วิธี
1 2 3 4 5. .. n1
1 2 3 4. .. n2
n2 วิธี n1 ทางเลือก n1 . n2 ทางเลือก nk วิธี
1 2 3 4.. . nk
n1 . n2 . … . nk ทางเลือก
รูปที่ 2.1 หลักการคูณ ที่มา : Hayter. 2002.
จากรูปที่ 2.1 ถาพิจารณาจํานวนทางเลือกที่จะทํางานขั้นตอนที่ 1 จะพบวามีอยู n1 ทาง เลือก (นั่นคือ เลือกไดตั้งแตวิธีที่ 1 จนถึงวิธีที่ n1) แตถางานมี 2 ขั้นตอน (ขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2) จํานวนทางเลือกของการทํางานทั้ง 2 ขั้นตอนจะเทากับ n1 . n2 ทางเลือก (เลือก ขั้นตอนที่ 1 ได n1 วิธี แลวทําตอในขั้นตอนที่ 2 เลือกได n2 วิธี)
38
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 2.1 โพลีเพปไทดเปนสารที่ประกอบดวยกรดอะมิโนหลายชนิดทําปฏิกิริยากัน โดย
กรดอะมิโนที่จําเปนมี 8 ชนิดคือ เมไทโอนีน (M) ทรีโอนีน (Tre) ไลซีน (Li) เวลีน (V) ลิวซีน (Lu) ไอโซลิวซีน (I) เฟนิลอะลานิน (F) และทริปโตเฟน (Trp) ถานํากรดอะมิโนทัง้ 8 ชนิดมาทําปฏิกริ ยิ า กัน จะเกิดเปนโพลีเพปไทดไดทั้งหมดกี่แบบ
วิธีทํา งานมีทั้งหมด 8 ขั้นตอน แตละขั้นตอนคือการเลือกชนิดของกรดอะมิโน ใชหลักการคูณหาจํานวนแบบทั้งหมดของโพลีเพปไทด n1 . n2 . … . n8 = 8 . 7 . 6 . 5 . 4 . 3 . 2 . 1 = 8! = 40,320 แบบ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 1
8 ทางเลือก
......
M Tre Li V Lu I F Trp
Tre Li V Lu I F Trp
M Tre Li V Lu I F 8 . 7 ทางเลือก
รูปที่ 2.2 หลักการคูณเพื่อหาโพลีเพปไทด
บทที่ 2 ความนาจะเปน
39
ตัวอยางที่ 2.2 สายการประกอบตัวถังรถยนต ประกอบดวยขั้นตอนการผลิต 5 ขั้นตอน แตละ
ขั้นตอนจะมีเครื่องจักรหลายเครื่อง ดังรูป จงหาจํานวนเสนทางการประกอบ (Pathways) ทั้งหมด
โลหะแผน
ตัวถังรถยนต
เครื่องทําความ เครื่องปม เครื่องตัด เครื่องพนสี เครื่องขัดผิว 8 เครือ่ ง 5 เครือ่ ง 8 เครื่อง สะอาด ขึ้นรูป 6 เครื่อง 3เครื่อง
รูปที่ 2.3 สายการประกอบตัวถังรถยนต ที่มา : Hayter. 2002.
วิธีทํา งานมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน แตละขั้นตอนคือการเลือกเครื่องจักรที่ใชผลิตตัวถังรถยนต n1. n2 . … . n5 = 6 . 3 . 8 . 5 . 8 = 5,760 เสนทาง
2.2 การจัดลําดับ (Permutation)
การจัดลําดับคือ การเรียงลําดับของบางสิง่ หรือทุกสิง่ ในเซตโดยคํานึงถึงลําดับที่ ถามีการสลับ ลําดับที่หรือสลับตําแหนง จะทําใหเกิดผลลัพธใหมที่แตกตางจากเดิม ถามีของ n สิ่งตางกันจํานวนวิธีในการจัดลําดับทั้งหมด n สิ่ง จะเทากับ n! = n(n – 1)(n – 2)…(2)(1) วิธี จํานวนวิธีจัดลําดับของ n สิ่งตางกัน โดยจัดลําดับ r สิ่ง เมื่อ r < n จะเทากับ
40
สถิติวิศวกรรม
nP
r
= (n n!– r)! = n(n – 1)(n – 2) ... (n – r + 1) วิธี
จํานวนวิธีจัดลําดับแบบวงกลมของ n สิ่งตางกัน จะเทากับ (n – 1)! วิธี จํานวนวิธีในการจัดลําดับของ n สิ่ง ซึ่งมี n1 สิ่งที่เหมือนกัน, n2 สิ่งที่เหมือนกัน, …, nk สิ่งที่เหมือนกัน จะไดจํานวนวิธีจัดลําดับ = n ! n n!! ... n ! วิธี 1 2
k
ตัวอยางที่ 2.3 สารกึง่ ตัวนําเปนวัสดุไฟฟาทีม่ คี ณ ุ สมบัตกิ ารนําไฟฟาอยูร ะหวางตัวนําและฉนวน นิยมใชในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส ถาวิศวกรไฟฟาตองเลือกใชสารกึ่งตัวนํา 3 ชนิด จากสารกึ่ง ตัวนําที่แตกตางกันทั้งหมด 9 ชนิด เพื่อมาประกอบในอุปกรณไฟฟา มีวิธีการเลือกไดทั้งหมดกี่วิธี
วิธีทํา
ในการประกอบอุปกรณไฟฟา ประเภทของสารกึ่งตัวนําที่เลือกใชและการสลับตําแหนงใน การประกอบ มีผลตอฟงกชันการทํางานที่แตกตางกันของอุปกรณไฟฟา จึงใชหลักการจัดลําดับ มาวิเคราะห มีสารกึ่งตัวนํา 9 ชนิดแตกตางกัน เลือกมา 3 ชนิดเพื่อประกอบในอุปกรณไฟฟา 9! 9P = 3 (9 – 3)! = 9! 6! = 504 วิธี
ตัวอยางที่ 2.4 คลังสินคาแหงหนึ่งนําระบบบารโคด (Barcode) มาใชในการควบคุมสต็อก
โดยใชรูปแบบของแถบสีดําและสีขาวที่มีความกวางของแถบที่ตางกันเปนตัวกําหนดขอมูลตัวเลข ในการจายสินคาทั้งหมด 15 รายการ ใชแถบสีขาว–สีดํากํากับไวที่ตัวสินคาเพื่อบงบอกขนาดที่ แตกตางกันอยู 5 ขนาดคือ XS, S, M, L, XL ถากลุม XS มี 2 รายการ กลุม S มี 4 รายการ และ ที่เหลือกลุมละ 3 รายการ สามารถจายสินคาไดกี่วิธี
วิธีทํา ใชหลักการจัดลําดับ เนื่องจากการสลับแถบสีดํา – สีขาวในรูปแบบที่แตกตางกัน จะสื่อถึง ขอมูลตัวเลขตางกลุมกัน ดังนั้น จํานวนวิธีในการจายสินคาคือ 15! 15P 2, 4, 3, 3, 3 = 2! 4! 3! 3! 3! = 126,126,000 วิธี
บทที่ 2 ความนาจะเปน
41
2.3 การจัดหมู (Combination)
การจัดหมูคือ การหาสับเซตใดๆ ของเซตโดยไมคํานึงถึงลําดับที่ในสับเซตนั้น การสลับ ลําดับที่หรือสลับตําแหนงไมทําใหผลลัพธที่มีอยูเดิมเปลี่ยนแปลงไป จํานวนวิธีในการจัดหมูของ n สิ่งตางกัน โดยเลือกมา r สิ่ง จะมีจํานวนวิธีเทากับ
ขอสังเกต
()
nC r
= n = r!(nn!– r)! วิธี r
nP
= r! nCr
r
กลาวไดวา จํานวน nCr ตัวอยาง แตละตัวอยางนํามาจัดลําดับได r! วิธี ตัวอยางเชน เลือก 3 คาจากเซต {1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10} เริ่มตนดวยการสุมคา 3 คา โดยไมคํานึงถึงลําดับที่ จะไดจํานวนวิธี 10C3 วิธี แตละวิธีนํามาจัดลําดับตอไดอีกวิธีละ 3! วิธี เชน ผลลัพธ {1, 2, 3}
จัดลําดับ ( 3! = 6 วิธี) (1, 2, 3) (1, 3, 2) (2, 1, 3) (2, 3, 1) (3, 1, 2) (3, 2, 1) ...
...
นั่นคือ จํานวนวิธีทั้งหมดในการเลือกคา 3 คาจาก 10 คา เทากับ 10P3 = 3! 10C3 = 720 วิธี
ตัวอยางที่ 2.5 ชิ้นสวนคอมพิวเตอรจํานวน 500 ชิ้น ตรวจพบวามีชิ้นสวนที่เสียจํานวน 9 ชิ้น
ถากําหนดใหสายการผลิตตองสุมตรวจสอบชิ้นสวน (แบบไมใสคืน) จํานวน 3 ชิ้น จงหาจํานวน วิธีในการสุมตรวจสอบชิ้นสวน และจํานวนวิธีในการสุมตรวจสอบแลวพบวามีชิ้นสวนเสีย 2 ชิ้น
วิธีทํา
การสุมตรวจสอบชิ้นสวนไมคํานึงถึงลําดับที่ของชิ้นสวนคอมพิวเตอรวาจะสุมไดลําดับที่ เทาไร จึงใชหลักการจัดหมูมาวิเคราะห = 3!500! 497! วิธี ในการสุมตรวจสอบชิ้นสวน 9C . 491C = 9! . 491! วิธี ในการสุมตรวจแลวพบเสีย 2 ชิ้น 2 1 2! 7! 1! 490! 500C 3
42
สถิติวิศวกรรม
3. ทฤษฎีของความนาจะเปน ความนาจะเปน (Probability) หมายถึง ตัวเลขทีแ่ สดงถึงโอกาสการเกิดเหตุการณทเี่ ราสนใจ วามีโอกาสเกิดขึ้นไดมากนอยเพียงใด ใชสัญลักษณ P แทนความนาจะเปน ถากําหนดให A เปน เหตุการณที่ศึกษาจากแซมเปลสเปซ (S) ทั้งหมด n(A) แทนจํานวนวิธีของเหตุการณ A และ n(S) แทนจํานวนวิธขี องแซมเปลสเปซ ดังนัน้ ความนาจะเปนของเหตุการณ A แทนดวย P(A) จะมีคา เปน P(A) = n(A) n(S) เนื่องจากเหตุการณหมายถึงเซตของผลลัพธใดๆ ดังนั้น ความสัมพันธ (Operation) ของ เซต 2 เซตสามารถใชไดกับเหตุการณ 2 เหตุการณคือ A และ B มี 3 รูปแบบของความสัมพันธ คือ 1. Union คือ เหตุการณที่ประกอบดวยสมาชิกของเหตุการณ A หรือ เหตุการณ B หรือ เปนสมาชิกทั้งสองเหตุการณ แทนดวย A ∪ B 2. Intersection คือ เหตุการณที่ประกอบดวยสมาชิกของเหตุการณ A และ เหตุการณ B แทนดวย A ∩ B 3. Complement คือ เหตุการณที่อยูในแซมเปลสเปซ แต ไมอยูในเหตุการณ A แทน ดวย A′ หรือ A หรือ AC รูปแบบของความสัมพันธของทัง้ 3 รูปแบบ แสดงดวยแผนภาพ Venn Diagram ดังรูปที่ 2.4 A
A S
A A
B
A
B
S
S A∪B
S
Ac
A∩B
รูปที่ 2.4 แผนภาพ Venn Diagram ที่มา : Johnson. 2005.
บทที่ 2 ความนาจะเปน
43
ตัวอยางที่ 2.6 ความเร็วในการสงขอมูลของระบบเครือขายดิจิตอล พบวาสายสื่อสารแบบ
ดิจิตอลของเครือขาย A มีความเร็วไมเกิน 64,000 bps สวนของเครือขาย B มีความเร็วตั้งแต 56,000 bps ขึ้นไป จงหา A ∪ B, A ∩ B, AC และ BC
วิธีทํา กําหนด s แทนความเร็วของการสงขอมูล A = {s / 0
≤
s
≤
64,000}
และ B = {s / s ≥ 56,000} ดังนั้น
A ∪ B = {s / s ≥ 0 } A ∩ B = {s / 56,000
≤
s
AC = {s / s
>
64,000}
BC = {s / 0
≤
s
เกณฑขั้นตํ่า
≤ เกณฑขั้นตํ่า
104
35
> เกณฑขั้นตํ่า
19
17
จงหา 1. ความนาจะเปนทีจ่ ะสรุปวามีมลพิษในอากาศ ถาตรวจพบปริมาณฝุน ละอองเกินเกณฑกอ น 2. ความนาจะเปนที่จะสรุปวามีมลพิษในอากาศ ถาตรวจพบปริมาณแกสเกินเกณฑกอน
วิธีทํา การตรวจสอบคุณภาพอากาศอาจจะมีขอจํากัดในหองปฏิบัติการ ทําใหตองตรวจสอบฝุน ละอองแยกจากการตรวจสอบแกส (ทําพรอมกันไมได) กําหนดให A แทนการตรวจพบปริมาณฝุนละอองเกินเกณฑ และ B แทนการตรวจพบ ปริมาณแกสเกินเกณฑ การจะสรุปวามีมลพิษในอากาศได จะตองพบทัง้ เหตุการณ A และเหตุการณ B ในตัวอยางอากาศนั้น 1. ถาตรวจสอบแบบปริมาณฝุนละอองเกินเกณฑกอน นั่นคือ พบเหตุการณ A กอน แลวจึงตรวจสอบเหตุการณ B ตามมาภายหลัง (ดังรูปที่ 2.7 (ก)) P(B | A) = P(A ∩ B) P(A) 17 = 17/175 36/175 = 36
บทที่ 2 ความนาจะเปน
49
จะสังเกตไดวาแซมเปลสเปซของเหตุการณเงื่อนไขนี้ จะไมใช S = 175 ตัวอยาง แตจะ ลดขอบเขตของ A เหลือ 36 ตัวอยาง แลวคอยมาพิจารณาตอวาภายใน 36 ตัวอยางนี้ มีเหตุการณ B จํานวน 17 ตัวอยาง 2. ถาตรวจสอบพบปริมาณแกสเกินเกณฑกอน นั่นคือ พบเหตุการณ B กอน แลวจึง ตรวจสอบเหตุการณ A ตามมาภายหลัง (ดังรูปที่ 2.7 (ข)) P(A | B) = P(A ∩ B) P(B) 17 = 17/175 52/175 = 52 จะสังเกตไดวา แซมเปลสเปซไมใช S = 175 ตัวอยาง แตเปนขอบเขตของเหตุการณ B จํานวน 52 ตัวอยาง หลังจากนั้นจึงพิจารณาเฉพาะ 52 ตัวอยางนี้วามีเหตุการณ A จํานวน 17 ตัวอยาง A
B
A
19 17
B 17 35
(ก) P(B | A)
(ข) P(A | B)
รูปที่ 2.7 ความนาจะเปนแบบมีเงื่อนไขของผลตรวจสอบตััวอยางอากาศ
ตัวอยางที่ 2.11 สินคาทีถ่ กู ลูกคาตีกลับคืน พบวามีปญ หาดานคุณภาพของรอยเชือ่ ม คือมีรพู รุน
(Porosity) และไมไดขนาด (Undersized Weld) เพื่อตรวจสอบวาสินคาที่ถูกสงคืนมาจากการ ผลิตของชางเชื่อม A, B และ C มากนอยเพียงใด จึงทําการรวบรวมขอมูลเชิงคุณภาพของสินคา สงคืน 117 ชิ้น ผลดังตารางที่ 2.5 ตารางที่ 2.5 ผลการตรวจสอบสินคาที่สงคืน
ปญหาของ รอยเชื่อม
มีรูพรุน ไมไดขนาด
A 19 21
ชางเชื่อม B 23 16
C 20 18
50
สถิติวิศวกรรม
จงหา 1. ความนาจะเปนที่ชางเชื่อมแตละคนจะผลิตงานเชื่อมที่มีรูพรุน 2. ความนาจะเปนที่ชางเชื่อมแตละคนจะผลิตงานเชื่อมที่ไมไดขนาด
วิธีทํา
กําหนดให A แทนชางเชื่อม A, B แทนชางเชื่อม B และ C แทนชางเชื่อม C E1 แทนรอยเชื่อมที่มีรูพรุน และ E2 แทนรอยเชื่อมที่ไมไดขนาด 19 1. P(A ∩ E1) ถาดูจากขอมูลในตารางที่ 2.5 ก็จะทราบคําตอบไดทันทีวาเทากับ 117 อีกวิธีหนึ่งคือ ใชหลักการความนาจะเปนแบบมีเงื่อนไขมาชวยวิเคราะหหาผลลัพธไดเหมือนกัน P(A ∩ E1) P(A | E1) = P(E1) ∴ P(A ∩ E1) = P(A | E1) . P(E1) 19 . 62 = 19 62 117 = 117 P(A ∩ E1) หรือจาก P(E1 | A) = P(A) ∴ P(A ∩ E1) = P(E1 | A) . P(A) 19 . 40 = 19 40 117 = 117 23 P(B ∩ E1) = P(B | E1) . P(E1) = P(E1 | B). P(B) = 117 20 P(C ∩ E1) = P(C | E1) . P(E1) = P(E1 | C) . P(C) = 117 2. P(A ∩ E2) = P(A | E2) . P(E2) 21 . 55 = 21 55 117 = 117 หรือ = P(E2 | A) . P(A) 21 . 40 = 21 40 117 = 117 16 P(B ∩ E2) = P(B | E2) . P(E2) = P(E2 | B) . P(B) = 117 18 P(C ∩ E2) = P(C | E2) . P(E2) = P(E2 | C) . P(C) = 117
บทที่ 2 ความนาจะเปน
51
เหตุการณ B เปนอิสระจากเหตุการณ A ก็ตอเมื่อ P(B | A) = P(B) นั่นคือ การเกิด
ของเหตุการณ A ไมมีผลตอการเกิดของเหตุการณ B ที่ตามมา
เหตุการณ A เปนอิสระจากเหตุการณ B ก็ตอเมื่อ P(A | B) = P(A) นั่นคือ การเกิด
ของเหตุการณ B ไมมีผลตอการเกิดของเหตุการณ A ที่ตามมา การจะสรุปวาเหตุการณทั้งสองไมมีเงื่อนไขตอกัน หรือเปนเหตุการณที่อิสระตอกันนั้น (Independent Events) ก็ตอเมื่อ P(A ∩ B) = P(A) . P(B)
ตัวอยางที่ 2.12 ในการชุบแข็งพืน้ ผิวโดยวิธคี ารเบอรไรซิง เหล็กทีจ่ ะชุบผิวแข็งจะตองเปนเหล็กที่ มีคารบอนตํา่ ประมาณ 0.1 – 0.2% และมีธาตุบางตัวผสมอยู เชน นิกเกิล โครเมียม เปนตน วิศวกร โลหการทําการทดสอบตัวอยางเหล็กที่จะชุบแข็งจํานวน 60 ตัวอยาง โดยสนใจปริมาณของธาตุที่ เปนสวนผสม 2 ชนิดคือ นิกเกิล และโครเมียม ผลสรุปดังตารางที่ 2.6 ตารางที่ 2.6 ผลทดสอบตัวอยางเหล็ก นิกเกิล โครเมียม
มี ไมมี
มี 21 14
ไมมี 18 7
กําหนดให A แทนตัวอยางเหล็กมีนิกเกิลผสมอยู และ B แทนตัวอยางเหล็กมีโครเมียม ผสมอยู อยากทราบวาเหตุการณทั้งสองเปนอิสระตอกันหรือไม
วิธีทํา
จากขอมูล ในตารางที่ 2.6 จะได P(A) = 35 60 = 0.58 P(B) = 39 60 = 0.65 21 P(B | A) = 21/60 35/60 = 35 = 0.60 21 P(A | B) = 21/60 39/60 = 39 = 0.54 เนื่องจาก P(B | A) ≠ P(B) และ P(A | B) ≠ P(A) จึงสรุปไดวา A และ B เปนเหตุการณ ที่ไมเปนอิสระตอกัน
52
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 2.13 วงจรไฟฟาชุดหนึ่งประกอบดวยสวิตช 2 ตัวตอขนานกันดังรูป ถากําหนดให
ความนาจะเปนที่สวิตชแตละตัวทํางานเทากับ 0.95 และสวิตชแตละตัวทํางานอิสระตอกัน จงหา โอกาสที่วงจรไฟฟาจะทํางาน 0.95 0.95
รูปที่ 2.8 วงจรที่มีสวิตช 2 ตัวตอขนานกัน
วิธีทํา กําหนดให A แทนสวิตชตัวบนทํางาน และ B แทนสวิตชตัวลางทํางาน เนื่องจากสวิตชทั้งสองตอขนานกัน ทั้งวงจรจะทํางานไดถาสวิตช A ทํางานหรือสวิตช B ทํางาน ยกเวนเพียงกรณีเดียวคือสวิตชทั้งสองตัวไมทํางาน จึงจะทําใหทั้งวงจรไมทํางาน ดังนั้น โอกาสที่ทั้งวงจรทํางาน = P(A ∪ B) = 1 – P(A ∪ B)C = 1 – P(AC ∩ BC) = 1 – [P(AC) . P(BC)] = 1 – [(0.05)(0.05)] = 1 – (0.05)2 = 0.9975
ตัวอยางที่ 2.14 วิศวกรไฟฟาพิจารณาเปรียบเทียบระบบการสงขอความ 2 ระบบ ขอความ
1 ขอความประกอบดวยคํา 1 คําที่เปนไดทั้งเลข 1 หรือเลข 0 ในการสงขอความมักจะถูก รบกวน ซึ่งอาจสงผลตอความถูกตองของการรับขอความ ถา p แทนความนาจะเปนที่การสง และรับขอความไมตรงกัน เชน P(สง 1 แตไดรับเปน 0) = p หรือ P(สง 0 แตไดรับเปน 1) = p ในระบบการสงขอความ จะมีระบบสง 1 Digit (Single Digit) และระบบสงครั้งละ 1 Digit จํานวน 3 ครัง้ (Three–Digit Scheme) ซึง่ จะใชหลักถือขางมาก (Majority Rule) ในการรับขอความ นั่นคือ ถาสงขอความเปน 101, 110, 011 หรือ 111 จะถูกรับและตีความเปนเลข 1
บทที่ 2 ความนาจะเปน
53
1. จงหาความนาจะเปนที่สง 1 และจะไดรับขอความเปน 1 สําหรับระบบ Three–Digit Scheme เมื่อ p = 0.01, 0.02 หรือ 0.05 การสงแตละครั้งเปนอิสระตอกัน และจงเปรียบ เทียบกับความนาจะเปนของการสงในระบบ Single Digit 2. ถา 1 ขอความประกอบดวยคํา 2 คําคือ 1 ตามดวย 0 จงหาความนาจะเปนที่ขอความ ไดรับถูกตอง เมื่อ p = 0.05 และจงเปรียบเทียบความนาจะเปนของการสงขอความทั้ง สองระบบ
วิธีทํา 1. สําหรับระบบ Three–Digit Scheme ถา 111 ถูกสงแลวไดรับขอความเปน 1 ตามหลัก Majority Rule จะมี 4 กรณีคือ ไดเปน 111, 011, 101 และ 110 ถาไดรับเปน 111 นั่นคือ ความนาจะเปนเทากับ (1 – p) (1 – p) (1 – p) = (1 – p)3 ถาไดรับเปน 011 ความนาจะเปนเทากับ p (1 – p) (1 – p) = p(1 – p)2 ซึ่งเหมือนกับ กรณีไดรับเปน 101 และ 110 หรือกลาวไดวา ความนาจะเปนของการไดรับ 0 จํานวน 1 ครั้ง จากทั้งหมด 3 ครั้ง (หรือ 011, 101, 110) จะเทากับ 3p(1 – p)2 ดังนั้น ในการใชหลัก Majority Rule ความนาจะเปนในการสงรับขอความไดถูกตองของ ระบบ Three–Digit Scheme ได P (สง 1 ไดรับ 1) = (1 – p)3 + 3p(1 – p)2 สวนระบบสง Single Digit จะได P (สง 1 ไดรับ 1) = (1 – p) ตารางที่ 2.7 ผลลัพธของการสงขอความทั้งสองระบบ P(สง 1 ไดรับ 1)
p = 0.01
p = 0.02
p = 0.05
Three–Digit Scheme
0.9997
0.9988
0.9928
0.99
0.98
0.95
Single Digit
2. ขอความถูกตอง นั่นหมายถึงการสงขอความทั้ง 1 และ 0 จะไดรับถูกตองทั้ง 2 คํา จาก ขอ 1. ถาสง 0 ไดรับ 0 จะมีความนาจะเปนเทากับการสง 1 ไดรับ 1 ตามหลัก Majority Rule เหมือนกัน และการสงแตละครั้งเปนอิสระตอกัน ดังนั้น เมื่อ p = 0.05 ความนาจะเปนของการสงขอความถูกตองทั้งหมดของระบบ Three–Digit Scheme = (0.9928)2 = 0.986 สวนความนาจะเปนของระบบสง Single Digit = (0.95)2 = 0.903
54
สถิติวิศวกรรม
ความแตกตางระหวางเหตุการณที่เกิดพรอมกันไมได (Mutually Exclusive Event) และเหตุการณที่เปนอิสระตอกัน (Independent Event) สองกรณีนี้อาจมีความ
สับสนวามีความเหมือนกันหรือแตกตางกันอยางไร จึงขออธิบายเปนลําดับดังนี้ • เมื่อเหตุการณ A และ B เกิดขึ้นพรอมกันไมได หมายถึง เมื่อเหตุการณ B เกิดขึ้นแลว เหตุการณ A จะไมสามารถเกิดขึ้นได นั่นคือ P(A | B) = 0 การเกิดของเหตุการณ B มีผลกระทบตอเหตุการณ A • ดังนั้น เหตุการณที่เกิดพรอมกันไมได จะเปนเหตุการณที่ไมอิสระ (Dependent Event) • สรุปไดวา กรณีเหตุการณเกิดขึ้นพรอมกันไมได จะไดวา P(A ∩ B) = 0 และ
P(A ∪ B) = P(A) + P(B)
กรณีเหตุการณอิสระตอกัน จะไดวา P(A ∩ B) = P(A) . P(B) และ
P(A ∪ B) = P(A) + P(B) – P(A ∩ B)
ตัวอยางเชน ถากําหนดให P(A) = 0.3 และ P(B) = 0.4 P(A ∩ B) P(A ∪ B) เหตุการณที่เกิดพรอมกันไมได 0 0.7 เหตุการณที่เปนอิสระตอกัน 0.12 0.58
P(A | B) 0 0.3
5. ทฤษฎีของเบย
ถาแซมเปลสเปซ S ประกอบดวยเหตุการณที่ไมสามารถเกิดขึ้นพรอมกันได (Mutually Exclusive Events) n เหตุการณคือ A1, A2, …, An และถาให B เปนอีกเหตุการณหนึ่งบน แซมเปลสเปซเดียวกัน และเปนสวนหนึ่งของ Ai (i = 1, 2, …, n) จะไดวา P(B) = P(A1 ∩ B) + P(A2 ∩ B) + ... + P(An ∩ B) = [P(B | A1) . P(A1)] + [P(B | A2) . P(A2)] + + [P(B | An) . P(An)] n
= Σ P(B | Ai) . P(Ai) i=1
บทที่ 2 ความนาจะเปน
ดังนั้น
P(Ak | B) =
55
P(Ak ∩ B) P(B | Ak) . P(Ak) = n P(B) Σ P(B | Ai) . P(Ai) i=1
ตัวอยางเชน จากรูปที่ 2.9 เหตุการณ A ประกอบดวยเหตุการณยอ ย 4 เหตุการณทเี่ กิดขึน้ พรอมกันไมไดคือ A1, A2, A3 และ A4 เหตุการณ B เปนอีกเหตุการณหนึ่งที่สนใจศึกษา (เสนประ) P(B) = P(A1 ∩ B) + P(A2 ∩ B) + P(A3 ∩ B) + P(A4 ∩ B) เนื่องจาก P(Ai ∩ B) = P(B | Ai) . P(Ai) ∴ P(B) = [P(B | A1) . P(A1)] + [P(B | A2) . P(A2)] + [P(B | A3) . P(A3)] + [P(B | A4) . P(A4)]
จากหลักการทฤษฎีของเบย จะคํานวณคา P(A2 | B) ไดจาก P(A2 ∩ B) P(A2 | B) = P(B) P(B | A2) . P(A2) = 4 (สวนที่แรเงา) . P(B | A ) P(A ) Σ i i i=1
B A2
A1 A 1∩ B
A 4∩ B
A2∩ B
A4
A 3∩ B A3
รูปที่ 2.9 เหตุการณ B บนเหตุการณ n เหตุการณของ A ที่เกิดพรอมกันไมได ที่มา : Navidi. 2008.
56
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 2.15 ผูจําหนายไมโครโปรเซสเซอร 3 บริษัท (A, B, C) สงวงจรใหกับผูผลิตอุปกรณ
Telemetry ซึ่งจะทําการตรวจสอบกอนสงเขาประกอบในสายการผลิต ทางผูผลิตไดรวบรวมสถิติ ขอบกพรองที่พบในวงจรของทั้ง 3 บริษัทจํานวน 1,525 วงจร แสดงดังตารางที่ 2.8 ตารางที่ 2.8 ผลการตรวจสอบอุปกรณ Telemetry ผูจําหนายไมโครโปรเซสเซอร
ขอบกพรองที่ ตรวจสอบพบ
A
B
C
นอย
176
223
187
ปานกลาง
194
182
209
มาก
112
124
118
จงหา 1. ความนาจะเปนทีส่ มุ ตรวจสอบวงจรไมโครโปรเซสเซอร แลวพบวาสงมาจากผูจ าํ หนาย A ถาเปนกลุมวงจรมีขอบกพรองนอย 2. ความนาทีจ่ ะเปนทีส่ มุ ตรวจสอบวงจรไมโครโปรเซสเซอร แลวพบวาสงมาจากผูจ าํ หนาย B ถาเปนกลุมวงจรมีขอบกพรองปานกลาง 3. ความนาทีจ่ ะเปนทีส่ มุ ตรวจสอบวงจรไมโครโปรเซสเซอร แลวพบวาสงมาจากผูจ าํ หนาย C ถาเปนกลุมวงจรที่มีขอบกพรองมาก
วิธีทํา
กําหนดให A แทนผูจําหนาย A, B แทนผูจําหนาย B และ C แทนผูจําหนาย C E1 แทนขอบกพรองนอย, E2 แทนขอบกพรองปานกลาง และ E3 แทน ขอบกพรองมาก
บทที่ 2 ความนาจะเปน
1. P(A | E1) = =
57
P(E1 | A) . P(A) P(E1 | A) . P(A) + P(E1 | B) . P(B) + P(E1 | C) . P(C) (176 | 482) . (482 | 1525) . (176 | 482) (482 | 1525) + (223 | 529) . (529 | 1525) + (187 | 514) . (514 | 1525)
= 176 586 A
B
C
E1 ขอบกพรองนอย
รูปที่ 2.10 ผลการตรวจสอบของ 3 บริษัท เมื่อวงจรมีขอบกพรองนอย
P(E2 | B) . P(B) P(E2 | A) . P(A) + P(E2 | B) . P(B) + P(E2 | C) . P(C) (182 | 529) . (529 | 1,525) = (194 | 482) . (482 | 1525) + (182 | 529) . (529 | 1525) + (209 | 514) . (514 | 1525) = 182 585
2. P(B | E2) =
P(E3 | C) . P(C) P(E3 | A) . P(A) + P(E3 | B) . P(B) + P(E3 | C) . P(C) (118 | 514) . (514 | 1525) = (112 | 482) . (482 | 1525) + (124 | 529) . (529 | 1525) + (118 | 514) . (514 | 1525)
3. P(C | E3) =
= 118 354
58
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 2.16 การตรวจสอบคุณภาพนํ้าจากแหลงธรรมชาติทั้งหมด 38 แหง วิเคราะหคา DO (Dissolved Oxygen) และคา BOD (Biochemical Oxygen Demand) ไดดังตารางที่ 2.9 ตารางที่ 2.9 ผลการตรวจสอบคุณภาพนํ้า DO BOD DO BOD DO BOD
8.15 2.27 7.19 3.58 8.09 2.96
5.45 4.41 7.55 3.16 8.19 2.93
6.05 4.03 6.92 3.43 8.29 2.89
6.49 3.75 7.11 3.36 8.38 2.86
6.11 3.37 7.28 3.30 8.46 2.82
6.46 3.23 7.44 3.24 8.54 2.79
6.22 3.18 7.60 3.19 8.62 2.76
6.05 4.08 7.28 3.22 8.69 2.73
6.30 4.00 7.44 3.17 8.76 2.70
6.53 3.92 7.59 3.13 9.26 2.51
วิธีทํา กําหนดให B1 = {DO ≤ 7.5 mg/L, BOD > 3.2 mg/L} B2 = {DO > 7.5 mg/L, BOD > 3.2 mg/L} B3 = {DO > 7.5 mg/L, BOD ≤ 3.2 mg/L} B4 = {DO ≤ 7.5 mg/L, BOD ≤ 3.2 mg/L} ดังนั้น
P(B1) = 17 38 0 P(B2) = 38 P(B3) = 19 38 2 P(B4) = 38
ถา A = {6.5 < DO < 8.5 mg/L, 2.7 < BOD < 3.7 mg/L} 7 ดังนั้น P(A | B1) = 17
6.74 3.83 7.73 3.08 9.31 2.49
6.90 3.74 7.85 3.04 9.35 2.46
7.05 3.66 7.97 3.00
บทที่ 2 ความนาจะเปน
59
P(A | B2) = หาคาไมได (Undefined) เพราะ P(B2) = 0 P(A | B3) = 11 19 P(A | B4) = 12
BOD, mg/L
5.0 4.5 4.0 3.5
B1
A
3.0 2.5 2.0 1.5 5.0
B2
B4 6.0
B3 7.0 8.0 DO, mg/L
9.0
10.0
รูปที่ 2.11 แผนภาพการกระจาย (Scatter Diagram) ของคุณภาพนํ้า และการประยุกตใชทฤษฎีเบย ที่มา : Kottegoda and Rosso.1997.
P(A) = P(A | B1) P(B1) + P(A | B2) P(B2) + P(A | B3) P(B3) + P(A | B4) P(B4) 7 17 + (–)(0) + 11 19 + 1 2 = 19 = 17 38 19 38 2 38 38
( )
P(B1/A) =
( ) ( )
P(A | B1) . P(B1) P(A | B1) . P(B1) + P(A | B2) . P(B2) + P(A | B3) . P(B3) + P(A | B4) . P(B4)
7 = 19 = (7/17)(17/38) 19/38 P(B2 | A) = 0 P(B3 | A) = 0.05 P(B4 | A) = 0.58
60
สถิติวิศวกรรม
แบบฝกหัด 1. ในการทดสอบรสชาติผลิตภัณฑอาหารชนิดใหม ผูทดสอบจะทดลองชิมรสชาติตัวอยาง ผลิตภัณฑ 8 ชนิด จงหาจํานวนวิธีที่จะเลือกตัวอยางที่มีรสชาติดีที่สุด อันดับ 1, 2 และ 3 วามีกี่วิธี (เฉลย : 336 วิธี) 2. ผูจัดการทีมวอลเลยบอลตองการจัดใหผูเลน 10 คนลงเลน 6 ตําแหนงตางๆ กัน มีกี่วิธีที่ สามารถจัดได ถาผูเลนทุกคนสามารถเลนตําแหนงใดก็ได (เฉลย : 151,200 วิธี) 3. บริษัทแหงหนึ่งทําการสอบเทียบเครื่องมือวัดจํานวน 15 เครื่อง จงหาจํานวนวิธีที่เปนไปได ในการเลือกสอบเทียบเบื้องตน 3 เครื่อง (เฉลย : 455 วิธี) 4. จํานวนเหตุการณในการสุมเลือกเลนสจากกลุมเลนสเวา 6 เลนส กลุมเลนสโคง 4 เลนส และกลุมเลนสรูปพีระมิด 3 เลนส กลุมละ 1 เลนส มีกี่เหตุการณ (เฉลย : 72 เหตุการณ) 5. ชิน้ สวนอิเล็กทรอนิกส 12 ตัววางอยูใ นถาดชิน้ งานเพือ่ เตรียมประกอบแผงวงจร ถามีชนิ้ สวน 2 ตัวทีเ่ สีย แลวพนักงานผลิตหยิบชิน้ สวนมา 3 ตัว พนักงานผลิตจะหยิบชิน้ สวนอิเล็กทรอนิกส ไดทั้งหมดกี่วิธี โดยให 5.1 ไมไดชิ้นสวนที่เสียเลย (เฉลย : 120 วิธี) 5.2 ไดชิ้นสวนที่เสีย 1 ตัว (เฉลย : 90 วิธี) 5.3 ไดชิ้นสวนที่เสีย 2 ตัว (เฉลย : 10 วิธี) 6. ผูตรวจสอบอาคารสุมตรวจสอบการติดตั้งสายไฟในอาคารแหงหนึ่ง พบวาจุดที่สายไฟยังมี คุณภาพดี 12 จุด เสื่อมคุณภาพ 6 จุด และคุณภาพไมผาน 2 จุด ถาสุมจุดตรวจสายไฟออก มา 1 จุด จงหาความนาจะเปนที่ 6.1 ไดสายไฟที่มีคุณภาพดี (เฉลย : 0.6) 6.2 ไมไดสายไฟที่คุณภาพไมผาน (เฉลย : 0.9) 6.3 ไดสายไฟคุณภาพดีหรือไมก็คุณภาพไมผาน (เฉลย : 0.7)
บทที่ 2 ความนาจะเปน
61
7. การบําบัดนํ้าทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นํ้าทิ้ง (Effluent) คือนํ้าเสียที่ไดรับการบําบัดและ/ หรือไมไดรับการบําบัด ซึ่งถูกระบายสูแหลงนํ้าตามธรรมชาติ จะถูกควบคุมไมใหเกินคา มาตรฐานคุณภาพนํา้ ขัน้ ตํา่ (L) ในการตรวจสอบจะใชตวั อยางนํา้ ทีเ่ ก็บมาจากสถานทีแ่ ละเวลา ที่แตกตางกัน ถาทราบวามีโอกาส 1% ที่จะเจอตัวอยางนํ้าที่มีการปนเปอนเกินคามาตรฐาน 7.1 จงหาความนาจะเปนที่ไมพบการเจือปนในตัวอยางนํ้าที่เก็บมาทั้ง 2 ตัวอยาง (เฉลย : 0.98) 7.2 ถามีการเก็บตัวอยางนํ้า 1 ตัวอยางทุกสัปดาหเปนเวลา 2 ปติดตอกัน จงหาความนาจะ เปนที่ไมพบการปนเปอนเลย (เฉลย : 0.35) 8. ระบบการทํางานของวงจรไฟฟามีชิ้นสวนประกอบหลายชิ้นสวนตอกันแบบอนุกรม ขนาน และผสม ดังรูป ถากําหนดคาความนาจะเปนในรูปเปนโอกาสที่ชิ้นสวนประกอบเหลานั้นจะ ทํางานได และการทํางานของชิ้นสวนประกอบแตละอันเปนอิสระตอกัน จงหาความนาจะ เปนที่แตละระบบจะทํางานได 0.35
8.1
0.75
8.2
0.35 0.90
8.3
0.75
0.95 0.99
0.90 0.90
(เฉลย : 0.8375, 0.2625, 0.9865)
0.95
62
สถิติวิศวกรรม
9. วิศวกรซอมบํารุงตรวจสอบการสึกกรอนของทอในระบบหลอเย็นของโรงไฟฟานิวเคลียร เพือ่ ทําการเปลี่ยนใหมใหกลับมามีสภาพสมบูรณพรอมใชงาน การเลือกสั่งซื้อทอจากบริษัทผู จําหนาย 3 แหงคือ บริษัท A, B และ C จากประสบการณวิศวกรทราบวา 1% ของทอที่มา จากบริษัท A, 3% ที่มาจากบริษัท B และ 4% จากบริษัท C จะเปนทอที่มีตําหนิ วิศวกรสั่ง ซื้อทอจากบริษัททั้ง 3 แหงเปนจํานวน 30%, 50% และ 20% ตามลําดับ จงหาความนาจะ เปนที่จะพบทอที่มีตําหนิ ถาสุมตรวจสอบคุณภาพมา 1 ตัวอยาง (เฉลย : 0.026) 10. การตรวจสอบการแพรระบาดของไขหวัดในชุมชนแหงหนึ่ง พบวา 2% มีการแพรระบาด ของโรคระดับรุนแรง, 10% แพรระบาดเปนบางสวน และที่เหลือไมพบการแพรระบาดเลย ถาคนไขคนหนึ่งที่พบการแพรระบาดของโรคระดับรุนแรง แลวความนาจะเปนของการตอบ สนองตอการรักษาไดดีเทากับ 0.9 (ที่เหลือ 0.1 ไมตอบสนองตอการรักษา) ถาคนไขที่พบ การแพรระบาดเปนบางสวน แลวความนาจะเปนของการตอบสนองตอการรักษาไดดีเทา กับ 0.6, ถาคนไขที่ไมพบการแพรระบาดเลย แลวความนาจะเปนของการตอบสนองตอ การรักษาเทากับ 0.1 10.1 จากการสุมเลือกคนไขมา 1 คน ถาพบวาตอบสนองตอการรักษาไดดีแลว จงหาความ นาจะเปนที่คนไขมีการแพรระบาดของโรคระดับรุนแรง (เฉลย : 0.108) 10.2 จงหาความนาจะเปนที่พบการตอบสนองตอการรักษาไดผลดี (เฉลย : 0.166) 10.3 ถาการตอบสนองตอการรักษาไดผลดีแลว จงหาความนาจะเปนทีจ่ ะพบการแพรระบาด เปนบางสวนหรือไมพบการแพรระบาดเลย (เฉลย : 0.892) 11. การตรวจประเมินคามลพิษในภูมิภาคแหงหนึ่ง พบวามีสาเหตุจากโรงงานอุตสาหกรรมและ จากการจราจร ถาคาดวาอีก 3 ปขา งหนาโอกาสทีจ่ ะควบคุมมลพิษจาก 2 แหลงนีไ้ ดเปน 75% และ 60% ตามลําดับ และถาสามารถควบคุมเพียงสาเหตุหนึ่งสาเหตุใดได จะทําใหโอกาส ที่จะใหมลพิษของภูมิภาคตํ่ากวาระดับที่กําหนดไวเปน 80% 11.1 มีความนาจะเปนเทาไรทีจ่ ะสามารถควบคุมมลพิษไดในอีก 3 ปขา งหนา (เฉลย : 0.81) 11.2 ในอีก 3 ปขางหนา มีโอกาสเทาไรที่ระดับมลพิษไมสามารถควบคุมไดมาจากสาเหตุ ของการจราจร (เฉลย : 0.32)
บทที่ 2 ความนาจะเปน
63
12. ขอมูลของอุตสาหกรรมจังหวัดหนึ่งสํารวจพบวา 40% ของโรงงานอุตสาหกรรมใชพลังงาน นํ้า, 50% ใชพลังงานแสงอาทิตย และที่เหลือใชพลังงานลม 75% ของโรงงานที่ใชพลังงาน นํ้าจะเปนโรงงานขนาดใหญ, สวน 65% ของโรงงานที่ใชพลังงานแสงอาทิตยจะเปนโรงงาน ขนาดใหญ และ 25% ของโรงงานที่ใชพลังงานลมจะเปนโรงงานขนาดใหญ 12.1 จงหาความนาจะเปนที่จะพบโรงงานที่มีขนาดกลางและเล็ก (เฉลย : 0.35) 12.2 ถาโรงงานแหงหนึง่ เปนโรงงานขนาดใหญแลว จงหาความนาจะเปนทีจ่ ะใชพลังงานนํา้ พลังงานแสงอาทิตย และพลังงานลม ตามลําดับ (เฉลย : 0.4615, 0.5, 0.0385)
3
ตัวแปรสุม
การทดลองเชิงวิทยาศาสตรและเชิงวิศวกรรมศาสตรมักใหนํ้าหนักความสําคัญตอขอมูล ที่เปนตัวเลข (Numerical Outcome) ในบทที่ 2 ผลของการทดลองจะจําแนกเปนรายละเอียด เชิงกายภาพ (Physical Outcome) อยูในเหตุการณและแซมเปลสเปซ ถาแปรเปลี่ยนมุมมองเชิง กายภาพใหกลายเปนมุมมองเชิงตัวเลขเพือ่ นําไปคํานวณหรือสรางฟงกชนั ความสัมพันธ จะทําให จัดระเบียบของผลการศึกษาไดอยางเปนแบบแผน (Pattern) งายตอการนําไปวิเคราะหหรือใชงาน ตัวอยางเชน ผลการทดสอบความเคนของชิน้ งานโลหะ จะไดผลลัพธเปนผาน (Pass, P) และไม ผาน (Fail, F) ถาเปลีย่ นมุมมองเปนจํานวนของชิน้ งานโลหะทีผ่ า นการทดสอบ จะไดขอ มูลเชิงตัวเลข ตัง้ แต 0, 1, 2, ... (ดังรูปที่ 3.1) เพือ่ นําไปสรุปผล วิเคราะห หรือสรางฟงกชนั ของความนาจะเปนไดตอ ไป แซมเปลสเปซ PPPP PPPF PPFP PFPP FPPP PPFF PFPF PFFP FPPF FPFP FFPP PFFF FPFF FFPF FFFP FFFF
0
1
2
3
4
x
รูปที่ 3.1 ตัวอยางการแปรผลลัพธเชิงกายภาพเปนผลลัพธเชิงตัวเลข ที่มา: Devore and Farnum. 2005.
66
สถิติวิศวกรรม
เนื้อหาในบทเรียนนี้ จะแนะนําใหรูจักตัวแปรสุม (Random Variable) และการสราง ฟงกชันความนาจะเปนประเภทตางๆ เพื่อปูพื้นฐานสูการแจกแจงความนาจะเปน (Probability Distribution) แบบตางๆ ซึ่งจะกลาวรายละเอียดในบทเรียนถัดไป สําหรับหัวขอในบทเรียนนี้ ประกอบดวย (1) ตัวแปรสุม (2) ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน (3) ฟงกชันการแจกแจง ความนาจะเปนแบบสะสม (4) การแจกแจงความนาจะเปนรวมกัน (5) การแจกแจงมารจินัล (6) การแจกแจงแบบมีเงื่อนไข และ (7) ตัวแปรสุมเปนอิสระตอกัน
1. ตัวแปรสุม ตัวแปรสุม (Random Variable) หมายถึง ลักษณะตางๆ ซึ่งเปนผลลัพธที่เกิดขึ้นจากการ ทดลองสุม อาจอยูในรูปของตัวเลข หรือฟงกชันที่เปนจํานวนจริง ซึ่งจะถูกกําหนดคาโดยสมาชิก แตละตัวในแซมเปลสเปซ S สัญลักษณที่ใชแทนตัวแปรสุม เชน X, Y เปนตน คาของตัวแปรสุม จะใชสัญลักษณแทนดวย x, y แซมเปลสเปซ S
ตัวแปรสุม X X(e)
e
รูปที่ 3.2 ความสัมพันธระหวางแซมเปลสเปซและตัวแปรสุม ที่มา : Hines et al. 2003.
จากรูปที่ 3.2 จะเห็นไดวา สมาชิก e ในแซมเปลสเปซ เปนตัวกําหนดคาของตัวแปรสุม X โดยมีคาเทากับ X(e) ตัวอยางเชน ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ จํานวน 3 ครั้ง กําหนดใหตัวแปรสุม X แทน จํานวนหนาหัวที่ปรากฏจากการทดลอง สมาชิกในแซมเปลสเปซจะกําหนดคาของตัวแปรสุม X ดังรูปที่ 3.3 S = {HHH, HHT, HTH, HTT, THH, THT, TTH, TTT} X = {0, 1, 2, 3}
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
แซมเปลสเปซ S TTT TTH THT HTT HHT HTH THH HHH
67
ตัวแปรสุม X 0 1 2 3
รูปที่ 3.3 ตัวแปรสุม X แทนจํานวนหนาที่ออกหัว ที่มา : Hines et al. 2003.
ตัวอยางเชน ในการทอดลูกเตา 2 ลูก กําหนดใหตัวแปรสุม Y แทนผลบวกของลูกเตา
สมาชิกแตละตัวในแซมเปลสเปซ S จะกําหนดคาของตัวแปรสุม Y แสดงดังตารางที่ 3.1 S = {(1, 1) (1, 2) (1, 3) … (6, 6)} Y = {2, 3, 4, …, 12} ตารางที่ 3.1 ตัวแปรสุม Y แทนผลบวกของลูกเตา ตัวแปรสุม Y
สมาชิกในแซมเปลสเปซ S
Y=2
{(1, 1)}
Y=3
{(1, 2), (2, 1)}
Y=4
{(1, 3), (2, 2), (3, 1)}
Y=5
{(1, 4), (2, 3), (3, 2), (4, 1)}
Y=6
{(1, 5), (2, 4), (3, 3), (4, 2), (5, 1)}
Y=7
{(1, 6), (2, 5), (3, 4), (4, 3), (5, 2), (6, 1)}
Y=8
{(2, 6), (3, 5), (4, 4), (5, 3), (6, 2)}
Y=9
{(3, 6), (4, 5), (5, 4), (6, 3)}
Y = 10
{(4, 6), (5, 5), (6, 4)}
Y = 11
{(5, 6), (6, 5)}
Y = 12
{(6, 6)}
ความนาจะเปน 1 36 2 36 3 36 4 36 5 36 6 36 5 36 4 36 3 36 2 36 1 36
68
สถิติวิศวกรรม
ลักษณะของตัวแปรสุมแบงออกเปน 2 ประเภทคือ ตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง และตัวแปร สุมแบบตอเนื่อง ตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง (Discrete Random Variable) หมายถึง ตัวแปรสุมที่มี คาแนนอนอันเนื่องมาจากการทดลองที่มีจํานวนตัวอยางจํากัดหรือไมจํากัดแตนับได สวนตัวแปร สุมแบบตอเนื่อง (Continuous Random Variable) จะหมายถึงตัวแปรสุมที่มีคาที่ตอเนื่องอันเนื่อง มาจากการทดลองที่มีจํานวนตัวอยางนับไมถวน ตัวอยางเชน ตัวแปรสุม X แทนจํานวนโรงไฟฟาที่ผลิตกระแสไฟฟา จากทั้งหมด 3 แหง x = 0, 1, 2, 3 ← ตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง ตัวแปรสุม X แทนเสนผานศูนยกลางของกระบอกสูบ วัดคาไดระหวาง 49.5 ถึง 50.5 mm x = (49.5, 50.5) ← ตัวแปรสุมแบบตอเนื่อง ตัวแปรสุม X แทนอายุการใชงานของแบตเตอรี่ ← ตัวแปรสุมแบบตอเนื่อง x = [0, ∞)
2. ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน (Probability Density Function – pdf) ตัวแปรสุมเปนขอมูลเชิงตัวเลขทีส่ รุปไดจากการทดลองใดๆ สามารถหาคาความนาจะเปน แตละคาของตัวแปรสุมได แทนดวย P(X = x) โดยมีคุณสมบัติของความนาจะเปนคือ 0 ≤ P(X = x) ≤ 1 เมื่อ X = x หมายถึง ตัวแปรสุม X ที่มีคาเทากับ x คาความนาจะเปน เมื่อกําหนด X = x หรือแทนดวย P(X = x) นั้น อาจเรียกวาเปนฟงกชัน การแจกแจงความนาจะเปน (pdf) ของ ตัวแปรสุม X แทนดวย f(x) ดังนั้น P(X = x) มีความหมายเดียวกันกับ f(x) ความสัมพันธระหวาง X และ P(X = x) แสดงในรูปฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนได โดยอยูในรูปของตาราง รูปของความสัมพันธ หรือรูปของกราฟ ตัวอยางเชน โยนเหรียญ 1 เหรียญ จํานวน 3 ครั้ง กําหนดใหตัวแปรสุม X คือจํานวน หนาหัวที่ปรากฏ คาของตัวแปรสุม X เทากับ 0, 1, 2, 3 แสดงดวยฟงกชันการแจกแจงความนา จะเปน pdf ในรูปของตาราง ดังตารางที่ 3.2 หรือรูปของกราฟ ดังรูปที่ 3.4
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
69
ตารางที่ 3.2 pdf ในรูปของตาราง X
0
1
2
3
P(X = x)
1/8
3/8
3/8
1/8
1/8; x = 0, 3 P(X = x) = 3/8; x = 1, 2 ← pdf ในรูปของความสัมพันธ 0; x อื่นๆ 3/8
3/8 1/8
1/8 0
1
2
3
x
รูปที่ 3.4 pdf ในรูปของกราฟ
2.1 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง (Discrete Probability Distribution) เมื่อ X เปนตัวแปรสุมไมตอเนื่องที่มีคาเปน x1, x2, …, xn ดวยความนาจะเปน f(x1), f(x2), ..., f(xn) ตามลําดับ ถาเหตุการณ A เปนสับเซตของเซต { x1, x2, …, xn } แลวจะไดคาความนา จะเปนของเหตุการณ A หรือ P(A) = Σ f (x) ทุกคา x ของเหตุการณ A x
คุณสมบัติของ pdf ของตัวแปรสุมไมตอเนื่อง 1. f(x) ≥ 0 สําหรับทุกคา x ที่เปนจํานวนจริง 2. 0 ≤ f(x) ≤ 1 3. Σ f(x) = 1 x
b
4. P(a ≤ X ≤ b) = Σ f(x) x=a
70
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 3.1 การสุม ตรวจสอบตัวอยางเวเฟอรจาํ นวน 2 อันในกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร
ไดกําหนดใหผลลัพธจากการตรวจสอบเปน 2 ทางคือ ผาน (Pass) หรือไมผาน (Fail) จากขอมูล ในอดีตพบวา การตรวจสอบเวเฟอรอันที่ 1 และ 2 เปนอิสระตอกัน ความนาจะเปนในการตรวจ สอบเวเฟอร 1 อันแลวไดผลเปนผานเทากับ 0.93 จงหาคาของตัวแปรสุมและการแจกแจงความ นาจะเปนของตัวแปรสุม
วิธีทํา
S = {, , , } กําหนดให X แทนผลลัพธในการตรวจสอบแลว ผาน ดังนั้น คาของตัวแปรสุม X = {0, 1, 2} การแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุม X แสดงดังตารางที่ 3.3 ตารางที่ 3.3 การแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุม X
ดังนั้น
ผลลัพธ
ความนาจะเปน
X=x
(0.93)(0.93) = 0.865
2
(0.93)(0.07) = 0.065
1
(0.07)(0.93) = 0.065
1
(0.07)(0.07) = 0.005
0
P(X = 0) = 0.005 P(X = 1) = 0.065 + 0.065 = 0.13 P(X = 2) = 0.865
จะเห็นไดวา
f(x) = P(X = 0) + P(X = 1) + P(X = 2) = 1 Σ x
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
71
ตัวอยางที่ 3.2 โรงงานผลิตแบตเตอรี่ Nikel Metal Hydride (NMH) สําหรับรถยนตไฮบริด
ไดทําการตรวจสอบขอบกพรองระหวางการชารจแบตเตอรี่ และจะหยุดตรวจสอบเมื่อตรวจพบ แบตเตอรี่ที่ชารจไฟไมเขา จากขอมูลในอดีตพบวา การตรวจสอบแบตเตอรี่แตละอันเปนอิสระ ตอกัน และมีความนาจะเปนที่จะตรวจพบแบตเตอรี่ที่ชารจไฟไมเขาเทากับ 0.005 ถาให X แทน จํานวนแบตเตอรีท่ ตี่ อ งทําการตรวจสอบ จงหาฟงกชนั การแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุม X
วิธีทํา
S = {, , , , ….}
ตัวแปรสุม X แทนจํานวนแบตเตอรี่ที่ตองทําการตรวจสอบ คาของตัวแปรสุม X = {1, 2, 3, 4, …} P(X = 1) = P() = (0.995)0 (0.005) P(X = 2) = P() = (0.995)1 (0.005) เมื่อตัวแปรสุม X มีคาเพิ่มมากขึ้น จะพบวาความนาจะเปนของ X สามารถสรุปเปน ฟงกชันความสัมพันธไดในรูป (0.995)x – 1 (0.005) ดังนั้น ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุม X = f(x) P(X = x) = (0.995)x – 1 (0.005); x = 1, 2, 3, … 0 ; x อื่นๆ
ตัวอยางที่ 3.3 ในการขนสงเครื่องยนต 100 เครื่องโดยทางเรือ ตรวจสอบพบวามีชํารุด 5 เครื่อง
ถาโรงงานประกอบรถยนตแหงหนึ่งสั่งซื้อเครื่องยนตจํานวน 4 เครื่อง จงหาฟงกชันการแจกแจง ความนาจะเปนของจํานวนเครื่องยนตชํารุดที่ทางโรงงานจะไดรับ
วิธีทํา
กําหนดให X แทนจํานวนเครื่องยนตชํารุดที่ทางโรงงานจะไดรับ X = {0, 1, 2, 3, 4} 5 95 x 4–x ดังนั้น f(x) = P(X = x) = ; x = 0, 1, 2, 3, 4 100 4 0 ; x อื่นๆ
( )( ) ( )
72
สถิติวิศวกรรม
อาจแสดงฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุม X ในรูปของตาราง หรือรูป ของกราฟ ดังรูปที่ 3.5 0.805 X 0 1 2 3 4
( 50 ) ( 954 ) ( 51 ) ( 953 ) ( 52 ) ( 952 ) ( 53 ) ( 951 ) ( 54 ) ( 950 )
f(x) 100 4 100 4 100 4 100 4 100 4
( ( ( ( (
) ) ) ) )
= 0.805 = 0.178
f(x) 0.178
= 0.014 = 0.003 = 0.000
0
1
0.014 0.003 2 3
4 x
รูปที่ 3.5 pdf ในรูปของตารางและกราฟ
2.2 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง (Continuous Probability Distribution)
ตัวแปรสุมตอเนื่อง X มีฟงกชัน f(x) ซึ่ง f(x) ≥ 0 สําหรับทุกคา x ในชวง ( –∞, ∞) ถา A เปนเหตุการณใดๆ จะไดคาความนาจะเปนของเหตุการณ A หรือ P(A) = ∫ f(x)dx ทุกคา x ของ x เหตุการณ A คุณสมบัติของ pdf ของตัวแปรสุมตอเนื่อง 1. f(x) ≥ 0 สําหรับทุกคา x ที่เปนจํานวนจริง 2. 0 ≤ f(x) ≤ 1 ∞
3. ∫ –∞ f(x)dx = 1
b
4. P(a ≤ X ≤ b) = ∫ f(x)dx a
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
73
ตัวอยางที่ 3.4 ถาตัวแปรสุม X แทนเสนผานศูนยกลางของกระบอกสูบ ซึ่งมีฟงกชันความนา
จะเปน f(x) = 1.5 – 6(x – 50)2 โดยมีขอบเขตของ X เปน [49.5, 50.5] mm จงหาความนาจะ เปนที่จะวัดเสนผานศูนยกลางระหวาง 49.8 และ 50.1 mm
วิธีทํา P(49.8 < X < 50.1) =
50.1
50.1
∫ 1.5 – 6(x – 50)2dx = [1.5x – 2(x – 50)3 ] | 49.8
49.8
= 75.148 – 74.716 = 0.432 f(x) = 1.5 – 6(x – 50)2
49.5
49.8
50.1 50.5 x เสนผานศูนยกลางกระบอกสูบ (mm)
รูปที่ 3.6 ความนาจะเปนของตัวแปรสุม X ระหวาง 49.8 และ 50.1 mm ที่มา : Hayter. 2002.
74
สถิติวิศวกรรม
kx ; 0 ≤ x < 2
ตัวอยางที่ 3.5 จงหาคาคงที่ k ของฟงกชัน f(x) = k(4 – x); 2 ≤ x ≤ 4 ซึ่งเปนฟงกชัน 0 ; x อื่นๆ
pdf และคาของ P(1 < X < 2)
วิธีทํา 1. หาคาคงที่ k ∞ จากคุณสมบัติของความนาจะเปน ∫ –∞ f(x)dx = 1 จะได 2
4
∫0 kx dx + ∫2 k(4 – x)dx = 1
(k x22 ) 02 + (4kx – k x22 ) 42
= 1
2k + 2k = 1 ∴ k = 14 2 2. P(1< X < 2) = ∫ 14 xdx = 18 x2 1
( ) 21
= 38
3. ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนแบบสะสม (Cumulative Distribution Function – cdf) ถา X เปนตัวแปรสุม ซึ่งอาจจะเปนแบบไมตอเนื่องหรือแบบตอเนื่อง กําหนดให F(x) เปน ฟงกชันความนาจะเปนสะสม (cdf) ของตัวแปรสุม X แลว F(x) = P(X ≤ x) ถา X เปนตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง F(x) = Σ f (x) x x
ถา X เปนตัวแปรสุมแบบตอเนื่อง F(x) = ∫ f(x)dx –∞
ตัวอยางของกราฟความนาจะเปนสะสมแบบไมตอ เนือ่ งและแบบตอเนือ่ ง แสดงดังรูปที่ 3.7
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
F(x) 1 17/18 15/18 12/18
75
1 F(x)
8/18 3/18
0 0
1
2
3
4
5
x
x
รูปที่ 3.7 ตัวอยางกราฟความนาจะเปนสะสม (cdf) แบบไมตอเนื่อง (ซาย) และแบบตอเนื่อง (ขวา) ที่มา : Hayter. 2002.
คุณสมบัติของ cdf 1. 0 ≤ F(x) ≤ 1 2. F(x) เปนฟงกชันที่มีคาไมลดลงของ X 3. P(a < X ≤ b) = F(b) – F(a)
ตัวอยางที่ 3.6 บริษทั ผูผ ลิตเครือ่ งมือทางการแพทยสง มอบชุดผาตัดใหกบั โรงพยาบาลแหงหนึง่
635 ชุด ฝายตรวจรับพัสดุของโรงพยาบาลตรวจสอบพบวามีชุดผาตัดที่ตํ่ากวามาตรฐานจํานวน 35 ชุด ถาลองเปลี่ยนมาสุมตรวจสอบชุดผาตัด 2 ชุดโดยสุมตรวจทีละชุด จงหาความนาจะเปนที่ พบชุดผาตัดที่ตํ่ากวามาตรฐาน และหาฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนแบบสะสม
วิธีทํา
S = {, , , } กําหนดให X แทนชุดผาตัดที่สุมตรวจสอบแลวพบวาตํ่ากวามาตรฐาน x = 0, 1, 2 600 599 . 599 = 0.893 P(X = 0) = 1 . 1 = 600 635 634 635 634 1 1
( )( ) ( )( ) ( )( )
76
สถิติวิศวกรรม
P(X = 1) =
( 6001 ) . ( 351 ) + ( 351 ) . ( 6001 ) ( 6351 ) ( 6341 ) ( 6351 ) ( 6341 ) ( )( ) ( )( )
= 600 . 35 + 35 . 600 = 0.052 + 0.052 635 634 635 634 = 0.104 P(X = 2) =
( 351 ) . ( 341 ) = 35 . 34 = 0.003 ( 635 ) ( 634 ) 635 634 (1) (1)
ฟงกชันความนาจะเปนสะสม F(x) =
0.893; x = 0 0.997; x = 1 1 ; x=2
ตัวอยางที่ 3.7 จากตัวอยางที่ 3.4 ถาทราบฟงกชนั ความนาจะเปนของเสนผานศูนยกลางกระบอกสูบ f(x) แลว จงหาฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนแบบสะสมของเสนผานศูนยกลางกระบอกสูบ
วิธีทํา จากตัวอยางที่ 3.4 กําหนดใหตัวแปรสุม X แทนเสนผานศูนยกลางของกระบอกสูบ F(x) = P(X ≤ x) =
x
2 ∫ 1.5 – 6(x – 50) dx
49.5
= 1.5x – 2(x – 50)3 – 74.5 ดังนั้น
0 ; x < 49.5 3 F(x) = 1.5x – 2(x – 50) – 74.5 ; 49.5 ≤ x ≤ 50.5 1 ; x > 50.5
ถาตองการหา P(49.7 ≤ X ≤ 50.0) = F(50.0) – F(49.7) = 0.5 – 0.104 = 0.396 (ดังรูปที่ 3.8)
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
77
F(x) = 1.5x – 2(x – 50)3 – 74.5 1
P(49.7 ≤ X ≤ 50.0) = 0.396
P(X ≤ 50.0) = 0.500
P(X ≤ 49.7) = 0.104 49.5
49.7
50.0
50.5 x เสนผานศูนยกลางกระบอกสูบ (mm) รูปที่ 3.8 ความนาจะเปนของเสนผานศูนยกลางกระบอกสูบ ตั้งแต 49.7 ถึง 50.0 mm
ตัวอยางที่ 3.8 กําหนดใหฟงกชันความนาจะเปนสะสมของความเคนอัดในแทงคอนกรีตคือ F(x) = 3.856 – 12.8e–0.01x ; 120 ≤ x ≤ 150 จงหาฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน (pdf) และความนาจะเปนที่ความเคนอัดในแทง คอนกรีตไมเกิน 133.9
วิธีทํา กําหนดให X แทนความเคนอัดในแทงคอนกรีต เนื่องจาก ดังนั้น
∴
หรือ
F(x) =
x
∫ f(x)dx
–∞
d dx F(x) = f(x) d (3.856 – 12.8e–0.01x) = 0.0128e–0.01x ∴ f(x) = dx P(X ≤ 133.9) =
133.9
–0.01x dx ∫ 0.0128e
120
F(133.9) = 3.856 – 12.8e–0.01(133.9) = 0.5
78
สถิติวิศวกรรม
4. การแจกแจงความนาจะเปนรวมกัน (Joint Probability Distribution) หัวขอที่ผานมา เปนการแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุมเพียงตัวแปรเดียว ในกรณี ที่ตองการศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปรสุมหลายตัวภายใตแซมเปลสเปซเดียวกันนั้น เชน ชิ้นงานโลหะหนึ่งชิ้น วัดขอมูลของขนาด นํ้าหนัก ความเคน เปอรเซ็นตคารบอน เปนตน สมาชิก ภายในแซมเปลสเปซแตละตัวจะเปนตัวกําหนดคาของตัวแปรสุม ไดหลายคา ดังรูปที่ 3.9 จะพบวา สมาชิก e เปนตัวกําหนดคาของตัวแปรสุม k ตัวแปร ไดคาของตัวแปรสุมเทากับ X1(e), X2(e), …, Xk(e) การศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปรสุมหลายตัวแปรและความนาจะเปนรวมกัน (Joint Probability Distribution) จะถูกเรียกวา การแจกแจงหลายตัวแปร (Multivariate Distributions) ตัวแปรสุม X1, X2, ..., Xk แซมเปลสเปซ S e
X1 X2 Xk
x1 = X1(e) x2 = X2(e) xk = Xk(e)
รูปที่ 3.9 แซมเปลสเปซและตัวแปรสุมจํานวน k ตัวแปร ที่มา : Hines et al. 2003.
ในหัวขอนี้จะศึกษาเฉพาะตัวแปรสุมสองตัวคือ X และ Y ฟงกชันการแจกแจงความนา จะเปนรวมกันของตัวแปรสุม X และ Y แทนดวย f(x, y) การศึกษาความสัมพันธของตัวแปรสุม สองตัวและความนาจะเปนรวมกัน จะถูกเรียกวาการแจกแจงสองตัวแปร (Bivariate Distribution) ฟงกชัน f(x, y) แบงเปน 2 กรณีคือ กรณีตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง และกรณีตัวแปรสุมแบบ ตอเนื่อง
79
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
4.1 การแจกแจงความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุม แบบไมตอเนื่อง (Discrete Joint Probability Distribution) ถา X และ Y เปนตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง จะนิยามฟงกชันความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y ดังนี้ f (x, y) = P(X = x, Y = y)
คุณสมบัติของความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง 1. f(x, y) ≥ 0 สําหรับทุกคาของ x และ y ที่เปนจํานวนจริง 2. 0 ≤ f(x, y) ≤ 1 3. Σ Σ f (x, y) = 1 x y
4. P[(X, Y) ∈ A ] = Σ Σ f(x, y) A
เชนเดียวกันกับตัวแปรสุม เดียว การแจกแจงรวมกันของตัวแปรสุม แบบไมตอ เนือ่ งสามารถ แสดงในรูปของตารางหรือกราฟได ดังรูปที่ 3.10 X
Y 0
f(x, y) 0
1
2
3
3/30
4
1/30 1/30 2/30 3/30 1/30
1
1/30 1/30 3/30 4/30
2
1/30 2/30 3/30
3
1/30 3/30
4
3/30
1/30 0
1/30 0
1/30 1
1/30
1/30 2/30
1/30
3/30
y
3/30 3/30 4/30
2/30
3/30 1/30
2
3
รูปที่ 3.10 การแจกแจงของตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง
4
x
80
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 3.9 ทดลองโยนลูกเตา 2 ลูกจํานวน 1 ครั้ง ถากําหนดให X แทนผลรวมของแตมที่
ได และ Y แทนจํานวนของแตมที่เปนเลขคี่ จงหาการแจกแจงความนาจะเปนรวมกันของตัวแปร สุมทั้งสอง
วิธีทํา S = {(1, 1) (1, 2) (1, 3) ... (6, 6)} รวมทั้งหมด 36 เหตุการณ กําหนดให X = ผลรวมของแตมที่ได; x = 2, 3, …, 12 Y = จํานวนของแตมที่เปนเลขคี่; y = 0, 1, 2 ดังนั้น การแจกแจงความนาจะเปนรวมกัน f(x, y) แสดงดังตารางที่ 3.4 ตารางที่ 3.4 ความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุม X และ Y Y
X 0 1 2
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
0 0 1/36
0 2/36 0
1/36 0 2/36
0 4/36 0
2/36 0 3/36
0 6/36 0
3/36 0 2/36
0 4/36 0
2/36 0 1/36
0 2/36 0
1/36 0 0
จากตารางที่ 3.4 ตัวอยางเชน ถา X = 2 หมายถึง ผลรวมลูกเตามีคา เทากับ 2 (x = 2) ซึง่ จะมีอยู เพียง 1 เหตุการณคือ (1, 1) และเมื่อพิจารณาจํานวนของแตมที่เปนเลขคี่ จะไดวาลูกเตาทั้งสอง ใหหนาคี่คือ 1 ซึ่งจะใหคาตัวแปรสุม Y เทากับ 2 (y = 2) ดังนั้น f(x, y) = f(2, 2) = 1/36 ถา X = 3 หมายถึง ผลรวมลูกเตามีคาเทากับ 3 (x = 3) ซึ่งจะมีอยู 2 เหตุการณคือ (1, 2) (2, 1) และเมื่อพิจารณาจํานวนของแตมที่เปนเลขคี่ จะไดวามีลูกเตา 1 ลูกใหหนาคี่คือ 1 ซึ่งจะ ใหคาตัวแปรสุม Y เทากับ 1 (y = 1) ดังนั้น f(x, y) = f(3, 1) = 2/36 การแจกแจงความนาจะเปนสะสมของตัวแปรสุม X และ Y แทนดวย F(x, y) = P(X ≤ x, Y ≤ y) ตัวอยางเชน 4
2
F(4, 2) = P(X ≤ 4, Y ≤ 2) = Σ Σ f(x, y) x=2 y=0
= f(2, 0) + f(2, 1) + f(2, 2) + f(3, 0) + f(3, 1) + f(3, 2) + f(4, 0) + f(4, 1) + f(4, 2) = 0 + 0 + 1/36 + 0 + 2/36 + 0 + 1/36 + 0 + 2/36 = 6/36
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
81
ตัวอยางที่ 3.10 การบํารุงรักษาเครือ่ งปรับอากาศของแผนก 3 แผนก ซึง่ แตละแผนกจะมีจาํ นวน เครื่องปรับอากาศไมเทากัน ถาแผนกที่ 1 มี 4 เครื่อง แผนกที่ 2 มี 3 เครื่อง และแผนกที่ 3 มี 5 เครื่อง ถาทําการสุมตรวจสอบเครื่องปรับอากาศจํานวน 3 เครื่อง กําหนดให X แทนจํานวนเครื่อง ปรับอากาศในแผนกที่ 1 และ Y แทนจํานวนเครื่องปรับอากาศในแผนกที่ 2 ที่ไดรับการสุมตรวจ จงหา 1. การแจกแจงความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y 2. P[(X, Y) ∈ A)] เมื่อ A = [(x, y)x + y ≤ 2]
วิธีทํา กําหนดให X = จํานวนเครื่องปรับอากาศในแผนกที่ 1 ที่ไดรับการสุมตรวจสอบ = {0,1,2, 3,4} Y = จํานวนเครื่องปรับอากาศในแผนกที่ 2 ที่ไดรับการสุมตรวจสอบ = {0, 1, 2, 3} 12 1. จํานวนวิธีในการสุมตรวจสอบจํานวน 3 เครื่อง = 3 4 จํานวนวิธีที่สุมตรวจสอบ x เครื่อง จากแผนกที่ 1 = x 3 จํานวนวิธีที่สุมตรวจสอบ y เครื่อง จากแผนกที่ 2 = y 5 จํานวนวิธีที่สุมตรวจสอบ (3 – x – y) เครื่อง จากแผนกที่ 3 = 3 – x – y
( ) ( ) ( ) ( )
ดังนั้น
f(x, y) = P(X = x, Y = y) 4 3 5 ( )( )( x y 3–x–y) = ( 123 )
เมื่อ และ
x = 0, 1, 2, 3, 4 y = 0, 1, 2, 3 0 ≤ x+y ≤ 3
นอกจากแสดงในรูปของฟงกชันความสัมพันธขางตนแลว f(x, y) สามารถแสดงในรูปของ ตารางไดอีกดวย ดังตารางที่ 3.5
82
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ 3.5 การแจกแจงความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุม X และ Y X
Y 0 1 2 3
รวม
0
1
2
3
4
รวม
10 220 30 220 15 220 1 220 56 220
40 220 60 220 12 220
30 220 18 220
4 220
–
–
–
–
–
–
–
–
–
–
84 220 108 220 27 220 1 220
112 220
48 220
4 220
–
1
2. f(0, 0) + f(0, 1) + f(0, 2) + f(1, 0) + f(1, 1) + f(2, 0) 10 + 30 + 15 + 40 + 60 + 30 = 185 = 220 220 220 220 220 220 220
4.2 การแจกแจงความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุม แบบตอเนื่อง (Continuous Joint Probability Distribution)
ถา X และ Y เปนตัวแปรสุมแบบตอเนื่อง จะนิยามฟงกชันความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y ดังนี้ f(x, y) = P(X = x, Y = y) คุณสมบัติของความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุมแบบตอเนื่อง 1. f(x, y) ≥ 0 2. 0 ≤ f(x, y) ≤ 1 ∞ ∞
3. ∫ ∫ f(x, y)dxdy = 1 –∞ –∞
4. P[(X, Y) ∈ A] = ∫ ∫ f(x, y)dxdy A
เชนเดียวกันกับตัวแปรสุมเดียว การแจกแจงรวมกันของตัวแปรสุมแบบตอเนื่องสามารถ แสดงในรูปของกราฟได ดังรูปที่ 3.11
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
f(x, y)
f(x, y)
y
83
y
y = 2000
2 1
0.25 x 1 (ก) f(x, y) = 500 ; 0 ≤ x ≤ 0.25, 0 ≤ y ≤ 2000
1 (ข) f(x, y) = x2+
x xy 3 ; 0 ≤ x ≤ 1, 0 ≤ y ≤ 2
รูปที่ 3.11 ตัวอยางของกราฟการแจกแจงความนาจะเปนรวมกันของ 2 ตัวแปรสุม ที่มา : Hines et al. 2003.
ตัวอยางที่ 3.11 ในการเลือกตําแหนงขุดเจาะแร วิศวกรเหมืองแรไดนําตัวอยางแรที่ขุดพบมา วิเคราะหหาปริมาณแรเหล็กและสังกะสี ถากําหนดใหตัวแปรสุม X แทนปริมาณสังกะสี มีคาอยู ระหวาง 0.5 – 1.5 และตัวแปรสุม Y แทนปริมาณแรเหล็ก มีคาอยูระหวาง 20.0 และ 35.0 ฟงกชัน ความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุม X, Y คือ 2 2 f(x, y) = 39 – 17(x – 1) – (y – 25) 100 50 10000 1. จงทดสอบวา f(x, y) เปนฟงกชันความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y 2. จงหา P[(X, Y) ∈ A)] = P(0.8 < X < 1, 25 < Y < 30)
วิธีทํา
∞ ∞
1. f(x, y) เปนฟงกชันความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y ก็ตอเมื่อ ∫ ∫ f(x, y)dxdy = 1 –∞ –∞ 1.5 35 2 2 39 – 17(x – 1) – (y – 25) dxdy = 1 ∫ 100 ∫ y=20 10000 50 x=0.5 ดังนั้น f(x, y) เปนฟงกชันความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y 1
2. P(0.8 < X < 1, 25 < Y < 30) = ∫
30
39 – 17(x – 1)2 – (y – 25)2 dxdy ∫ 100 10000 50
x=0.8 y=25
= 0.092 ประมาณ 9% ของแรที่ขุดพบจากแหลงนี้ จะมีปริมาณแรเหล็กและสังกะสีในชวงที่กําหนด
84
สถิติวิศวกรรม
5. การแจกแจงมารจินัล (Marginal Distribution) สมมติวา X = {x1, x2, …, xm} และ Y = {y1, y2, …, yn} จะไดคาความนาจะเปนของ เหตุการณที่ X = xj และ Y = yk คือ P(X = xj, Y = yk) = f(xj, yk) ตารางที่ 3.6 การแจกแจงมารจินัลของตัวแปรสุม X และ Y Y
y1
y2
…
yn
x1
f(x1, y1)
f(x1, y2)
…
f(x1, yn)
g(x1)
x2
f(x2, y1)
f(x2, y2)
…
f(x2, yn)
g(x2)
:
:
:
:
:
xm
f(xm, y1)
f(xm, y2)
…
f(xm, yn)
g(xm)
h(y1)
h(y2)
…
h(yn)
1
X
จากตารางที่ 3.6 ความนาจะเปนที่ X = xj หาไดจากการรวมทุกคาในแถวที่สอดคลองกับ xj นั่นคือ n
P(X = xj) = g(xj) = Σ f(xj, yk) k=1
เมื่อ
j = 1, 2, …, m สําหรับตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง n
P(X = xj) = g(xj) = ∫ f(xj, yk)dy k=1
เมื่อ j = 1, 2, …, m สําหรับตัวแปรสุมแบบตอเนื่อง ความนาจะเปนที่ Y = yk หาไดจากรวมทุกคาในสดมภที่สอดคลองกับ yk นั่นคือ m
P(Y = yk) = h (yk) = Σ f (xj, yk) j=1
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
เมื่อ
85
k = 1, 2, …, n สําหรับตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง m
P(Y = yk) = h (yk) = ∫ f (xj, yk)dx j=1
เมื่อ
k = 1, 2, …, n สําหรับตัวแปรสุมแบบตอเนื่อง
g(xj) และ h(yk) เรียกวา ฟงกชันความนาจะเปนมารจินัลของ X และ Y ตามลําดับ m n m n ซึ่งมีคุณสมบัติของความนาจะเปนคือ Σ g(xj) = 1 และ Σ h(yk) = 1 และ Σ Σ f(xj, yk) = 1 j=1
1
Y
2
k=1
X
3
4
j=1 k=1
1 0.12
0.08
0.07
0.05
0.32
2 0.08
0.15
0.21
0.13
0.57
3 0.01
0.01
0.02
0.07
0.11
0.21
0.24
0.30
0.25
การแจกแจง มารจินัลของ Y
การแจกแจงมารจินัลของ X
รูปที่ 3.12 ตัวอยางฟงกชันมารจินัลของ X และ Y
จากรูปที่ 3.12
X = {1, 2, 3, 4} และ Y = {1, 2, 3}
ดังนั้น ฟงกชันความนาจะเปนมารจินัลของ X = g(xj) เมื่อ j = 1, 2, 3, 4 g(x1) g(x2) g(x3) g(x4)
= = = =
g(1) g(2) g(3) g(4)
= = = =
0.12 + 0.08 + 0.01 0.08 + 0.15 + 0.01 0.07 + 0.21 + 0.02 0.05 + 0.13 + 0.07
= = = =
0.21 0.24 0.30 0.25
86
สถิติวิศวกรรม
ฟงกชันความนาจะเปนมารจินัลของ Y= h(yk) เมื่อ k = 1, 2, 3 h(y1) = h(1) = 0.12 + 0.08 + 0.07 + 0.05 = 0.32 h(y2) = h(2) = 0.08 + 0.15 + 0.21 + 0.13 = 0.57 h(y3) = h(3) = 0.01 + 0.01 + 0.02 + 0.07 = 0.11 4
g(xj) = g(1) + g(2) + g(3) + g(4) = 1 Σ j=1
สรุปไดวา
3
4
3
h(yk) = h(1) + h(2) + h(3) = 1 Σ k=1
และ Σ Σ f(xj, yk) = 1 j=1 k=1
ตัวอยางที่ 3.12 จากตัวอยางที่ 3.10 จงหา g(1) และ h(2) วิธีทํา
3
g(1) = P(X = 1) = Σ f(1, y) = f(1, 0) + f(1, 1) + f(1, 2) + f(1, 3) y=0 40 + 60 + 12 + 0 = 112 = 220 220 220 220 4
h(2) = P(Y = 2) = Σ f(x, 2) = f(0, 2) + f(1, 2) + f(2, 2) + f(3, 2) + f(4, 2) x=0 15 + 12 + 0 + 0 + 0 = 27 = 220 220 220
ตัวอยางที่ 3.13 ในการจายนํ้าใหกับชุมชน 2 แหงจากอางเก็บนํ้าแหงหนึ่ง พบวาปริมาณความ
ตองการนํา้ ของแตละชุมชนมีความแตกตางกัน ถาปริมาณนํา้ ทีจ่ า ยใหกบั ชุมชนแรกเปนตัวแปรสุม X และปริมาณนํ้าที่จายใหกับชุมชนที่ 2 เปนตัวแปรสุม Y โดยมีหนวยเปน 106 l/day สามารถ แสดงเปนฟงกชันความนาจะเปนรวมกัน ดังนี้ f(x, y) = 3 (2 – x – y); 0 ≤ x, y ≤ 2 4
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
f (x, y)
2 y 1 0
0
1 x
2 1.5 1 0.5 0
87
2 0
2
x
1
1 y 2
0
รูปที่ 3.13 การแจกแจงความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y ที่มา : Kottegoda and Rosso. 1997.
จงหา g(x) และ h(y)
วิธีทํา 2 2–x
2
(
3 3 3 x3 ∫ 4 (2 – x – y) dy dx = 8 ∫ (2 – x)2 dx = 8 4x – 2x2 + 3 ∫ y=0 x=0 x=0 ดังนั้น เปนฟงกชันความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y 2–x
g(x) = 34 ∫ (2 – x – y) dy = 38 (2 – x)2 y=0 ดังนั้น
g(x) =
3 (2 – x)2 ; 0 ≤ x ≤ 2 8 0 ; x อื่นๆ 2–y
h(y) = 34 ∫ (2 – x – y) dx = 38 (2 – y)2 x=0 ดังนั้น
h(y) =
3 (2 – y)2 ; 0 ≤ y ≤ 2 8 0 ; y อื่นๆ
2
)0 = 1
88
สถิติวิศวกรรม
6. การแจกแจงแบบมีเงื่อนไข (Conditional Distribution) การแจกแจงแบบมีเงื่อนไขของตัวแปรสุม Y เมื่อ X = x = x, Y = x) P(Y = y | X = x) = P(XP(X = x) f(x, y) หรือ f (y | x) = g(x) เมื่อ g(x)
>
0
การแจกแจงแบบมีเงื่อนไขของตัวแปรสุม X เมื่อ Y = y = x, Y = y) P(X = x | Y = y) = P(XP(Y = y) y) หรือ f (x | y) = f(x, h(y) เมื่อ h(y) > 0
ตัวอยางที่ 3.14 กอนการสงมอบตูเ ย็นใหกบั ลูกคา แผนกตรวจสอบคุณภาพขัน้ สุดทายสุม ตรวจ ขอบกพรองที่พบระหวางการผลิต ถากําหนดให X แทนจํานวนรอยตําหนิบนพื้นผิวของตูเย็น และ Y แทนจํานวนครั้งที่ตูเย็นมีฟงกชันการทํางานที่บกพรอง ตัวแปรสุมทั้งสองมีฟงกชันการ แจกแจงความนาจะเปนรวมกันดังตารางที่ 3.7 จงหา 1. การแจกแจงมารจินัลของ X และ Y 2. P(X = x | Y = 1) และ P(Y = y | X = 1) ตารางที่ 3.7 ผลการตรวจสอบตูเย็น X
Y 1 2
1
2
3
0.1 0.2
0.4 0.2
0.1 0
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
วิธีทํา 1. การแจกแจงมารจินัลของ X g(1) = P(X = 1) g(2) = P(X = 2) g(3) = P(X = 3) ∴
3
= = = =
g(x) = P(X = x) 0.1 + 0.2 = 0.3 0.4 + 0.2 = 0.6 0.1 + 0 = 0.1
Σ g(x) = 0.3 + 0.6 + 0.1 = 1 x=1
การแจกแจงมารจินัลของ Y = h(y) = P(Y = y) h(1) = P(Y = 1) = 0.1 + 0.4 + 0.1 = 0.6 h(2) = P(Y = 2) = 0.2 + 0.2 + 0 = 0.4 ∴
2
Σ h(y) = 0.6 + 0.4 = 1 y=1
2. P(X = x | Y = 1) เมื่อ x = 1, 2, 3 ดังนัั้น
1) 1 0.1 P(X = 1 | Y = 1) = f(1 | 1) = f(1, h(1) = 0.6 = 6 1) = 0.4 = 4 P(X = 2 | Y = 1) = f(2 | 1) = f(2, h(1) 6 0.6 1) 1 0.1 P(X = 3 | Y = 1) = f(3 | 1) = f(3, h(1) = 0.6 = 6 P(Y = y | X = 1) เมื่อ y = 1, 2
ดังนั้น
1) 1 0.1 P(Y = 1 | X = 1) = f(1 | 1) = f(1, g(1) = 0.3 = 3 2) 2 0.2 P(Y = 2 | X = 1) = f(2 | 1) = f(1, g(1) = 0.3 = 3
89
90
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 3.15 ในการทดสอบคุณสมบัติของคอนกรีตดานความหนาแนน (X) และการทนตอ แรงกด (Y) สามารถจําแนกเปนฟงกชันความนาจะเปนรวมกัน ดังนี้
1 y – 40 ; 2400 ≤ x ≤ 2500 และ 40 ≤ y ≤ 60 f(x, y) = 2000 20 1 1 – y – 60 ; 2400 ≤ x ≤ 2500 และ 60 ≤ y ≤ 80 = 2000 20
(
)
2500 x 2400 0
20
40
80
60 y
f(x, y) 0.0005 0.0004 0.0003 0.0002 0.0001 0 100
รูปที่ 3.14 ฟงกชันความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y ที่มา : Kottegoda and Rosso. 1997.
จงหา g(x), h(y), f(y | x)
วิธีทํา 1.
60
y=40
h(y) =
(
)
1 y – 40 dy + 1 1 – y – 60 dy = 1 ∫ 2000 20 100 2000 20 y=60
1 100 ; 2400 ≤ x ≤ 2500 0 ; x อื่นๆ
ดังนั้น g(x) =
2.
80
g(x) = ∫
2500
∫
x=2400
(
1 y – 40 dx = 0.05 y – 40 2000 20 20
)
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
และ
ดังนั้น h(y) =
2500
∫
x=2400
(
)
( (
)
)
h(y)
0.010 0.005 0.000 2300 2400 2500 2600 x
0.06 0.05 0.04 0.03 0.02 0.01 0.00
0 20 40 60 80 100 y
รูปที่ 3.15 ฟงกชันมารจินัลของ X และ Y ที่มา : Kottegoda and Rosso. 1997.
3.
y) f(y | x) = P(Y = y | X = x) = f(x, g(x)
( ) ; 40 ≤ y ≤ 60 0.05 ( 1 – y – 60 ) ; 60 ≤ y ≤ 80 20
0.05 y – 40 20 ดังนั้น
)
0.05 y – 40 ; 40 ≤ y ≤ 60 20 0.05 1 – y – 60 ; 60 ≤ y ≤ 80 20 0 ; y อื่นๆ
0.015 g(x)
(
1 1 – y – 60 dx = 0.05 1 – y – 60 20 20 2000
f(y | x) =
0
; y อื่นๆ
91
92
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 3.16 กําหนดให X, Y เปนตัวแปรสุมตอเนื่อง โดย X แทนความกวางของรอยเชื่อม และ Y แทนความเคนดึง มีฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนรวมกันคือ
f(x, y) = 23 (x + 2y) ; 0 < x < 1 และ 0 < y < 1 0 ; x, y อื่นๆ จงหา g(x), h(y), f(x | y), P X < 14 | Y = 13
(
วิธีทํา
)
1
1
g(x) = ∫ f(x, y)dy = ∫ 23 (x + 2y)dy y=0 y=0 = 23 (x + 1) ; 0 < x < 1 1
1
h(y) = ∫ f(x, y)dx = ∫ 23 (x + 2y)dx x=0 x=0 = 13 (1 + 4y) ; 0 < y < 1 y) (2/3)(x + 2y) f(x | y) = P(X = x | Y = y) = f(x, h(y) = (1/3)(1 + 4y) 2x + 4y = 1 + 4y ; 0 < x < 1 ¼ ¼ P X < 14 | Y = 13 = ∫ 2x + 4y dx = ∫ 2x + 4(1/3) dx x=0 1 + 4y x=0 1 + 4(1/3)
(
)
=
¼
( 3x72 + 4x7 ) | 0
19 = 112
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
93
7. ตัวแปรสุมเปนอิสระตอกัน (Statistical Independence) ถา f(x | y) ไมขึ้นอยูกับ y แลว f(x | y) = g(x) และถา f(y | x) ไมขึ้นอยูกับ x แลว f(y | x) = h(y) ถาทัง้ สองสวนเปนจริงแลว สามารถสรุปไดวา X และ Y เปนตัวแปรสุม ทีเ่ ปนอิสระตอกัน นอกจากนี้ สามารถตรวจสอบความเปนอิสระไดจาก f(x, y) = g(x) . h(y) ทุกคาของ x, y
ตัวอยางที่ 3.17 ศูนยลูกคาสัมพันธของระบบเครือขายสื่อสารแหงหนึ่งไดรับเรื่องรองเรียนจาก
ลูกคาเกี่ยวกับการใหบริการ ถา X แทนจํานวนเรื่องที่แจงเขามาในวันธรรมดา และ Y แทนจํานวน เรื่องที่แจงเขามาเฉพาะวันหยุด ฟงกชันการแจกแจงรวมกันของจํานวนเรื่องที่แจงเขามา แสดง ดังตารางที่ 3.8 ตารางที่ 3.8 ความนาจะเปนรวมกันของ X และ Y X
Y 0 1 2 3 4
0
1
2
3
4
0.02 0.02 0.01 0.04 0.01
0.04 0.04 0.02 0.08 0.02
0.06 0.06 0.03 0.12 0.03
0.04 0.04 0.02 0.08 0.02
0.04 0.04 0.02 0.08 0.02
จงตรวจสอบวาตัวแปรสุม X และ Y เปนอิสระตอกันหรือไม
วิธีทํา การแจกแจงมารจินัลของตัวแปรสุม X X
0
1
2
3
4
g(x)
0.10
0.20
0.30
0.20
0.20
94
สถิติวิศวกรรม
การแจกแจงมารจินัลของตัวแปรสุม Y Y
0
1
2
3
4
h(y)
0.20
0.20
0.10
0.40
0.10
ตัวแปรสุม X และ Y เปนอิสระตอกัน ตรวจสอบไดจาก f(x, y) = g(x) . h(y) ทุกคาของ x, y f(0, 0) = g(0) • h(0) พบวา 0.02 = 0.10 × 0.20 f(0, 1) = g(0) • h(1) พบวา 0.02 = 0.10 × 0.20
∴
f(4, 3) = g(4) • h(3) พบวา 0.08 = 0.20 × 0.40 f(4, 4) = g(4) • h(4) พบวา 0.02 = 0.20 × 0.10 f(x, y) = g(x) • h(y) ทุกคาของ x, y
ดังนั้น ตัวแปรสุม X และ Y เปนตัวแปรสุมอิสระตอกัน
ตัวอยางที่ 3.18 จากตัวอยางที่ 3.16 จงตรวจสอบวา X และ Y เปนตัวแปรสุมที่เปนอิสระตอ
กันหรือไม
วิธีทํา จากตัวอยางที่ 3.16 และ
g(x) = 23 (x + 1) h(y) = 13 (1 + 4y)
g(x) • h(y) = 23 (x + 1) • 13 (1 + 4y) = 29 (x + 4xy + 4y + 1) พบวา
g(x) • h(y)
≠
f(x, y)
ดังนั้น ตัวแปรสุมตอเนื่อง X และ Y ไมเปนอิสระตอกัน
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
95
กรณีตัวแปรสุมมีจํานวนมากกวา 2 ตัวขึ้นไป เชน X1, X2, X3, …, Xn และมีฟงกชันการ แจกแจงความนาจะเปนรวมกันคือ f(x1, x2, x3, …, xn) โดยตัวแปรสุมแตละตัวมีการแจกแจง มารจินัลเปน f1(x1), f2(x2), f3(x3), …,fn(xn) ตามลําดับ ตัวแปรสุม X1, X2, X3, …, Xn จะเปนอิสระ ตอกันก็ตอเมื่อ f(x1, x2, x3, …, xn) = f1(x1) . f2(x2) . f3(x3) . …. . fn(xn) ตัวอยางเชน f(x, y, z) = 2x – y2 + 9z เมื่อ 0 < x < 4, 1 < y < 3 และ 0 < z < 2 ถา ตองการทดสอบวา x, y, z เปนอิสระตอกันหรือไม ทําไดโดยพิสูจนวา f(x, y, z) = f1(x) . f2(y) . f3(z) หรือไม เมื่อ
2
3
f1(x) = ∫ ∫ f(x, y, z) dydz, z=0 y=1 2
4
f2(y) = ∫ ∫ f(x, y, z) dxdz z=0 x=0
และ
3
4
f3(z) = ∫ ∫ f(x, y, z) dxdy y=1 x=0
96
สถิติวิศวกรรม
แบบฝกหัด 1. แผนกตัดเหล็กทําการรวบรวมขอมูลอุบัติเหตุ และโอกาสที่เกิดขึ้นตอเดือน ดังตาราง จงหา X P(X = x)
0 0.716
1 0.180
2 0.06
3 0.02
4 0.01
5 0.01
6 0.002
7 0
8 0.002
1.1 จงสรางฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน pdf ในรูปแบบกราฟ และรูปแบบความ สัมพันธ 1.2 ความนาจะเปนที่จะเกิดอุบัติเหตุมากกวา 1 ครั้ง (เฉลย : 0.104) 1.3 ความนาจะเปนที่เกิดอุบัติเหตุมากกวา 1 ครั้งแตไมเกิน 5 ครั้ง (เฉลย : 0.1) 2. บริษทั ขายซอฟตแวรแหงหนึง่ ตรวจพบจํานวนความผิดพลาดของโปรแกรมและโอกาสเสีย่ ง ที่จะเกิดขึ้น ดังนี้ f(x) =
( 5x )( 23 )x ( 13 )5 – x ; x = 0, 1, 2, 3, 4, 5
2.1 จงหาความนาจะเปนที่ตรวจพบความผิดพลาดของโปรแกรมอยางนอย 2 ครั้ง (เฉลย : 0.9547) 2.2 จงหาฟงกชันความนาจะเปนสะสม 3. กระบวนการผลิตแผนนิกเกิลในแบตเตอรี่ จะกําหนดคานํา้ หนักทีเ่ ปนมาตรฐานไว ซึง่ พนักงาน ผลิตจะทําการตรวจสอบจํานวน 3 ครั้งกอนที่จะสงตอกระบวนการถัดไป ถาฟงกชันความ นาจะเปนของการตรวจสอบคานํ้าหนักผานตามมาตรฐานเปน ดังนี้ x ; x = 1, 2, 3 f(x) = k 12 3.1 จงหาคาของ k (เฉลย : 1.143) 3.2 จงสรางกราฟและตารางแจกแจงความนาจะเปน 3.3 จงหาฟงกชันความนาจะเปนสะสม
( )
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
97
4. ในการพนสีรถยนต ชางเทคนิคจะใหความสําคัญกับความหนาของสีที่พน ถาตัวแปรสุมตอ เนื่อง X เปนคาความหนาของสี (หนวย : mm) โดยมีฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน ดังนี้ 1 ; 4≤x≤6 xln(1.5) 4.1 จงสรางกราฟการแจกแจงความนาจะเปน (pdf) และกราฟการแจกแจงความนาจะเปน สะสม (cdf) 4.2 จงทดสอบวาฟงกชันขางตนเปนไปตามคุณสมบัติของฟงกชันความนาจะเปนหรือไม 4.3 จงหา P(4.5 ≤ X ≤ 5.5) (เฉลย : 0.495) f(x) =
5. คุณสมบัติการโกงตัวของแผนพลาสติกถูกวัดเปนคามุมสูงสุดที่วัดไดกอนการเปลี่ยนรูป ซึ่ง กําหนดเปนตัวแปรสุมตอเนื่อง X (หนวย : องศา) ที่มีฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน ดังนี้ x f(x) = 15 64 + 64 ; – 2 ≤ x ≤ 0 = 38 + cx ; 0 ≤ x ≤ 3 5.1 จงหาคาของ c (เฉลย : –0.125) 5.2 จงหา P( – 1 ≤ X ≤ 1) (เฉลย : 0.539) 6. คาความตานทาน X ของอุปกรณอิเล็กทรอนิกส มีฟงกชันความนาจะเปนสะสมดังนี้ x2 ; 0 ≤ x ≤ 4 F(x) = 16 6.1 จงหา P(X ≤ 2) (เฉลย : 0.25) 6.2 จงหา P(1 ≤ X ≤ 3) (เฉลย : 0.5) 6.3 จงสรางฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน f(x) (เฉลย : f(x) = 8x ; 0 ≤ x ≤ 4)
98
สถิติวิศวกรรม
7. ความสัมพันธระหวาง 2 ตัวแปรสุมคือ คาความเขมขนของเอทานอล X และคุณสมบัติความ เปนกรด Y เปนฟงกชันความนาจะเปนรวมกัน ดังนี้ f(x, y) = A(20 – x – 2y); 0 ≤ x ≤ 5 และ 0 ≤ y ≤ 5 7.1 จงหาคาของ A (เฉลย : 0.0032) 7.2 จงหา P(1 ≤ X ≤ 2, 2 ≤ Y ≤ 3) (เฉลย : 0.0432) 7.3 จงหาฟงกชันการแจกแจงมารจินัล g(x) และ h(y) (เฉลย : g(x) = 0.24 – 0.016 x; 0 ≤ x ≤ 5) h(y) = 0.28 – 0.032 y; 0 ≤ y ≤ 5) 7.4 จงทดสอบความเปนอิสระตอกันระหวาง 2 ตัวแปรสุม (เฉลย : ไมอิสระตอกัน) 7.5 ถาความเขมขนของเอทานอลมีคาเปน 3 จงหาฟงกชันการแจกแจงแบบมีเงื่อนไขของ – 2y; 0 ≤ y ≤ 5) คุณสมบัติความเปนกรด f(y | x = 3) (เฉลย : f(y | x = 3) = 1760 8. การวัดคุณสมบัติแรงตึงผิว X และความทนกรด Y ของผลิตภัณฑเคมีชนิดหนึ่ง มีความนา จะเปนรวมกันดังฟงกชันตอไปนี้ f(x, y) = k(6 – x – y) ; 0 ≤ x ≤ 2 และ 2 ≤ y ≤ 4 8.1 จงหาคาของ k (เฉลย : 0.125) 8.2 จงหาความนาจะเปนเมื่อ X < 1 และ Y < 3 (เฉลย : 0.375) y3 ; 0 ≤ x ≤ 2, 2 ≤ y ≤ 4, x + y ≤ 4) 8.3 จงหาความนาจะเปนเมือ่ X + Y ≤ 4 (เฉลย : 23 – 4y + 48 8.4 จงหาความนาจะเปนเมื่อ X < 1.5 (เฉลย : 11.7516– 4.5y ) 8.5 จงหาฟงกชันความนาจะเปนตอไปนี้ g(x), h(y), f(x/y), f(y/x) (เฉลย : g(x) = 18 (6 – 2x); 0 ≤ x ≤ 2) h(y) = 18 (10 – 2 y); 2 ≤ y ≤ 4) f(x | y) = 6 – x – y ; 0 ≤ x ≤ 2) 10 – 2y f(y | x) = 6 – x – y ; 2 ≤ y ≤ 4) 6 – 2x
บทที่ 3 ตัวแปรสุม
99
9. สถานที่กอสรางคลังสินคาแหงหนึ่ง ผูรับเหมาคนที่ 1 รับผิดชอบงานโครงสรางอาคาร ขณะ ที่ผูรับเหมาคนที่ 2 รับผิดชอบงานติดตั้งระบบไฟ ถากําหนดตัวแปรสุม X และ Y แทนเวลา ที่ใชในการทํางานจนแลวเสร็จของผูรับเหมาคนที่ 1 และคนที่ 2 ตามลําดับ (หนวย : เดือน) ดวยฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนรวมกัน คือ f(x, y) =
8xy ; เมื่อ 0 ≤ x ≤ 1 และ 0 ≤ y ≤ x 0 ; x, y อืน่ ๆ
9.1 จงหา g(x) และ h(y) (เฉลย : g(x) = 4x3; 0 ≤ x ≤ 1) h(y) = 4y(1 – y2); 0 ≤ y ≤ x) 9.2 จงหา f(y | x) และ P Y < 18 | X = 12 1 ) (เฉลย : f(y | x) = 2y2 ; 0 ≤ y ≤ x และ 16 x 9.3 จงตรวจสอบวา X และ Y เปนตัวแปรสุมที่เปนอิสระตอกันหรือไม (เฉลย : ไมอิสระตอกัน)
(
)
4
คาคาดหมาย และความแปรปรวน ของตัวแปรสุม
คุณสมบัตทิ สี่ าํ คัญของตัวแปรสุม ไดแก คาเฉลีย่ (Mean) และคาความแปรปรวน (Variance) ซึ่งเปนคาที่ใชอธิบายถึงคาแนวโนมสูศูนยกลางของขอมูล (Central Tendency) และการวัดการ กระจาย (Dispersion) ดังแสดงไวในบทที่ 1 การคํานวณคาเฉลี่ยและความแปรปรวนของขอมูล จะมีการนําจํานวนขอมูล N มาเฉลี่ย โดยมองวาเปนความนาจะเปนของขอมูลแตละตัวที่มีคา เทากัน และเทากับ 1/N N
µ
=
xi Σ i=1 N
N
และ σ2 =
(xi – µ)2 Σ i=1 N
ในขณะทีต่ วั แปรสุม ซึง่ อาจประกอบดวยเหตุการณมากกวาหนึง่ เหตุการณ มีฟง กชนั ความ นาจะเปน (pdf) หรือฟงกชันความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุมแตละคาที่อาจเทากันหรือไม เทากัน โดยอยูในรูป f(x) หรือ f(x, y) ตามที่กลาวไวในบทที่ 3 หลักการวิเคราะหคาเฉลี่ยและ ความแปรปรวนของตัวแปรสุมจัดเปนพื้นฐานของคุณสมบัติของการแจกแจง (Distribution) รูปแบบตางๆ ที่จะกลาวถึงในบทเรียนถัดไป เนื้อหาในบทเรียนนี้ จะอธิบายถึงคุณสมบัติทั้งสองของตัวแปรสุมและกฎการประยุกตใช ประกอบดวย (1) คาคาดหมาย (2) กฎของคาคาดหมาย (3) คาความแปรปรวน (4) คาความ แปรปรวนรวม (5) กฎของความแปรปรวน และ (6) โมเมนตของตัวแปรสุม
102
สถิติวิศวกรรม
1. คาคาดหมาย (Expected Values) ถา X เปนตัวแปรสุมที่มีฟงกชันความนาจะเปน f(x) คาคาดหมายของ X แทนดวย E(X) คือ คาเฉลี่ย ของตัวแปรสุม ซึ่งเปนคาที่บงบอกถึงแนวโนมสูศูนยกลาง นั่นคือ E(X) = µ และมีคาเทากับ E(X) = Σ x . f(x) x เมื่อ X เปนตัวแปรสุมไมตอเนื่อง ∞
E(X) = ∫ x . f(x) dx –∞ เมื่อ X เปนตัวแปรสุมตอเนื่อง
N
xi Σ i=1
N จากการคํานวณคาเฉลี่ย µ = N ขางตน อาจเขียนในรูปของ µ = Σ x . N1 ซึ่งคา 1 คือ ฟงกชันความนาจะเปน f(x) ของตัวแปรสุม X จํานวน N ขอมูลที่มีคาความนi=1 าจะเปนเทากัน N
ตัวอยางที่ 4.1 ในการผลิตกระแสไฟฟาของโรงไฟฟา 3 แหง กําหนดให X แทนจํานวนโรง ไฟฟาที่มีการผลิตกระแสไฟฟาดวยฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน P(X = x) ดังนี้ X P(X = x)
0 0.07
1 0.23
2 0.57
3 0.13
โดยเฉลี่ยแลวจะมีจํานวนโรงไฟฟากี่แหงที่ทําการผลิตกระแสไฟฟา
วิธีทํา E(X) = Σ x . f(x) x = 0(0.07) + 1(0.23) + 2(0.57) + 3(0.13) = 1.76 แหง
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
103
E(X) 0.57
ความนาจะเปน f(x) 0.23 0.13 0.07 0
1
1.76 2
3 จํานวนของโรงไฟฟา
รูปที่ 4.1 กราฟการแจกแจงความนาจะเปนและคาคาดหมาย
ตัวอยางที่ 4.2 สวนผสมของแมกนีเซียมในสารอัลลอยชนิดหนึง่ เปนตัวแปรสุม ชนิดไมตอ เนือ่ งที่
มีฟงกชันความนาจะเปน f(x) = x/18 เมื่อ 3 ≤ x ≤ 6 จงหาคาคาดหมายของสวนผสมแมกนีเซียมนี้
วิธีทํา จากฟงกชันความนาจะเปน f(x) ที่กําหนดให สามารถแจกแจงคาตัวแปรสุม X และ P(X = x) ไดดังตารางที่ 4.1 ตารางที่ 4.1 คาความนาจะเปนของตัวแปรสุม X X P(X = x) ∴
3 3 18
4 4 18
5 5 18
6 6 18
E(X) = Σ x . f(x) x
( ) ( ) ( ) ( )
3 + 4 4 + 5 5 + 6 6 = 86 = 3 18 18 18 18 18
104
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 4.3 ในการผลิตกระบอกสูบเสนผานศูนยกลาง X ดวยฟงกชันการแจกแจงความ นาจะเปน f(x) = 1.5 – 6(x – 50)2 โดยมีขอบเขตของ X เปน [49.5, 50.5] mm จงหาเสน ผานศูนยกลางโดยเฉลี่ยของกระบอกสูบ
วิธีทํา E(X) = =
50.5
∫ x . f(x) dx
x=49.5 50.5
2 ∫ x . (1.5 – 6(x – 50) ) dx = 50 mm
x=49.5
f(x) = 1.5 – 6(x – 50)2 E(X)
49.5
50.0
x 50.5 เสนผานศูนยกลางกระบอกสูบ
รูปที่ 4.2 กราฟการแจกแจงความนาจะเปนและคาคาดหมาย ที่มา : Hayter. 2002.
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
105
ตัวอยางที่ 4.4 ผูผลิตสินคาเซรามิกตัดสินใจจะขยายโรงงานเนื่องจากมีความตองการสินคา
เพิ่มมากขึ้น โดยตองเลือกสรางโรงงานขนาดเล็ก (S) กลาง (M) หรือใหญ (L) ทั้งนี้ขึ้นอยูกับ ผลตอบแทนจากการลงทุนภายใตสภาวการณทางเศรษฐกิจรุง เรือง คงที่ หรือซบเซา ฝายวิจยั ทางการ ตลาดของบริษัทไดประเมินผลการลงทุน (หนวย : เปอรเซ็นต) แสดงดังตารางที่ 4.2 บริษัทควร จะตัดสินใจเลือกสรางโรงงานที่มีขนาดใดจึงจะเหมาะสม กําหนดความนาจะเปนของสภาวการณ ทางเศรษฐกิจ 0.40, 0.35 และ 0.25 ตามลําดับ ตารางที่ 4.2 การประเมินผลการลงทุน ขนาดของโรงงาน ขนาดเล็ก (S) ขนาดกลาง (M) ขนาดใหญ (L)
ผลตอบแทนที่ไดจากการลงทุนเมื่อสภาวการณทางเศรษฐกิจ รุงเรือง
คงที่
ซบเซา
(0.40) 15% – 10% 30%
(0.35) 13% 18% 14%
(0.25) 10% 20% – 25%
วิธีทํา กําหนดให X คือผลตอบแทนของโรงงานขนาด S, M และ L X = {15, 13, 10, –10, 18, 20, 30, 14, –25} หาคาคาดหมายผลตอบแทนของโรงงานแตละขนาด ภายใตสภาวการณทางเศรษฐกิจ แบบตางๆ โรงงานขนาดเล็ก E(S) = 0.40(15) + 0.35(13) + 0.25(10) = 13.05% โรงงานขนาดกลาง E(M) = 0.40(–10) + 0.35(18) + 0.25(20) = 7.30% โรงงานขนาดใหญ E(L) = 0.40(30) + 0.35(14) + 0.25(–25) = 10.65% สรุปวา บริษทั ควรลงทุนสรางโรงงานขนาดเล็ก เนือ่ งจากคาคาดหมายผลตอบแทนมีคา สูงสุด
106
สถิติวิศวกรรม
2. กฎของคาคาดหมาย บางครัง้ การศึกษาเรือ่ งของคาคาดหมายอาจขยายสูก ารนําไปใชในรูปแบบของฟงกชนั แบบ ตางๆ ดังนัน้ กฎของคาคาดหมายจะเปนเครือ่ งมือชวยในการวิเคราะหผลลัพธทอี่ ยูภ ายใตสถานการณ เดียวกัน แตมีฟงกชันของความสัมพันธที่หลากหลาย บางสวนของกฎของคาคาดหมาย มีดังนี้ 1. E(b) = b เมื่อ b เปนคาคงที่ 2. E(aX) = aE(X) เมื่อ a เปนคาคงที่ 3. E(aX + b) = aE(X) + b เมื่อ a และ b เปนคาคงที่ 4. คาคาดหมายของผลบวกหรือผลตางของสองฟงกชัน หรือมากกวาสองฟงกชันของ ตัวแปรสุม X มีคาเทากับผลบวกหรือผลตางระหวางคาคาดหมายของฟงกชันเหลานั้น E[u(X) ± v(X)] = E[u(X)] ± E[v(X)] 5. ถา X และ Y เปนตัวแปรสุมสองตัว จะไดวา E[X ± Y] = E[X] ± E[Y] 6. ถา X และ Y เปนตัวแปรสุมที่มีฟงกชันความนาจะเปนรวมกันอยูในรูปของฟงกชัน u(X, Y), v(X, Y) ซึ่งเปนฟงกชันที่มีคาจริงของ X และ Y จะไดวา E[u(X, Y) ± v(X, Y)] = E[u(X, Y)] ± E[v(X, Y)] 7. เมื่อ X และ Y เปนตัวแปรสุมที่อิสระตอกัน จะไดวา E[X . Y] = E[X] . E[Y]
ตัวอยางที่ 4.5 ในงานเชื่อมตัวถังรถยนตดวยแขนกลหุนยนตมีโอกาสที่แขนกลจะไมทํางาน ซึ่งสงผลใหกระบวนการผลิตหยุดชะงัก ถาตัวแปรสุม X แทนจํานวนครั้งที่แขนกลหยุดทํางาน ดวยฟงกชันความนาจะเปน P (X = x) ดังนี้ X 0 1 2 P(X = x) 0.6 0.3 0.1 จงหา E(X), E(X2), E(2X + 3)2, E(X – E(X))2
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
107
วิธีทํา จะเห็นไดวา ภายใตสถานการณของงานเชื่อมดวยแขนกล อาจสนใจศึกษาฟงกชันของ ตัวแปรสุม X ที่มีหลากหลายรูปแบบ เชน X2, (2X + 3)2 เปนตน กฎของคาคาดหมายจะถูกนํา มาประยุกตใชได E(X) = (0)(0.6) + (1)(0.3) + (2)(0.1) = 0.5 E(X2) = (0)2(0.6) + (1)2(0.3) + (2)2(0.1) = 0.7 E(2X + 3)2 = E(4X2 + 12X + 9) = E(4X2) + E(12X) + E(9) = 4E(X2) + 12E(X) + E(9) = 4(0.7) + 12(0.5) + 9 = 17.8 E(X – E(X))2 = E(X – 0.5)2 = E(X2 – X + 0.25) = 0.7 – 0.5 + 0.25 = 0.45
ตัวอยางที่ 4.6 ถาตัวแปรสุม X และ Y แทนจํานวนชิ้นสวนอิเล็กทรอนิกสที่บกพรองซึ่งผลิตมา
จากเครื่องจักรตัวที่ 1 และ 2 ตามลําดับ ดวยการแจกแจงความนาจะเปนรวมกันดังตารางที่ 4.3 จงหา E(X . Y) และ E ( XY ) ตารางที่ 4.3 ความนาจะเปนรวมกันของตัวแปรสุม X และ Y Y
8 9 10
X
10
11
12
0.10 0.04 0.15
0.05 0.10 0.20
0.25 0.06 0.05
108
สถิติวิศวกรรม
วิธีทํา ตารางที่ 4.4 การวิเคราะหฟงกชันคาคาดหมายของตัวแปรสุม X และ Y X Y f(x, y) . x y . f(x, y) X . f(x, y) Y
10.00 8.00 0.10 8.00
10.00 9.00 0.04 3.60
0.125
10.00 10.00 0.15 15.00
0.044
11.00 8.00 0.05 4.40
0.15
0.069
11.00 9.00 0.10 9.90 0.122
11.00 10.00 0.20 22.00 0.22
12.00 8.00 0.25 24.00 0.375
12.00 9.00 0.06 6.48
12.00 10.00 0.05 6.00
0.08
0.06
∴ จากตารางที่ 4.4 จะได
E(XY) = Σ Σ x . y . f(x, y) x
y
= 8 + 3.6 + 15 + 4.4 + 9.9 + 22 + 24 + 6.48 + 6 = 99.38 E X = Σ Σ X . f(x, y) Y x y Y = 0.125 + 0.044 + 0.15 + 0.069 + 0.122 + 0.22 + 0.375 + 0.08 + 0.06 = 1.245
( )
ตัวอยางที่ 4.7 สวนผสมของกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ทีส่ ง มาจากผูจ าํ หนายรายหนึง่ ตรวจพบวา
มีการเจือปนของทองแดงและนิกเกิล ถากําหนดให X แทนจํานวนทองแดงที่เจือปน และ Y แทน จํานวนนิกเกิลที่เจือปน ดวยฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนรวมกัน f(x, y) = 6xy2; 0 ≤ X ≤ 1 และ 0 ≤ Y ≤ 1 จงหา E(X . Y), E ( YX )
วิธีทํา
1
1
E(X . Y) = ∫ x=0 ∫ y=0 x . y . f(x, y) dy dx
( )
E Y X
1 1 = ∫ x=0 ∫ y=0 6x2 y3 dy dx = 1 2 1 1 = ∫ x=0 ∫ y=0 yx . f(x, y) dy dx 1 1 = ∫ x=0 ∫ y=0 6 y3 dy dx = 3 2
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
109
ตัวอยางที่ 4.8 การตรวจสอบมลภาวะทางอากาศของโรงไฟฟาพลังงานถานหิน ดวยการสุม
ตัวอยางอากาศที่ปลอยจากปลองควัน กําหนดให X แทนนํ้าหนักของสิ่งเจือปนขณะโรงไฟฟา ทํางาน, Y แทนนํ้าหนักของสิ่งเจือปนเมื่อโรงไฟฟาหยุดทํางานตอตัวอยางอากาศ 1 ตัวอยาง ถาตัวแปรสุม X และ Y เปนตัวแปรสุมตอเนื่องที่เปนอิสระตอกัน มีการแจกแจงมารจินัล g(x) = 6x(1 – x) เมื่อ 0 < x < 1 และ h(y) = 3y2 เมื่อ 0 < y < 1 จงหาคาคาดหมายของ Z = X . Y
วิธีทํา
X และ Y เปนอิสระตอกัน ดังนั้น
และ ∴
E(Z) = E(X . Y) = E(X) . E(Y) 1
1
1
E(X) = ∫
∫ x . f(x, y) dy dx = ∫ x . g(x) dx
E(Y) = ∫
∫ y . f(x, y) dy dx = ∫ y . h(y)dy
x=0 y=0 1 1
x=0 1
x=0 y=0 1
y=0
1
E(X . Y) = ∫ x . 6x(1 – x) dx . ∫ y . 3y2 dy x=0
6 . 3 = 3 = 12 4 8
y=0
ตัวอยางที่ 4.9 ในการหาคาคาดหมายแบบมีเงื่อนไข (Conditional Expectation) ของตัวแปรสุม
X และ Y สามารถหาไดจากความสัมพันธ E(X | Y) = Σ x . f (x | y) ถาตัวแปรสุมทั้งสองมีคาความ x นาจะเปนรวมกันดังตารางที่ 4.5 จงหาคาคาดหมายแบบมีเงื่อนไข E(Y | X) ตารางที่ 4.5 ความนาจะเปนรวมกัน และการแจกแจงมารจินัล Y
X
0 1 2 3 g(x)
0
1
2
h(y)
0.05 0.10 0.10 0.05 0.3
0.05 0.25 0.15 0.05 0.5
0.10 0.05 0.05 – 0.2
0.2 0.4 0.3 0.1 1
110
สถิติวิศวกรรม
วิธีทํา
สามารถหาคาของ f(y | x) ดังตารางที่ 4.6 ตารางที่ 4.6 ความนาจะเปนแบบมีเงื่อนไข f(y | x) X
Y 0 1 2 3
ดังนั้น
f(y | x = 0)
f(y | x = 1)
f(y | x = 2)
1 6 2 6 2 6 1 6
1 10 5 10 3 10 1 10
1 2 1 4 1 4 –
E(Y | X) = Σ y . f(y | x) y E(Y | X = 0) = 0 . 1 + 1 . 6 E(Y | X = 1) = 0 . 1 + 1 . 10 E(Y | X = 2) = 0 . 1 + 1 . 2
( ) ( 26 ) + 2 . ( 26 ) + 3 . ( 36 ) = 1.5 ( ) ( 105 ) + 2 . ( 103 ) + 3 . ( 101 ) = 1.4 ( ) ( 14 ) + 2 . ( 14 ) + 3(0) = 0.75
ตัวอยางที่ 4.10 ตัวแปรทีใ่ ชในการจําแนกกลุม ของพายุทเี่ กิดในพืน้ ทีแ่ หงหนึง่ มี 2 ตัวแปร ประกอบ ดวย X แทนชวงเวลา และ Y แทนความรุนแรงของการเกิดพายุ ดวยฟงกชันความนาจะเปน รวมกัน f(x, y) = x2+ xy 3 ; 0 < x ≤ 1 และ 0 ≤ y ≤ 2 0 ; x, y มีคาอื่นๆ จงหา f(x | y), f(y | x), E(X | Y), และ E(Y | X)
วิธีทํา
2
(
1
(
)
การแจกแจงมารจินัลของ X; g(x) = ∫ x2+ xy dy = 2x2+ 2 x ; 0 < x ≤ 1 3 3 y=0
)
การแจกแจงมารจินัลของ Y; h(y) = ∫ x2+ xy dx = 1 + y ; 0 ≤ y ≤ 2 3 6 3 x=0
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
111
f(x, y) y 2 1 x 1 (ก) ฟงกชันความนาจะเปนรวมกัน f(x, y) g(x)
h(y) y 2
1 (ข) มารจินัลของ x
x
0
(ค) มารจินัลของ y
รูปที่ 4.3 ฟงกชันความนาจะเปนรวมกัน และการแจกแจงมารจินัล ที่มา : Hines et al. 2003.
ดังนั้น
f(x | y) = = f(y | x) = =
f(x, y) h(y) x2 + (xy | 3) = x(3x + y) ; 0 < x ≤ 1, 0 ≤ y ≤ 2 | | 1 + (y | 2) (1 3) + (y 6) f(x, y) g(x) x2 + (x1y | 3) 1 . 3x + y = ; 0 < x ≤ 1, 0 ≤ y ≤ 2 2x2 + (2 | 3) x 2 3x + 1
112
สถิติวิศวกรรม
fy l x 3 + y ,0≤y≤2 fy l 1/2(y) = 10 5
y
2 y fy l 1(y) = 38 + 8 , 0 ≤ y ≤ 2 1/2
1
x
(ก) f(y l x) เมื่อ x = 12 , 1
fx y l y 3x2 fx l 2(x) = 2 + x, 0 < x ≤ 1
2
fx l 1(x) = 2x2+ 23 x, 0 < x ≤ 1
1
fx l 0(x) = 3x2, 0 < x ≤ 1 0
x
(ข) f(x l y) เมื่อ y = 0, 1, 2
รูปที่ 4.4 ฟงกชันความนาจะเปนแบบมีเงื่อนไข ที่มา : Hines et al. 2003.
ดังนั้น
1
1
(
)
2
2
(
)
4y + 9 3x2+ xy E(x | y) = ∫ x . f(x | y)dx = ∫ x . dx = 6y + 12 1 + (y | 2) x=0 0 E(y | x) =
1 3x + y 9x + 4 ∫ y . f(y | x)dy = ∫ y . 2 . 3x + 1 dy = 9x + 3 y=0 0
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
113
กราฟความสัมพันธของ E(X | Y) จะเรียกคาถดถอย (Regression) ของ X บน Y ดังรูป ที่ 4.5 (ก) สวนกราฟความสัมพันธของ E(Y | X) จะเรียกวาคาถดถอยของ Y บน X ดังรูปที่ 4.5 (ข) สําหรับรายละเอียดเกี่ยวกับคาถดถอยจะอธิบายไวในบทที่ 11 E(Y | X)
E(X | Y)
x
y (ก) คาถดถอยของ X บน Y
(ข) คาถดถอยของ Y บน X
รูปที่ 4.5 กราฟแสดงคาถดถอย ที่มา : Hines et al. 2003.
3. คาความแปรปรวน (Variance) คาความแปรปรวนของตัวแปรสุม X เปนคาที่บอกถึงการกระจายของคาของตัวแปรสุม X ถาคาความแปรปรวนมีคามาก แสดงวาคาของตัวแปรสุมมีการกระจายมาก ในทางกลับกัน ถาคาความแปรปรวนมีคานอย จะหมายถึงการกระจายของคาของตัวแปรสุมมีนอย คาความแปรปรวนของตัวแปรสุม X แทนดวยสัญลักษณ V(X) หรือ σ2x โดยพิจารณาการ กระจายคาของตัวแปรสุมแตละตัววาหางจากคาเฉลี่ยเทาใด 1. กรณี X เปนตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง จะไดวา V(X) = E(X – µ)2 = Σ (x – µ)2 f (x) x
หรือ
V(X) = E(X2) – [E(X)]2 = Σ x2 f(x) – µ2 x
114
สถิติวิศวกรรม
2. กรณี X เปนตัวแปรสุมแบบตอเนื่อง จะไดวา ∞
V(X) = E(X – µ)2 = ∫ (x – µ)2 f(x) dx –∞ หรือ
V(X) =
E(X2) – [E(X)]2
∞
= ∫ x2 f(x) dx – µ2 –∞
ตัวอยางที่ 4.11 เครือ่ งมือสํารวจการประสบอุทกภัย (Satellite – Borne Sensor) รายงานบริเวณ ที่เสียหายจากนํ้าทวม (Inundated Areas) ซึ่งกําหนดใหเปนตัวแปรสุมตอเนื่อง X ที่มีฟงกชัน การแจกแจงความนาจะเปนคือ f(x) = 2e–2x ; x ≥ 0 0 ; x อื่นๆ จงหาคาเฉลี่ยและคาความแปรปรวนของตัวแปรสุม X
วิธีทํา
∞
µ
E(X2) ∴
σ2
= E(X) = ∫ x . (2e–2x) dx = 12 x=0 ∞
= ∫ x2. (2e–2x) dx = 12 x=0 = E(X2) – µ2 = 12 – 14 = 14
ตัวอยางที่ 4.12 ฟงกชันความนาจะเปนของอุณหภูมิการทําปฏิกิริยาทางเคมี X (หนวย ํF) คือ f(x) = (x – 190)/3600 เมื่อ 220 < x < 280 ถาตองการเปลี่ยนหนวยของอุณหภูมิการทํา ปฏิกิริยาเคมีเปนองศาเซลเซียส (°C) หรือตัวแปรสุม Y ซึ่งมีความสัมพันธกับตัวแปรสุม X คือ Y = 5/9 X – (160/9) จงหาคาเฉลี่ยและคาความแปรปรวนของตัวแปรสุมทั้งสอง
วิธีทํา
280
µ σ2x
(
)
– 190 dx = 255 = E(X) = ∫ x . x 3600 x=220 = E(X2) – µ2 = 275 หรือ
σ
= 16.58
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
115
ชวง 220 < x < 280 เทากับชวง 104.44 < y < 137.78 5. 160 E(Y) = 59 E(X) – 160 9 = 9 (255) – 9 = 123.90 5 2 5 2. σ2y = 9 σ2x = 9 (275) = 84.88
( )
( )
E(X)
E(Y)
– 190 f(x) = x 3600
9y – 79 f(y) = 10000 1000
σ = 16.58 σ = 16.58
220
255
280 x อุณหภูมิ ( ํF)
σ = 9.21
104.44
σ = 9.21
123.9
137.78 y อุณหภูมิ ( ํC)
รูปที่ 4.6 กราฟการแจกแจงความนาจะเปนและคาคาดหมาย ที่มา : Hayter. 2002.
4. คาความแปรปรวนรวม (Covariance) คาความแปรปรวนรวมแทนดวยสัญลักษณ Cov (X, Y) หรือ σXY เปนคาที่ใชวัดความ สัมพันธระหวางตัวแปรสุม 2 ตัวที่ไมอิสระตอกัน ความแปรปรวนรวมของตัวแปรสุม X และ Y ซึ่งมีคาเฉลี่ยคือ µX และ µY ตามลําดับ หาไดจาก σXY
= E[(X – µx)(Y – µY)] = E(X . Y) – µXµY
ถา Cov(X, Y) = 0 แสดงวาตัวแปรสุม X และ Y เปนอิสระตอกัน แตถา Cov(X, Y) ≠ 0 แสดงวา X และ Y ไมเปนอิสระตอกัน หรือมีความสัมพันธระหวางกัน ในการอธิบายวาสัมพันธ กันอยางไรนั้นจะดูไดจากเครื่องหมายของความแปรปรวนรวม ถา Cov(X, Y) มีเครื่องหมายเปน ลบ แสดงวาตัวแปรสุม X และ Y แปรผกผันตอกัน (Negative Slope) เชน ถาตัวแปรสุม X
116
สถิติวิศวกรรม
มีคาเพิ่มขึ้น ตัวแปรสุม Y จะมีคาลดลง เปนตน แตถา Cov (X, Y) มีเครื่องหมายเปนบวก แสดง วาตัวแปรสุม X และ Y แปรตามกัน (Positive Slope) เชน ถาตัวแปรสุม X มีคาเพิ่มขึ้น ตัวแปร สุม Y จะมีคาเพิ่มขึ้นดวย คาความแปรปรวนรวมจะเปนตัววัดความสัมพันธเชิงเสนตรง (Linear Relationship) ระหวางตัวแปรสุม แตถาความสัมพันธระหวางตัวแปรสุมไมเปนเชิงเสนตรง (Nonlinear) คาความแปรปรวนรวมจะใชวัดคาความสัมพันธไมได ซึ่งจะใหคาเปน 0 ออกมาแทน ดังนั้น ถาคาความแปรปรวนรวมเปน 0 อาจหมายถึงตัวแปรสุมอิสระตอกันหรือตัวแปรสุมไมมี ความสัมพันธเชิงเสนระหวางกัน นอกจากคาความแปรปรวนรวมแลว การวัดความสัมพันธระหวางตัวแปรสุมจะวัดไดดวย σ คาสหสัมพันธ (Correlation) ρXY = COV(X, Y) = σ .xyσ ซึ่งคาสหสัมพันธจะมีคาตั้งแต x y V(X) . V(Y) –1 ถึง 1 (–1 ≤ ρXY ≤ 1) บอกทิศทางความสัมพันธวาเปนเชิงลบ เชิงบวก หรือไมมีความสัมพันธ กัน รายละเอียดแสดงในบทที่ 11 y
y
x (ก) คาความแปรปรวนรวมเปนบวก
x (ข) คาความแปรปรวนรวมเปนศูนย
y
x (ค) คาความแปรปรวนรวมเปนลบ
รูปที่ 4.7 ความแปรปรวนรวมระหวางตัวแปรสุม X และ Y
ที่มา : Montgomery and Runger. 2003. และ Navidi. 2008.
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
117
ตัวอยางที่ 4.13 ในสายการผลิตโตะปฏิบตั กิ าร ประกอบดวยเครือ่ งเชือ่ มรวมทัง้ หมด 8 เครือ่ ง แบง
เปนประเภทเครื่องเชื่อมกาซ 3 เครื่อง เครื่องเชื่อม TIG 2 เครื่อง และเครื่องเชื่อม MIG 3 เครื่อง ถา ในการประกอบโตะโดยสุมเลือกเครื่องเชื่อมจํานวน 2 เครื่อง กําหนดให X, Y เปนตัวแปรสุมแสดง ถึงจํานวนเครือ่ งเชือ่ มกาซและเครือ่ งเชือ่ ม TIG ถูกเลือก และมีความนาจะเปนรวมกันดังตารางที่ 4.7 ตารางที่ 4.7 ความนาจะเปนรวมกัน f(x, y) X
Y 0 1 2 3 g(x)
0
1
2
3
h(y)
0.2 – – – 0.2
– 0.1 0.1 – 0.2
– 0.1 0.1 – 0.2
– – – 0.4 0.4
0.2 0.2 0.2 0.4 1
จงหาคาความแปรปรวนรวมกันของตัวแปรสุม X และ Y
วิธีทํา
E(X . Y) = Σ Σ x . y . f(x, y) x y = (0)(0)(0.2) + (1)(1)(0.1) + (1)(2)(0.1) + (2)(1)(0.1) + (2)(2)(0.1) + (3)(3)(0.4) = 4.5 3 3 3 E(X) = Σ Σ x . f(x, y) = Σ x . g(x) x=0 y=0
x=0
= (0)(0.2) + (1)(0.2) + (2)(0.2) + (3)(0.4) = 1.8 3 3 3 E(Y) = Σ Σ y . f(x, y) = Σ y . h(y) x=0 y=0
∴
σXY
y=0
= (0)(0.2) + (1)(0.2) + (2)(0.2) + (3)(0.4) = 1.8 = E(X . Y) – E(X) . E(Y) = 4.5 – (1.8)(1.8) = 1.26
ดังนั้น ตัวแปรสุม X และ Y มีความสัมพันธในเชิงแปรผันตามกัน
118
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 4.14 กําหนด X และ Y แทนดัชนีวัดคาเสนผานศูนยกลางและความยาวของโชกอัป ดวย ที่ถูกตรวจสอบคุณภาพกอนสงมอบใหลูกคา จงหาความแปรปรวนรวมของ X และ Y ที่มี ฟงกชันความนาจะเปนรวมกัน ดังนี้ f(x) = x + y ; 0 < x < 1, 0 < y < 1 0 ; x, y อื่นๆ
วิธีทํา
1 1 1 1 E(X . Y) = ∫ ∫ x . y . f(x, y) dx dy = ∫ ∫ x . y . (x + y) dx dy = 13 y=0 x=0 y=0 x=0 1 1 1 1 7 E(X) = ∫ ∫ x . f(x, y) dx dy = ∫ ∫ x . (x + y) dx dy = 12 y=0 x=0 y=0 x=0
∴
1 1 1 1 7 E(Y) = ∫ ∫ y . f(x, y) dx dy = ∫ ∫ y . (x + y) dx dy = 12 y=0 x=0 y=0 x=0 σXY = E(X . Y) – E(X) . E(Y)
( )( 127 ) = – 1441
7 = 13 – 12
ดังนั้น ตัวแปรสุม X และ Y มีความสัมพันธในเชิงแปรผกผันกัน
5. กฎของความแปรปรวน เชนเดียวกับกฎของคาคาดหมาย บางครั้งอาจตองการขยายผลการศึกษาในรูปฟงกชัน ความสัมพันธแบบตางๆ เพื่อวัดคาความแตกตางจากคากลางวามีมากนอยเพียงใด กฎของความ แปรปรวนที่ถูกนํามาประยุกตใชมีดังนี้ 1. V(b) = 0 เมื่อ b เปนคาคงที่ 2. V(aX) = a2V(X) 3. ถา X เปนตัวแปรสุม และ a เปนคาคงที่ จะไดวา V(X + a) = V(X)
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
119
4. ถา X และ Y เปนตัวแปรสุมใดๆ จะไดวา V(aX + bY) = a2V(X) + b2V(Y) + 2abCov(X, Y) V(aX – bY) = a2V(X) + b2V(Y) – 2abCov(X, Y) 5. ถา X และ Y เปนตัวแปรสุมซึ่งเปนอิสระกันแลว จะไดวา V(aX + bY) = a2V(X) + b2V(Y) V(aX – bY) = a2V(X) + b2V(Y)
ตัวอยางที่ 4.15 หัวลูกสูบ (Piston Head) ถูกออกแบบใหเคลือ่ นทีภ่ ายในกระบอกสูบ (Cylinder)
กําหนดใหตัวแปรสุม X1 เปนขนาดรัศมีของหัวลูกสูบมีคาเฉลี่ย 30 mm และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.05 mm ตัวแปรสุม X2 เปนขนาดรัศมีภายในของกระบอกสูบมีคาเฉลี่ย 30.25 mm และคาเบี่ยง เบนมาตรฐาน 0.06 mm ชองวางระหวางหัวลูกสูบและกระบอกสูบเปนตัวแปรสุม Y = X2 – X1 ดังรูป ถาทราบวาคารัศมีของหัวลูกสูบและกระบอกสูบเปนอิสระตอกัน จงหาคาเฉลี่ยและคาเบี่ยง เบนมาตรฐานของ Y กระบอกสูบ ชองวาง = X2 – X1 x2 หัวลูกสูบ
x1
รูปที่ 4.8 รัศมีของหัวลูกสูบและกระบอกสูบ ที่มา : Hayter. 2002.
120
สถิติวิศวกรรม
วิธีทํา เนื่องจาก X1 และ X2 เปนอิสระตอกัน E(Y) = E(X2) – E(X1)
∴
= 30.25 – 30 = 0.25 mm V(Y) = V(X2 + ( –1)X1) = V(X2) + ( –1)2 V(X1) = 0.062 + 0.052 = 0.0061 mm2 ∴
SD(Y) =
V(Y) = 0.078 mm
ตัวอยางที่ 4.16 เพลาในมอเตอรพัดลมไฟฟาถูกสุมจากกระบวนการผลิต 10 ตัวอยางเพื่อวัด
คาเสนผานศูนยกลาง ถากําหนดใหตัวแปรสุม X1, X2, …, X10 เปนคาเสนผานศูนยกลางที่วัดได จากเพลาตัวอยางและเปนอิสระตอกัน ตัวแปรสุมแตละตัวมีคาเฉลี่ย µ และคาความแปรปรวน σ2 จงหา E(X) และ V(X)
σ12 = σ2
µ1 = µ
σ22 = σ2
X1
µ2 = µ
(ก)
X2
σ210 = σ2
µ10 = µ
(ข)
รูปที่ 4.9 คาเฉลี่ยและความแปรปรวนของเพลา 10 ตัวอยาง ที่มา : Hines et al. 2003.
วิธีทํา
X1 + X2 + … X10 10 1 X + 1 X +…+ 1 X = 10 1 10 2 10 10 1 E(X ) + 1 E(X ) + ... + 1 E(X ) E(X) = 10 1 10 2 10 10 X =
(ค)
X10
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
เนื่องจาก
E(X1) = E(X2) = … = E(X10) = ∴
121
µ
1 µ + 1 µ + … + 1 µ = 1 (10µ) = E(X) = 10 10 10 10
µ
เนื่องจาก X1 และ X2 เปนอิสระตอกัน ดังนั้น
( X1 + X210+ …X10 ) ( 101 )2 V(X1) + ( 101 )2 V(X2) + ... + ( 101 )2 V(X10)
V(X) = V =
เพราะวา
V(X1) = V(X2) = … = V(X10) = ∴
∴
( 101 )2 σ2 + ( 101 )2 σ2 + … + ( 101 )2 σ2 1 2 10σ2 = σ2 = ( 10 ) 10
V(X) =
SD(X) =
V(X) =
คา SD(X) = (Standard Error of X)
σX
E(X) =
µX
สรุปวา
σ2
10
σ
= =
σ
n เรียกวาความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของ X
µ
2
และ V(X) = σ2X = σn ซึ่งเปนคาเฉลี่ยและความแปรปรวนของการแจกแจงการสุมตัวอยาง (Sampling Distribution) ของ X รายละเอียดอยูในบทที่ 7
6. โมเมนต (Moment) ของตัวแปรสุม
ในการอธิบายคุณสมบัติของตัวแปรสุม สามารถใชการเปรียบเทียบกับคุณสมบัติดาน กลศาสตรทเี่ รียกวา “โมเมนต” ซึง่ หมายถึงคุณสมบัตทิ างกายภาพอยางหนึง่ ของแทงนํา้ หนัก โดยที่ โมเมนตอันดับที่หนึ่งหมายถึงจุดศูนยถวง (Center of Gravity – CG) ของวัตถุ และโมเมนตอันดับ ที่สองรอบจุดศูนยถวงหมายถึงโมเมนตของความเฉื่อย (Moment of Inertia)
122
สถิติวิศวกรรม
โมเมนตอันดับที่ 1 คือ คาเฉลี่ยของตัวแปรสุม X แทนดวย µ โมเมนตอันดับที่ 2 รอบจุดศูนยถวง (คาเฉลี่ย) คือ คาความแปรปรวนของตัวแปรสุม X แทนดวย σ2 สําหรับโมเมนตอันดับที่ k รอบจุดกําเนิดของตัวแปรสุม X แทนดวย E(Xk) = Σ xk f(x) x เมื่อ X เปนตัวแปรสุมไมตอเนื่อง ∞
E(Xk) = ∫ xk f(x) dx –∞ เมื่อ X เปนตัวแปรสุมตอเนื่อง สําหรับโมเมนตอันดับที่ k รอบคาเฉลี่ย µ ของตัวแปรสุม X แทนดวย E(X – µ)k = Σ (x – µ)k f(x) x เมื่อ X เปนตัวแปรสุมไมตอเนื่อง ∞
E(X – µ)k = ∫ (x – µ)k f(x) dx –∞ เมื่อ X เปนตัวแปรสุมตอเนื่อง โมเมนตของการแจกแจงความนาจะเปนสามารถหาไดจาก Moment – Generating Function, Mx (t) สําหรับตัวแปรสุม X Mx (t) = E(etx) = Σ etxi f(xi) เมื่อ X เปนตัวแปรสุมไมตอเนื่อง ∞
i
Mx (t) = ∫ etx f(x) dx –∞ เมื่อ X เปนตัวแปรสุมตอเนื่อง
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
123
ตัวอยางที่ 4.17 กําหนดให X เปนตัวแปรสุมแบบไมตอเนื่อง จงหาคาเฉลี่ยและความแปรปรวน
ของการแจกแจงทวินาม (Binomial Distribution) โดยใช Moment – Generating Function
วิธีทํา การแจกแจงทวินาม f(x) =
( nx ) px qn–x ; x = 0, 1, …, n (ดูรายละเอียดในบทที่ 5) 0
; x อื่นๆ
( ) n n (pet)x (1 – p)n–x = [pet + (1 – p)]n ( ) Σ x x=0
n Mx(t) = Σ etx nx px (1 – p)n–x x=0
=
คาเฉลี่ยหาจากโมเมนตอันดับที่ 1 รอบจุดกําเนิด โดย
M′X(t) | t = 0 = dtd MX (t) | t = 0 = E [ XetX ] t = 0 = µ′1 M′X(t) = dtd MX (t) = npet [1 + p(et – 1) ] n–1
เพราะ ∴
µ
=
µ′1
= M′X(t) | t = 0 = np
ความแปรปรวนหาจากโมเมนตอันดับที่ 2 โดย 2 M″X(t) | t = 0 = d 2 MX (t) | t = 0 = E [ X2 etX ] t = 0 = µ′2 dt 2 M″X(t) = d 2 MX (t) = npet (1 – p + npet) [1 + p(et – 1)] n–2 dt
เพราะ ดังนั้น ∴
µ′2
= M″X(t) | t = 0 = np(1 – p + np)
σ2
=
µ′2 – µ2
= np(1 – p)
124
สถิติวิศวกรรม
แบบฝกหัด 1. กําหนดใหตัวแปรสุม X มีคา – 2, 1, 4 และ 6 ดวยคาความนาจะเปน 1/3, 1/6, 1/3 และ 1/6 ตามลําดับ จงหาคาเฉลี่ยและความแปรปรวนของตัวแปรสุม X (เฉลย : 11 , 341 ) 6 36 1 2. ถาฟงกชันความนาจะเปน f(x) = xln(1.5) ; 4 ≤ x ≤ 6 จงหาคา E(X), V(X) และ SD(X) (เฉลย : 4.93, 0.33, 0.58) 3. ถาฟงกชันความนาจะเปนสะสม F(x) = x2/16; 0 ≤ x ≤ 4 จงหาคา E(X), V(X) และ SD(X) (เฉลย : 2.67, 0.89, 0.94) 4. ให X และ Y มีการแจกแจงความนาจะเปนรวมกันดังนี้ x
0
0
1
1
y
1
–1
0
1
f(x, y)
0.4
0.3
0.2
0.1
จงหาคา E(X), E(Y), σ2X, σ2Y, E(XY) และ Cov(X, Y) (เฉลย : 0.3, 0.2, 0.21, 0.76, 0.1, 0.04) 5. แรธาตุชนิดหนึง่ มีสงั กะสีและเหล็กเปนองคประกอบ ถากําหนดใหตวั แปรสุม X แทนสัดสวน ของสังกะสี และ Y แทนสัดสวนของเหล็ก โดยมีฟงกชันความนาจะเปนของตัวแปรสุมทั้ง สอง ดังนี้ 39 – 17(x – 1)2 – (y – 25)2 ; 0.5 ≤ x ≤ 1.5, 20 ≤ y ≤ 35 f(x, y) = 400 10000 50 จงหา E(X), V(X), E(Y), V(Y), E(Y/X = 0.55), V(Y/X = 0.55) (เฉลย : 1, 0.055, 27.36, 18.27, 27.14, 17.16)
บทที่ 4 คาคาดหมายและความแปรปรวนของตัวแปรสุม
125
6. กําหนดให X, Y, Z เปนตัวแปรสุมอิสระตอกันดวย E(X) = 2, V(X) = 4, E(Y) = (–3), V(Y) = 2, E(Z) = 8, V(Z) = 7 จงหาคาเฉลี่ยและความแปรปรวนดังตอไปนี้ 6.1 3X + 7 (เฉลย : 13, 36) 6.2 4X – 3Y (เฉลย : 17, 82) 6.3 5X – 9Z + 8 (เฉลย : – 54, 667) 6.4 –3Y – Z – 5 (เฉลย : – 4, 25) 6.5 6X + 2Y – Z + 16 (เฉลย : 14, 159) 7. กําหนดให X1, X2, X3 เปนตัวแปรสุมอิสระที่มีคาเฉลี่ย µ และคาความแปรปรวน σ2 จงหา คาเฉลี่ยและคาความแปรปรวนของตัวแปรสุมตอไปนี้ 7.1 Y = 3X1 (เฉลย : 3 µ, 9 σ2) 7.2 Z = X1 + X2 + X3 (เฉลย : 3 µ, 3 σ2) 8. จงหาคาความแปรปรวนจากสถานการณดังตอไปนี้ 8.1 ถา X และ Y เปนตัวแปรสุมที่เปนอิสระตอกัน มี σ2X = 5 และ σ2Y = 3 จงหาคา σ2z เมื่อ Z = X + 4Y – 3 (เฉลย : 53) 8.2 ถา X และ Y เปนตัวแปรสุม ทีไ่ มเปนอิสระตอกัน มี σ2X = 5 และ σ2Y = 3 และ Cov(X, Y) = 1 จงหาคา σ2z เมื่อ Z = 2X – 3Y + 5 (เฉลย : 35)
5
การแจกแจง ความนาจะเปน แบบไมตอเนื่อง
การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Probability Distribution) เป็น ฟังก์ชันความสัมพันธ์ของความน่าจะเป็น P(X = x) หรือ f(x) ของตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Random Variable) รูปแบบของการแจกแจงความน่าจะเป็น (Probability Distribution) ทีจ่ ะกล่าวถึงในบทเรียนนี้ จะมีแบบแผน (Pattern) และถูกนําไปใชกบั สถานการณ์ทเี่ ฉพาะเจาะจง ประกอบดวย (1) การแจกแจงยูนิฟอร์ม (2) การแจกแจงแบร์นูลลี (3) การแจกแจงทวินาม (4) การแจกแจงเรขาคณิต (5) การแจกแจงทวินามลบ (6) การแจกแจงพหุนาม (7) การแจกแจง ไฮเพอร์จีออเมตริก และ (8) การแจกแจงปัวส์ซอง ในแต่ละหัวขอ จะอธิบายถึงสถานการณ์เฉพาะที่แต่ละรูปแบบการแจกแจงจะถูกนําไปใช ฟังก์ชันความสัมพันธ์ของความน่าจะเป็น f(x) คุณสมบัติของตัวแปรสุ่ม X (ค่าเฉลี่ย m และความ แปรปรวน s2) รวมทั้งการวิเคราะห์ดวยเอกซ์เซล (Excel)
1. การแจกแจงยูนิฟอร์ม (Discrete Uniform Distribution)
การแจกแจงของตัวแปรสุ่ม ซึ่งแต่ละค่าของตัวแปรสุ่มมีความน่าจะเป็นที่เท่ากัน เรียกว่า การแจกแจงยูนิฟอร์ม ถากําหนดใหตัวแปรสุ่ม X ประกอบดวย x1, x2, …, xn ดวยความ น่าจะเป็นที่เท่ากันคือ 1n ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงยูนิฟอร์มของ X คือ f(x; n) = 1n เมื่อ x = x1, x2, …, xn ถาคาของตัวแปรสุม X เปนเลขจํานวนเต็ม a, a + 1, a + 2, …, b ดังนั้น คาเฉลี่ย m และ ความแปรปรวน s2 ของการแจกแจงยูนิฟอรม คือ
128
สถิติวิศวกรรม
m s2
และ
= b+a 2 (b – a + 1)2 – 1 = 12
ตัวอย่างเช่น X = {0, 1, 2,…, 9} แต่ละค่าของ X จะมีความน่าจะเป็นเท่ากันคือ f(x) = 1 10 ดังนั้น ฟังก์ชันความน่าจะเป็น f(x; 10) = 1 เมื่อ x = 0, 1, 2, …, 9 ดังรูปที่ 5.1 10 คุณสมบัติของตัวแปรสุ่มคือ (9 + 0) ค่าเฉลี่ย m = 4.5 และความแปรปรวน s2 = 2 [(9 – 0 + 1)2 – 1] = 8.25 12 f(x) 0.1 0
1
2
3
4
5
6
7
8
9 x
รูปที่ 5.1 ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงยูนิฟอร์ม เมื่อ f(x; n) = 0.1 ที่มา : Montgomery and Runger. 2003.
ตัวอย่างที่ 5.1 การตัดสินใจเลือกสถานที่ตั้งแท่นขุดเจาะนํ้ามันจํานวน 2 แห่งจากที่ตั้งทั้งหมด 7 แห่ง โดยที่สถานที่ตั้งแต่ละแห่งมีโอกาสถูกเลือกเท่าๆ กัน จงเขียนฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ การเลือกสถานที่ตั้งแต่ละทางเลือก
วิธีทํา กําหนดให X = ทางเลือกสถานที่ตั้งแท่นขุดเจาะนํ้ามัน จํานวนทางเลือกของสถานที่ตั้ง 2 แห่งจากทั้งหมด 7 แห่ง 7C 2
= 21 ทางเลือก
ถาสถานที่ตั้งทั้ง 7 แห่ง แทนดวย a, b, c, d, e, f, g ทางเลือกของสถานที่ตั้ง 2 แห่งมี 21 ทางเลือก คือ
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
129
ab, ac, ad, ae, af, ag, bc, bd, be, bf, bg, cd, ce, cf, cg, de, df, dg, ef, eg, fg } ดังนั้น ∴
X = {1, 2, 3, …, 21} แต่ละทางเลือกมีโอกาสถูกเลือกเท่าๆ กัน 1 ; x = 1, 2, …, 21 P(X = x) = 21
2. การแจกแจงแบร์นูลลี (Bernoulli Distribution) รูปแบบทั่วไปของการทดลองแบร์นูลลี คือ 1. ทําการทดลองเพียง 1 ครั้งเท่านั้น 2. ในการทดลอง 1 ครั้ง มีผลได 2 แบบเท่านั้นคือ ความสําเร็จ (Success) และความ ลมเหลว (Failure) ความสําเร็จหมายถึง สิ่งที่สนใจศึกษา ส่วนความลมเหลวหมายถึง สิ่งที่อยู่นอก ขอบเขตของการศึกษา 3. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความสําเร็จเท่ากับ p 4. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความลมเหลวเท่ากับ q ซึ่ง p + q = 1 X เป็นตัวแปรสุ่มแทนจํานวนครั้งที่เกิดความสําเร็จในการทดลอง 1 ครั้ง กําหนดให X = 0 แทนการทดลองที่ลมเหลว และ X = 1 แทนการทดลองที่สําเร็จ ดังนั้น ค่าของตัวแปรสุ่ม X = {30, 1} เรียกว่า ตัวแปรสุม่ แบร์นลู ลี และการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุม่ X เรียกว่า การแจกแจงแบร์นูลลี ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X คือ f(x) = pxq1–x ; x = 0, 1 จากฟังก์ชันความน่าจะเป็น f(0) = p0 . q1 – 0 = q และ f(1) = p1 . q1 – 1 = p
130
สถิติวิศวกรรม
ค่าเฉลี่ย m และความแปรปรวน s2 ของการแจกแจงแบร์นูลลี คือ m = p และ s2 = pq ซึ่งค่าเฉลี่ยหาจาก E(X) = S x f(x) = [0 . q] + [1 . p] = p x
ความแปรปรวนหาจาก V(X) = S x2 f(x) – m2 = [(02 . q) + (12 . p)] – p2 = pq x
ตัวอย่างที่ 5.2 กระบวนการผลิตแผ่นกระจกจะมีการตรวจสอบหารอยตําหนิต่างๆ เช่น ปุมเม็ด
ทราย หรือฟองอากาศ ในขั้นตอนสุดทายก่อนส่งมอบใหกับลูกคา ถาทําการสุ่มหยิบแผ่นกระจก 1 แผ่นจากทั้งหมด 50 แผ่น ซึ่งมีกระจกที่มีรอยตําหนิปนอยู่ 4 แผ่น จงหาความน่าจะเป็นที่สุ่ม หยิบไดกระจกที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ
วิธีทํา
กําหนดให X = จํานวนกระจกที่ไม่ผ่านการตรวจสอบจากการสุ่มหยิบ 1 แผ่น = {0, 1} โดย x = 0 แทนกระจกผ่านการตรวจสอบ และ x = 1 แทนกระจกไม่ผ่านการตรวจสอบ 4C p = 50 1 C1 4 = 0.08 = 50 q = 1– p = 1 – 0.08 = 0.92 ∴ P(X = 1) = (0.08)1 . (0.92)0 = 0.08
3. การแจกแจงทวินาม (Binomial Distribution) รูปแบบทั่วไปของการทดลองทวินามคือ 1. ในการทดลอง 1 ครั้ง มีผลได 2 แบบเท่านั้นคือ ความสําเร็จ และความลมเหลว 2. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความสําเร็จเท่ากับ p 3. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความลมเหลวเท่ากับ q ซึ่ง p + q = 1
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
131
4. การทดลองแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน 5. ทําการทดลองซํ้าๆ กัน (Repeated Trials) ทั้งหมด n ครั้ง X เป็นตัวแปรสุ่มแทนจํานวนครั้งที่เกิดความสําเร็จในการทดลอง n ครั้งของการทดลอง ทวินาม เรียกว่า ตัวแปรสุ่มทวินาม และการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X เรียกว่า การแจกแจงทวินาม แทนดวย b(x; n, p) ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X คือ n f(x) = b(x; n, p) = x px qn–x ; x = 0, 1, 2, ..., n
( )
f(x) 0.4 0.3 0.2 0.1
f(x)
n=5 p = 0.2
0.4 0.3 0.2 0.1
0 1 2 3 4 5 x f(x) n = 10 0.3 p = 0.2 0.2 0.1
n=5 p = 0.5
f(x) 0.4 0.3 0.2 0.1
0 1 2 3 4 5 x
n=5 p = 0.8
0 1 2 3 4 5 x
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 x
รูปที่ 5.2 ฮิสโตแกรมของการแจกแจงทวินาม ที่มา : Vardeman and Jobe. 2001.
จากรูปที่ 5.2 ฮิสโตแกรมของการแจกแจงทวินาม เมื่อค่า p < 0.5 จะเป็นกราฟเบขวา ส่วนค่า p > 0.5 จะเป็นฮิสโตแกรมเบซาย ค่าความเบจะลดลงเมื่อ n เพิ่มขึ้น การหาค่าของความน่าจะเป็นสะสม P(X ≤ r) สามารถหาไดจากตารางความน่าจะเป็น สะสมของการแจกแจงแบบทวินาม ในภาคผนวก ก.3 โดย P(X ≤ r) = B(r; n, p) เมื่อ B(r; n, p) แทนความน่าจะเป็นสะสมของการแจกแจงทวินาม
( )
r r n B(r; n, p) = S b (x; n, p) = S x px qn–x x=0 x=0
132
สถิติวิศวกรรม
ตัวอย่างเช่น กําหนดให n = 5, r = 2, p = 0.25 การหาค่า P(X ≤ 2) = B(2; 5, 0.25) = S b (x; 5, 0.25) ไดค่า 0.8965 ดังตารางที่ 5.1 2
x=0
ตารางที่ 5.1 ตัวอย่างการหาค่าความน่าจะเป็นสะสมจากตารางผลรวมความน่าจะเป็นทวินาม p n 5
x 0 1 2 3 4 5
0.05
0.10
0.15
0.20
0.25
0.30
0.35
0.40
0.45
0.50
0.7738 0.9774 0.9988 1.0000 1.0000 1.0000
0.5905 0.9185 0.9914 0.9995 1.0000 1.0000
0.4437 0.8352 0.9734 0.9978 0.9999 1.0000
0.3277 0.7373 0.9421 0.9933 0.9997 1.0000
0.2373 0.6328 0.8965 0.9844 0.9990 1.0000
0.1681 0.5282 0.8369 0.9692 0.9976 1.0000
0.1160 0.4284 0.7648 0.9460 0.9947 1.0000
0.0778 0.3370 0.6826 0.9130 0.9898 1.0000
0.0503 0.2562 0.5931 0.8688 0.9815 1.0000
0.0312 0.1875 0.5000 0.8125 0.9688 1.0000
ขอสังเกต 1. b(x; n, p) = B(x; n, p) – B(x – 1; n, p) ตัวอย่างเช่น b(3; 5, 0.05) = B(3; 5, 0.05) – B(2; 5, 0.05) = 1.0000 – 0.9988 = 0.0012 2. b(0; n, p) = (1 – p)n และ b(n; n, p) = pn ตัวอย่างเช่น b(0; 5, 0.05) = (1 – 0.05)5 = 0.7738 b(5; 5, 0.05) = 0.055 3. b(x; n, p) = b(n – x; n, 1 – p)
≈
0
ตัวอย่างเช่น b(3; 5, 0.05) = b(2; 5, 0.05)5 = 0.3125 ค่าเฉลี่ย m และความแปรปรวน s2 ของการแจกแจงทวินาม คือ m = np และ s2 = npq สูตรของค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของการแจกแจงทวินาม มีที่มาจากหลักการของค่า คาดหมาย E(X) และความแปรปรวน V(X) ในบทที่ 4 อธิบายไดดังนี้
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
133
n E(X) = S x . x!(nn!– x)! pxqn – x x=0 n = np S x . (x –(n1)!–(n1)!– x)! px – 1qn – x x=1 กําหนดให y = x – 1 ดังนั้น n–1 E(X) = np S . y!(n(n––11)!– y)! py qn – 1 – y y=0 ∴ E(X)
= np
จากแนวคิดเดียวกันนี้ สามารถหา V(X) ไดดังนี้ n – 1)n! px qn – x E(X(X – 1)) = S x(x x!(n – x)! x=0 n = n(n – 1)p2 S (x –(n2)!–(n2)!– x)! px – 2 qn – x x=2 n–2 = n(n – 1)p2 S y! (n(n––y2)!– 2)! py qn – y – 2 y=0
= n(n – 1)p2 ∴ V(X)
= E(X2) – [E(X)]2 = E[X(X – 1)] + E(X) – [E(X)]2 = n(n – 1)p2 + np – (np)2 = npq
นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของการแจกแจงทวินาม สามารถอธิบายไดจาก หลักการของโมเมนต์ ดังตัวอย่างที่ 4.17 ในบทที่ 4 สามารถใชฟังก์ชันในเอกซ์เซลหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงทวินามไดดังนี้ BINOMDIST(x, n, p, FALSE) สําหรับการคํานวณฟังก์ชนั ความน่าจะเป็น (pdf) ของการแจกแจง ทวินาม b(x; n, p) เช่น f(3) = b(3; 5, 0.2) = 53 (0.23)(0.82) = BINOMDIST(3, 5, 0.2, FALSE) = 0.0512
()
134
สถิติวิศวกรรม
BINOMDIST(x, n, p, TRUE) สําหรับการคํานวณฟังก์ชันความน่าจะเป็นสะสม (cdf) 3 ของการแจกแจงทวินาม B(r; n, p) เช่น F(3) = B(3; 5, 0.2) = S 5x (0.2x)(0.85–x) = x=0 BINOMDIST(3, 5, 0.2, TRUE) = 0.9933
()
ตัวอย่างที่ 5.3 ในเครือข่ายการสื่อสารทางไกล การเดินทางของสัญญาณผ่านสายส่งสัญญาณ
จะพบกับปัญหาสัญญาณรบกวน (Noise) เพิ่มเขามา ทําใหระบบการสื่อสารบกพร่อง โดยที่ระดับ สัญญาณจะมีคา่ ตํา่ มากส่งผลใหอปุ กรณ์เครือข่ายไม่สามารถอ่านค่าไดถกู ตอง ถาอุปกรณ์เครือข่าย มีโอกาสอ่านค่าผิดพลาด 5% จากการอ่านค่าทั้งหมด 10 ครั้ง จงหา 1. ความน่าจะเป็นที่อุปกรณ์จะอ่านค่าผิดพลาด 1 ครั้ง 2. ความน่าจะเป็นที่อุปกรณ์อ่านค่าผิดพลาดอย่างนอย 1 ครั้ง 3. โดยเฉลี่ยแลว อุปกรณ์เครือข่ายอ่านค่าผิดพลาดกี่ครั้ง และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีทํา กําหนดให X = จํานวนครั้งที่อุปกรณ์อ่านค่าผิดพลาดจากการอ่านทั้งหมด 10 ครั้ง x = 0, 1, 2, 3, …, 10
( )
x 10–x X ~ b(x; 10, 0.05) = 10 x (0.05) (0.95) 1. ความน่าจะเป็นที่อุปกรณ์จะอ่านค่าผิดพลาด 1 ครั้ง
( )
= 0.3152
1 9 P(X = 1) = 10 1 (0.05) (0.95) = 0.315 หรือหาไดจาก BINOMDIST(1, 10, 0.05, FALSE) หรือใชตารางความน่าจะเป็นสะสม B(1; 10, 0.05) – B(0; 10, 0.05) = 0.9139 – 0.5987
2. ความน่าจะเป็นที่อุปกรณ์อ่านค่าผิดพลาดอย่างนอย 1 ครั้ง P(X ≥ 1) = 1 – P(X = 0)
( )
0 10 = 1 – 10 0 (0.05) (0.95) = 0.401
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
135
ค่า P(X = 0) หาไดจาก BINOMDIST (0, 10, 0.05, FALSE) หรือ B(0; 10, 0.05) ในตารางความน่าจะเป็นสะสม จะไดค่า 0.5987 3. อุปกรณ์เครือข่ายอ่านค่าผิดพลาดโดยเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
m
= np = 10(0.05) = 0.5 ครั้ง
และ
s
=
npq
=
10(0.05)(0.95) = 0.689 ครั้ง
4. การแจกแจงเรขาคณิต (Geometric Distribution) รูปแบบทั่วไปของการทดลองเรขาคณิตคือ 1. ในการทดลอง 1 ครั้ง มีผลได 2 แบบเท่านั้นคือ ความสําเร็จ และความลมเหลว 2. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความสําเร็จเท่ากับ p 3. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความลมเหลวเท่ากับ q ซึ่ง p + q = 1 4. การทดลองแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน 5. ทําการทดลองไปเรื่อยๆ และหยุดเมื่อพบความสําเร็จเป็นครั้งแรก X เป็นตัวแปรสุ่มแทนจํานวนครั้งที่ทดลองจนเกิดความสําเร็จเป็นครั้งแรก เรียกว่า ตัวแปรสุ่มเรขาคณิต และการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X เรียกว่า การแจกแจง เรขาคณิต แทนดวย g(x; p) ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X คือ f(x) = g(x; p) = pqx–1; x = 1, 2, 3, ...
136
สถิติวิศวกรรม
f(x) 0.5 0.4 0.3 0.2 0.1
p = 0.5
f(x)
1 2 3 4 5 6 7 8 9
x
p = 0.25
0.3 0.2 0.1
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13
x
รูปที่ 5.3 ฮิสโตแกรมของการแจกแจงเรขาคณิต ที่มา : Vardeman and Jobe. 2001.
จากรูปที่ 5.3 แสดงฮิสโตแกรมของการแจกแจงเรขาคณิตที่ค่า p แตกต่างกัน จะพบว่า เมื่อค่า p ลดลง ความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มจะมีค่าลดลง ขณะที่เมื่อค่าของตัวแปรสุ่ม X เพิ่มขึ้น ความน่าจะเป็นจะมีค่าลดลง ค่าเฉลี่ย m และความแปรปรวน s2 ของการแจกแจงเรขาคณิต คือ 1 m = p q และ s2 = 2 p สูตรของค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของการแจกแจงเรขาคณิต มีที่มาจากหลักการของ E(X) และ V(X) อธิบายไดดังนี้ ∞ d ∞ qx m = E(X) = S x . p . qx – 1 = p . dq S x=1 x=1 ∴ m
d q = p dq 1–q
=
1 p
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
s2 ∴ s2
( )2 = p Sx=1 x2qx – 1 –
∞ = V(X) = S x2 . pqx – 1 – 1p x=1 q = p2
∞
137
1 p2
ตัวอย่างที่ 5.4 ถาทราบว่าแบตเตอรี่ใหม่ที่ผลิตไม่สามารถใชงานได เนื่องจากกระแสไฟฟาที่ ชาร์จไม่เพียงพอนั้นมีโอกาสพบ 8% เมื่อทําการสุ่มตรวจสอบแบตเตอรี่ 1. จงหาความน่าจะเป็นที่จะตรวจพบแบตเตอรี่ชํารุด เมื่อทําการตรวจสอบจนถึงเครื่องที่ 3 เป็นตนไป 2. โดยเฉลี่ยจะตองตรวจแบตเตอรี่กี่เครื่อง จึงจะพบแบตเตอรี่ชํารุดเป็นเครื่องแรก
วิธีทํา กําหนดให X = จํานวนแบตเตอรี่ที่ตรวจสอบจนพบชํารุดเครื่องแรก x = 1, 2, 3, … X ~ g(x; 0.08) = (0.08)(0.92)x–1 1. ความน่าจะเป็นที่จะตรวจพบแบตเตอรี่ชํารุด เมื่อทําการตรวจสอบจนถึงเครื่องที่ 3 เป็นตนไป หมายถึง X = { 3 3 7, 3 3 3 7 , ... } หรือ x = 3, 4, ... P(X ≥ 3) = 1 – P(X ≤ 2) = 1 – P(X = 1) – P(X = 2) = 1 – (0.08(0.92)1 – 1 – (0.08) (0.92)2 – 1 = 1 – 0.08 – 0.0736 = 0.8464 2. โดยเฉลี่ยจํานวนแบตเตอรี่ที่ตองตรวจสอบจนกระทั่งพบว่าชํารุดเป็นเครื่องแรก E(X) =
m =
1 = 1 = 8 เครื่อง p 0.08
138
สถิติวิศวกรรม
5. การแจกแจงทวินามลบ (Negative Binomial Distribution) การแจกแจงทวินามลบ หรือเรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่าการแจกแจงปาสคาล (Pascal Distribution) เป็นการแจกแจงทีเ่ ป็นส่วนขยายต่อจากการแจกแจงเรขาคณิต นัน่ คือ ทดลองไปเรือ่ ยๆ จนกว่าจะ พบความสําเร็จเป็นครั้งที่ k (การแจกแจงเรขาคณิตจะสนใจที่ความสําเร็จครั้งแรก k = 1) รูปแบบทั่วไปของการทดลองทวินามลบคือ 1. ในการทดลอง 1 ครั้งมีผลได 2 แบบเท่านั้นคือ ความสําเร็จ และความลมเหลว 2. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความสําเร็จเท่ากับ p 3. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความลมเหลวเท่ากับ q ซึ่ง p + q = 1 4. การทดลองแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน 5. ทําการทดลองไปเรื่อยๆ และหยุดเมื่อพบความสําเร็จเป็นครั้งที่ k เมื่อ k เป็นจํานวน เต็มบวก X เป็นตัวแปรสุ่มแทนจํานวนครั้งที่ทดลองจนเกิดความสําเร็จเป็นครั้งที่ k เรียกว่า ตัวแปร สุ่มทวินามลบ และการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X เรียกว่า การแจกแจงทวินาม ลบ แทนดวย b*(x; k, p) ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X คือ x–1 f(x) = b*(x; k, p) = k – 1 pk qx – k; x = k, k + 1, k + 2, k + 3, …
( )
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
f(x) 0.15
k = 20, p = 0.25 k = 20, p = 0.5 k = 20, p = 0.75
0.1 0.05
0
100 x
50 (ก)
f(x) k = 10, p = 0.5 k = 20, p = 0.5 k = 70, p = 0.5
0.1 0.09 0.08 0.07 0.06 0.05 0.04 0.03 0.02 0.01 0
50 (ข)
รูปที่ 5.4 ฮิสโตแกรมของการแจกแจงทวินามลบ ที่มา : http : //ecs.swan.ac.uk/~csoliver/ok-sat-library
100 x
139
140
สถิติวิศวกรรม
จากรูปที่ 5.4 เมื่อ k คงที่ ขณะที่ p เพิ่มขึ้น พบว่ากราฟจะเปลี่ยนรูปจากสมมาตรเป็น เบขวาและมีความน่าจะเป็นเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงกันขามกับกรณี p คงที่ ขณะที่ k เพิ่มขึ้น กราฟจะ เปลี่ยนจากเบขวามาเป็นสมมาตร และความน่าจะเป็นลดลง ค่าเฉลี่ย m และความแปรปรวน s2 ของการแจกแจงทวินามลบ คือ k m = p kq s2 = 2 และ p การแจกแจงแบบทวินามลบ จะเป็นการทดลองแบบทวินามจํานวน x – 1 ครั้ง แลวพบ ความสําเร็จ k – 1 ครั้ง ก่อนที่จะพบความสําเร็จครั้งที่ k ในการทดลองครั้งสุดทาย (ครั้งที่ x) เสมอ x – 1 k–1 x–k p q * (p) นั่นคือ k–1
( )
ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสาร 10 ครั้ง (ดังตัวอย่างที่ 5.3) ถา ตองการทราบว่ามีโอกาสเท่าไรที่จะพบอุปกรณ์อ่านค่าผิดพลาดเป็นครั้งที่ 3 สามารถวิเคราะห์ จาก (1) X ~ b* (10; 3, 0.05) เมื่อ x = 10, k = 3 หรือ (2) มองว่าเป็นการทดลอง 9 ครั้ง ที่พบ อุปกรณ์อ่านค่าผิดพลาด 2 ครั้ง X ~ b (2; 9, 0.05) เมื่อ n = 9, x = 2 และครั้งที่ 10 (การทดลอง ครั้งสุดทาย) พบอุปกรณ์อ่านค่าผิดพลาดเป็นครั้งที่ 3 (p = 0.05) นั่นคือ b* (10; 3, 0.05) = b(2; 9, 0.05) . (0.05) ∴
(103––11) (0.05)3 (0.95)10 – 3 = ( 92 ) (0.05)2 (0.95)9 – 2 . (0.05)
ขอสังเกต การทดลองแบบทวินามจะทราบจํานวนของการทดลองทัง้ หมด n ครัง้ ในขณะที่ การทดลองทวินามลบจะไม่ทราบจํานวนการทดลอง เพียงแต่สนใจว่าพบความสําเร็จครัง้ ที่ k ก่อน แลวค่อยนับจํานวนครั้งของการทดลอง x ครั้ง ดังนั้น จํานวนครั้งของการทดลอง x อาจเท่ากับ k ครั้ง หรืออาจมากกว่า k ครั้ง นอกจากนี้ สามารถใชฟังก์ชันในเอกซ์เซลหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงทวินาม ลบไดดังนี้ NEGBINOMDIST(x – k, k, p) สําหรับการคํานวณฟังก์ชันความน่าจะเป็น (pdf) ของ การแจกแจงทวินามลบ b*(x; k, p)
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
เช่น
141
8–1 b*(8; 5, 0.35) = 5 – 1 (0.35)5(0.65)8–5 = NEGBINOMDIST (8 – 5, 5, 0.35) = 0.0505
( )
ตัวอย่างที่ 5.5 มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) เป็นภาวะของอากาศที่มีสารพิษเจือปนอยู่ใน
ปริมาณที่มากพอ และเป็นระยะเวลานานพอที่จะทําใหเกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัย หน่วยงาน ที่ทําการตรวจวัดคุณภาพอากาศไดกําหนดสารมลพิษอากาศหลัก ไดแก่ ฝุนละออง (SPM) ตะกั่ว (Pb) กาซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) กาซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และกาซออกไซด์ ของไนโตรเจน (NOx) โดยสุ่มตรวจกลุ่มตัวอย่างอากาศ พบว่า 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างจะเป็น อากาศที่มีสารมลพิษเหล่านี้เจือปน จงหา 1. ความน่าจะเป็นที่พบตัวอย่างอากาศที่มีสารมลพิษเจือปนเป็นตัวอย่างที่ 3 จากการ ตรวจสอบทั้งหมด 10 ตัวอย่าง 2. โดยเฉลีย่ ตองตรวจสอบตัวอย่างอากาศเท่าไร จึงจะพบอากาศทีม่ สี ารมลพิษเจือปนเป็น ตัวอย่างที่ 4
วิธีทํา กําหนดให X = จํานวนตัวอย่างอากาศทีต่ รวจสอบจนพบสารมลพิษเจือปนเป็นตัวอย่างที่ 3 x = 3, 4, 5, …. 1. ความน่าจะเป็นที่พบตัวอย่างอากาศที่มีสารมลพิษเจือปนเป็นตัวอย่างที่ 3 จากการ ตรวจสอบทั้งหมด 10 ตัวอย่าง 1
2
3
...... 9
10
สารมลพิษตัวที่ 3
มีสารมลพิษ 2 ตัว จากการตรวจสอบทั้งหมด 10 ตัวอย่าง (x = 10) พบสารมลพิษเป็นตัวอย่างที่ 3 (k = 3) 10 – 1 X ~ b*(10; 3, 0.20) = 3 – 1 (0.20)3(0.80)10 – 3 = 0.0604
( )
หรือหาไดจาก NEGBINOMDIST(10 – 3, 3, 0.20) = 0.0604
142
สถิติวิศวกรรม
2. ตรวจสอบตัวอย่างอากาศโดยเฉลีย่ กีต่ วั อย่าง จึงจะพบอากาศทีม่ สี ารมลพิษเจือปนเป็น ตัวอย่างที่ 4 E(X) = m = pk 4 = 20 ตัวอย่าง = 0.20 1
2
3
...... 19
20
สารมลพิษตัวที่ 4
มีสารมลพิษ 3 ตัว
6. การแจกแจงพหุนาม (Multinomial Distribution) รูปแบบทั่วไปของการทดลองพหุนาม คือ 1. ในการทดลอง 1 ครั้ง มีผลลัพธ์ได k แบบ คือ E1, E2, …, Ek 2. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ E1, E2, …, Ek มีค่าเป็น p1, p2, …, pk ตามลําดับ 3. การทดลองแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน 4. ทําการทดลองทั้งหมด n ครั้ง 5. ผลการทดลอง n ครั้ง มี E1 เกิดขึ้น x1 ครั้ง, E2 เกิดขึ้น x2 ครั้ง, … , Ek เกิดขึ้น xk ครั้ง ใหตัวแปรสุ่ม X1, X2, …, Xk แทนจํานวนครั้งที่ไดผลการทดลอง E1, E2, …, Ek จากการ ทดลองทั้งหมด n ครั้ง เป็นตัวแปรสุ่มพหุนามที่มีการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มเรียก ว่า การแจกแจงพหุนาม แทนดวย f(x1, x2, …, xk; p1, p2, …, pk, n) ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มคือ f(x) = f (x1, x2, …, xk; p1, p2, …, pk, n) n = x , x , …, x p1x1 p2x2 … pkxk 1 2 k
( ) = ( n! ) p1x1 p2x2 … pkxk x1! x2!...xk!
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
143
k
โดยที่
xi = n S i=1
และ
pi = 1 S i=1
k
ค่าเฉลี่ย m และความแปรปรวน s2 ของการแจกแจงพหุนามคือ mi = E(Xi) = npi และ s2i = V(Xi) = npi(1 – pi)
ตัวอย่างที่ 5.6 หน่วยซ่อมบํารุงเครื่องจักรของโรงงานแห่งหนึ่ง บันทึกสาเหตุของเครื่องจักรเสีย แบ่งเป็น 3 สาเหตุหลักคือ จากระบบไฟฟา จากระบบเครื่องกล และจากการใชงานของพนักงาน โดยมีสัดส่วนของโอกาสที่พบ 0.2, 0.5 และ 0.3 ตามลําดับ ถาวิศวกรซ่อมบํารุงตองการวางแผน ซ่อมเครื่องจักรที่จะเสียจํานวน 10 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นที่แผนซ่อมจะมีการรองรับเครื่องจักร เสียจากสาเหตุระบบไฟฟา 3 ครั้ง ระบบเครื่องกล 5 ครั้ง และ 2 ครั้งจากการใชงาน
วิธีทํา กําหนดให X1 = จํานวนครั้งที่เครื่องจักรเสียจากระบบไฟฟา; p1 = 0.20 X2 = จํานวนครั้งที่เครื่องจักรเสียจากระบบเครื่องกล; p2 = 0.50 X3 = จํานวนครั้งที่เครื่องจักรเสียจากการใชงานของพนักงาน; p3 = 0.30 X ~ f(3, 5, 2; 0.20, 0.50, 0.30, 10) = =
( 3,105, 2 ) (0.20)3(0.50)5(0.30)2 ( 3!10!5! 2! ) (0.20)3(0.50)5(0.30)2
= 0.057 โดยที่ และ
3
xi = 3 + 5 + 2 = 10 S i=1 3
pi = 1 S i=1
144
สถิติวิศวกรรม
7. การแจกแจงไฮเพอร์จีออเมตริก (Hypergeometric Distribution) รูปแบบทั่วไปของการทดลองไฮเพอร์จีออเมตริก คือ 1. มีของทั้งหมด N รายการ 2. มีอยู่ k รายการที่จําแนกไวในพวกที่เรียกว่าความสําเร็จ 3. มีอยู่ N – k รายการที่จําแนกไวในพวกที่เรียกว่าความลมเหลว 4. ทําการทดลอง โดยการสุ่มตัวอย่างสิ่งของออกมาพรอมกัน n รายการ N
n k
x
รูปที่ 5.5 การทดลองสุ่มตัวอย่างสิ่งของ n รายการ จากทั้งหมด N รายการ
X เป็นตัวแปรสุ่มแทนจํานวนความสําเร็จ จากการสุ่มตัวอย่าง n รายการ เรียกว่า ตัวแปร สุ่มไฮเพอร์จีออเมตริก การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X เรียกว่า การแจกแจง ไฮเพอร์จีออเมตริก แทนดวย h(x; N, n, k) ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X คือ k N–k n–x ; x = 0, 1, 2, …, n หรือ k f(x) = h(x; N, n, k) = x N n จํานวนของความสําเร็จ x อาจมีคา่ เป็น n หรือเป็น k นัน้ ขึน้ อยูก่ บั สถานการณ์ ตัวอย่างเช่น กรณีที่ 1 ถาความสําเร็จ k ≥ n; x มีค่าตั้งแต่ 0, 1, 2,…, n
( )( ) ( )
k = 10
n=5
∴
x = 0, 1, 2, …, 5
กรณีที่ 2 ถาความสําเร็จ k < n; x มีค่าตั้งแต่ 0, 1, 2, …, k k=3
n = 12
∴
x = 0, 1, 2, 3
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
f(x)
145
N = 500, k = 50, n = 30 N = 500, k = 100, n = 30 N = 500, k = 250, n = 30
0.25 0.2 0.15 0.1 0.05 0
5
10
15 (ก)
x
20
f(x)
N = 500, k = 50, n = 50 N = 500, k = 50, n = 100 N = 500, k = 50, n = 250
0.2 0.15 0.1 0.05
0
10
20
(ข)
30
x
รูปที่ 5.6 ฮิสโตแกรมของการแจกแจงไฮเพอร์จีออเมตริก ที่มา : http : //cs.swan.ac.uk/~csoliver/ok-sat-library
จากรูปที่ 5.6 เมื่อ n คงที่ ขณะที่ k เพิ่มขึ้น (หรือ k คงที่ ขณะที่ n เพิ่มขึ้น) กราฟจะ เปลี่ยนรูปจากเบขวามาเป็นสมมาตร ดวยค่าความน่าจะเป็นที่ลดลง
146
สถิติวิศวกรรม
ค่าเฉลี่ย m และความแปรปรวน s2 ของการแจกแจงไฮเพอร์จีออเมตริก คือ
m
และ ไดดังนี้
s2
= nk N
(
= NN –– n1 n Nk 1 – Nk
)
สามารถใชฟังก์ชันในเอกซ์เซล หาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงไฮเพอร์จีออเมตริก
HYPERGEOMDIST (x, n, k, N) สําหรับการคํานวณฟังก์ชันความน่าจะเป็น (pdf) ของ การแจกแจงไฮเพอร์จีออเมตริก h(x; N, n, k) เช่น h(1; 20, 4, 8) =
( 81 )( 204 ––18 ) = HYPERGEOMDIST (1, 4, 8, 20) = 0.3633 ( 204 )
ตัวอย่างที่ 5.7 Absorption Chiller เป็นระบบทําความเย็นที่อาศัยพลังงานความรอนในการขับ
เครื่องทําความเย็นใหทํางาน ในการผลิต Absorption Chiller ตามคําสั่งซื้อของลูกคาจํานวน 15 เครื่อง ทราบจากขอมูลในอดีตว่ามี Absorption Chiller ที่ไม่ไดตามมาตรฐานอยู่ 2 เครื่อง วิศวกร ตรวจสอบคุณภาพไดทาํ การสุม่ ตรวจ Absorption Chiller จํานวน 3 เครือ่ ง และจะไม่ยอมรับทัง้ หมด ถาสุ่มตรวจพบ Absorption Chiller ที่ไม่ไดตามมาตรฐาน จงหาความน่าจะเป็นที่ Absorption Chiller จะไม่ถูกส่งใหกับลูกคา
วิธีทํา กําหนดให X = จํานวน Absorption Chiller ที่ไม่ไดตามมาตรฐานจากการสุ่มตรวจสอบ 3 เครื่อง N = 15 k=2
n=3 x
รูปที่ 5.7 การสุ่มตรวจ Absorption Chiller
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
147
เนื่องจาก k < n ดังนั้น x มีค่าสูงสุดเท่ากับ k นั่นคือ x = 0, 1, 2 X ~h(x; 15, 3, 2) =
( 2x )( 153 –– x2 ) ( 153 )
ความน่าจะเป็นที่ Absorption Chiller จะไม่ถูกส่งใหลูกคา เมื่อตรวจพบว่าไม่ไดมาตรฐาน ตั้งแต่ 1 เครื่องขึ้นไป ∴
P(X ≥ 1) = 1 – P(X = 0) =
2 15 – 2 ( )( 3 – 0 ) 1– 0 ( 153 )
= 1 – 0.6286 = 0.3714
สําหรับ P(X = 0) หาไดจาก HYPERGEOMDIST (0, 3, 2, 15) = 0.6286
การประมาณการแจกแจงแบบไฮเพอร์จีออเมตริก ดวยการแจกแจงทวินาม
การแจกแจงแบบทวินามและการแจกแจงแบบไฮเพอร์จอี อเมตริก เป็นการแจกแจงของตัวแปร สุม่ ทีไ่ ดมาจากการทดลองแบร์นลู ลี แต่มคี วามแตกต่างกันคือ การแจกแจงแบบทวินามทําการทดลอง มาจากประชากรแบบอนันต์ (หรือทดลองดวยการแทนที่ (With Replacement)) แต่การแจกแจง แบบไฮเพอร์จีออเมตริกจะทดลองมาจากประชากรแบบจํากัด (หรือการทดลองแบบไม่แทนที่ (Without Replacement)) ถาจํานวนตัวอย่างที่สุ่ม n มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับประชากรที่มี ขนาด N (ดวยเงื่อนไข n/N ≤ 0.10) การสุ่มแบบแทนที่กับแบบไม่แทนที่จะไดผลลัพธ์ที่ไม่แตก ต่างกันมากนัก กล่าวไดว่า การแจกแจงทวินามสามารถนําไปประมาณค่าแทนการแจกแจง ไฮเพอร์จีออเมตริกได โดยมีค่าความน่าจะเป็นของการพบความสําเร็จ p = k/N
148
สถิติวิศวกรรม
ตัวอย่างที่ 5.8 หน่วยบรรจุและขนส่งผลิตภัณฑ์สีนํ้ามัน บันทีกสถิติการขนส่งสีนํ้ามัน 5,000 แกลลอนใหกับผูคาส่ง พบว่ามี 1,000 แกลลอนที่ชํารุดเสียหาย ถามีลูกคารายหนึ่งซื้อสีนํ้ามัน 10 แกลลอนจากรานคาส่งแห่งหนึ่ง จงหาความน่าจะเป็นที่จะพบแกลลอนสีนํ้ามันที่ชํารุดเสียหาย 3 แกลลอน
วิธีทํา ลูกคาซื้อสีนํ้ามัน 10 แกลลอน จากรานคาส่งที่มีสี 5,000 แกลลอน เป็นการทดลอง ไฮเพอร์จีออเมตริก N = 5000 k = 1000
n = 10 x
รูปที่ 5.8 การจําหน่ายสีนํ้ามันใหแก่ลูกคา
เนือ่ งจาก 10 2) = 1 – P(X = 0) – P(X = 1) – P(X = 2) –1.02 (1.02)0 e–1.02 (1.02)1 e–1.02 (1.02)2 – – = 1– e 0! 1! 2!
= 1 – 0.361 – 0.368 – 0.188 = 0.083 ดังนั้น ทีมบํารุงรักษาควรจะวางแผนการซื้อปัมสํารอง เพราะมีโอกาสสูงถึง 8.3% ที่จะพบ ปัมเสียมากกว่า 2 ตัว
ตัวอย่างที่ 5.10 ทุกๆ ครึง่ ปจะมีกจิ กรรมการบํารุงรักษาเครือ่ งทําความเย็นใหมสี มรรถนะพรอมใช
งาน โรงงานแห่งหนึง่ ตรวจพบว่าโดยเฉลีย่ จะมีเครือ่ งทําความเย็นทีม่ ชี าํ รุดจํานวน 12 เครือ่ ง จงหา 1. ความน่าจะเป็นที่จะตรวจพบเครื่องทําความเย็นชํารุด 25 เครื่องในระยะเวลา 1 ป 2. ความน่าจะเป็นที่จะตรวจพบเครื่องทําความเย็นชํารุดอย่างนอย 4 เครื่องทุก 3 เดือน 3. ความน่าจะเป็นที่ ไม่ พบเครื่องทําความเย็นชํารุดในรอบ 3 เดือน
วิธีทํา กําหนดให X = จํานวนเครื่องทําความเย็นที่ชํารุดในการตรวจทุกครึ่งป; x = 0, 1, … m =
12 เครื่องในรอบครึ่งป
บทที่ 5 การแจกแจงความนาจะเปนแบบไมตอเนื่อง
153
1. ความน่าจะเป็นที่จะตรวจพบเครื่องทําความเย็นชํารุด 25 เครื่องในระยะเวลา 1 ป ถา X = จํานวนเครื่องทําความเย็นที่ชํารุดต่อป m
= 12(2) = 24 เครื่องต่อป
∴ P(X = 25)
–24 25 = p(25; 24) = e (24) 25!
= 0.0779 สําหรับ p(25 ; 24) หาไดจาก POISSON (25, 24, FALSE) 2. ความน่าจะเป็นที่ตรวจพบเครื่องทําความเย็นชํารุดอย่างนอย 4 เครื่องทุก 3 เดือน ถา X = จํานวนเครื่องทําความเย็นที่ชํารุดทุก 3 เดือน = 12 2 = 6 เครื่องต่อ 3 เดือน ∴ P(X ≥ 4) = 1 – P(X ≤ 3)
m
3 –6 x = 1 – P(3; 6) = S e x!6 = 1 – 0.151 = 0.849 x=0
สําหรับ P(3; 6) หาไดจาก POISSON (3, 6, TRUE) หรือจากตารางความน่าจะเป็น สะสมของปัวส์ซอง 3. ความน่าจะเป็นที่ ไม่ พบเครื่องทําความเย็นชํารุดในรอบ 3 เดือน –6 0 P(X = 0) = p(0; 6) = e (6) 0! = 0.002 สําหรับ p(0; 6) หาไดจาก POISSON (0, 6, FALSE) หรือจากตารางความน่าจะเป็น สะสมของปัวส์ซอง P(0; 6)
154
สถิติวิศวกรรม
การประมาณการแจกแจงแบบทวินามดวยการแจกแจงปัวส์ซอง สามารถใชการแจกแจงปัวส์ซองมาประมาณแทนการแจกแจงทวินามได เมื่อ n → ∞ และ p → 0 หรือ 1 โดยที่ np มีค่าคงที่ ดังนั้น ดวยเงื่อนไข n ≥ 20, np ≤ 1 หรือ n ≥ 50, np ≤ 5 หรือ n ≥ 100, np ≤ 10 จะใชการแจกแจงปัวส์ซองแทนดวย m = np
ตัวอย่างที่ 5.11 รอยเชื่อมของท่อส่งนํ้ามันจะถูกตรวจสอบดวยระบบเอ็กซเรย์เพื่อหารอยรั่วที่
อาจเกิดขึ้น ในการเชื่อมท่อส่งนํ้ามันสายหนึ่งพบว่ามีโอกาสที่จะพบรอยรั่ว 0.001 ถาหากมีการ เชือ่ มท่อส่งนํา้ มันทัง้ หมด 4, 000 จุด จงหาความน่าจะเป็นทีจ่ ะพบรอยรัว่ จากการเชือ่ มไม่เกิน 6 จุด
วิธีทํา รอยรัว่ จากการเชือ่ มท่อส่งนํา้ มันเป็นการทดสองแบบทวินามดวย n = 4000 และ p = 0.001 แต่เนื่องจาก n > 100 และ np < 10 ดังนั้น b(x; 4000, 0.001) ≈ p(x; 4) อธิบายการแจกแจงทวินามแทนดวยการแจกแจงปัวส์ซอง m = 4000(0.001) = 4 ∴ P(X ≤ 6)
6 6 –4 x = P(6; 4) = S p(x; 4) = S e x!4 = 0.889 x=0 x=0
x–1 f(x) = k – 1 pkqx–k; x = k, k + 1, k + 2, … 0 ; x อื่นๆ
k = 1, 2, … 0 0, เมื่อ
λ>0
คือ จํานวนเหตุการณโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นตอหนวยเวลา x คือ ชวงเวลาระหวางเหตุการณ x x x
λ
1
2
x=x
ฟงกชันความนาจะเปนสะสม F(x) = P(X ≤ x) = ∫x=0
3
λe–λx dx
x4
= 1 – e–λx
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
177
f(x) 4 λ=4
3 2
λ=2
1 0
λ=1
x 0.5 1 1.5 2 2.5 3 รูปที่ 6.13 กราฟความนาจะเปนของการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล ที่มา : Navidi. 2008. 0
จากรูปที่ 6.13 สําหรับพารามิเตอรของการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล เมื่อ λ มีคาใดๆ ก็ตาม พบวากราฟจะเปนรูปทรงเบ (ไมสมมาตร) คาเฉลี่ย µ และความแปรปรวน σ2 ของการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล exp(x; λ) คือ 1 µ = λ
และ
σ2
=
1
λ2
คาเฉลี่ยและความแปรปรวนของการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล มีที่มาจากหลักการ E(X) และ V(X) อธิบายไดดังนี้ ∞ ∞ ∞ E(X) = xλe–λx dx = –xe–λx + e–λx dx = 1
∫0
และ
( )2
∞ V(X) = ∫ 0 x2 λe–λx dx – λ1
|0 ∫0
( )2 =
∞ ∞ = [–x2e–λx | 0 + 2∫ 0 xe–λx dx] – λ1
λ
1
λ2
นอกจากนี้ สามารถใชฟงกชันในเอกซเซล หาคาความนาจะเปนของการแจกแจงเอกซ– โปเนนเชียลไดดังนี้
178
สถิติวิศวกรรม
การแจกแจงเอกซโปเนนเชียล EXPONDIST(x, λ, FALSE) สําหรับฟงกชนั ความนาจะเปน f(x) และ EXPONDIST(x, λ, TRUE) สําหรับฟงกชันความนาจะเปนสะสม F(x) เชน ถา X ∼ exp (x; 1.6) ดังนั้น EXPONDIST(3, 1.6, FALSE) = P(X = 3) = 0.0132 และ EXPONDIST(3, 1.6, TRUE) = P(X ≤ 3) = 0.9918
ตัวอยางที่ 6.6 ในการสํารวจซากเรือทีจ่ มใตมหาสมุทร ทีมสํารวจจะใชคลืน่ โซนารในการตรวจจับ วัตถุที่อยูตามพื้นมหาสมุทร จากประสบการณของกับตันเรือพบวา โดยเฉลี่ยในการพบซากเรือ จะใชเวลา 20 วัน ซึ่งระยะเวลาในการคนหาซากเรือมีการแจกแจงแบบเอกซโปเนนเชียล ถาระยะ เวลาคนหาซากเรือพบภายใน 1 สัปดาหจะสามารถลดคาใชจาย ในขณะที่จะยกเลิกการสํารวจถา ใชเวลาอยางมากไมเกิน 4 สัปดาห ใหศกึ ษาถึงลักษณะการแจกแจงของเวลาในการสํารวจซากเรือ
วิธีทํา กําหนดให T แทนเวลาในการสํารวจซากเรือ (วัน) T ∼ exp(t; λ) 1 λ = โดย t 1 = 0.05 ซากเรือ/วัน = 20 ดังนั้น ลักษณะการแจกแจงของ T คือ f(t) = 0.05e–0.05t ; t > 0 โอกาสที่ทีมสํารวจจะไดรับเงินโบนัส P(T ≤ 7) = F(7) = 1 – e–0.05(7) = 0.3 หรือคํานวณจาก EXPONDIST(7, 0.05, TRUE) = 0.2953 โอกาสที่จะลมเหลวในการสํารวจ P(T ≥ 28) = 1 – F(28) = e–0.05(28) = 0.25
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
179
f(x)=0.05e–0.05x ความนาจะเปนที่จะไดโบนัส = 0.30
ความนาจะเปนที่จะลมเหลว = 0.25
7
20 28
40
60
x
รูปที่ 6.14 ความนาจะเปนของเวลาที่ใชในการสํารวจซากเรือ ที่มา : Hayter. 2002.
ตัวอยางที่ 6.7 พนักงานของดานเก็บคาผานทางแหงหนึ่ง รวบรวมเวลาระหวางรถยนตแตละ คันรอจายเงินคาผานทาง พบวามีการแจกแจงเอกซโปเนนเชียลดวยเวลาเฉลี่ย 12 s ถากําหนด เวลามาตรฐานในการรอไววาไมควรเกิน 10 s/คัน ในจํานวนรถที่รอในแถวคอยจํานวน 8 คัน จงหาความนาจะเปนที่จะมีรถไมตํ่ากวา 3 คันที่ใชเวลารอเปนไปตามมาตรฐานที่กําหนด
วิธีทํา กําหนดให X แทนชวงเวลาที่รถยนตรอจายเงินคาผานทาง ชวงเวลาในการรอคอยมีการแจกแจงเอกซโปเนนเชียลดวยเวลาเฉลี่ย 12 s/คัน หรือ 1 λ = X 1 = 0.083 s/คัน = 12 ดังนั้น
X
∼
(
1 exp x; 12
)
ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนคือ f(x) = 0.083e–0.083x ; x > 0
180
สถิติวิศวกรรม
ความนาจะเปนที่รถยนตรอไมเกิน 10 s = P(X ≤ 10) = ∫ 10 0.083e–0.083x dx x=0 = 1 – e–0.083(10) = 0.564 หรือคํานวณจาก EXPONDIST(10, 0.083, TRUE) = 0.564 ในจํานวนรถยนต 8 คัน ถาจะหาความนาจะเปนที่มีรถยนตรอในแถวคอยไมเกิน 10 s อยางนอย 3 คันนั้น สามารถประยุกตใชการแจกแจงทวินาม นั่นคือ n=8 p = ความนาจะเปนที่มีรถรอในแถวคอยไมเกิน 10 s = 0.564 q = ความนาจะเปนที่มีรถรอในแถวคอยมากกวา 10 s = 1 – 0.564 = 0.436 และ Y เปนตัวแปรสุมทวินาม แทนจํานวนรถยนตที่รอไมเกิน 10 s; y = 0, 1, …, 8 Y ~ b (y; 8, 0.564) ดังนั้น ความนาจะเปนที่มีรถยนตรอไมเกิน 10 s อยางนอย 3 คันคือ P(Y ≥ 3) = 1 – P(Y = 0) – P(Y = 1) – P(Y = 2) 8 8 8 = 1 – 0 (0.564)0(0.436)8 – 1 (0.564)1(0.436)7– 2 (0.564)2(0.436)6 = 1 – 0.0013 – 0.0135 – 0.0612 = 0.924
()
()
()
3.1 ความสัมพันธระหวางตัวแปรสุมเอกซโปเนนเชียลและปวสซอง
“ถาจํานวนเหตุการณ X เปนตัวแปรสุม ไมตอ เนือ่ งแบบปวสซองทีม่ พี ารามิเตอร µ ตอหนวย เวลาแลว จํานวนหนวยเวลาระหวางการเกิดเหตุการณแตละครั้งจะเปนตัวแปรสุมตอเนื่องแบบ เอกซโปเนนเชียลที่มีพารามิเตอร λ” ซึ่ง µ ของการแจกแจงปวสซองเปนพารามิเตอรเดียวกับ λ ของการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล จากรูปที่ 6.15 แสดงความสัมพันธระหวางตัวแปรสุมเอกซโปเนนเชียลและปวสซอง โดย กําหนดให X แทนเวลาระหวางเหตุการณ ซึ่งมีการแจกแจงแบบเอกซโปเนนเชียล X ~ exp(x; λ) ขณะที่ในสถานการณเดียวกัน ถาสนใจศึกษา Y แทนจํานวนเหตุการณในชวงเวลาหนึ่ง จะมี การแจกแจงแบบปวสซอง Y ~ p(y; µ) โดยคาพารามิเตอรของการแจกแจงทั้งสองแบบเปน คาเดียวกัน (λ = µ)
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
181
ตัวอยางเชน ถาจํานวนลูกคาทีม่ ารับการบริการเปนการแจกแจงแบบปวสซองแลว จะไดวา เวลาระหวางลูกคาเขามารับการบริการดังกลาวจะเปนการแจกแจงแบบเอกซโปเนนเชียล e –µ . µ y เหตุการณ (ตัวแปรสุมปวสซอง f(y) = y! )
x1
x2
x3
x4
x5
เวลา
ตัวแปรสุมเอกซโปเนนเชียล f(x) = λe–λx
รูปที่ 6.15 ความสัมพันธระหวางการแจกแจงปวสซองและเอกซโปเนนเชียล ที่มา : Hayter. 2002.
ตัวอยางที่ 6.8 วิศวกรโรงงานประกอบตัวถังรถยนต ศึกษาอัตราการเขามาของวัตถุดิบคือ
เหล็กแผนที่ถูกนํามาตัดเปนขนาดตางๆ กอนจะถูกปอนเขาสายการประกอบ พบวาโดยเฉลี่ย จะมีเหล็กแผนจํานวน 96 แผน/hr ถูกสงเขามา ซึ่งจากขอมูลในอดีตทราบวามีการแจกแจงแบบ ปวสซอง จงหา 1. ความนาจะเปนที่อัตราการเขามาของเหล็กแผนมากกวา 3 min 2. ความนาจะเปนที่พบเหล็กแผนจํานวน 16 แผนที่เขามาในระยะเวลา 15 min
วิธีทํา
1. ความนาจะเปนที่อัตราการเขามาของเหล็กแผนมากกวา 3 min กําหนดให T แทนระยะเวลาที่เหล็กแผนถูกสงเขามา (min/แผน) t = 60 96 = 0.625 min/แผน 1 λ = 0.625 = 1.6 min/แผน ดังนั้น T
∼
exp(t; 1.6) P(T ≥ 3) = 1 – P(T < 3) = 1 – F(3) = e–1.6(3) = 0.008
182
สถิติวิศวกรรม
2. ความนาจะเปนที่พบเหล็กแผนจํานวน 16 แผนที่เขามาในระยะเวลา 15 min กําหนดให X แทนจํานวนเหล็กแผนที่ถูกปอนเขาตอนาที (แผน/min) ดังนั้น ระยะเวลา 15 min จํานวนเหล็กแผนเฉลี่ย จะได
µ
=
X
∼
= 1.6 × 15 = 24 แผน p(x; 24) λ
–24(2416) P(X = 16) = e 16! = 0.022
ตัวอยางที่ 6.9 รอยหยักที่เกิดตามขอบเหล็กแทงความยาว 10 m โดยเฉลี่ยจะพบ 42 แหง
ซึ่งจะทําใหเกิดชองวางระหวางรอยหยักรวม 43 ชอง ความยาวเฉลี่ยของแตละชองเทากับ 10/43 = 0.23 m ถาวิศวกรคาดวารอยหยักบนแทงเหล็กมีการแจกแจงแบบปวสซองดวยคาเฉลี่ย λ = 1/0.23 = 4.3 แหง/m ซึ่งเปนความยาวเฉลี่ยของชองวางระหวางรอยหยักที่ติดกัน จงหา 1. ความนาจะเปนที่พบชองวางระหวางรอยหยักหางกันไมเกิน 10 cm 2. ความนาจะเปนที่จะพบรอยหยักอยางนอย 2 แหงบนแทงเหล็กยาว 25 cm ชองวางระหวางรอยหยัก
x1
x2
x3
x4
x5
x6
x7
ตัวแปรสุมเอกซโปเนนเชียล λ = 4.3 25 cm
จํานวนของรอยหยัก Y ~ p(1.075)
รูปที่ 6.16 ความสัมพันธระหวางการแจกแจงเอกซโปเนนเชียลและการแจกแจงปวสซอง ที่มา : Hayter. 2002.
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
183
วิธีทํา
การแจกแจงเอกซโปเนนเชียลและการแจกแจงปวสซอง มีพารามิเตอรตัวเดียวกันคือ λ 1. ความนาจะเปนที่พบชองวางระหวางรอยหยักหางกันไมเกิน 10 cm กําหนดให X แทนความยาวเฉลี่ยของชองวางระหวางรอยหยัก (m/ชอง) จํานวนเฉลี่ยของรอยหยักที่พบ λ = 4.3 แหงตอเหล็กแทงยาว 1 m จะได
X ∼ exp(x; 4.3) P(X ≤ 0.10) = F(0.10) = 1 – e–4.3(0.10) = 0.35
2. ความนาจะเปนที่จะเจอรอยหยักอยางนอย 2 แหงบนแทงเหล็กยาว 25 cm กําหนดให Y แทนจํานวนรอยหยักที่พบบนแทงเหล็กยาว 1 m (แหง/m) สําหรับแทงเหล็กยาว 25 cm จํานวนเฉลี่ยของรอยหยัก λ = 4.3 × 0.25 = 1.075 แหงตอ เหล็กแทงยาว 25 cm จะได
Y ∼ p(y; 1.075) P(Y ≥ 2) = 1 – P(Y = 0) – P(Y = 1) –1.075(1.0750) e–1.075(1.0751) = 1– e – 0! 1! = 1 – 0.341 – 0.367 = 0.292
3.2 การประยุกตกับทฤษฎีความเชื่อถือได (Reliability Theory) ความนาจะเปนที่จะเกิดเหตุการณที่สนใจ x ครั้งระหวางชวงเวลา t นั้น สามารถประมาณ โดยการแจกแจงปวสซองดวยพารามิเตอร µ = αt เมื่อ µ คือคาเฉลี่ยของการแจกแจงปวสซอง และ α คือคาเฉลี่ยของจํานวนเหตุการณที่สนใจในชวงเวลาสั้นๆ ∆t ดังนั้น –αt x –µ x P(X = x) = f(x) = p(x; µ) = e µ = e x!(αt) x! ถากําหนดให R(t) เปนความเชื่อถือได (Reliability) ที่จะไมเกิดผลิตภัณฑเสียในชวง เวลา t ของผลิตภัณฑชิ้นหนึ่ง จะไดวา P(X = 0) = R(t) = e–αt
184
สถิติวิศวกรรม
เมื่อกําหนดให F(t) เปนความนาจะเปนที่ผลิตภัณฑนี้อาจจะเสียในชวงเวลาใดๆ ของ t ดังนั้น R(t) และ F(t) เปนคอมพลีเมนตซึ่งกันและกัน หรือจะไดวา R(t) = 1 – F(t) = e–αt หรือ F(t) = 1 – e–αt ดังนั้น f(t) = dtd F(t) = α e–αt ซึ่งเปนฟงกชันเอกซโปเนนเชียลดวยพารามิเตอร λ = α นั่นเอง คา λ1 เปนคาเฉลี่ยของการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล ซึ่งแทนระยะเวลาเฉลี่ยระหวาง การเสียหาย (Mean Time Between Failures – MTBF)
ตัวอยางที่ 6.10 การเก็บสถิติการเกิดนํ้ามันรั่วไหลสูแหลงนํ้าธรรมชาติระหวางป พ.ศ. 2443 – 2553 พบวามีการรั่วไหลเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่สํารวจ 24 ครั้ง ดวยปริมาณตั้งแต 100 lb ขึ้นไป ถาเหตุการณที่เกิดการรั่วไหลของนํ้ามันสําหรับบริเวณนี้มีการแจกแจงปวสซอง จงหาความนาจะ เปนที่จะเกิดการรั่วไหลของนํ้ามันสูแหลงนํ้าธรรมชาติภายใน 5 ปขางหนา
วิธีทํา
คาเฉลี่ยจํานวนครั้งที่เกิดนํ้ามันรั่วไหลสูแหลงนํ้าธรรมชาติตอป คือ α = 24 = 0.218 ครั้ง/ป 110 ให T เปนจํานวนปที่เกิดนํ้ามันรั่วไหลครั้งแรก ดังนั้น T มีการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล f(t) = αe–αt = 0.218e–0.218t ดังนั้น ความนาจะเปนที่จะเกิดนํ้ามันรั่วไหลสูแหลงนํ้าธรรมชาติภายใน 5 ปคือ P(t ≤ 5) = F(t) = 1 – e–αt = 1 – e–0.218(5) = 0.664 ∴ มีโอกาสประมาณ 66.4% ที่จะเกิดนํ้ามันรั่วไหลในชวง 5 ปแรก และความนาจะเปนที่จะไมเกิดนํ้ามันรั่วไหลสูแหลงนํ้าธรรมชาติในชวง 8 ปแรกคือ P(t > 8) = R(t) = e–αt = e–0.218(8) = 0.175 ∴ มีโอกาสประมาณ 17.5% ที่จะไมเกิดนํ้ามันรั่วไหลในชวง 8 ปแรก
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
185
ตัวอยางที่ 6.11 โซลารเซลล (Solar Cell) หรือเซลลแสงอาทิตย เปนอุปกรณที่สามารถผลิต
พลังงานไฟฟาจากแสงอาทิตยหรือแสงสวางไดโดยตรง จะใชหลักการโฟโตอิเล็กทริกของสารกึ่ง ตัวนําโดยใชการเคลื่อนของอิเล็กตรอน อายุการใชงานเฉลี่ย 22.5 ป ถาพบวาจํานวนเซลลแสง อาทิตยที่เสียมีการแจกแจงปวสซอง จงหา 1. ความนาจะเปนที่เซลลแสงอาทิตยเซลลหนึ่งจะเสียภายในเวลา 10 ปหลังการติดตั้ง 2. ความนาจะเปนที่เซลลแสงอาทิตยจะเสียกอนอายุเฉลี่ย 3. ความนาจะเปนที่เซลลแสงอาทิตยจะใชงานไดอยางตํ่า 35 ป
วิธีทํา คาเฉลี่ยอายุการใชงานของเซลลแสงอาทิตย 1 เซลล = 22.5 ป ∴
อัตราการเสีย =
α
=
1 = 0.04 เซลล/ป 22.5
ให T เปนอายุเซลลแสงอาทิตย ดังนั้น T มีการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล f(t) =
α e–αt
= 0.04e–0.04t
1. ความนาจะเปนที่เซลลแสงอาทิตยเซลลหนึ่งจะเสียภายในเวลา 10 ปหลังการติดตั้ง P(t ≤ 10) = F(t) = 1 – e–αt = 1 – e–0.04(10) = 0.33 ∴ มีโอกาสประมาณ 33% ทีเ่ ซลลแสงอาทิตยตวั หนึง่ จะเสียภายใน 10 ปแรกของการติดตัง้
2. ความนาจะเปนที่เซลลแสงอาทิตยจะเสียกอนอายุเฉลี่ย P(t ≤ 22.5) = F(t) = 1 – e–αt ∴
= 1 – e–0.04(22.5) = 0.593 มีโอกาสประมาณ 59.3% ที่เซลลแสงอาทิตยจะเสียกอนอายุเฉลี่ย
186
สถิติวิศวกรรม
3. ความนาจะเปนที่เซลลแสงอาทิตยจะใชงานไดอยางตํ่า 35 ป P(t ≥ 35) = R(t) = e–αt ∴
= e–0.04(35) = 0.247 มีโอกาสประมาณ 24.7% ที่เซลลแสงอาทิตยเซลลหนึ่งจะใชงานไดอยางตํ่า 35 ป
4. การแจกแจงแกมมา (Gamma Distribution) การแจกแจงแกมมาเปนการแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุมที่มีลักษณะไมสมมาตร (มีความเบ) พบการประยุกตใชการแจกแจงแบบนี้ในทฤษฎีความเชื่อถือได (Reliability Theory) ถากําหนดใหการแจกแจงของตัวแปรสุมตอเนื่อง X เปนแบบแกมมา X ∼ G(x; k, λ) จะมี ฟงกชันความนาจะเปน f(x) = เมื่อ
λk xk–1 e–λx Γ(k)
; x > 0, λ > 0
คือ จํานวนเหตุการณโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นตอหนวยเวลา x คือ เวลาที่ทําใหเกิดเหตุการณจํานวน k เหตุการณ
λ
Γ(k)
∞
= ∫ xk–1 e–x dx = (k – 1) Γ(k – 1); k 0
>
1
ถา n เปนจํานวนเต็มบวก จะได Γ(n) = (n – 1)! ตัวแปรสุมแบบแกมมาจะมีพารามิเตอร k, λ ซึ่งพารามิเตอร k จะมีผลตอรูปทรงของ การแจกแจงความนาจะเปน จึงเรียกชื่อวา พารามิเตอรดานรูปทรง (Shape Parameter) และ เรียกพารามิเตอร λ วา พารามิเตอรดานสเกล (Scale Parameter)
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
187
f(x) 1.0
λ=1, k=1
0.5 λ=1, k=3 λ=1, k=5
2.5
5.0
7.5
10.0
x
รูปที่ 6.17 ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุมแบบแกมมา เมื่อ λ = 1 ที่มา : Hayter. 2002.
คาเฉลี่ย µ และความแปรปรวน σ2 ของการแจกแจงแกมมา G(x; k, λ) คือ µ
และ ดังนี้
σ2
= λk =
k
λ2
นอกจากนี้ สามารถใชฟงกชันเอกซเซลหาคาความนาจะเปนของการแจกแจงแกมมาได
การแจกแจงแกมมา GAMMADIST(x, k, 1/λ, FALSE) สําหรับฟงกชันความนาจะเปน f(x) และ GAMMADIST(x, k, 1/λ, TRUE) สําหรับฟงกชันความนาจะเปนสะสม F(x) เชน ถา X ∼ G(x; 1.5, 0.2) ดังนั้น GAMMADIST(10, 1.5, 1/0.2, FALSE) = P(X = 10) = 0.0432 และ GAMMADIST(10, 1.5, 1/0.2, TRUE) = P(X ≤ 10) = 0.7385
188
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 6.12 จากตัวอยางที่ 6.8 ถาวิศวกรโรงงานสนใจศึกษาการปอนเหล็กแผนจํานวน 20
แผนเขาสูสายการประกอบวาใชเวลานานเทาไรภายใตกระบวนการปวสซอง เวลาที่ใชในการคอย เหล็กแผนปอนเขาสูสายการประกอบ (X) จะมีการแจกแจงแบบแกมมาดวยพารามิเตอร k = 20 และ λ = 1.6 จงหาคาเฉลี่ย และคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของเวลารอคอย X
วิธีทํา กําหนดให X แทนเวลารอคอยการปอนเหล็กแผนเขากระบวนการผลิต X ~ G (x; 20, 1.6) E(X) = µ = k λ
20 = 12.5 min = 1.6 Var(X) = σ2 = k2 λ
= ดังนั้น
SD(X) =
20 = 7.81 min2 (1.6)2 σ
=
7.81 = 2.80 min
f(x) E(X) = 12.5 นาที การแจกแจงแกมมา k = 20, λ = 1.6
σ = 2.80 min σ = 2.80 min
5
10
15
20
x
รูปที่ 6.18 การแจกแจงแกมมาของเวลารอคอยการปอนเหล็กแผน ที่มา : Hayter. 2002.
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
189
นอกจากนี้ สามารถหาคาความนาจะเปนสะสม (cdf) ไดดังนี้ F(17.42) = GAMMADIST(17.42, 20, 1/1.6, TRUE) = 0.95 มีโอกาส 95% ที่ เหล็กแผน 20 แผนจะถูกปอนเขามาภายใน 17.42 นาที
ความสัมพันธระหวางตัวแปรสุม แบบแกมมาและแบบเอกซโปเนนเชียล เมื่อ k = 1 การแจกแจงแบบแกมมาจะกลายเปนการแจกแจงแบบเอกซโปเนนเชียล นั่นคือ f(x) =
λ1 x1–1 e–λx Γ(1)
= λe–λx
นอกจากนี้ ถาตัวแปรสุม X เปนผลรวมของตัวแปรสุม k ตัวที่มีความเปนอิสระตอกัน โดยที่แตละตัวแปรสุม (Xi) มีการแจกแจงแบบเอกซโปเนนเชียลที่มีพารามิเตอร λ แลวจะไดวา X เปนตัวแปรสุมแบบแกมมาที่มีพารามิเตอร λ และ k นั่นคือ X = X1 + X2 + … + Xn
ตัวอยางที่ 6.13 ในการทํางานของระบบควบคุมระบบหนึ่ง จะมีหนวย 1 เปนหนวยทํางาน
หลัก ขณะที่หนวย 2 และหนวย 3 จะเปนหนวยสํารองที่จะทํางานแทนกรณีหนวยหลักเสีย เชน ถาหนวย 1 เสีย หนวย 2 จะทํางานแทน และถาหนวย 2 เสีย หนวย 3 จะทํางานแทน โดยที่มี Decision Switch (DS) เปนสวิตชควบคุม ดังรูปที่ 6.19 ถากําหนดใหการทํางานของสวิตชควบคุม DS อยูในสภาพสมบูรณ ระบบควบคุมนี้จะมีอายุงาน X = X1 + X2 + X3 โดยที่อายุงานของแตละ หนวย Xi เมื่อ i = 1, 2, 3 มีการแจกแจงแบบเอกซโปเนนเชียลเทากับ f(xi) = (1/100)e–(xi/100); xi ≥ 0 จงหาฟงกชันความนาจะเปนของผลรวม X หนวย 1 DS
หนวย 2 หนวย 3
รูปที่ 6.19 ระบบควบคุม ที่มา : Hines et al. 2003.
190
สถิติวิศวกรรม
วิธีทํา ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนของหนวยยอย f(xi) กําหนดใหเปนการแจกแจงแบบ เอกซโปเนนเชียล ดังนั้น อายุงานของระบบควบคุม X จะมีการแจกแจงแบบแกมมาที่ k = 3 และ λ = 1/100 = 0.01 ซึ่งจะมีฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนของผลรวม X คือ (0.01x)3 – 1 e–0.01x ; x > 0 f(x) = 0.01 Γ(3) นอกจากนี้ ความนาจะเปนที่จะพบระบบควบคุมนี้ทํางานอยางนอย x ชั่วโมง จะหาไดจาก ฟงกชันความเชื่อถือได (Reliability Function – R(x)) k 2 R(x) = 1 – F(x) = Σ e–0.01x (0.01x) k! k=0 2 = e–0.01x [1 + (0.01x) + (0.01x) 2
5. การแจกแจงไวบูลล (Weibull Distribution) การแจกแจงไวบูลลเปนการแจกแจงที่ใชศึกษาเรื่องเวลาสึกหรอ (Time Until Failure) ของอุปกรณทางกลหรืออิเล็กทรอนิกส และเวลารอคอย (Waiting Time) ถากําหนดให X เปน ตัวแปรสุมแบบไวบูลลแลว จะมีฟงกชันความนาจะเปนคือ f(x) = โดยที่
δ β
β δ
( δx ) –1 exp – ( δx ) β
β
; x>0
β, δ > 0
คือ พารามิเตอรกําหนดสเกล (Scale Parameter) คือ พารามิเตอรกําหนดรูปทรง (Shape Parameter) ถาคา β = 1 การแจกแจง ไวบูลลจะเหมือนกับการแจกแจงแบบเอกซโปเนนเชียล
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
191
f(x) 1 β = 1, δ = 1 (เอกซโปเนนเชียล) β = 2, δ = 1
0.5
β = 2, δ = 0.5
0
5
f(x)
10
(ก)
x
8 6
β = 10, δ = 0.5
4
β = 10, δ = 1
β = 10, δ = 2
2 0
0
0.5
1.0
1.5 (ข)
2.0
2.5
x
รูปที่ 6.20 ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุมไวบูลล ที่มา : Devore and Farnum. 2005.
จากรูปที่ 6.20 เมื่อพารามิเตอร β และ δ มีการเปลี่ยนแปลงคา จะสงผลตอรูปทรงและการ เลื่อนสเกลของตัวแปรสุมไวบูลล
192
สถิติวิศวกรรม
ความนาจะเปนสะสม (cdf) ของการแจกแจงไวบูลล
( )
F(x) = 1 – exp – δx
β
คาเฉลี่ย µ และความแปรปรวน σ2 ของการแจกแจงไวบูลล W(x; β, δ) คือ
และ ดังนี้
µ
=
σ2
=
(1 + β1 ) 2 – δ2 Γ 1 + 1 2 δ 2 Γ (1 + ( β) β) δΓ
นอกจากนี้ สามารถใชฟง กชนั ในเอกซเซล หาคาความนาจะเปนของการแจกแจงไวบูลลได
การแจกแจงไวบูลล WEIBULL(x, β, δ, FALSE) สําหรับฟงกชันความนาจะเปน f(x) และ WEIBULL(x, β, δ, TRUE) สําหรับฟงกชันความนาจะเปนสะสม F(x) เชน ถา X ∼ W(x; 0.5, 5) ดังนั้น WEIBULL(10, 0.5, 5, FALSE) = P(X = 10) = 0.0172 และ WEIBULL(10, 0.5, 5, TRUE) = P(X ≤ 10) = 0.7569
ตัวอยางที่ 6.14 ผาเบรกรถยนตซึ่งผลิตจากวัตถุดิบชนิดใหมถูกนํามาทดสอบดวยการวิ่งใน
สภาพการจราจรจริงจนสึกหรอจนหมด ถา X เปนตัวแปรสุมไวบูลสแทนระยะทางที่รถวิ่งจนผา เบรกสึกหรอหมด (หนวย : 1,000 ไมล) ดวยพารามิเตอร β = 0.5 และ δ = 5,000 ไมล จงหา ระยะทางโดยเฉลี่ยกอนที่ผาเบรกจะสึกหรอหมด และหาโอกาสที่ผาเบรกจะมีอายุการใชงานอยาง นอย 10,000 ไมล
วิธีทํา กําหนดให X แทนระยะทางที่รถวิ่งจนผาเบรกสึกหรอหมด X ~ W (x; 0.5, 5) ระยะทางเฉลี่ยกอนที่ผาเบรกจะสึกหรอหมด
(
)
1 = 5(2!) = 10,000 ไมล = 5Γ 1 + 0.5 โอกาสที่ผาเบรกจะมีอายุการใชงานอยางนอย 10,000 ไมล = P(X ≥ 10) E(X) =
µ
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
( )
P(X ≥ 10) = R(10) = 1 – F(10) = exp – δx
( )0.5
= exp – 10 5
193
β
= 0.243
จะมีผาเบรก 24.3% ของจํานวนผาเบรกทั้งหมดที่มีอายุการใชงานอยางนอย 10,000 ไมล
6. การแจกแจงเออรแลง (Erlang Distribution)
ถาการแจกแจงเอกซโปเนนเชียลเปนชวงของการเกิดเหตุการณ 1 เหตุการณในกระบวน การปวสซอง การแจกแจงเออรแลงจะเปนชวงของการเกิดเหตุการณ k เหตุการณในกระบวนการ ปวสซอง กําหนดให X เปนตัวแปรสุม เออรแลง ดังนัน้ ฟงกชนั การแจกแจงความนาจะเปนของ X คือ f(x) =
λk xk–1 e–λx
(k – 1)! ; x > 0, λ > 0, k = 1,2, …
เมื่อ k = 1 การแจกแจงเออรแลงจะกลายเปนการแจกแจงเอกซโปเนนเชียล การแจกแจง เออรแลงจัดไดวาเปนการแจกแจงแกมมา ซึ่งมีคา k เปนจํานวนเต็ม 2.0 k 1 5 5
1.6
f(x)
λ
1 1 2
1.2 0.8 0.4 0.0 0
2
4
6
8 10 12 x รูปที่ 6.21 ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนของตัวแปรสุมเออรแลง ที่มา : Montgomery and Runger. 2003.
194
สถิติวิศวกรรม
คาเฉลี่ย µ และความแปรปรวน σ2 ของการแจกแจงเออรแลง E(x; k, λ) คือ k µ = λ
และ
σ2
= k2 λ
นอกจากนี้ สามารถใชฟงกชันเอกซเซลหาคาความนาจะเปนของการแจกแจงเออรแลง ได โดยใช GAMMADIST(x, k, 1/λ, FALSE) สําหรับฟงกชันความนาจะเปน f(x) และ GAMMADIST(x, k, 1/λ, TRUE) สําหรับฟงกชันความนาจะเปนสะสม F(x) โดย k เปนจํานวนเต็ม เชน ถา X ~ E (x; 2, 0.2) ดังนั้น GAMMADIST (10, 2, 1/0.2, FALSE) = P(X = 10) = 0.0541 และ GAMMADIST (10, 2, 1/0.2, TRUE) = P(X ≤ 10) = 0.594
ตัวอยางที่ 6.15 ความเสียหายที่พบในระบบประมวลผลกลางของคอมพิวเตอรขนาดใหญมัก
เปนกระบวนการปวสซอง และมักจะเสียจากวงจรของเซมิคอนดักเตอร ถาจํานวนความเสีย หายโดยเฉลี่ยเทากับ 0.0001 ครั้ง/hr กําหนดให X เปนเวลาที่พบระบบเสียหายรวม 4 ครั้ง จงหาความนาจะเปนที่เวลาดังกลาวเกิน 40,000 hr
วิธีทํา
กําหนดให X แทนเวลาที่พบระบบเสียหายรวม 4 ครั้ง X ∼ E(x; 4, 0.0001) P(X > 40000) = =
∞
∫
40000
λk xk–1 e–λx
(k – 1)!
dx
∞
4 4–1 –0.0001x dx = 0.4335 ∫ 0.0001 (4x – 1)!e 40000
หรือหาไดจากฟงกชันเอกซเซลคือ 1 – GAMMADIST(40000, 4, 1/0.0001, TRUE) อาจกลาวไดวา ตัวแปรสุมเออรแลงเปนตัวแปรสุมตอเนื่องที่มีแนวคิดเดียวกับตัวแปรสุม ทวินามลบ ถาตัวแปรสุม ทวินามลบอธิบายไดดว ยผลบวกของตัวแปรสุม เรขาคณิต k ตัวแลว ตัวแปร สุมเออรแลงจะหมายถึงผลบวก k ตัวของตัวแปรสุมเอกซโปเนนเชียลนั่นเอง
β>0 δ>0
ไวบูลล W(x; β, δ)
เออรแลง E(x; k, λ)
k>0 λ>0
แกมมา G(x; k, λ)
0
; x อื่นๆ
λk xk–1 e–λx ; x > 0, λ > 0 Γ(k)
0
; x อื่นๆ
( δx )β–1 exp[ – ( δx )β ] ; x > 0 β, δ > 0
f(x) =
β δ
; x อื่นๆ
)2; –∞ < x < ∞
f(x) = λe–λx; x > 0, λ > 0 0 ; x อื่นๆ
σ
1 x–µ
e– 2 (
1 ;a≤x≤b b–a 0 ; x อื่นๆ
k = 1, 2, … f(x) = λk xk–1 e–λx ; x > 0, λ > 0, k = 1,2 ,… λ>0 (k – 1)! 0 ; x อื่นๆ
f(x) =
λ>0
2π 0
เอกซโปเนนเชียล exp(x; λ)
σ
1
µ , σ2
ปกติ N(µ, σ2)
f(x) =
f(x) =
a, b b>a
ฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน (pdf)
ยูนิฟอรม U(a, b)
การแจกแจง พารามิเตอร
δΓ
λ
k
(1 + β1 )
k
λ
λ
1
δ2 Γ
λ2
k
(1 + β2 ) – δ2[Γ(1 + β1 )]
λ2
k
λ2
1
2
Γ
–k
( 1 + βn ) ( 1 – λt )
∞ n n Σ t n!δ n=0
–1
–k
( 1 – λt )
( 1 – λt )
]
σ2
µ
22
etb – e–ta t(b – a)
(b – a)2 12
a+b 2 exp[tµ + σ2t
ฟงกชันโมเมนต Mx(t)
ความแปรปรวน
คาเฉลี่ย
ตารางที่ 6.3 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
195
196
สถิติวิศวกรรม
แบบฝกหัด 1. กําหนดใหตัวแปรสุม X แทนกระแสไฟฟาที่ไหลผานลวดทองแดง (หนวย : mA) มีคาใน ชวง [0, 20 mA] ถาฟงกชันความนาจะเปน f(x) = 0.05 ; 0 ≤ x ≤ 20 จงหา 1.1 ความนาจะเปนที่พบกระแสไฟฟามีคาระหวาง 5 – 10 mA (เฉลย : 0.25) 1.2 คาเฉลี่ยและคาความแปรปรวนของกระแสไฟฟา (เฉลย : 10, 33.33) 2. นํ้าหนักของลังบรรจุสารกําจัดวัชพืช (Herbicide) (หนวย : lb) มีการแจกแจงแบบยูนิฟอรม ดวย 49.75 ≤ x ≤ 50.25 จงหา 2.1 คาเฉลี่ยและคาความแปรปรวนของนํ้าหนักลังสารเคมี (เฉลย : 50, 0.0208) 2.2 ฟงกชันความนาจะเปนสะสมของนํ้าหนักลังสารเคมี (เฉลย : F(x) = 2x – 99.5; 49.75 ≤ x ≤ 50.25) 2.3 ความนาจะเปนที่นํ้าหนักของลังสารเคมีนอยกวา 50.1 lb (เฉลย : 0.7) 3. ใชตารางความนาจะเปนสะสมของตัวแปรสุมปกติมาตรฐาน (Z) คํานวณหาผลลัพธตอไปนี้ 3.1 จงหาความนาจะเปนเมื่อ Z มีคาดังนี้ ก. Z < 1.32 (เฉลย : 0.9066) ข. Z < 3.00 (เฉลย : 0.9987) ค. Z > 1.45 (เฉลย : 0.0735) ง. Z > – 2.15 (เฉลย : 0.9842) จ. – 2.34 < Z < 1.76 (เฉลย : 0.9512) 3.2 จงหาคา z ถา ก. P(Z < z) = 0.9 (เฉลย : 1.28) ข. P(Z < z) = 0.5 (เฉลย : 0) ค. P(Z > z) = 0.1 (เฉลย : 1.28) ง. P(Z > z) = 0.9 (เฉลย : –1.28) จ. P( – 1.24 < Z < z) = 0.8 (เฉลย : 1.33)
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
197
3.3 จงหาความนาจะเปนเมื่อ X เปนตัวแปรสุมปกติที่มีคาเฉลี่ย 10 และคาเบี่ยงเบน มาตรฐาน 2 ข. P(X > 9) (เฉลย : 0.6915) ก. P(X < 13) (เฉลย : 0.9332) ง. P(2 < X < 4) (เฉลย : 0.0014) ค. P(6 < X < 14) (เฉลย : 0.9545) จ. P( – 2 < X < 8) (เฉลย : 0.1587) 4. ซีเมนตที่ผลิตจากบริษัทแหงหนึ่งจํานวน 5,000 ตัวอยาง มี 15% ที่คาความเคนอัดตํ่ากวา มาตรฐาน ถาทราบวาคาความเคนอัดมีการแจกแจงปกติดวยคาเฉลี่ยเทากับ 18,500 g/cm2 และคาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ 2,800 g/cm2 จงตรวจสอบวาขอใดถูกหรือผิด ถาผิด ใหแกไขใหถูกตองดวย 4.1 ถามีซเี มนตถกู สงกลับมายังบริษทั 750 ตัวอยาง ประมาณ 716 ตัวอยางทีม่ คี า ความเคน อัดระหวาง 15,700 ถึง 24,100 g/cm2 (เฉลย : ผิด, 614) 4.2 มีซีเมนตเพียง 1 ตัวอยางเทานั้นที่ถูกสงกลับมายังบริษัท โดยมีคาความเคนอัดตํ่ากวา 10,100 g/cm2 (เฉลย : จริง) 4.3 ความนาจะเปนทีซ่ เี มนตตวั อยางหนึง่ จะมีคา ความเคนอัดระหวาง 15,700 และ 18,500 g/cm2 เทากับ 0.136 (เฉลย : ผิด, 0.3413) 4.4 ประมาณ 84.13% ของซีเมนตที่ถูกสงกลับมาทัง้ หมด มีคา ความเคนอัดอยางมากทีส่ ดุ 21,300 g/cm2 (เฉลย : จริง) 5. ถาปริมาตรของการบรรจุเครื่องดื่มกระปองเปนตัวแปรสุมที่มีการแจกแจงปกติที่มีคาเฉลี่ย เทากับ 10 ออนซ คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ 0.02 ออนซ ถาปริมาตรของการบรรจุอยู นอกชวง (10 – C, 10 + C) จะถือวาเปนเครื่องดื่มกระปองไมไดมาตรฐาน ปรากฏวามี เครื่องดื่มไมไดมาตรฐานอยู 5% จงหาคา C (เฉลย : 0.0392) 6. คาความกวางแถบสเปกตรัมของแสงทีเ่ ปลงออก (Linewidth) ของเลเซอรไดโอดมีการแจกแจง ปกติ ดวยคาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ 0.07 µm 6.1 จงหาชวงสมมาตรของระดับเชื่อถือได (Symmetric of Tolerance Limit) ที่จะทําใหมี เลเซอรไดโอดที่มีคาความกวางแถบสเปกตรัมของแสงที่เปลงออกไมไดตามมาตรฐาน กําหนด 2% (เฉลย : µ ± 0.163) 6.2 จงหาเปอรเซ็นตของเลเซอรไดโอดทีผ่ า นการตรวจสอบ โดยมีคา ความกวางแถบสเปกตรัม ของแสงที่เปลงออกมาอยูในชวง 12 ± 0.20 µm (เฉลย : 99.58)
198
สถิติวิศวกรรม
7. จงประมาณการแจกแจงทวินามดวยการแจกแจงปกติ สําหรับเหตุการณดังตอไปนี้ 7.1 ตัวแทนจําหนายเครื่องซีลไดรับแจงจากฝายซอมสินคาของบริษัทวา โดยเฉลี่ย 2% ของเครื่องซีลที่ขายไปจะสงกลับมาซอมภายใน 3 เดือน จงหาความนาจะเปนที่จะมี เครื่องซีลอยางนอย 30 เครื่องสงกลับมาซอมภายใน 3 เดือนหลังจากขายไปทั้งหมด 1,200 เครื่อง (เฉลย : 0.1292) 7.2 ชองทางการสื่อสารมีการสงขอมูลแลวไดรับผิดพลาดคลาดเคลื่อนโดยเฉลี่ย 20% ถา จํานวนบิต (Bits) ของขอมูลที่ไดรับผิดพลาดมีการแจงแจงแบบทวินาม ถาสงขอมูลไป จํานวน 100 บิต จงหาความนาจะเปนที่ ก. จํานวนบิตที่ผิดพลาดมีจํานวนอยางมากที่สุด 15 บิต (เฉลย : 0.1303) ข. จํานวนบิตที่ผิดพลาด 15 บิตพอดี (เฉลย : 0.0458) 8. จํานวนแรใยหินทีเ่ จือปนอยูใ นอากาศมีการแจกแจงปวสซองดวยคาเฉลีย่ 1,000 อนุภาค/m2 จงประมาณการแจกแจงปวสซองดวยการแจกแจงปกติเพือ่ หาโอกาสทีจ่ ะพบแรใยหินไมเกิน 950 อนุภาค/m2 (เฉลย : 0.057) 9. ตัวควบคุมแรงดันภายในไดชารจของรถยนต (Automotive Voltage Regulator) มีอายุการ ใชงานเปนการแจกแจงเอกซโปเนนเชียลที่มีอายุเฉลี่ย 0.125 ป จงหาความนาจะเปนที่ตัว ควบคุมแรงดันจะสามารถใชงานจนกระทั่งเสียในเวลา 9.1 ไมเกิน 4 ป (เฉลย : 0.3935) 9.2 อยางนอยที่สุด 16 ป (เฉลย : 0.1353) 10. ถาหนวยซอมบํารุงเครื่องจักรของโรงงานแหงหนึ่ง โดยเฉลี่ยมีจํานวนเครื่องจักรที่ตองซอม 3 เครื่อง/เดือน จงหา 10.1 ความนาจะเปนที่เครื่องจักรตองซอมจํานวน 1 เครื่อง/ครึ่งเดือน (เฉลย : 0.224) 10.2 ความนาจะเปนทีเ่ ครือ่ งจักรตองใชเวลารอซอมไมนานเกินครึง่ เดือน (เฉลย : 0.7769) 11. อายุการใชงานของยางนอกแบบวิบากของจักรยานภูเขาที่นําเขาจากบริษัทแหงหนึ่ง มีการ แจกแจงเอกซโปเนนเชียลดวยคาเฉลี่ย 1 ป ในจํานวนยางนอก 6 เสน จงหาความนาจะเปน ที่จํานวนอยางมาก 2 เสนที่ยังใชไดอีกหลังจากใชงานแลว 2.3 ป (เฉลย : 0.9841)
บทที่ 6 การแจกแจงความนาจะเปนแบบตอเนื่อง
199
12. จากสถิติแผนดินไหวแถบอินโดนีเซียระหวางป พ.ศ. 2413 – 2538 พบวาที่ระดับความสั่น สะเทือนตั้งแต 7 ริกเตอรขึ้นไปมีจํานวน 16 ครั้ง ถาการเกิดแผนดินไหวรุนแรงขนาดนี้มี การแจกแจงแบบปวสซอง จงหา 12.1 ความนาจะเปนที่จะเกิดแผนดินไหวรุนแรงภายใน 2 ปขางหนา (เฉลย : 0.226) 12.2 ความนาจะเปนที่จะไมเกิดแผนดินไหวในชวง 10 ปแรก (เฉลย : 0.278) 13. วิศวกรเคมีเก็บขอมูลอุปกรณควบคุมในทอสงนํ้ามัน 100 คา หาคาเฉลี่ยอายุการใชงานของ อุปกรณควบคุมได 5.75 ป ถาทราบวาจํานวนอุปกรณควบคุมทีเ่ สียนีม้ กี ารแจกแจงปวสซอง จงหา 13.1 ความนาจะเปนที่อุปกรณควบคุมตัวหนึ่งจะเสียภายในเวลา 1 ปหลังติดตั้ง (เฉลย : 0.160) 13.2 ความนาจะเปนที่อุปกรณควบคุมจะเสียกอนอายุเฉลี่ย (เฉลย : 0.632) 13.3 ความนาจะเปนที่อุปกรณควบคุมจะใชงานไดอยางตํ่า 10 ป (เฉลย : 0.176) 14. เวลาในการเติมเต็มสินคา (Replenishment Time) หมายถึงเวลาที่นับตั้งแตการออกคําสั่ง ซื้อจนกระทั่งไดรับสินคา ถาทราบวาเวลาเติมเต็มสินคามีการแจกแจงแบบแกมมาดวยเวลา เฉลี่ย 40 วัน และความแปรปรวน 400 วัน2 จงหาความนาจะเปนที่จะไดรับสินคาใน 20 วัน แรกหลังจากการออกคําสั่งซื้อไปแลว (เฉลย : 0.8488) 15. อายุการใชงานของตลับลูกปนมีการแจกแจงไวบูลสดวยพารามิเตอร β = 2 และ δ = 10,000 hr จงหา 15.1 ความนาจะเปนที่ตลับลูกปนมีอายุการใชงานอยางนอย 8,000 hr (เฉลย : 0.5273) 15.2 อายุเฉลี่ยของการใชงานจนกระทั่งตลับลูกปนเสีย (เฉลย : 8862) 15.3 ถามีตลับลูกปนถูกใชงาน 10 ตัว แตละตัวอิสระตอกัน จงหาความนาจะเปนที่ทั้ง 10 ตัวจะมีอายุการใชงานอยางนอย 8,000 hr (เฉลย : 0.0017)
200
สถิติวิศวกรรม
16. ทุกๆ 105 บิต จะมีการปนเปอนอยูบนจานแสง (Optical Disk) 1 จุด ถาจํานวนของการ ปนเปอนมีการแจกแจงแบบปวสซอง จงหา 16.1 จํานวนบิตโดยเฉลี่ยที่จะพบการปนเปอนเกิดขึ้น 5 จุด (เฉลย : 500,000) 16.2 คาเบีย่ งเบนมาตรฐานของจํานวนบิตเมือ่ พบการปนเปอ นเกิดขึน้ 5 จุด (เฉลย : 223,607) 16.3 การแกไขการปนเปอนจะไมเกิดผลถามีจุดปนเปอนตั้งแต 3 จุดขึ้นไปใน 105 บิต จงหาความนาจะเปนที่จะเกิดเหตุการณดังกลาว (เฉลย : 0.0803)
7
การแจกแจง ของการสุมตัวอยาง
การสุมตัวอยาง (Sample) จากประชากร (Population) เปนวิธีการที่นิยมใชในการเก็บ รวบรวมและวิเคราะหขอมูลเพื่อนําไปสูการหาผลลัพธที่ตองการ ผลวิเคราะหจากกลุมตัวอยางจะ เปนเสมือนตัวแทน (Representative) ของผลวิเคราะหจากประชากร คุณลักษณะ (Characteristic) ของประชากรหรือที่เรียกวาพารามิเตอร (Parameter) จะเปนสิ่งที่ใชในการอธิบายวาประชากร มีลักษณะอยางไร เชน คาเฉลี่ย (µ) คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) เปนตน ขณะเดียวกัน ตัวสถิติ (Statistics) จะเปนสิ่งที่ใชในการอธิบายวากลุมตัวอยางที่สุมมามีลักษณะอยางไร เชน คาเฉลี่ย (X) คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) เปนตน ตัวอยางเชน ตัวตานทานกระแสไฟฟาที่ผลิตจากโรงงาน A มีแรงตานทานเฉลี่ยกี่กิโลโอหม (kΩ) ขอมูลและแหลงที่จะเก็บรวบรวมขอมูล รวมทั้งคุณลักษณะ ทีต่ อ งการศึกษา จะตองถูกกําหนดใหชดั เจนกอนทีจ่ ะเริม่ วิเคราะหขอ มูลเพือ่ หาผลลัพธทตี่ อ งการตอไป กําหนดให ขอมูล (Xi) คือ แรงตานทาน (หนวย : kΩ) ประชากร คือ ตัวตานทานกระแสไฟฟาทั้งหมดที่ผลิตจากโรงงาน A กลุมตัวอยาง คือ ตัวตานทานกระแสไฟฟาที่สุม (Random) ตัวอยางมาตรวจสอบ พารามิเตอร คือ แรงตานทานเฉลี่ย (µ) ที่วัดจากตัวตานทานทั้งหมด ตัวสถิติ คือ คาแรงตานทานเฉลี่ย (X) ที่วัดจากตัวตานทานเฉพาะที่สุม ตัวอยางมาตรวจสอบ
202
สถิติวิศวกรรม
ประชากร µ
ตัวอยาง x s ^ θ
σ
θ
รูปที่ 7.1 ความสัมพันธระหวางประชากร ตัวอยาง พารามิเตอร และสถิติ ที่มา : Vining and Kowalski. 2006.
การแจกแจงของการสุมตัวอยาง (Sampling Distribution) เปนฟงกชันความหนาแนน (Density Function) ทีอ่ ธิบายถึงพฤติกรรมความนาจะเปนของตัวสถิตจิ ากการสุม ตัวอยางซํา้ หลายครัง้ ตัวอยางเชน ถาสุมตัวอยางของตัวตานทานกระแสไฟฟาจากตัวตานทานทั้งหมดที่ผลิต จากโรงงาน A โดยทราบวาแรงตานทานมีการแจกแจงแบบยูนิฟอรม 1 ; x = 0, 1, 2, …, 9 f(x) = 10 จํานวน 50 กลุมตัวอยางโดยที่แตละกลุมตัวอยางมีขนาด n = 10 เมื่อคํานวณแรงตานทาน เฉลี่ยของแตละกลุมตัวอยาง จะไดคาเฉลี่ย (X) จํานวน 50 คาดังนี้ 4.4 3.1 3.0 5.3 3.6
3.2 5.3 3.0 5.5 2.7
5.0 3.8 4.6 4.8 4.0
3.5 4.3 5.8 6.4 5.0
4.1 3.3 4.6 4.9 2.6
4.4 5.0 4.0 6.5 4.2
3.6 4.9 3.7 3.5 4.4
6.5 4.8 5.2 4.5 5.6
5.3 3.1 3.7 4.9 4.7
4.4 5.3 3.8 5.3 4.3
นําคาเฉลีย่ ทัง้ 50 คามาสรางฮิสโตแกรม พบวาการแจกแจงของคาเฉลีย่ มีลกั ษณะใกลเคียง กับทรงระฆังควํ่า (Bell Shape) ดังรูปที่ 7.2
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
203
ตารางที่ 7.1 ตารางแจกแจงความถี่ของคาเฉลี่ย คาเฉลี่ย (X) [2.0, 3.0) [3.0, 4.0) [4.0, 5.0) [5.0, 6.0) [6.0, 7.0)
ความถี่ 2 14 19 2 3 50
ความถี่ 20 15 10 5 0
2
3
4
5
6
7
x
รูปที่ 7.2 ฮิสโตแกรมแสดงการแจกแจงการสุมตัวอยางของคาเฉลี่ย ที่มา : Johnson. 2005.
จะเห็นไดวาขอมูลแรงตานทานจะถูกสุมตัวอยางมาจากตัวตานทานกระแสไฟฟาที่มีการ แจกแจงแบบยูนิฟอรม (Uniform Distribution) แตถามีการทดลองซํ้าไปซํ้ามาหลายครั้ง (หรือ สุมตัวอยางซํ้าหลายครั้ง) จะไดการแจกแจงการสุมตัวอยางของคาเฉลี่ย (Sampling Distribution of the Mean) ในรูปแบบที่แตกตางจากการแจกแจงของขอมูล ซึ่งจากฮิสโตแกรมในรูปที่ 7.2 มีรูปแบบของการแจกแจงปกติ (Normal Distribution) ดังนั้น การแจกแจงของการสุมตัวอยาง (Sampling Distribution) จึงเปนการศึกษารูปแบบ ของการแจกแจงความนาจะเปนของตัวสถิติตางๆ ที่อธิบายถึงลักษณะของกลุมตัวอยาง ตัวสถิติ ไมไดมีเพียงแคคาเฉลี่ย (X) เหมือนตัวอยางขางตนเทานั้น ยังมีตัวสถิติอื่นๆ ที่ใชศึกษาพฤติกรรม
204
สถิติวิศวกรรม
ของการแจกแจงความนาจะเปนในคุณลักษณะตางๆ ของกลุม ตัวอยางชุดเดียวกัน ดังรูปที่ 7.3 กลุม ตัวอยาง 1,000 กลุม กลุมละ 25 ตัวอยาง (n = 25) ภายใตชุดขอมูลเดียวกันนี้ ศึกษาลักษณะของ ความนาจะเปนของคาเฉลี่ย (X) มัธยฐาน (X~) คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และความแปรปรวน (S2) ความถี่
ความถี่
x
คาเฉลี่ย ความถี่
มัธยฐาน
~x
ความถี่
คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน
S
ความแปรปรวน
S2
รูปที่ 7.3 การแจกแจงการสุมตัวอยางของตัวสถิติตางๆ ภายใตขอมูลชุดเดียวกัน ที่มา : Devore and Farnum. 2005.
การแจกแจงการสุมตัวอยางในบทเรียนนี้ จะเนนศึกษาเฉพาะตัวสถิติที่เปนคาเฉลี่ย ความแปรปรวน และสัดสวน วาจะอธิบายไดดวยการแจกแจงรูปแบบใด กรณีสุมตัวอยางจากประชากรชุดเดียว ตัวสถิติที่ศึกษาคือ X, S2, p^, D กรณีสุมตัวอยางจากประชากรสองชุดเปรียบเทียบกัน ตัวสถิติที่ศึกษาคือ X1 – X2, 2 2 S1 /S2 , p^1 – p^2 การแจงแจงทีใ่ ชอธิบายพฤติกรรมของความนาจะเปนของตัวสถิตเิ หลานีจ้ ะมีอยู 4 รูปแบบ คือ การแจกแจงปกติมาตรฐาน (Z), การแจกแจงไค–สแควร (χ2) การแจกแจง t และการแจก แจง F สําหรับการแจกแจง Z แสดงไวในบทที่ 6 สวนการแจกแจงอีก 3 รูปแบบจะอธิบายในหัวขอ ถัดไป
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
205
1. การแจกแจงแบบไค–สแควร (Chi – Squared Distribution)
ถา Z1, Z2, …, Zn เปนตัวแปรสุมปกติมาตรฐานที่มีความเปนอิสระตอกัน ดวยคาเฉลี่ย เทากับ 0 และความแปรปรวนเทากับ 1 แลว ตัวแปรสุมไค–สแควร (χ2) เปนผลรวมของคากําลัง สองของตัวแปรสุมปกติมาตรฐาน Z นั่นคือ χ2
= Z12 + Z22 + … + Zn2
ซึ่งมีฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนคือ ν x x 2 –1 e– 2 ; x > 0 f(x) = ν 1 2 2 Γ( ν2 ) โดยที่ตัวแปรสุม X เปนตัวแปรสุม χ2 ที่มีพารามิเตอร ν ถาพิจารณาจากฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปน จะพบวาลักษณะของการแจกแจง แบบไค–สแควรจะสัมพันธกับการแจกแจงแบบแกมมา (Gamma Distribution) ที่มีคาพารามิเตอร k = ν/2 และ λ = 1/2 พารามิเตอร ν เรียกวาองศาอิสระ (Degrees of Freedom) เปนพารามิเตอรรูปทรง (Shape Parameter) ของการแจกแจงนี้ เพราะเมื่อคา ν เปลี่ยนไป จะสงผลตอรูปทรงของกราฟ การแจกแจงไค–สแควร ดังรูปที่ 7.4 กราฟจะเปนทรงเบขวาเมื่อ ν มีคานอย และกราฟจะลูเขาสู ทรงระฆังควํ่า (Bell – Shape) เมื่อคา ν → ∞ พารามิเตอร ν นี้จะสัมพันธกับขนาดของตัวอยาง (Sample Size) คือ ν = n – 1 เชน สุมตัวอยางขนาด 20 จะมีคาองศาอิสระ ν = 20 – 1 = 19 f(x)
ν=2
ν=5 ν = 10
0
5
10
15
20
25
x
รูปที่ 7.4 กราฟความนาจะเปนของการแจกแจงไค–สแควร ที่มา : Hines et al. 2003.
206
สถิติวิศวกรรม
สวนคาเฉลี่ยของการแจกแจงไค–สแควร µ = ν และความแปรปรวน σ2 = 2ν ความนาจะเปนของตัวแปรสุมไค–สแควร หรือ P(χ2 ≥ χ 2) = α
∞
∫ f(χ2) dχ2 = α
χ2 α
โดย α คือความนาจะเปนซึ่งมีคาเทากับพื้นที่ใตกราฟของการแจกแจงไค – สแควร f(x) α χα2, ν
0
x
รูปที่ 7.5 ความสัมพันธของคาตัวแปรสุม χ2 และพื้นที่ใตกราฟ α ที่มา : Hines et al. 2003.
คาของความนาจะเปนหรือคาของตัวแปรสุม หาไดจากตารางคาของตัวแปรสุม ภาคผนวกที่ ก.6 ตัวอยางเชน กําหนดคา α = 0.025 และ ν = 8
χ2
ใน
ตารางที่ 7.2 ตัวอยางการหาคาของตัวแปรสุม χ2 จากตารางสถิติ α
ν
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
0.995 0.00 + 0.01 0.07 0.21 0.41 0.68 0.99 1.34 1.73 2.16
0.990 0.00 + 0.02 0.11 0.30 0.55 0.87 1.24 1.65 2.09 2.56
0.975 0.00 + 0.05 0.22 0.48 0.83 1.24 1.69 2.18 2.70 3.25
0.950 0.00 + 0.10 0.35 0.71 1.15 1.64 2.17 2.73 3.33 3.94
0.900 0.500 0.100 0.050 0.025 0.010 0.005 0.02 0.45 2.71 3.84 5.02 6.63 7.88 0.21 1.39 4.61 5.99 7.38 9.21 10.60 0.58 2.37 6.25 7.81 9.35 11.34 12.84 1.06 3.36 7.78 9.49 11.14 13.28 14.86 1.61 4.35 9.24 11.07 12.83 15.09 16.75 2.20 5.35 10.65 12.59 14.45 16.81 18.55 2.83 6.35 12.02 14.07 16.01 18.48 20.28 3.49 7.34 13.36 15.51 17.53 20.09 21.96 4.17 8.34 14.68 16.92 19.02 21.67 23.59 4.87 9.34 15.99 18.31 20.48 23.21 25.19
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
207
จากตารางขางตน จะไดคาของตัวแปรสุม χ2 = 17.53 นั่นคือ ∞
P(χ2 ≥ 17.53) =
f(χ2) dχ2 = 0.025
∫
χα2, = 17.53 8
ตัวอยาง การหาคาตัวแปรสุม χ2 โดยใชตารางภาคผนวกที่ ก.6 ก. χ20.05 เมื่อ ν = 7 ข.
χ20.99
ค.
χα2 ที่ทําให P(χ2 < χα2)
เมื่อ
= 24
ν
(10.86) = 0.975 เมื่อ ν = 16
(28.85)
ง. P(χ21–α < χ2 < χα2) = 0.90 เมื่อ ν = 10 f(x)
f(x)
χ20.05, 7
α = 0.99
(ก)
x
(3.94, 18.31)
f(x)
α = 0.05
(14.07)
α
0.975 α = 0.025
x
χ20.99, 24
f(x)
(ข)
χ20.025, 16
(ค)
0.90
x
α
χ21 – α, 10 χ2α, 10
x
(ง)
รูปที่ 7.6 ตัวอยางการหาคาตัวแปรสุม χ2
2. การแจกแจงแบบ t (t – Distribution) ถา Z เปนตัวแปรสุมปกติมาตรฐานที่มีคาเฉลี่ยเทากับ 0 ความแปรปรวนเทากับ 1 และ
χ2 เปนตัวแปรสุมไค–สแควรที่มีองศาอิสระ ν โดยที่ Z และ χ2 เปนอิสระตอกันแลว
ดังนั้น
t =
Z
χ2 ν
ซึ่งมีฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนคือ
208
สถิติวิศวกรรม
f(t) = ตัวแปรสุม t มีคาเฉลี่ย
( ν 2+ 1 ) (1 + t2 )– ( ν ν Γ( 2 ) πv Γ
µ=0
และความแปรปรวน
ν+1
2
);
–∞ < t
3.355) เมื่อ ν = 8 (0.875) 2. P( –1.356 < T < 2.179) เมื่อ ν = 12 (–2.602) 3. t เมื่อ P(T < t) = 0.01 และ ν = 15 (1.714) 4. t เมื่อ P(|T| < t) = 0.90 เมื่อ ν = 23 α = 0.01
α
0 3.355 (ก)
–1.356 0 2.179 (ข)
t
0.90 0 (ค)
–t
0 (ง)
t
รูปที่ 7.9 ตัวอยางการหาคาความนาจะเปนและตัวแปรสุม t
3. การแจกแจงแบบ F (F – Distribution) ถา χ2[1] และ χ2[2] เปนตัวแปรสุมไค–สแควร 2 ตัวที่มีความอิสระตอกัน และมีองศา อิสระ ν1 และ ν2 ตามลําดับ ดังนั้น F =
χ2[1] /ν1 χ2[2] /ν2
ซึ่งมีฟงกชันการแจกแจงความนาจะเปนคือ f(f) =
(
ν1 ν1 2 ν2
) ( ) f( 2 ) –1 ν1 ν1 ν2 ( Γ ( 2 ) Γ ( 2 ) [1 + ( ν ) f ] 2 Γ
ν1 + ν2
2
ν1
ν1 + ν2 2
;0 4
การเปลีย่ นแปลงคาองศาอิสระ ν1 หรือ ν2 ของตัวแปรสุม ไค–สแควร จะสงผลตอรูปทรงของ การแจกแจง F ตัวอยางของการเปลี่ยนคา ν2 ซึ่งสงผลตอกราฟความนาจะเปนของการแจกแจง F แสดงดังรูปที่ 7.10 f(f) ν1 = 5, ν2 = 5
ν1 = 5, ν2 = 15
0
2
4
6
8
10
f
รูปที่ 7.10 กราฟความนาจะเปนของการแจกแจงแบบ F ที่มา : Hines et al. 2003.
ความนาจะเปนของตัวแปรสุม F หรือ P(F ≥ fα, ν1, ν2) =
∞
∫ f(f) df =
fα, ν1, ν2
α
212
สถิติวิศวกรรม
f(f)
α
α
f1 – α,ν1, ν2
f
fα, ν1, ν2
รูปที่ 7.11 ความสัมพันธของคาตัวแปรสุม F และพื้นที่ใตกราฟ α ที่มา : Hines et al. 2003.
คาของความนาจะเปนหรือคาของตัวแปรสุม หาไดจากตารางคาของตัวแปรสุม F ในภาค ผนวกที่ ก. 8 ตัวอยางเชน กําหนดคา α = 0.025 และ ν1 = 10, ν2 = 8 ตารางที่ 7.4 ตัวอยางการหาคาของตัวแปรสุม F จากตารางสถิติ f0.025, ν1, ν2 ν2 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ν1
1 647.80 38.51 17.44 12.22 10.01 8.81 8.07 7.57 7.21 6.94
2
3
4
5
6
7
8
องศาอิสระของตัวตั้ง (ν1) 9
10
12
15
20
24
30
40
60
120
∞
799.50 864.20 899.60 921.80 937.10 948.20 956.70 963.30 968.60 976.70 984.90 993.10 997.20 1001.00 1006.00 1010.00 1014.00 1018.00 39.00 39.17 39.25 39.30 39.33 39.36 39.37 39.39 39.40 39.41 39.43 39.45 39.46 39.46 39.47 39.48 39.49 39.50 16.04 15.44 15.10 14.88 14.73 14.62 14.54 14.47 14.42 14.34 14.25 14.17 14.12 14.08 14.04 13.99 13.95 13.90 10.65 9.98 9.60 9.36 9.20 9.07 8.98 8.90 8.84 8.75 8.66 8.56 8.51 8.46 8.41 8.36 8.31 8.26 8.43 7.76 7.39 7.15 6.98 6.85 6.76 6.68 6.62 6.52 6.43 6.33 6.28 6.23 6.18 6.12 6.07 6.02 7.26 6.60 6.23 5.99 5.82 5.70 5.60 5.52 5.46 5.37 5.27 5.17 5.12 5.07 5.01 4.96 4.90 4.85 6.54 5.89 5.52 5.29 5.12 4.99 4.90 4.82 4.76 4.67 4.57 4.47 4.42 4.36 4.31 4.25 4.20 4.14 6.06 5.42 5.05 4.82 4.65 4.53 4.43 4.36 4.30 4.20 4.10 4.00 3.95 3.89 3.84 3.78 3.73 3.67 5.71 5.08 4.72 4.48 4.32 4.20 4.10 4.03 3.96 3.87 3.77 3.67 3.61 3.56 3.51 3.45 3.39 3.33 5.46 4.83 4.47 4.24 4.07 3.95 3.85 3.78 3.72 3.62 3.52 3.42 3.37 3.31 3.26 3.20 3.14 3.08
จากตารางขางตน จะไดคาของตัวแปรสุม F = 4.30 นั่นคือ ∞
P(F ≥ 4.30) = ∫ f(f) df = 0.025 fα, 10, 8 = 4.30
213
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
ถา fα, ν1, ν2 คือ คา fα ซึ่งมีองศาอิสระเทากับ ν1 และ ν2 แลว จะไดวา f1 –α, ν1, ν2 = เชน
F0.95, 4, 8 =
1 fα, ν2, ν1
1 F0.05, 8, 4
1 = 0.166 6.04 ตัวอยาง การหาคาของความนาจะเปนและตัวแปรสุม F โดยใชตารางภาคผนวกที่ ก.8 (2.68) 1. f0.025 เมื่อ ν1 = 12 และ ν2 = 20 1 2. f0.90 เมื่อ ν1 = 7 และ ν2 = 15 2.63 1 3. P(f1–α < F < fα) = 0.95 เมื่อองศาอิสระ = 10, 24 3.37 , 2.64 1 < F < 1.85 = ? เมื่อองศาอิสระ = 9, 30 4. P 2.25 (0.80) =
(
f(f)
( ) ( )
)
f(f) α = 0.90
α = 0.025
f0.025, 12, 20 f (ก)
f(f)
f0.90, 7, 15 (ข)
f(f)
α α
0.95
f
fα f
f1 – α (ค)
รูปที่ 7.12 ตัวอยางการหาคาความนาจะเปนและตัวแปรสุม F
1 2.25
(ง)
1.85 f
214
สถิติวิศวกรรม
4. การแจกแจงของการสุมตัวอยาง (Sampling Distributions) มีดังนี้
กรณีสมุ ตัวอยางจากประชากรชุดเดียว การแจกแจงของการสุม ตัวอยางสําหรับตัวสถิตติ า งๆ
4.1 การแจกแจงของการสุมตัวอยางของคาเฉลี่ย (X) ถาสุมตัวอยางขนาด n จากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ ดวยคาเฉลี่ย µ และความ แปรปรวน σ2 กลาวไดวา คาสังเกตในตัวอยาง X1, X2, ..., Xn จะเปนตัวแปรสุมที่มีการแจกแจง ปกติและอิสระตอกัน (Normally and Independently Distributed Random Variable) ดังนั้น คาเฉลี่ย X จะมีการแจกแจงแบบปกติดวยคาเฉลี่ย µ และความแปรปรวน σ2/n µX
=
σ2X
=
µ+µ+…+µ
=
µ
σ 2 + σ2 + … + σ 2
=
n
σ2
n n2 ถาสุมตัวอยางจากประชากรที่ไมทราบการแจกแจงดวยขนาดตัวอยาง n ที่มีขนาดใหญ จะไดวาคาเฉลี่ย X ประมาณดวยการแจกแจงปกติที่มีคาเฉลี่ย µ และความแปรปรวน σ2/n เปนไปตาม ทฤษฎีลิมิตเขาสูศูนยกลาง (Central Limit Theorem – CLT)
(
)
(
)
E(X) = E X1 + X2 + … + Xn = 1n E(X1) + 1n E(X2) + ... + 1n E(Xn) n = 1n µ + 1n µ + … + 1n µ = µ V(X) = V X1 + X2 + … + Xn = 12 V(X1) + 12 V(X2) + ... + 12 V(Xn) n n n n 2 = 12 σ2 + 12 σ2 + … + 12 σ2 = σn n n n นั่นคือ X ∼ N(µ, σ2/n) หลักการของทฤษฎี CLT แสดงดังรูปที่ 7.13 สุมตัวอยางจาก ประชากรที่มีการแจกแจงเอกซโปเนนเชียลหรือยูนิฟอรม จะพบวาเมื่อขนาดตัวอยาง n เพิ่มมาก ขึ้น การแจกแจงของคาเฉลี่ย (X) จะลูเขาสูการแจกแจงรูปแบบเดียวกัน คือการแจกแจงแบบปกติ
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
215
n = 25 n=2 x การแจกแจงเอกซโปเนนเชียล
n=6 x
x การแจกแจงของคาเฉลี่ย X
x
n = 25
n=2 การแจกแจงยูนิฟอรม
x
n=6
x การแจกแจงของคาเฉลี่ย X
x
x
รูปที่ 7.13 ทฤษฎี CLT แสดงแนวโนมสูการแจกแจงปกติ เมื่อ n เพิ่มขึ้น ที่มา : Johnson. 2005.
นอกจากนี้ ทฤษฎี CLT ยังใชกับกรณีของผลบวกตัวแปรสุม นั่นคือ X1 + X2 + … + Xn ∼ N(nµ, nσ2) ตัวอยาง n ที่มีขนาดใหญ มักจะกําหนดที่คา n ≥ 30 อยางไรก็ตาม ในหลายกรณีพบวา การแจกแจงของคาเฉลี่ย X มีแนวโนมสูการแจกแจงปกติ แมในกรณีที่ n มีขนาดนอยกวา 30 คาคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error) ของ X คือ คาเบี่ยงเบนมาตรฐานของ X ซึ่งมีคาเทากับ σ/ n การแจกแจงของการสุมตัวอยางของคาเฉลี่ย X มีรูปแบบของการแจกแจง ดังตาราง ที่ 7.5 นั่นคือ การแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน Z และการแจกแจงแบบ t ขึ้นอยูกับเงื่อนไขของ เหตุการณ ซึ่งประกอบดวย 3 สวนคือ
216
สถิติวิศวกรรม
1. การแจกแจงของตัวแปรสุม X 2. ความแปรปรวนของประชากร σ2 3. ขนาดตัวอยาง n ตารางที่ 7.5 การแจกแจงของการสุมตัวอยางของคาเฉลี่ย X เงื่อนไขของเหตุการณ
รูปแบบของการแจกแจง
1. X มีการแจกแจงปกติ
Z= X–µ σ/ n
2. ทราบ σ2 1. X มีการแจกแจงปกติ
T= X–µ; S/ n
2. ไมทราบ σ2 3. n < 30
ν=n–1
1. X มีการแจกแจงปกติ Z= X–µ S/ n
2. ไมทราบ σ2 3. n ≥ 30 1. X มีการแจกแจงแบบอื่นๆ
Z = X – µ ถาทราบ σ2 σ/ n Z = X – µ ถาไมทราบ σ2 S/ n
2. n ≥ 30
4.2 การแจกแจงการสุมตัวอยางของความแปรปรวน (S2)
ถา σ2 เปนความแปรปรวนของตัวอยางขนาด n ที่สุมมาจากประชากรที่มีการแจกแจง ปกติดวยความแปรปรวน σ2 ดังนั้น χ2
=
(n – 1)S2 σ2
n
=
2 Σ i=1 (Xi – X) σ2
S2 มีการแจกแจงแบบไค–สแควร ดวยพารามิเตอร S2 ∼ σ2 [χ2n – 1/(n – 1)]
ν
= n – 1 หรืออาจกลาวไดวา
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
217
การแจกแจงการสุมตัวอยางของความแปรปรวน S2 มีรูปแบบของการแจกแจงดังนี้ χ2
2 = (n – 1)S 2 ; σ
ν=
n–1
4.3 การแจกแจงของการสุมตัวอยางของสัดสวน (p^) ถา X ∼ b(x; n, p) คาสัดสวนของกลุมตัวอยางหาไดจาก p^ = X/n สามารถประมาณ การแจกแจงทวินามดวยการแจกแจงปกติได ถาขนาดตัวอยาง n มีขนาดใหญ จากการแจกแจงแบบทวินาม E(X) = p และ V(X) = np(1 – p) ดังนั้น E( p^ ) = p และ V( p^ ) = p(1 – p)/n นั่นคือ p^ ∼ N [p, p(1 – p)/n] คาคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error) ของ p^ คือคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของ p^ ซึ่งมีคาเทากับ p(1 – p)/n การแจกแจงของการสุมตัวอยางของสัดสวน p^ มีรูปแบบของการแจกแจงดังนี้ Z =
p^ – p p(1 – p)/n
4.4 การแจกแจงการสุมตัวอยางของผลตางเฉลี่ย (D) สุมตัวอยางขนาด n จากประชากรชุดเดียว วัดคาสังเกตจากวิธีการที่ตางกัน 2 วิธี ซึ่งจับ เปนคู X1 และ X2 ดังนั้น Di = X1 – X2 เราเรียกผลตางที่ไดจากคาสังเกตจับเปนคูๆ นี้วา Matched Pairs Comparisons เปนตัวชี้ใหเห็นถึงผลเปรียบเทียบระหวางวิธีที่ 1 กับวิธีที่ 2 วามีความแตก ตางกันอยางไร เชน สุมตัวอยางขนาด n ตัวอยาง แตละตัวอยางนําไปวัดคาสังเกตดวยวิธีการที่ 1 และวิธีการที่ 2 อยางละ 1 ครั้ง ผลตาง Di ของแตละคู แสดงดังตารางที่ 7.6
218
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ 7.6 ผลตางของคาสังเกตจากวิํธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ตัวอยางที่
คาสังเกตวัดจาก วิธีที่ 1 (X1)
คาสังเกตวัดจาก วิธีที่ 2 (X2)
ผลตาง Di = X1 – X2
1
X11
X21
D1 = X11 – X21
2
X12
X22
D2 = X12 – X22
n
X1n
X2n
Dn = X1n – X2n
หาคาผลตางเฉลี่ย D D = Σn i คาเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตาง SD =
Σ (Di – D)2 n–1
ตัวอยางของ Matched Pairs Comparisons เชน วัดประสิทธิภาพของเครื่องดื่มสมุนไพร ลดนํา้ หนักวาไดผลหรือไม โดยการสุม ตัวอยางผูห ญิงจํานวน 4 คนมาทดลองวัดนํา้ หนักกอนและหลัง ดื่มเครื่องดื่มสมุนไพร ไดผลตางของนํ้าหนักดังตารางที่ 7.7 ผลตางของนํ้าหนักจะชี้ใหเห็นถึง ประสิทธิภาพของเครื่องดื่มสมุนไพร ถาผลตางเปนบวก แสดงวามีประสิทธิภาพ สามารถลด นํ้าหนักลงได แตถาผลตางเปนลบ แสดงวาไมมีประสิทธิภาพ ไมสามารถลดนํ้าหนักลงได ตารางที่ 7.7 ผลตางนํ้าหนักของผูหญิงกอนและหลังดื่มสมุนไพรลดนํ้าหนัก นํ้าหนักกอนดื่ม (X1)
นํ้าหนักหลังดื่ม (X2) 63
D1 = 65 – 63 = 2
2
72
75
D2 = 72 – 75 = ( –3)
3
68
66
D3 = 68 – 66 = 2
4
64
64
D4 = 64 – 64 = 0
ตัวอยางที่ 1
65
ผลตางของนํ้าหนัก Di = X1 – X2
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
ดังนั้น
219
D = 2 + ( – 3)4 + 2 + 0 = 0.25 (2 – 0.25)2 + ( – 3 – 0.25)2 + (2 – 0.25)2 + (0 – 0.25)2 4–1
SD = = 2.363
การแจกแจงของการสุมตัวอยางของผลตางเฉลี่ย D มีรูปแบบของการแจกแจงดังนี้ T =
D – µD ; SD / n
ν=
n–1
ตัวอยางที่ 7.1 ผูผลิตฟวสกลาวอางวา ฟวสจะขาดภายในเวลาเฉลี่ย 12.40 min ถาไดรับกระแส
เกิน 20% ดวยคาเบีย่ งเบนมาตรฐาน 2.48 min วิศวกรไฟฟาจึงทําการทดสอบโดยสุม ฟวสตวั อยาง จํานวน 15 ตัวมาใชงานในสภาพกระแสเกิน 20% แลววัดเวลาจนกระทั่งฟวสขาด จงหาความนา จะเปนที่พบเวลาเฉลี่ยที่ฟวสตัวอยางจะขาดมากกวา 10.52 min ถาทราบวาอายุการใชงานของ ฟวสเมื่อไดรับกระแสเกิน 20% มีการแจกแจงปกติ
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ฟวส ตัวแปรสุม X คือ อายุการใชงานของฟวสเมื่อไดรับกระแสเกิน 20% (min)
และ
X
∼
N(12.40, 2.482)
µx
=
µ
σx
= 12.40 = σn = 2.48 = 0.64 15
*** เลือกวิเคราะห X ดวยการแจกแจง Z = X – µ σ/ n
220
สถิติวิศวกรรม
∴ P(X > 10.52 )
(
)
– 12.40 = P(Z > – 2.94) = P X σ– µx > 10.520.64 x
= 0.9984
ตัวอยางที่ 7.2 สุมตัวอยางอะลูมิเนียมแผนที่ใชในการสรางปกเครื่องบินพาณิชยจํานวน 8 แผน
จากอะลูมิเนียมแผนที่ทนตอความเคน (Tensile Strength) เปนการแจกแจงปกติดวยความเคน เฉลี่ย 87.6 kg/mm2 ในกลุมอะลูมิเนียมแผนตัวอยางพบวา คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ 1.5 kg/mm2 จงหาความนาจะเปนที่ความเคนเฉลี่ยของอะลูมิเนียมแผนตัวอยางนอยกวา 89.2 kg/mm2
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ อะลูมิเนียมแผน ตัวแปรสุม X คือ ความเคนที่อลูมิเนียมแผนรับได (kg/mm2) X
∼
N(87.6, σ2) ทราบคา S = 1.5
µx
=
µ
Sx =
และ
= 87.6 S = n
1.5 = 0.53 8
*** เลือกวิเคราะห X ดวยการแจกแจง T = X – µ S/ n ∴
(
P(X < 89.2 ) = P X S– µx x
39.25 ) = P
D
>
39.25 – 35 6.7/ 12
= P( T > 2.202) เมื่อ
ν
)
= 11
= 0.025
ตัวอยางที่ 7.4 วิศวกรรมจราจร (Taffic Engineer) เก็บรวบรวมขอมูลความปลอดภัยของ
การจราจรทีส่ แี่ ยกแหงหนึง่ ชวงชัว่ โมงเรงดวน โดยทัว่ ไปพบวาโอกาสทีจ่ ะมีอบุ ตั เิ หตุสงู ถึง 18 ครัง้ จากการบันทึก 75 ครั้ง จงหาความนาจะเปนที่จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 1. ตั้งแต 10 – 20% 2. มากกวาหรือเทากับ 2 ใน 7 ครั้ง
222
สถิติวิศวกรรม
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ การจราจรที่สี่แยกแหงหนึ่ง ตัวแปรสุม X คือ จํานวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น (ครั้ง) X ∼ b(x; n, p) ∼ b(x; 75, 0.24) 18 = 0.24 µp^ = P = 75 p (– P) σp^ = และ n (0.24)(0.76) = 0.05 75 p^ – p *** เลือกวิเคราะห p^ ดวยการแจกแจง Z = p(1 – p)/n =
1. ความนาจะเปนที่จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นตั้งแต 10 – 20% 0.5 การแจกแจงทวินามจะตองมีการขยายชวงดวยแฟกเตอรปรับคาใหตอ เนือ่ ง ± 0.5 n = ± 75 กอน จึงจะวิเคราะหตอดวยการแจกแจง Z ∴
P(0.1 ≤ p^
≤ 0.2)
^
– µp^ p – µp^ (0.2 + 0.5/75) – µp^ ≤ ≤ ( (0.1 – 0.5/75) ) σp^ σp^ σp^ – 0.24 ≤ Z ≤ 0.207 – 0.24 = P ( 0.0930.05 0.05 )
= P
= P( – 2.94 ≤ Z ≤ – 0.66) = 0.2546 – 0.0016 = 0.253 2. ความนาจะเปนที่จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากกวาหรือเทากับ 2 ใน 7 ครั้ง 0.5 กรณีนี้จะตองมีการขยายชวงดวยแฟกเตอรปรับคาใหตอเนื่อง – 0.5 n = – 75 p^ – µ (2/7 – 0.5/75) – µp^ ∴ P p^ ≥ 27 = P σ p^ ≥ σp^ p^ – 0.24 = P Z ≥ 0.2790.05
(
)
=
( ( ) P (Z ≥ 0.78) = 0.2177
)
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
223
ตัวอยางที่ 7.5 กระบวนการผลิตกระจกไฮอินเด็กซ (High – Index Glass) ของบริษัทหนึ่ง
มีความแปรปรวนของดัชนีหักเหของเลนส (Refractive Index) 0.67 ลูกคาจะตัดสินใจไมรับ กระจกทั้งลอต ถาสุมตัวอยางแลวพบความแปรปรวนของดัชนีหักเหมากกวา 0.95 จะมีโอกาส เทาไรที่ลูกคาจะไมรับกระจก ถาสุมตัวอยางกระจกมาทดสอบจํานวน 21 ตัวอยาง จากกระจก ที่มีดัชนีหักเหเปนการแจกแจงปกติ
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ กระจกไฮอินเด็กซ ตัวแปรสุม X คือ ดัชนีหักเหของเลนส X ∼ N(µ, 0.67) 2 *** เลือกวิเคราะห S2 ดวยการแจกแจง χ2 = (n – 1)S 2 ∴
(
σ
2 (21 – 1)(0.95) P(S2 > 0.95) = P (n – 1)S > 0.67 σ2
= P(χ2 > 28.36) เมื่อ = 0.10
ν
)
= 20
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรสองชุดเปรียบเทียบกัน การแจกแจงของการสุมตัวอยาง สําหรับตัวสถิติตางๆ มีดังนี้
4.5 การแจกแจงการสุมตัวอยาง ของผลตางของคาเฉลี่ย (X1 – X2)
ประชากร 2 กลุมที่อิสระตอกัน กลุมแรกมีคาเฉลี่ย µ1 และความแปรปรวน σ12 กลุมที่สอง มีคาเฉลี่ย µ2 และความแปรปรวน σ22 ถาประชากรทั้งสองกลุมมีการแจกแจงปกติ การแจกแจง ของการสุมตัวอยางของผลตางของคาเฉลี่ย (X1 – X2) อธิบายไดดวย ทฤษฎีสวนประกอบเชิง เสน (Linear Combination) ที่วา ถา X1, X2, …, Xn เปนตัวแปรสุมที่มีการแจกแจงปกติและอิสระตอกันที่มี E(Xi) = µi และ V(Xi) = σ2i เมื่อ i = 1, 2, …n แลว จะได Y = c1X1 + c2X2 + … + cnXn
224
สถิติวิศวกรรม
Y เปนตัวแปรสุมปกติที่มี E(Y) = c1µ1 + c2µ2 + … + cnµn V(Y) = c12 σ12 + c22 σ22 + … + cn2 σn2
และ
ดังนั้น สําหรับ X1 – X2 แลว คาเฉลี่ย
µX – X 1 2
=
µX
ความแปรปรวน
σ2
=
σ2
X1 – X2
1
– µ X2 = µ 1 – µ 2 σ2
σ2
+ σ2X = n1 + n2 X1 2 1 2
การแจกแจงการสุมตัวอยางของผลตางคาเฉลี่ย X1 – X2 มีรูปแบบของการแจกแจงดังนี้ คือ การแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน Z และการแจกแจงแบบ t ขึ้นอยูกับเงื่อนไขของเหตุการณ ซึ่งประกอบดวย 3 สวน คือ 1. การแจกแจงของตัวแปรสุม X1 และ X2 2. ความแปรปรวนของประชากร σ12 และ σ22 3. ขนาดตัวอยาง n1 และ n2 ตารางที่ 7.8 การแจกแจงการสุมตัวอยางของผลตางของคาเฉลี่ย X1 – X2 เงื่อนไขของเหตุการณ
รูปแบบของการแจกแจง
1. X1 และ X2 มีการแจกแจงปกติ
Z=
2. ทราบ σ12, σ22
1. X1 และ X2 มีการแจกแจงปกติ
2. ไมทราบ σ12, σ22 แตรูวา σ12 = σ22
3. n1 < 30 และ n2 < 30 1. X1 และ X2 มีการแจกแจงปกติ
T=
(X1 – X2) – (µ1 – µ2) (σ12/n1) + (σ22/n2)
(X1 – X2) – (µ1 – µ2) SP
เมื่อ SP =
(1/n1) + (1/n2)
; ν = n1 + n2– 2
(n1 – 1)S12 + (n2 – 1)S22 n1 + n2 – 2
[(S12/n1) + (S22/n2)]2 2. ไมทราบ σ12, σ22 แตรูวา σ12 ≠ σ22 T = (X1 – X2) – (µ1 – µ2) ; ν = (S12/n1)2/(n1 – 1) + (S22/n2)2/(n2 – 1) (S12/n1) + (S22/n2) 3. n1 < 30 และ n2 < 30
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
225
ตารางที่ 7.8 (ตอ) การแจกแจงการสุมตัวอยางของผลตางของคาเฉลี่ย X1 – X2 เงื่อนไขของเหตุการณ
รูปแบบของการแจกแจง
1. X1 และ X2 มีการแจกแจงแบบอื่นๆ 2. ทราบ σ12, σ22
Z=
(X1 – X2) – (µ1 – µ2)
Z =
(X1 – X2) – (µ1 – µ2)
3. n1 ≥ 30 และ n2 ≥ 30 1. X1 และ X2 มีการแจกแจงแบบอื่นๆ 2. ไมทราบ σ12, σ22
3. n1 ≥ 30 และ n2 ≥ 30
(σ12/n1) + (σ22/n2)
(S12/n1) + (S22/n2)
การแจกแจงการสุมตัวอยางของผลตางของคาเฉลี่ย X1 – X2 จะมีความคลายคลึงกับ การแจกแจงการสุมตัวอยางของผลตางเฉลี่ย (D) นั่นคือ เปนการหาผลตางเฉลี่ยเหมือนกัน แต กรณีของ X1 – X2 จะเปนการสุมตัวอยางจากประชากร 2 ชุด ขณะที่กรณีของ D จะเปนการสุม ตัวอยางจากประชากรชุดเดียวแตวัดผลดวยวิธีที่ตางกัน 2 วิธี ดังรูปที่ 7.14
ตัวอยางที่ 1 X1
ตัวอยางที่ 2 X2
ประชากร 1 µ1
ประชากร 2 µ2
(ก) X1 – X2
วิธีที่ 1 X1
วิธีที่ 2 X2
ประชากร µ
(ข) D
รูปที่ 7.14 ความแตกตางระหวางการแจกแจงผลตางเฉลี่ย X1 – X2 และ D
226
สถิติวิศวกรรม
4.6 การแจกแจงการสุมตัวอยางของ อัตราสวนของความแปรปรวน (S12/S22)
ประชากร 2 กลุมที่อิสระตอกัน กลุมแรกมีคาเฉลี่ย µ1 และความแปรปรวน σ12 กลุม ที่สองมีคาเฉลี่ย µ2 และความแปรปรวน σ22 ถาประชากรทั้งสองกลุมมีการแจกแจงปกติ การแจกแจงของการสุมตัวอยางของอัตราสวนของความแปรปรวน (S 12/S22) มีรูปแบบของ การแจกแจงดังนี้ F =
S12 σ22 ; S22 σ12
ν1
= n1 – 1 และ
ν2
= n2 – 1
**ความแปรปรวนที่มีคามากกําหนดเปน S12
4.7 การแจกแจงการสุมตัวอยางของผลตางของสัดสวน (p^1 – p^2)
กลุมตัวอยาง 2 กลุมขนาด n1 และ n2 สุมจากประชากร 2 กลุมที่อิสระตอกัน X1 และ X2 เปนจํานวนเหตุการณที่สนใจของตัวอยางที่ 1 และ 2 ตามลําดับ ถาประชากรทั้ง 2 กลุม ประมาณการแจกแจงทวินามดวยการแจกแจงปกติ ดังนั้น p^1 = X1/n1 และ p^2 = X2/n2 สามารถ ประมาณดวยการแจกแจงปกติไดเมื่อ n ทั้งสองกลุมมีขนาดใหญ การแจกแจงการสุมตัวอยางของผลตางของสัดสวน ( p^1 – p^2) มีรูปแบบของการแจกแจง ดังนี้
Z =
(p^1 – p^2) – (p1 – p2) [p1(1 – p1)/n1] + [p2(1 – p2)/n2]
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
227
ตัวอยางที่ 7.6 กระบวนการทางเคมีที่ใชกรดกัดบนแผน PCB มีการเลือกใชตัวเรง 2 ชนิด
เปรียบเทียบเวลาทําปฏิกิริยาแลวเสร็จ ถาประสิทธิภาพของตัวเรงชนิดที่ 1 ใชเวลาทําปฏิกิริยา แลวเสร็จเฉลี่ย 24.9 min ขณะที่ตัวเรงชนิดที่ 2 ใชเวลาเฉลี่ย 21.8 min วิศวกรเคมีทดสอบตัวเรง ทั้งสองชนิดดวยแผน PCB ชนิดละ 50 แผน พบวาคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของเวลาทําปฏิกิริยา เทากับ 0.85 และ 0.98 min ตามลําดับ จงหาความนาจะเปนทีต่ วั เรงชนิดแรกจะใชเวลาทําปฏิกริ ยิ า เฉลี่ยนานกวาตัวเรงชนิดที่ 2 อยางนอย 3.5 min
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ แผน PCB ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ เวลาทําปฏิกิริยาแลวเสร็จโดยใชตัวเรงชนิดที่ 1 และ 2 (min) X1 ∼ N (24.9, σ12) ทราบคา S1 = 0.85 X2 ∼ N (21.8, σ22) ทราบคา S2 = 0.98 (X – X ) – (µ1 – µ2) *** เลือกวิเคราะห X1 – X2 ดวยการแจกแจง Z = 1 2 S12/n1 + S22/n2 ∴ P(X1 – X2 ≥ 3.5)
= P
( (X1 –SX2/n2) –+(µS12/n– µ2) ≥ 2 2
1 1
(
= P Z
≥
3.5 – (24.9 – 21.8) 0.852/50 + 0.982/50
)
)
0.4 0.1835 = P(Z ≥ 2.18) = 0.0146
ตัวอยางที่ 7.7 ในการทดสอบคาความตานทาน (Resistance) ของสายเคเบิลทองแดง 2
ประเภท ดวยการสุมตัวอยางสายเคเบิลประเภทที่ 1 จํานวน 13 ตัวอยาง และวัดคาเบี่ยงเบน มาตรฐาน 0.26 Ω และสุมตัวอยางสายเคเบิลประเภทที่ 2 จํานวน 10 ตัวอยาง และวัดคาเบี่ยง เบนมาตรฐานได 0.35 Ω สมมติวาคาความตานทานของสายเคเบิลทั้งสองมีการแจกแจงปกติ ดวยคาความแปรปรวนเทากัน และมีคาความตานทานเฉลี่ยของสายเคเบิลเทากับ 75 และ 50 Ω ตามลําดับ จงหาความนาจะเปนทีค่ า เฉลีย่ ของสายเคเบิลตัวอยางประเภทที่ 1 จะมากกวาประเภท ที่ 2 มากกวา 24.6 Ω
228
สถิติวิศวกรรม
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ สายเคเบิลทองแดง ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ คาความตานทานของสายเคเบิลประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 (Ω) X1 ∼ N (75, σ12) ทราบคา S1 = 0.26 X2 ∼ N (50, σ22) ทราบคา S2 = 0.35 (X – X ) – (µ1 – µ2) *** เลือกวิเคราะห X1 – X2 ดวยการแจกแจง T = 1 2 SP (1/n1) + (1/n2) ∴ P(X1 – X2 > 24.6)
เมื่อ
= P
SP =
– (75 – 50) ( (XS1 – X(1/n2) –)(+µ1(1/n– µ2)) > S 24.6(1/13) ) + (1/10) P
1
P
(13 – 1)0.262 + (10 – 1)0.352 = 0.302 13 + 10 – 2
= P( T > – 3.15) เมื่อ ≈
2
ν
= n1 + n2 – 2 = 21
0.9975
ตัวอยางที่ 7.8 ผลการวัดประสิทธิผลโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness – OEE) ของ
ตูเครื่องดื่มกระปองหยอดเหรียญของรานสะดวกซื้อแหงหนึ่ง พบวาประสิทธิผลโดยรวมของตูที่ 1 และตูที่ 2 เปน 83% และ 79% ตามลําดับ ถาทดสอบการใชงานจํานวน 250 ครั้งตอตู จงหาความ นาจะเปนที่พบประสิทธิภาพโดยรวมของตูที่ 1 มากกวาตูที่ 2 เกิน 5.5%
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ตูเครื่องดื่มกระปองหยอดเหรียญ ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ คาประสิทธิผลโดยรวมของตูที่ 1 และตูที่ 2 (%) X1 ∼ b(x1; n1, p1) ∼ b(x; 250, 0.83) X2 ∼ b(x2; n2, p2) ∼ b(x; 250, 0.79)
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
*** เลือกวิเคราะห p^1 – p^2 ดวยการแจกแจง Z =
(
(p^1 – p^2) – (p1 – p2)
∴ P (p^1 – p^2 > 0.055) = P
>
[p1(1 – p1)/n1] + [p2(1 – p2)/n2]
(
= P Z > 0.015 0.035
229
(p^1 – p^2) – (p1 – p2) [p1(1 – p1)/n1] + [p2(1 – p2)/n2] 0.055 – (0.83 – 0.79) [0.83(0.17)/250] + [0.79(0.21)/250]
)
) = P( Z > 0.429) = 0.3336
ตัวอยางที่ 7.9 ในการศึกษาความแปรปรวนที่เกิดในกระบวนการชุบเงินดวยกระแสไฟฟา (Silver
Electro Plating Process) ของบริษัทที่ 1 และบริษัทที่ 2 พบคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของความ ลึกจากผิวตัวนํา (Skin Depth) S1 และ S2 เทากับ 0.035 และ 0.062 mil (1 mil = 0.001 in) ตามลําดับ วัดไดจากกลุมตัวอยางขนาด 10 และ 11 ซึ่งสุมจากชิ้นงานที่มีการแจกแจงปกติที่มี คาความแปรปรวนเทากัน จงวิเคราะหความนาจะเปนของความแปรปรวนบริษทั ที่ 2 มากกวาบริษทั ที่ 1
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ชิ้นงานที่ผานกระบวนการชุบเงิน ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ คาความลึกจากผิวตัวนํา (mil) X1 ∼ N(µ1, σ12) และ X2 ∼ N(µ2, σ22) ทราบวา σ12 = *** เลือกวิเคราะห S12/S22 ดวยการแจกแจง F = ∴
P(S22 > S12) = P
(
S22σ21 S12σ22
>
(0.0622)σ21 (0.0352)σ22
σ22
S12σ22 S22σ12
)
= P( F > 3.14) เมื่อ ν1 = 10 (บริษัทที่ 2), ν2 = 9 (บริษัทที่ 1) = 0.05
230
สถิติวิศวกรรม
แบบฝกหัด 1. จงหาคาของ χα2, ν 1.1 χ20.95, 8 (เฉลย : 2.73) 1.2 χ20.05, 12 (เฉลย : 11.34) 1.3 χ20.025, 20 (เฉลย : 34.17) 1.4 P(χ2 < χ2α, 10) = 0.975 (เฉลย : 20.48) 1.5 P(37.652 < χ2 < χ2α, 25) = 0.045 (เฉลย : 46.93) 1.6 P(χ2α, 10 < χ2 < 23.209) = 0.015 (เฉลย : 20.48) 2. จงหาคาตอไปนี้ 2.1 t0.025, 14 (เฉลย : 2.145) 2.2 t0.995, 7 (เฉลย : –3.499) 2.3 P( – 1.356 < T < 2.179) เมื่อ ν = 12 (เฉลย : 0.985) 2.4 P( k < T < 2.807) = 0.095 เมื่อ ν = 23 (เฉลย : 1.319) 2.5 P(| T | < k) = 0.90 เมื่อ ν = 23 (เฉลย : 1.714) 3. จงหาคาของ f 3.1 f0.25, 4, 9 (เฉลย : 1.63) 3.2 f0.05, 15, 10 (เฉลย : 2.85) 3.3 f0.95, 6, 8 (เฉลย : 0.241) 3.4 f0.90, 24, 24 (เฉลย : 0.588) 4. นํ้าหนักของอาหารกระปองมีการแจกแจงแบบปกติดวยนํ้าหนักเฉลี่ย 400 g และคาความ แปรปรวน 146.4 g2 ถาสุม ตัวอยางอาหารกระปองจํานวน 25 กระปอง จงหาความนาจะเปนที่ พบนํ้าหนักเฉลี่ยของอาหารกระปองตัวอยางอยูระหวาง µ ± σ/53.1 (เฉลย : 0.6826)
บทที่ 7 การแจกแจงของการสุมตัวอยาง
231
5. คาความหนาแนนของตะกั่วเมื่อถูกชั่งดวยตาชั่งสปริงในของเหลวชนิดหนึ่ง มีการแจกแจง แบบปกติดวยคาเฉลี่ย 12,000 kg/m3 ถาสุมตัวอยางกอนตะกั่ว 10 กอน แลววัดคา ความหนาแนนจะไดคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของความหนาแนน 2,980 kg/m3 จงหาความ นาจะเปนที่คาความหนาแนนเฉลี่ยของกอนตะกั่ว 10 กอนนี้จะมากกวา 13,500 kg/m3 (เฉลย : 0.0767) 6. ขอมูลในอดีตพบวา ตัวตานทานไฟฟาที่ผลิตจากสายการผลิตหนึ่งทุกๆ 100 ตัว จะพบตัว ตานทานไฟฟาที่คุณภาพตํ่ากวาเกณฑ 10 ตัว กอนที่จะสงใหลูกคาทางแผนกตรวจสอบ คุณภาพทําการสุมตัวอยางตัวตานทานไฟฟา 500 ตัว จงหาความนาจะเปนที่พบสัดสวน ของตัวตานทานไฟฟาตัวอยางที่ไมผานเกณฑคุณภาพมากกวา 11% (เฉลย : 0.2514) 7. ลูกสูบมีบทบาทสําคัญตอการทํางานของระบบเครื่องยนต ผูผลิตลูกสูบไดกําหนดขนาด กระบอกสูบ (Bore) ซึ่งมีการแจกแจงแบบปกติดวยความแปรปรวน 6 mm2 ถาสุมลูกสูบมา ตรวจสอบขนาดกระบอกสูบจํานวน 25 ชิน้ จงหาความนาจะเปนทีพ่ บวาความแปรปรวนของ ขนาดกระบอกสูบของลูกสูบตัวอยางมีคามากกวา 10.745 mm2 (เฉลย : 0.01) 8. บริษัทผูผลิตอินซูลินแบบขวด ระบุคาความเขมขนของอินซูลินที่บรรจุในแตละขวดมีการ แจกแจงปกติ โดยมีคาเฉลี่ย 200 unit/mm และมีคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6 unit/mm ไดสุม ตัวอยางอินซูลนิ แบบขวดมาตรวจสอบ 9 ขวด จงหาความนาจะเปนทีค่ วามเขมขนเฉลีย่ ของ อินซูลินทั้ง 9 ขวดนี้แตกตางจากความเขมขนเฉลี่ยที่แทจริงไมเกิน 4 unit/mm (เฉลย : 0.9544) 9. คาความหนืดของแปงที่ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมแปงแหงหนึ่งมีคาเฉลี่ย 40 Brabender Unit (BU) และมีคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2 BU สุมตัวอยางแปงมาตรวจสอบ 36 ตัวอยาง จงหาความนาจะเปนทีค่ า ความหนืดรวมของแปงตัวอยางมากกวา 1,458 BU (เฉลย : 0.0668) 10. การปลูกขาวโดยใชพันธุขาวชนิดหนึ่ง พบวาโดยปกติจะมีอัตราเติบโตจนสามารถเก็บเกี่ยว ไดประมาณ 60% ในการปลูกขาวครั้งหนึ่งตองใชพันธุขาวชนิดนี้ 100 ตัน จงหาความนาจะ เปนที่พบการเติบโตของขาวจนสามารถเก็บเกี่ยวไดไมถึง 50 ตันใน 100 ตัน (เฉลย : 0.0162)
232
สถิติวิศวกรรม
11. วิศวกรคุณภาพตรวจสอบผลิตภัณฑสิ่งทอทางการแพทยชนิดหนึ่ง พบวามีผลิตภัณฑชํารุด 2% ถาสุมตัวอยางสิ่งทอทางการแพทยจํานวน 400 ตัวอยาง จงหาความนาจะเปนที่ตรวจ ผลิตภัณฑชํารุด 11.1 อยางนอย 3% (เฉลย : 0.1056) 11.2 ไมเกิน 2% (เฉลย : 0.5714) 12. นํ้าหนักของแบตเตอรี่ที่ผลิตจากบริษัท A และ B มีการแจกแจงแบบปกติ แบตเตอรี่ของ บริษัท A มีนํ้าหนักเฉลี่ย 102 g และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.8 g สวนแบตเตอรี่ของบริษัท B มีนํ้าหนักเฉลี่ย 98.7 g และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.9 g ถาสุมตัวอยางแบตเตอรี่จาก บริษัท A จํานวน 25 ลูก และจากบริษัท B จํานวน 30 ลูก จงหาความนาจะเปนที่ผลตางของ นํ้าหนักเฉลีย่ ของแบตเตอรี่จากบริษัท A จะมากกวาแบตเตอรีจ่ ากบริษัท B อยางนอย 2.5 g (เฉลย : 0.6554) 13. สถิติของการตรวจสอบคุณภาพนํ้าจากนิคมอุตสาหกรรม 2 แหง ระบุวาพบนํ้าเสียในนิคม แหงที่ 1 และ 2 ในอัตราสวน 35 และ 30% ตามลําดับ ถาสุมตัวอยางนํ้าจากนิคมแหงที่ 1 จํานวน 500 ตัวอยาง และนิคมแหงที่ 2 จํานวน 500 ตัวอยาง จงหาความนาจะเปนที่พบนํ้า เสียในนิคมแหงที่ 1 มากกวานิคมแหงที่ 2 เกิน 10% (เฉลย : 0.0455) 14. บริษทั ทอผาฝายแหงหนึง่ ใชเครือ่ งจักร 2 รุน ในการทอผา เพือ่ ประมาณคาอัตราสวนของความ แปรปรวนของจํานวนเสนดายตอตารางนิ้ว (Thread Count) ของผาที่ทอระหวางเครื่องจักร ปจจุบนั กับรุน ใหม จึงทําการสุม ตัวอยางผาฝายทีท่ อโดยเครือ่ งจักรรุน ปจจุบนั มา 25 ผืน และ สุมตัวอยางผาฝายที่ทอโดยเครื่องจักรรุนใหมมา 31 ผืน จงหาความนาจะเปนที่อัตราสวน ความแปรปรวนจํานวนเสนดายตอตารางนิ้วในผาฝายตัวอยางระหวางเครื่องจักรปจจุบัน กับรุนใหมมีคามากกวา 1.26 (จากขอมูลในอดีตพบวาความแปรปรวนของจํานวนเสนดาย ตอตารางนิ้วจากเครื่องจักรปจจุบันเทากับ 10 และจากเครื่องจักรใหมเทากับ 15) (เฉลย : 0.05) 15. บริษัทผูผลิตตลับลูกปน 2 บริษัทคือ A และ B ผลิตตลับลูกปนที่มีความเร็วเฉลี่ย 4,000 และ 4,500 rpm ดวยคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 300 และ 200 rpm ตามลําดับ สุมตัวอยางตลับ ลูกปนจากบริษัท A จํานวน 100 ชิ้น และสุมตัวอยางตลับลูกปนจากบริษัท B จํานวน 50 ชิ้น จงหาความนาจะเปนที่ตลับลูกปนตัวอยางจากบริษัท B จะมีความเร็วเฉลี่ยมากกวาตลับ ลูกปนตัวอยางจากบริษัท A อยางนอยที่สุด 600 rpm (เฉลย : 0.0077)
8
ทฤษฎีการประมาณคา
จากบทที่ 1 ประเภทของสถิติมี 2 ประเภทคือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ซึ่งการนําขอมูลที่เก็บรวบรวมไดจากกลุมตัวอยาง มาวิเคราะหเพื่อประมาณ คาดคะเน และสรุปอางอิง หรือนําไปสูการตัดสินใจไปยังประชากรที่ ศึกษานั้นเปนหลักสําคัญของสถิติเชิงอนุมาน วิธีการวิเคราะหแบงเปน 2 วิธีคือ การประมาณ คาพารามิเตอร (Parameter Estimation) และ การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis Testing) การประมาณคาพารามิเตอรเปนการประมาณหรือทํานายคาของพารามิเตอร สวนการ ทดสอบสมมติฐานเปนการตัดสินใจวาคาของพารามิเตอรทกี่ าํ หนดใหเปนจริงหรือไม เพือ่ ใหเขาใจ ถึงความแตกตางระหวางวิธีการทั้งสอง จะขอยกตัวอยางดังตอไปนี้ ตัวอยางเชน กระบวนการเคลือบผิวทองแดงบนแผน PCB พบวาวิศวกรตองอาศัยขอมูล จากการผลิตแผน PCB ในหลายวันที่ผานมา เพื่อนํามาคํานวณหาคาความหนาโดยเฉลี่ยของ การเคลือบผิว เนือ่ งจากเขาไมแนใจวาคาความหนาเฉลีย่ ทีแ่ ทจริง µ ควรเปนเทาไหร การประมาณ คาความหนาเฉลี่ยจัดเปนการประมาณคาพารามิเตอร (Parameter Estimation) ตัวอยางเชน ถาวิศวกรไดรบั ขอมูลจากฝายวิศวกรรมวาความหนาของการเคลือบผิวทองแดง ตองไมนอยกวา 0.001 นิ้ว จึงจะทําใหกระบวนการผลิตเปนไปตามมาตรฐาน (In Control) เพื่อจะ ตัดสินใจวากระบวนการผลิตเปนไปตามมาตรฐานหรือไม วิศวกรตองทําการทดสอบภายใตการตัง้ สมมติฐานวาความหนาเฉลี่ยของการเคลือบผิวมีคา 0.001 นิ้วขึ้นไป แลวทําการสุมตัวอยางจาก กระบวนการผลิตเพื่อมาพิสูจนวาสมมติฐานของเขาถูกตองหรือไม กระบวนที่นําไปสูการตัดสินใจ ดังกลาว เรียกวาการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing)
234
สถิติวิศวกรรม
เนื้อหาในบทเรียนนี้ จะอธิบายถึงหลักการของการประมาณคาพารามิเตอร ซึ่งประกอบ ดวยการประมาณคาแบบจุด และการประมาณคาแบบชวง
1. การประมาณคาแบบจุด (Point Estimation)
การประมาณคาแบบจุดเปนการใชคาสถิติ 1 คา ซึ่งคํานวณจากกลุมตัวอยางมาประมาณ คาพารามิเตอรของประชากร ซึ่งมีโอกาสที่จะประมาณคาผิดพลาดคลาดเคลื่อนไดอยางมาก ตัว ประมาณคา (Estimator) ที่ดีจะตองมีทั้งความเที่ยงตรง (Accuracy) และความแมนยํา (Precision) ในการวัดความเที่ยงตรงจะวิเคราะหผานหลักของความไมเอนเอียง (Unbiased Estimators) สวน การวัดความแมนยําจะดูที่ความแปรปรวนของตัวประมาณคา (Variances of Estimators) ตัวประมาณคา θ^ จะเปนตัวประมาณคาที่ไมเอนเอียงของพารามิเตอร θ ถา E(θ^) = θ ตัวอยางเชน ตัวประมาณคาที่ไมเอนเอียงของพารามิเตอร µ และพารามิเตอร σ2 จะเปน X และ S2 ตามลําดับ ซึ่งอธิบายไดดังนี้ ถาตัวแปรสุม X มีคาเฉลี่ย µ และความแปรปรวน σ2 สุมตัวอยางขนาด n จากตัวแปรสุม X จะได X1, X2, …, Xn ดังนั้น E(X) = E ∴
(
n
Xi Σ i=1 n
)=
1 n E(X ) = 1 n µ = i nΣ nΣ i=1 i=1
X เปนตัวประมาณคาที่ไมเอนเอียงของพารามิเตอร µ n (Xi – X)2 Σ 1 E n (X – X)2 i=1 E(S2) = E = i n–1 Σ n–1 i=1 n = n 1– 1 E Σ (X2i + X2 – 2XXi) i=1 n n = n 1– 1 E Σ X2i – nX2 = n –1 1 Σ E(X2i ) – nE(X2) i=1 i=1
(
)
(
n
)
(
2
)
= n 1– 1 Σ (µ2 + σ2) – n µ2 + σn i=1 1 = n – 1 (nµ2 + nσ2 – nµ2 – σ2) = σ2 ∴
µ
S2 เปนตัวประมาณคาที่ไมเอนเอียงของพารามิเตอร σ2
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
235
จะเห็นไดวาไมมีการเอนเอียง (Unbias) ถาการคํานวณคา S2 ใชตัวหารเปน n – 1 แทนที่ จะเปน n ถาเปลี่ยนมาคํานวณโดยใชตัวหารเปน n จะพบวามีการเอนเอียง (Bias) เกิดขึ้นดังนี้
) = ( n –n 1 ) σ2 2 E(σ^ 2) – σ2 = ( n –n 1 ) σ2 – σ2 = – σn
E(σ^ 2) = E ∴
มีการเอนเอียง =
(
n
(Xi – X)2 Σ i=1 n
รูปที่ 8.1 แสดงการแจกแจงการสุมตัวอยางของตัวประมาณคา 2 ตัวคือ θ^1 และ θ^2 จาก รูปจะเห็นไดวา คาเฉลีย่ ของ θ^1 เทากับ θ ดังนัน้ หากวัดทีค่ วามเทีย่ งตรงแลว θ^1 จะเปนตัวประมาณ คาไมเอนเอียงของ θ ในขณะที่ี θ^2 จะมีคาการเอนเอียงเกิดขึ้น
θ^1
θ^2
θ
คาการเอนเอียง
รูปที่ 8.1 ความเอนเอียงและความไมเอนเอียงของการประมาณคา ที่มา : Vining and Kowalski. 2006.
ตัวประมาณคา θ^ จะมีความแมนยํา ถาการแจกแจงของการสุมตัวอยางมีคาความคลาด เคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error) นอย รูปที่ 8.2 แสดงการแจกแจงของการสุมตัวอยางของตัว ประมาณ 2 ตัวคือ θ^1 และ θ^2 จากรูป ทั้ง 2 ตัวเปนตัวประมาณคาที่ไมเอนเอียง (Unbiased Estimators) แต θ^1 มีความแปรปรวนนอยกวา θ^2 ดังนั้น θ^1 จะใหคาประมาณที่ใกลคาที่แทจริงของ ^ ^ θ มากกวา θ2 หรือกลาวไดวา θ1 เปนตัวประมาณคาที่แมนยําของ θ
236
สถิติวิศวกรรม ^
θ1
θ^2 θ
รูปที่ 8.2 ความแมนยําของการประมาณคา ที่มา : Vining and Kowalski. 2006.
ตัวประมาณคาแบบจุดทีพ่ บบอยในการประมาณคาพารามิเตอรของงานทางวิศวกรรม มีดงั นี้ กรณีประชากรชุดเดียว พารามิเตอร ตัวประมาณคาแบบจุด µ µ^ = X คาเฉลี่ย ความแปรปรวน σ2 σ^ 2 = S2 สัดสวน p p^ = Xn กรณีประชากรสองชุด พารามิเตอร ตัวประมาณคาแบบจุด µ1 – µ2 µ^1 – µ^2 = X1 – X2 ผลตางของคาเฉลี่ย ผลตางของสัดสวน p1 – p2 p^1 – p^2
2. การประมาณคาแบบชวง (Interval Estimation) การประมาณคาแบบชวงเปนการประมาณคาโดยใชคาสถิติหลายคาในลักษณะเปนชวง (Interval) ตั้งแตคาตํ่าสุด (Lower) จนถึงคาสูงสุด (Upper) เพื่อใชในการประมาณคาพารามิเตอรที่ ตองการ การประมาณคาแบบนีจ้ ะมีโอกาสผิดพลาดคลาดเคลือ่ นไดนอ ยกวาการประมาณคาแบบจุด ในการสรางตัวประมาณคาแบบชวงของพารามิเตอร θ จําเปนตองหาคาตํา่ สุดและคาสูงสุด ซึ่ง P(L ≤ θ ≤ U) = 1 – α ดังนั้น ชวง L ≤ θ ≤ U จะถูกเรียกวา ชวงความเชื่อมั่น 100 (1 – α)% (Confidence Interval) สวนคา L และคา U จะถูกเรียกวา คาลิมิตความเชื่อมั่นดานลาง (Lower Confidence Limits) และคาลิมิตความเชื่อมั่นดานบน (Upper Confidence Limits) สําหรับ 1 – α จะเรียกวาคาสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น (Confidence Coefficient) ตัวอยางเชน ถากําหนด P(L ≤ µ ≤ U) = 0.95 แสดงวาโอกาสที่พารามิเตอร µ จะมี คาอยูในชวงตั้งแตคา L ถึงคา U เทากับ 0.95 หรือเรียกวาระดับความเชื่อมั่น 95%
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
237
P(µ ≤ L) + P(µ ≥ U) = 0.05 หมายถึง โอกาสที่พารามิเตอร µ จะมีคาอยูในชวงนอยกวา หรือเทากับ L และมีคาอยูในชวงมากกวาหรือเทากับ U คิดเปน 0.05 หรือเรียกวาระดับนัย สําคัญ (Significance Level) 5%
1–α α
2
µ α
2
µ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
ตัวอยางกลุม ที่
(ก)
(ข)
รูปที่ 8.3 การประมาณคาแบบชวง ที่มา : Vining and Kowalski. 2006. และ Montgomery and Runger. 2003.
จากรูปที่ 8.3 (ก) แสดงระดับความเชื่อมั่น 100 (1 – α)% และระดับนัยสําคัญ 100 (α)% รูปที่ 8.3 (ข) แสดงชวงของความเชื่อมั่น 100 (1 – α)% ของพารามิเตอร µ สําหรับการแจกแจง แบบปกติเมือ่ กลุม มีการสุม ตัวอยางซํา้ หลายๆ ครัง้ จุดกึง่ กลางของแตละชวงเปนคาเฉลีย่ X จะเห็น วาตัวอยางกลุมที่ 11 จะใหการประมาณคาแบบชวงที่ไมครอบคลุมคาพารามิเตอร µ ซึ่งสอดคลอง กับการกําหนดชวงความเชื่อมั่น 95% ที่จะมีประมาณ 15 กลุมที่มีพารามิเตอร µ อยูในชวงความ เชื่อมั่น ขณะที่ 5% หรือ 1 กลุมมีโอกาสประมาณคาผิดพลาดคลาดเคลื่อน การเปลี่ยนคาของระดับความเชื่อมั่นจะมีผลทําใหคา L และคา U เปลี่ยนไปดวย สําหรับ การแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน Z, การแจกแจงไค–สแควร χ2, การแจกแจง t และการแจกแจง F ที่ระดับความเชื่อมั่นตางๆ จะไดคาวิกฤติ (Critical Value) ซึ่งหมายถึงคาตํ่าสุดและสูงสุดของ การประมาณคาแบบชวง ดังตารางที่ 8.1 เมื่อระดับความเชื่อมั่นเปลี่ยนจาก 90% เปน 95% หรือ 98% จะพบวาคาวิกฤติของการแจกแจงทุกรูปแบบมีคาเปลี่ยนแปลงไป
238
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ 8.1 ความสัมพันธของระดับความเชื่อมั่นกับคาวิกฤติ คาวิกฤติ (คาตํ่าสุดและคาสูงสุด) การแจกแจง χ2 การแจกแจง t การแจกแจง F (χ21 – α/2, 5, χ2α/2, 5) (± tα/2, 5) (F1 – α/2, 5, 5, Fα/2, 5, 5) (1.15, 11.07) (–2.015, 2.015) (0.198, 5.05) (0.83, 12.83) (–2.571, 2.571) (0.140, 7.15) (0.55, 15.09) (–3.365, 3.365) (0.091, 10.97)
ระดับ ความเชื่อมั่น การแจกแจง Z (± zα/2) (1 – α) 0.90 หรือ 90% (–1.645, 1.645) 0.95 หรือ 95% (–1.960, 1.960) 0.98 หรือ 98% (–2.325, 2.325)
การประมาณคาแบบชวงแบงไดเปน 2 ประเภทคือ
1. การประมาณคาสองทาง (Two – Tailed Interval Estimate) เปนการประมาณ
คาโดยกําหนดคาลิมิตความเชื่อมั่นทั้งดานตํ่าสุดและดานสูงสุด P(L ≤ θ ≤ U) = 1 – α ตัวอยางเชน P(–2.179 ≤ t ≤ 2.179) = 0.95 2. การประมาณคาทางเดียว (One – Tailed Interval Estimate) เปนการประมาณ คาโดยกําหนดคาลิมิตความเชื่อมั่นเพียงดานเดียว ประมาณคาทางดานลาง (Lower Bound) P(L ≤ θ) = 1 – α ประมาณคาทางดานบน (Upper Bound) P(θ ≤ U) = 1 – α ตัวอยางเชน P(–1.782 ≤ t) = 0.95 การประมาณคาทางดานลาง P(t ≤ 1.782) = 0.95 การประมาณคาทางดานบน 1 – α = 0.95
1 – α = 0.95
α
α = 0.05
2 = 0.025
–2.179
0 2.179 (ก) แบบสองทาง
t
0 1.782 (ข) แบบทางเดียว (ดานบน)
t
รูปที่ 8.4 ประเภทของการประมาณคาแบบชวง ที่มา : Devore and Farnum. 2005.
2.1 สรุปการประมาณคาพารามิเตอร
การประมาณคาพารามิเตอรหรือลักษณะตางๆ ของประชากรทีใ่ ชกนั ทัว่ ไปคือ การประมาณ คาเฉลี่ย (µ) ความแปรปรวน (σ2) และสัดสวน (p) สําหรับการประมาณคาพารามิเตอรแบบชวง แสดงดังตารางที่ 8.2
คาเฉลี่ย (µ)
พารามิเตอร
3. n ≥ 30
2.
ไมทราบ σ2
1. X มีการแจกแจงแบบอื่นๆ
3. n ≥ 30
2. ทราบ σ2
1. X มีการแจกแจงแบบอื่นๆ
3. n ≥ 30
2.
n
σ
X – Zα/2 S n
X – Zα/2
≤ µ ≤ X + Zα/2
≤ µ ≤ X + Zα/2
≤ µ ≤ X + Zα/2
X – Zα/2 S n
ไมทราบ σ2
3. n < 30
2. ไมทราบ σ2
n
σ
S n
n
σ
S n
≤ µ ≤ X + tα/2, n – 1
≤ µ ≤ X + Zα/2
1. X มีการแจกแจงปกติ
n
σ
X – tα/2, n – 1 S n เมื่อ v = n = 1
X – Zα/2
S n
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรชุดเดียว
การประมาณคาสองทาง
1. X มีการแจกแจงปกติ
2. ทราบ σ2
1. X มีการแจกแจงปกติ
เงื่อนไขของเหตุการณ
n
µ≥
n n
σ
σ
X – Zα S n S ดานบน µ ≤ X + Zα n ดานลาง
µ ≤ X + Zα
ดานบน
X – Zα µ≥
ดานลาง
µ≥
X – Zα S n S ดานบน µ ≤ X + Zα n ดานลาง
µ ≥ X – tα, n – 1
µ ≤ X + Zα
S n ดานบน µ ≤ X + tα, n – 1 S n ดานลาง
ดานบน
n
σ
σ
การประมาณคาทางเดียว
ดานลาง µ ≥ X – Zα
ตารางที่ 8.2 การประมาณคาแบบชวงของพารามิเตอร
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
239
ผลตางเฉลี่ย (µD)
สัดสวน (p)
ความแปรปรวน ( σ2)
พารามิเตอร
≤ µD ≤ D + tα/2, n – 1
SD n
S D – tα/2, n – 1 D n
S ดานลาง µD ≥ D – tα, n – 1 D n SD ดานบน µD ≤ D + tα, n – 1 n
^^ ดานบน p ≤ p^ + Zα pnq
X มีการแจกแจงปกติ
p^ q^ n
^^ ดานลาง p ≥ p^ – Zα pnq
≤ p ≤ p^ + Zα/2
χ21 – α, n – 1
(n – 1)S2
χ α, n – 1
2 ดานลาง σ2 ≥ (n2– 1)S
^^ p^ – Zα/2 pnq
(n – 1)S2 2 χ 1 – α/2, n – 1
1. X ∼ b(x; n, p) 2. n ≥ 30
≤ σ2 ≤
การประมาณคาทางเดียว
ดานบน σ2 ≤
α/2, n – 1
χ2
(n – 1)S2
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรชุดเดียว
การประมาณคาสองทาง
เมื่อ ν = n – 1
X มีการแจกแจงปกติ
เงื่อนไขของเหตุการณ
ตารางที่ 8.2 (ตอ) การประมาณคาแบบชวงของพารามิเตอร
240 สถิติวิศวกรรม
ผลตางของคาเฉลี่ย ( µ 1 – µ 2)
พารามิเตอร
3. n1 < 30 และ n2 < 30
S12 S22 n1 + n2
เมื่อ ν =
(s12/n1 + s22/n2)2 [(s12/n1)2/(n1 – 1)] + [(s22/n2)2/(n2 – 1)]
(X1 – X2) + tα/2, n–1
2. ไมทราบ σ12, σ22 แตรูวา σ12 ≠ σ22
≤ µ1 – µ2 ≤
(n1 – 1)S12 + (n2 – 1)S22 n1 + n2 – 2 ν = n1 + n2 – 2
1 1 n1 + n2
S12 S22 n1 + n2
และ
≤ µ1 – µ2 ≤
ดานบน µ1 – µ2 ≤ (X1 – X2) + zα
ดานลาง µ1 – µ2 ≥ (X1 – X2) – zα
ดานบน µ1 – µ2 ≤ (X1 – X2) + tα, n–1
S12 S22 n1 + n2
S12 S22 n1 + n2
1 1 n1 + n2
1 1 n1 + n2
2 σ2 n1 + n2
σ12
ดานบน µ1 – µ2 ≤ (X1 – X2) + tα,n–1 SP
ดานลาง µ1 – µ2 ≥ (X1 – X2) – tα,n–1
σ2
2 n1 + n2
σ12
การประมาณคาทางเดียว
1 1 n1 + n2 ≤ µ1 – µ2 ≤ ดานลาง µ1 – µ2 ≥ (X1 – X2) – tα,n–1 SP
2
σ2 n1 + n2
σ12
(X1 – X2) + tα/2, n–1 SP
เมื่อ SP =
σ2
2 n1 + n2
σ12
(X1 – X2) – tα/2, n–1 SP
(X1 – X2) + zα/2
(X1 – X2) – zα/2
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรสองชุด
การประมาณคาสองทาง
1. X1 และ X2 มีการแจกแจง (X1 – X2) – tα/2, n –1 ปกติ
3. n1 < 30 และ n2 < 30
2. ไมทราบ σ12, σ22 แตรูวา σ12 = σ22
1. X1 และ X2 มีการแจกแจง ปกติ
2. ทราบ σ12, σ22
1. X1 และ X2 มีการแจกแจง ปกติ
เงื่อนไขของเหตุการณ
ตารางที่ 8.2 (ตอ) การประมาณคาแบบชวงของพารามิเตอร
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
241
2. ทราบ σ12, σ22
1. X1 และ X2 มีการแจกแจง แบบอื่นๆ
เงื่อนไขของเหตุการณ σ2
(X1 + X2) + Zα/2
≤ µ1 – µ2 ≤
≤ µ1 – µ2 ≤
p^1q^1 p^2q^2 n1 + n2 p^1q^1 p^2q^2 n1 + n2
(p^1 – p^2) – Zα/2 (p^1 – p^2) + Zα/2
เมื่อ ν1 = n2 – 1 และ ν2 = n1 – 1 ≤ p1 – p 2 ≤
2
≤
ดานบน p1 – p2 ≤ (p^1 – p^2) + Zα
σ2
S12 S22 n1 + n2
S12 S22 n1 + n2
σ2
2 n1 + n2
σ12
2 n1 + n 2
σ12
p^1q^1 p^2q^2 n1 + n2
p^1q^1 p^2q^2 n1 + n2
S12 F S22 1–α, n2–1, n1–1 S12 F S22 α, n2–1, n1–1 ดานลาง p1 – p2 ≥ (p^1 – p^2) – Zα
σ2
σ ดานบน 12
≥
ดานบน µ1 – µ2 ≤ (X1 – X2) + Zα
ดานลาง µ1 – µ2 ≥ (X1 – X2) – Zα
ดานบน µ1 – µ2 ≤ (X1 – X2) + Zα
ดานลาง µ1 – µ2 ≥ (X1 – X2) – Zα
การประมาณคาทางเดียว
S12 σ12 ด า นล า ง F α S22 /2, n2–1, n1–1 σ22
S12 S22 n1 + n2
S12 S22 n1 + n2
(X1 – X2) – Zα/2
2
σ2 n1 + n2
σ12
2 n1 + n2
σ12
(X1 – X2) + Zα/2
(X1 – X2) – Zα/2
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรสองชุด
การประมาณคาสองทาง
σ12 X1 และ X2 มีการแจกแจงปกติ S12 F ≤ ≤ α S22 1– /2, n2–1, n1–1 σ22
1. X1 ∼ b(x; n1, p1) และ X2 ∼ b(x; n2, p2) ผลตางของสัดสวน (p1 – p2) 2. n1 ≥ 30 และ n2 ≥ 30
σ
σ2
( 122 )
อัตราสวนของ ความแปรปรวน
3. n1 ≥ 30 และ n2 ≥ 30
2. ไมทราบ σ12, σ22
ผลตางของคาเฉลี่ย 3. n1 ≥ 30 และ n2 ≥ 30 ( µ 1 – µ 2) 1. X1 และ X2 มีการแจกแจง แบบอื่นๆ
พารามิเตอร
ตารางที่ 8.2 (ตอ) การประมาณคาแบบชวงของพารามิเตอร
242 สถิติวิศวกรรม
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
243
ตัวอยางที่ 8.1 สุมตัวอยางแทงคอนกรีตจํานวน 40 แทงของบริษัทกอสรางแหงหนึ่งเพื่อ
ทดสอบกําลังอัด (Compressive Strength) ผลคือวัดคากําลังอัดเฉลี่ยไดเทากับ 60.14 N/mm2 และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.02 N/mm2 ถากําหนดใหคากําลังอัดของแทงคอนกรีตมีการแจกแจง ปกติ จงหาชวงความเชื่อมั่น 95% ของกําลังอัดเฉลี่ยของแทงคอนกรีตของบริษัทกอสรางแหงนี้
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ แทงคอนกรีต ตัวแปรสุม X คือ คากําลังอัด (N/mm2) X ∼ N(µ, σ2) ทราบคา X = 60.14 และ S = 5.02 *** เลือกวิเคราะห µ ดวยการประมาณคาแบบ X ± Zα/2 Sn X – Z0.025 Sn ≤ µ ≤ X + Z0.025 Sn 60.14 – 1.96 5.02 ≤ µ ≤ 60.14 + 1.96 5.02 40 40 ∴ 58.58 ≤ µ ≤ 61.70
ตัวอยางที่ 8.2 การบันทึกขอมูลนํ้าฝนรายปในชวง 10 ป ตั้งแต พ.ศ. 2541 – 2550 ของลุมนํ้า
ภาคเหนือตอนบน ไดปริมาณนํ้าฝนดังนี้ 1,065.3, 1,320.6, 1,022.7, 1,127.7, 1,721.7, 763.1, 1,087.6, 1,386.7, 1,250.1, 1,186.8 mm จากขอมูลในอดีตทราบวาปริมาณนํ้าฝนรายปมีการ แจกแจงแบบปกติ จงหาปริมาณนํา้ ฝนเฉลีย่ ของลุม นํา้ ภาคเหนือตอนบนทีร่ ะดับความเชือ่ มัน่ 90%
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ลุมนํ้าภาคเหนือตอนบน ตัวแปรสุม X คือ ปริมาณนํ้าฝนรายป (mm) X ∼ N(µ, σ2) จากขอมูลขางตนคํานวณคา X = 1193.23 และ S = 254.32 *** เลือกวิเคราะห µ ดวยการประมาณคาแบบ X ± tα/2, n–1 Sn
244
สถิติวิศวกรรม
X – t0.05, 9 Sn 1193.23 – 1.833 254.32 10 ∴
1045.82
≤ µ≤
X + t0.05, 9 Sn
≤ µ≤
1193.23 + 1.833 254.32 10
≤ µ ≤ 1340.65
ตัวอยางที่ 8.3 โรงงานอุตสาหกรรม 10 แหง ทําการเปรียบเทียบจํานวนชั่วโมงทํางานที่เสียไป เนื่องจากอุบัติเหตุกอนและหลังจากการเขารวมโครงการสงเสริมความปลอดภัยในโรงงาน ผลดัง ตารางที่ 8.3 ตารางที่ 8.3 จํานวนชั่วโมงสูญเสียกอนและหลังเขารวมโครงการ จํานวนชั่วโมงสูญเสีย โรงที่ โรงที่ โรงที่ โรงที่ โรงที่ โรงที่ โรงที่ โรงที่ โรงที่ โรงที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 (hr) กอนรวมโครงการ
45
73
46
124
33
57
83
34
26
17
หลังรวมโครงการ
36
60
44
119
35
51
77
29
24
11
9
13
2
5
–2
6
6
5
2
6
ผลตาง (Di)
จงประมาณผลตางเฉลี่ยที่แทจริงของชั่วโมงทํางานที่เสียไปกอนและหลังจากเขารวม โครงการสงเสริมความปลอดภัยที่ระดับความเชื่อมั่น 98% สมมติวาผลตางของชั่วโมงทํางานที่ เสียไปมีการแจกแจงปกติ
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ โรงงานอุตสาหกรรม ตัวแปรสุม X คือ จํานวนชั่วโมงทํางานที่เสียไปเนื่องจากอุบัติเหตุ (hr) D ~ N(µD, σ2) จากขอมูลขางตนคํานวณคา D = 5.2 และ SD = 4.08 S *** เลือกวิเคราะห µD ดวยการประมาณคาแบบ D ± tα/2, n–1 Dn
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
SD n
≤ µD ≤
D + t0.01, 9
5.2 – 2.821 4.08 10
≤ µD ≤
5.2 + 2.821 4.08 10
≤ µD ≤
8.84
D – t0.01, 9
∴
1.56
245
SD n
ตัวอยางที่ 8.4 การบํารุงรักษาประจําปของโรงงานอุตสาหกรรมเคมีแหงหนึ่ง วิศวกรซอมบํารุง
สุมตรวจสอบการกัดกรอนในทอทนความรอนสูง PTFE จํานวน 60 ทอ พบวา 8 ทอมีการกัดกรอน ที่รุนแรง จงประมาณคาชวงความเชื่อมั่น 99% ของสัดสวนที่แทจริงของการกัดกรอนภายในทอ ทั้งหมดของโรงงานนี้
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ โรงงานอุตสาหกรรมเคมี ตัวแปรสุม X คือ จํานวนทอ PTFE ที่พบการกัดกรอนรุนแรง (ทอ) X ∼ b(x; n, p) ∼ b(x; 60, p) 8 = 0.133 โดย p^ = 60 ^^ *** เลือกวิเคราะห p ดวยการประมาณคาแบบ p^ ± zα/2 pnq ^^ ^^ p^ – Z0.005 pnq ≤ p ≤ p^ + Z0.005 pnq 0.133 – 3.27 ∴
0.133(0.867) 60
– 0.01
≤
≤
p ≤ 0.276
p ≤ 0.133 + 3.27
0.133(0.867) 60
246
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 8.5 แผนซิลิคอนเวเฟอรผานการเจียละเอียด (Lapping Process) เพื่อใหไดความ
หนาตามกําหนด หนวยตรวจสอบคุณภาพทําการสุมแผนเวเฟอร 15 แผนจากแผนเวเฟอรทั้ง หมด แลววัดคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของความหนาได 0.64 mil จงหาชวงความเชื่อมั่น 95% ของ คาความแปรปรวนของความหนาของแผนเวเฟอรทั้งหมด ถาความหนามีการแจกแจงปกติ
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ แผนซิลิคอนเวเฟอร ตัวแปรสุม X คือ ความหนา (mil) X ∼ N(µ, σ2) ทราบคา S = 0.64 2 2 *** เลือกวิเคราะห σ2 ดวยการประมาณคาแบบ (n2– 1)S , (n2 – 1)S χ α/2, n–1
(n – 1)S2 χ20.025, 14
∴
≤ σ2 ≤
14(0.642) 26.12
≤ σ2 ≤
0.22
≤ σ2 ≤
χ 1–α/2, n–1
(n – 1)S2 χ20.975, 14
14(0.642) 5.63 1.02
ตัวอยางที่ 8.6 การศึกษาผลของความหนืด (Viscosity) ตอความหนาของสี (Coating Thickness)
โดยการเลือกทดสอบสีที่มีความหนืดตํ่า 15 ตัวอยาง และสีที่มีความหนืดสูง 20 ตัวอยาง แลวทํา การวัดคาความหนาสี พบวาคาความหนาสีเฉลี่ยเทากับ 1.48 และ 2.36 mil ตามลําดับ ถาทราบ วาคาความหนาสีทั้ง 2 ประเภทมีการแจกแจงปกติดวยคาความแปรปรวน 0.37 และ 0.45 mil2 ตามลําดับ จงประมาณคาผลตางของความหนาสีเฉลีย่ ของสีทงั้ สองประเภททีร่ ะดับความเชือ่ มัน่ 95%
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ สี ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ คาความหนาสีของสีประเภทความหนืดตํ่าและสูง (mil) X1 ∼ N(µ1, 0.37) และ X2 ∼ N(µ2, 0.45) σ2 σ2 *** เลือกวิเคราะห µ1 – µ2 ดวยการประมาณคาแบบ (X1 – X2) ± Zα/2 n 1 + n 2 1
2
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
σ12
(1.48 – 2.36) – 1.96
σ2
2 n1 + n2
(X1 – X2) – Z0.025
≤ µ1 – µ2 ≤ (X1 – X2) + Z0.025
0.37 + 0.45 15 20
≤ µ1 – µ2 ≤
(1.48 – 2.36) + 1.96
– 1.306
≤ µ1 – µ 2 ≤
– 0.454
∴
σ12
247
σ2
2 n1 + n2
0.37 + 0.45 15 20
ตัวอยางที่ 8.7 ในการตรวจสอบอายุการใชงานของยางเรเดียล 2 ยี่หอ ไดมีการสุมตัวอยาง
ยางยี่หอละ 35 เสน ทดสอบภายใตสภาวการณเหมือนกัน ผลปรากฏวายางยี่หอ A อายุการใช งานเฉลี่ย 51,400 ไมล และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2,900 ไมล ยางยี่หอ B อายุการใชงานเฉลี่ย 67,200 ไมล และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2,400 ไมล จงสรางความเชื่อมั่น 90% ของผลตางของ อายุการใชงานเฉลี่ยของยางทั้งสองยี่หอ
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ยางเรเดียล ตัวแปรสุม XA และ XB คือ อายุการใชงานของยางยี่หอ A และ B (1,000 ไมล) XA ∼ ? และ XB ∼ ? ไมทราบ σA2 , σB2 S2 S2 *** เลือกวิเคราะห µA – µB ดวยการประมาณคาแบบ (XA – XB) ± Zα/2 n A + n B A
SB2 SA2 nB + nA
(XB – XA) – Z0.05 (67.2 – 51.4) – 1.645
2.42 + 2.92 35 35 ∴
14.753
≤ µB – µA ≤
(XB – XA) + Z0.05
≤ µB – µA ≤ (67.2 – 51.4) + 1.645 ≤ µB – µA ≤
16.847
B
SB2 SA2 nB + nA 2.42 + 2.92 35 35
248
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 8.8 ความคงทนตอการใชงานทีอ่ ณ ุ หภูมสิ งู เกีย่ วของกับการเลือกวัสดุทใี่ ชทาํ อุปกรณ ตัดแตงขึ้นรูป (Cutting Tools) ในกระบวนการผลิตชิ้นงาน ถาเลือกใชทังสเตนคารไบด (WC) และ เหล็กกลา (Steel) เปนวัสดุ 2 ประเภทที่ใชทําอุปกรณตัดแตงขึ้นรูปในการผลิตชิ้นงานอยางละ 4 ตัวอยาง แลวทําการเก็บรวบรวมอุณหภูมิสูงสุดที่อุปกรณจะทนทานได (°C) ผลดังนี้ ทังสเตนคารไบด 810
650
717
เหล็กกลา 771
834
717
914
782
จงหาชวงความเชื่อมั่น 98% ของผลตางของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ทนทานไดของวัสดุทั้งสอง ชนิด ถาอุณหภูมิของวัสดุดังกลาวมีการแจกแจงปกติและมีความแปรปรวนเทากัน
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ชิ้นงาน ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ อุณหภูมสิ งู สุดทีอ่ ปุ กรณตดั แตงขึน้ รูปทําจากวัสดุทงั สเตนคารไบด และเหล็กกลาจะคงทนได (°C ) X1 ∼ N(µ1, σ12) และ X2 ∼ N(µ2, σ22) ไมทราบ σ12, σ22 แตรูวา σ12 = σ22 *** เลือกวิเคราะห µ1 – µ2 ดวยการประมาณคาแบบ (X1 – X2) ± tα/2, ν SP (X1 – X2) – t0.01,6SP เมื่อ
SP =
– 245.14
≤ µ1 – µ2 ≤ (X1 – X2) + t0.01, 6 SP
1 1 n1 + n2
(4 – 1)69.412 + (4 – 1)83.292 = 76.67 4+4–2
(737 – 811.75) – 3.143(76.67) ∴
1 1 n1 + n2
1 1 n1 + n2
1+1 4 4
≤ µ1 – µ2 ≤
≤ µ1 – µ2 ≤ (737 – 811.75) + 3.143(76.67)
95.64
1+1 4 4
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
249
ตัวอยางที่ 8.9 ความกาวหนาทางการแพทยดวยเทคโนโลยีวิศวพันธุกรรม มีการพัฒนาวัคซีน
ปองกันเชื้อเยื่อหุมสมองอักเสบชนิดหนึ่งที่พบบอยในเด็กคือเชื้อ Hib ใหมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทีมวิจัยไดสุมตัวอยางเด็กกลุมละ 70 คน เพื่อทดลองใชวัคซีนดังกลาวที่ผลิตจากบริษัทยาที่ 1 และบริษัทยาที่ 2 พบวามีภูมิตานทานเพิ่มขึ้นเมื่อใชวัคซีนจํานวน 54 คน และ 63 คน ตามลําดับ จงหาชวงความเชื่อมั่น 80% ของผลตางของสัดสวนของเด็กที่มีภูมิตานทานเพิ่มขึ้นจากการใช วัคซีนของบริษัทที่ 1 และ 2
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ เด็ก ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ จํานวนเด็กที่มีภูมิตานทานเพิ่มขึ้นจากการใชวัคซีนของบริษัท ที่ 1 และ 2 (คน) X1 ∼ b (x1; n1, p1) ∼ b(x; 70, 0.77) X2 ∼ b (x2; n2, p2) ∼ b(x; 70, 0.90) p^1q^ 1 p^2q^ 2 *** เลือกวิเคราะห p1 – p2 การประมาณคาแบบ (p^1 – p^2) ± Zα/2 n + n 1
p^2q^ 2 p^1q^ 1 n2 + n1
(p^2 – p^1) – Z0.10
≤
p2 – p1 ≤ (p^2 – p^1) + Z0.10
(0.90 – 0.77) – 1.28
0.90(0.10) + 0.77(0.23) 70 70
(0.90 – 0.77) + 1.28
0.90(0.10) + 0.77(0.23) 70 70
∴
0.051
≤
p2 – p1
≤
0.209
≤
p2 – p1 ≤
2
p^2q^ 2 p^1q^ 1 n2 + n1
250
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 8.10 การเปรียบเทียบคาพลังงานความรอนจากเชื้อเพลิง 2 ชนิดคือถานหินและ
เม็ดพลังงานเชื้อเพลิงไม (Wood Pellet) ซึ่งเปนเชื้อเพลิงทดแทนผลิตดวยเศษไมเหลือใชจาก อุตสาหกรรมไมยางพารา โดยการวัดคาพลังงานความรอนจากถานหินจํานวน 13 ครั้ง ได S 1 = 78.4 kcal/kg จากเม็ดพลังงานเชื้อเพลิงไมจํานวน 25 ครั้ง ได S2 = 53.2 kcal/kg จงหาชวง ความเชื่อมั่น 80% สําหรับ σ21/σ22 ถาทราบวาคาพลังงานความรอนมีการแจกแจงปกติ
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ เชื้อเพลิง ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ คาพลังงานความรอนของถานหินและเม็ดพลังงานเชื้อเพลิงไม (kcal/kg) X1 ∼ N(µ1, σ21) และ X2 ∼ N(µ2, σ22) ทราบคา S1 = 78.4 และ S2 = 53.2 *** เลือกวิเคราะห
σ21 σ22
S21 F S22 0.90, 24,12
( )
78.42 1 53.22 1.83
∴
≤
การประมาณคาแบบ ≤
σ21
≤
1.187
≤
σ22
σ21 σ22
≤
S21 S21 F , Fα α S22 1 – /2, n2–1, n1–1 S22 /2, n2–1, n1–1
S21 F S22 0.10, 24,12
78.42 (2.04) 53.22 σ21 σ22
≤
4.43
3. การหาขนาดตัวอยาง (Sample Size) จากการประมาณคาแบบจุดในหัวขอที่ 1. ทีก่ ลาวไววา ตัวประมาณคาทีด่ จี ะตองมีทงั้ ความ เที่ยงตรงและความแมนยําในการประมาณคาใหใกลเคียงกับพารามิเตอร θ มากที่สุด หรืออาจ กลาวไดวามีความคลาดเคลื่อนนอยที่สุด รูปที่ 8.5 แสดงคาความคลาดเคลื่อนของชวงความ เชื่อมั่น X ± Zα/2 σ/ n ซึ่งคลาดเคลื่อนจากคาพารามิเตอร µ = | X – µ |
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
251
E = คาคลาดเคลื่อน = | x – µ| x
L = x – zα/2 σ/ n
µ
U = x + zα/2 σ/ n
รูปที่ 8.5 คาคลาดเคลื่อนในการประมาณ µ ดวย X
คาเที่ยงตรงของชวงความเชื่อมั่น X ± Zα/2 σ/ n จะเทากับ 2 Zα/2 σ/ n คา E จากการประมาณคาจะมีคานอยกวาหรือเทากับ Zα/2 σ/ n ถาระบุคา E ที่ตองการแลว จะได ขนาดตัวอยางที่เหมาะสมจาก Z σ 2 n = α/2 E
(
)
ถาคาของ n ที่คํานวณไดไมเปนจํานวนเต็ม ใหทําการปดเศษขึ้น (Rounded Up) เพื่อให แนใจวาขนาดตัวอยางดังกลาวจะยังคงอยูในระดับความเชื่อมั่น 100(1 – α)% ขอสังเกตหนึ่งคือ คา 2E เทากับระยะของชวงความเชื่อมั่น หรือคือ 2 Zα/2 σ/ n นั่นเอง
ตัวอยางที่ 8.11 ในการวัดคาความรอนของเหล็กชนิดหนึง่ ซึง่ สุม มา 10 ตัวอยาง วัดคาความรอน
เฉลี่ยได 41.924 Btu/hr – ft – ํF จากขอมูลในอดีตทราบวา คาความรอนของเหล็กมีการแจกแจง ปกติดวยคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.10 Btu/hr – ft – ํF ถาตองการใหการประมาณคามีคลาดเคลื่อน นอยกวา 0.05 Btu/hr – ft – ํF ดวยความเชื่อมั่น 95% จะตองสุมตัวอยางเพิ่มอีกหรือไม
วิธีทํา คาที่โจทยกําหนด α = 0.05, จะได
σ = 0.10, E = 0.05
Z0.025 = 1.96 ∴
n =
2 = 15.37 = 16 ( 1.96(0.10) ) 0.05
ดังนั้น เมื่อตองการระดับเชื่อมั่น 95% วาคาเฉลี่ยจะผิดพลาดนอยกวา 0.05 Btu/hr – ft – ํF จะตองประมาณคาเฉลี่ยดวยการสุมตัวอยางเหล็ก 16 ตัวอยาง นั่นคือ จะตองสุมเพิ่มอยางนอย อีก 6 ตัวอยาง
252
สถิติวิศวกรรม
ในทํานองเดียวกับการประมาณคาเฉลี่ย ถาศึกษาคาเที่ยงตรงของชวงความเชื่อมั่น α/2 [ p(1 – p)/n ] จะไดเทากับ 2Zα/2 [ p(1 – p)/n ] คา E จากการประมาณคาจะมีคา นอยกวาหรือเทากับ Zα/2 [ p(1 – p)/n ] ถาระบุคา E ที่ตองการแลว จะไดขนาดตัวอยางที่ เหมาะสมจาก Z 2 n = α/2 p(1 – p) E p^ ± Z
( )
คา p จะมีคามากสุดที่ 0.5 นั่นคือ p(1 – p) = 0.25 ดังนั้น สามารถหาขนาดตัวอยางสูงสุด ในการประมาณคา p ดวย p^ จาก Z 2 n = α/2 (0.25) E
( )
ตัวอยางที่ 8.12 สุม ตัวอยางเพลา 75 ตัว พบวามีความละเอียดของผิวหยาบกวามาตรฐานกําหนด
อยู 12 ตัว ถาตองการใหคาความคลาดเคลื่อนในการประมาณคา p ดวย p^ ไมเกิน 5% ภายใต ความเชื่อมั่น 0.95 จงหาขนาดตัวอยางที่เหมาะสม
วิธีทํา E = 5% = 0.05, Z0.025 = 1.96, p^ = 12 75 = 0.16 ∴
n =
(1.96)2(0.16)(0.84) (0.05)2
= 206.52 = 207
ดังนั้น ถาตองการใหคาที่ประมาณไดผิดจากคาที่แทจริงไมเกิน 5% ดวยความเชื่อมั่น 95% จะตองใชเพลา 207 ตัวจึงจะเพียงพอ
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
253
แบบฝกหัด 1. คาความตานทานไฟฟาของลวดโลหะผสมทีผ่ ลิตโดยโรงงานแหงหนึง่ มีการแจกแจงปกติดว ย คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.009 Ω ลวดตัวอยางถูกสุมมาตรวจสอบจํานวน 12 ตัวอยาง วัดคา ความตานทานไฟฟาเฉลี่ย 12.91 Ω จงหาชวงความเชื่อมั่น 95% และ 99% ของคาความ ตานทานไฟฟาเฉลี่ยของลวดโลหะผสมของโรงงานแหงนี้ (เฉลย : [11.773, 14.047], [11.417, 14.403]) 2. หองปฏิบัติการแหงหนึ่งทดสอบคาเฉลี่ยของโครเมียม (Cr) ในเหล็กผสมชนิดหนึ่ง โดยสุม ตัวอยางเหล็กจํานวน 36 ตัวอยาง วัดเปอรเซ็นตเฉลี่ยของโครเมียมได 3.5% และคาเบี่ยง เบนมาตรฐาน 0.24% จงหาชวงความเชื่อมั่น 95% ของเปอรเซ็นตเฉลี่ยของโครเมียมใน เหล็กผสมชนิดนี้ (เฉลย : [3.422, 3.578]) 3. ในกระบวนการกัดผิวของเวเฟอร วิศวกรฝายผลิตจะใหความสําคัญกับความหนาของชั้น ซิลิคอนที่เคลือบบนเวเฟอรเพราะมีผลตอเวลาที่ใชในการกัดผิว สุมตัวอยางเวเฟอร 15 ตัวอยางมาตรวจสอบความหนาของผิวเคลือบ พบวามีคาเฉลี่ย 0.4 µm และคาเบี่ยงเบน มาตรฐาน 0.06 µm 3.1 จงประมาณคาเฉลีย่ ชนิด 2 ทางของความหนาผิวเคลือบในเวเฟอรทรี่ ะดับเชือ่ มัน่ 98% (เฉลย : [0.359, 0.441]) 3.2 จงประมาณคาเฉลี่ยชนิดทางเดียวดานบนของความหนาผิวเคลือบในเวเฟอรที่ระดับ เชื่อมั่น 95% (เฉลย : [0, 0.506]) 3.3 ถาวิศวกรฝายผลิตสุม ตัวอยางเวเฟอรจาํ นวน 500 ตัวอยาง แลวไดคา เฉลีย่ และคาเบีย่ ง เบนมาตรฐานคงเดิม จงประมาณคาเฉลี่ยประชากรใหมที่ระดับเชื่อมั่น 98% (เฉลย : [0.394, 0.406])
254
สถิติวิศวกรรม
4. การตัดสินใจวาควรจะเลือกใชเพลาที่ผลิตจากโรงงานที่ 1 หรือโรงงานที่ 2 หนวยจัดซื้อได ขอตัวอยางเพลาจากทั้งสองโรงงาน 36 ตัวอยางมาทดสอบขนาดเสนผานศูนยกลาง ไดผล ดังนี้ เพลาตัวอยาง
คาเฉลี่ย
คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน
โรงงานที่ 1
0.138 m
0.003 m
โรงงานที่ 2
0.081 m
0.004 m
จงหาชวงความเชื่อมั่น 95% ของผลตางระหวางคาเฉลี่ยที่แทจริงของขนาดเสน ผานศูนยกลางของเพลาจากโรงงานที่ 1 และโรงงานที่ 2 (เฉลย : [0.0554, 0.0586]) 5. การทดสอบคาความแข็งของแทงโลหะ 2 ชนิดหลังผานกระบวนการอบภายใตอุณหภูมิ เดียวกัน นักโลหะวิทยาทําการสุม แทงโลหะตัวอยางชนิดละ 8 แทง วัดคาความแข็งเฉลีย่ และ ความแปรปรวน (หนวย : ร็อคเวล) ไดดังนี้ X1 = 91.73, S12 = 3.89 และ X2 = 93.75, S22. = 4.02 ถาสมมติวาคาความแข็งของแทงโลหะทั้งสองชนิดมีการแจกแจงปกติที่มี ความแปรปรวนเทากัน จงหาชวงความเชื่อมั่น 95% ของ µ1 – µ2 (เฉลย : [– 4.5, 0.11]) 6. ปริมาณนํ้าที่ระบายเพื่อการเกษตรและผลิตไฟฟาของเขื่อนแหงที่ 1 จากการบันทึกขอมูล 15 วัน พบวามีปริมาณนํ้าที่ระบายออกโดยเฉลี่ย 1.94 ลานลูกบาศกเมตรตอวัน ดวยคา เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 ลานลูกบาศกเมตรตอวัน สวนเขื่อนแหงที่ 2 จากการบันทึก ขอมูล 10 วัน พบปริมาณนํ้าที่ระบายออกโดยเฉลี่ย 1.04 ลานลูกบาศกเมตรตอวัน ดวยคา เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.26 ลานลูกบาศกเมตรตอวัน จงหาชวงความเชื่อมั่น 95% สําหรับ ความแตกตางของคาเฉลีย่ ทีแ่ ทจริงของปริมาณนํา้ ทีร่ ะบายออกจากเขือ่ นทัง้ สอง ถาทราบวา ขอมูลเหลานีม้ าจากประชากรปกติทมี่ คี า ความแปรปรวนแตกตางกัน (เฉลย : [0.61, 1.19])
255
บทที่ 8 ทฤษฎีการประมาณคา
7. การบงชีค้ วามเหนียวของกระดาษทีใ่ ชจะระบุดว ยคาการตานแรงดันทะลุ (ความสามารถของ แผนกระดาษลูกฟูกทีจ่ ะตานแรงดันทีก่ ระทําบนแผนทดสอบดวยอัตราทีเ่ พิม่ ขึน้ อยางสมํา่ เสมอ จนทําใหแผนทดสอบนั้นขาดทะลุ) กระดาษที่ผลิตจากสายการผลิตที่ 1 และ 2 ของโรงงาน แหงหนึ่งพบวาคาการตานแรงดันทะลุมีการแจกแจงปกติ แตคาดวามีความแปรปรวนตาง กัน ทําการสุมตัวอยางกระดาษจากสายการผลิตที่ 1 จํานวน 8 ตัวอยาง ไดคาการตานทาน แรงดันทะลุโดยเฉลี่ย 166 kPa และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 21.08 kPa สวนกระดาษตัวอยาง จากสายการผลิตที่ 2 จํานวน 10 ตัวอยางพบวามีคาการตานแรงดันทะลุเฉลี่ย 132 kPa และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10.42 kPa จงหาชวงความเชื่อมั่น 98% ของผลตางระหวาง คาการตานแรงดันทะลุเฉลี่ยที่แทจริงของกระดาษที่ผลิตจากสายการผลิตทั้งสอง (เฉลย : [11.477, 56.523]) 8. เพื่อทดสอบความแมนยําของเครื่องหยั่งความลึกของนํ้า (Echo Sounder) ผูประกอบการ เดินเรือจึงสุมวัดคาความลึกของมหาสมุทรแหงหนึ่งทั้งหมด 7 จุด โดยแตละจุดจะเปรียบ เทียบคาความลึกจริงเทียบกับความลึกที่ไดจากการวัดดวยเครื่องมือนี้ กําหนดใหผลตาง ที่แทจริงของคาความลึกโดยเฉลี่ย 4.5 ฟาธอม ผลของคาความลึกจากจุดวัดทั้ง 7 จุด แสดง ดังนี้ (หนวย : ฟาธอม) จุดวัดจุดที่
1
2
3
4
5
6
7
ความลึกจริง
60.3
61.7
69.0
58.5
64.0
62.6
56.7
ความลึกวัดจากเครื่องมือ
54.9
58.1
62.1
60.0
58.5
59.9
54.4
สมมติวา ผลตางของคาความลึกมีการแจกแจงปกติ จงทดสอบความแมนยําของเครือ่ ง หยั่งความลึกนี้ดวยการคํานวณชวงความเชื่อมั่น 95% ของผลตางเฉลี่ยของคาความลึก (เฉลย : [0.99, 6.125])
256
สถิติวิศวกรรม
9. ในการออกแบบการตอโครงสรางเหล็ก วิศวกรตองการทราบสัดสวนของโครงสรางเหล็กที่ สามารถรองรับนํ้าหนักไดตามมาตรฐาน จึงไดสุมตัวอยางโครงสรางเหล็กจํานวน 500 ชุด พบวามี 160 ชุดทีร่ บั นํา้ หนักไดตาํ่ กวามาตรฐาน จงหาชวงความเชือ่ มัน่ 95% สําหรับสัดสวน ที่แทจริงของโครงสรางเหล็กที่รับนํ้าหนักไดตํ่ากวามาตรฐาน (เฉลย : [0.28, 0.36]) 10. พนักงานประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกสของกะเชาและกะบายมีประสิทธิภาพในการทํางาน ที่ไมแตกตางกัน เพื่อตรวจสอบขอสรุปนี้ ฝายผลิตจึงสุมตรวจแผงวงจรที่ผลิตโดยพนักงาน ทั้งสองกะ ผลปรากฏวากะที่ 1 มีแผงวงจรชํารุด 75 ชิ้นจาก 1,500 ชิ้น สวนกะที่ 2 มี แผงวงจรชํารุด 80 ชิ้นจาก 2,000 ชิ้น จงหาชวงความเชื่อมั่น 90% ของผลตางที่แทจริง ในสัดสวนของแผงวงจรชํารุดจากการประกอบของพนักงานกะที่ 1 และ 2 (เฉลย : [–0.002, 0.022]) 11. การทดสอบความเร็วในการเชื่อมตออินเทอรเน็ตของผูใหบริการแหงหนึ่ง โดยสุมตรวจ ความเร็วในการเชื่อมตอจํานวน 10 ครั้ง ไดผลดังนี้ (หนวย : Mbps) 2.5
2.1
2.2
1.3
2.1
3.2
1.9
2.3
2.4
2.0
จงหาชวงความเชื่อมั่น 95% ของความแปรปรวนที่แทจริงและของสวนเบี่ยงเบน มาตรฐานทีแ่ ทจริงของความเร็วในการเชือ่ มตออินเทอรเน็ต ถาทราบวาความเร็วในการเชือ่ ม ตอมีการแจกแจงปกติ (เฉลย : [0.11, 0.778], [0.332, 0.882]) 12. ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดความดันที่ใชในหองปฏิบัติการ 2 แหง ผูวิเคราะหไดสุม ตัวอยางเครื่องมือวัดความดันจากหองปฏิบัติการแหงที่ 1 จํานวน 10 เครื่อง นํามาหาคา ความแปรปรวนของความดันที่วัดได S12 = 0.088 และสุมตัวอยางเครื่องมือวัดความดันจาก หองปฏิบัติการแหงที่ 2 จํานวน 8 เครื่อง นํามาหาคาความแปรปรวนของความดันที่วัดได S22. = 0.065 ถาสมมติวาคาความดันที่วัดไดจากเครื่องมือวัดความดันของหองปฏิบัติการ ทั้งสองแหงมีการแจกแจงปกติ จงหาชวงความเชื่อมั่น 98% ของ σ12/σ22. และของ σ1/σ2 (เฉลย : [0.202, 7.595], [0.449, 2.756])
9
การทดสอบสมมติฐาน
การคนหาคําตอบหรือขอสรุปเกีย่ วกับประชากรทีศ่ กึ ษานัน้ นอกจากจะอธิบายไดดว ยการ ประมาณคาพารามิเตอรในบทที่ 8 แลว อีกวิธกี ารหนึง่ ของสถิตเิ ชิงอนุมานคือ การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) วิธนี จี้ ะใชกลุม ตัวอยางทีส่ มุ มาตรวจสอบวาคาพารามิเตอรของประชากร (เชน µ, σ2) เปนไปตามที่ตั้งขอสงสัยไวหรือไม ขอสงสัยหรือขอความตางๆ ที่เกี่ยวของกับประชากร ซึ่งอาจเปนจริงหรือไมจริงและตองการการตรวจสอบนั้น จะเรียกวาสมมติฐาน (Hypothesis) ตัวอยางเชน กระบวนการผลิตลูกสูบ กําหนดใหเสนผานศูนยกลางเฉลี่ยของกระบอกสูบเทากับ 50 mm แตเนือ่ งจากกระบวนการผลิต การตัง้ เครือ่ งจักร หรือสาเหตุอนื่ ๆ ทําใหกระบอกสูบทีผ่ ลิต ไดไมเปนไปตามมาตรฐานทีก่ าํ หนด ดังนัน้ ขอความหรือขอสงสัยทีต่ อ งการตรวจสอบของประชากร (ลูกสูบ) คือพารามิเตอร µ (เสนผานศูนยกลางเฉลี่ยของกระบอกสูบ) ซึ่งตองผานขั้นตอนของ การทดสอบสมมติฐานเพื่อตอบขอสงสัยหรือหาขอสรุปที่ตองการตอไป
1. สมมติฐานสถิติ (Statistical Hypothesis) จากทีก่ ลาวมาขางตน สมมติฐานสถิตหิ มายถึง ขอสงสัยหรือขอความทีเ่ กีย่ วของกับประชากร หนึ่งชุดหรือมากกวา ซึ่งอาจเปนจริงหรือไมก็ได การหาคําตอบหรือขอสรุปวาสิ่งที่สงสัยเปนจริง หรือไมนั้น ทําไดดวยการสํารวจจากประชากรทั้งหมด ซึ่งในทางปฏิบัติทําไดยาก เนื่องจากมีขอ จํากัดเรื่องเวลา บุคลากร เครื่องมือ หรืองบประมาณ จึงมักสรุปผลจากกลุมตัวอยางที่สุมมาจาก ประชากรที่ศึกษา แลวใชหลักของการทดสอบสมมติฐานมาชวยในการวิเคราะหหาคําตอบ ขอ สรุปจะมี 2 แบบคือ ปฏิเสธสมมติฐาน และยอมรับสมมติฐาน ถาหลักฐานที่ไดจากกลุมตัวอยางไม
258
สถิติวิศวกรรม
สอดคลองกับสมมติฐานที่ตั้งไว จะสรุปวาปฏิเสธสมมติฐาน (Reject Hypothesis) และถาหลักฐาน ที่ไดจากกลุมตัวอยางสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว จะสรุปวายอมรับสมมติฐาน หรืออาจกลาวไดวา ไมมีหลักฐานพอที่จะเชื่อเปนอยางอื่น (Fail to Reject Hypothesis) สมมติฐานที่ตั้งขึ้นสําหรับการทดสอบสมมติฐานจะมี 2 สวนคือ
1. สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) หรือ H0 เปนขอความหรือขอสมมติฐานที่
ตั้งขึ้นเกี่ยวกับพารามิเตอรของประชากรหนึ่งชุดหรือมากกวา แสดงใหเห็นถึงสภาพที่เปนอยูใน ปจจุบันและยังไมมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เครื่องหมายที่ระบุในสมมติฐานหลักมักจะใช = (เทากับ) ซึ่งจะแสดงถึงสภาพดั้งเดิมหรือมูลคาคงเดิม
2. สมมติฐานทางเลือก (Alternative Hypothesis) หรือ H1 เปนขอความหรือ
ขอสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แสดงใหเห็นถึงสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเปนสิ่งที่สงสัยแลวตองการ การตรวจสอบ เครื่องหมายที่ระบุในสมมติฐานทางเลือกจะใช > (มากกวา), < (นอยกวา) หรือ ≠ (ไมเทากับ) เพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเลือกใชเครื่องหมายใดนั้น ขึ้นอยูกับ วัตถุประสงคของการทดสอบวาตองการจะตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
ตัวอยางเชน 1. กระบวนการผลิตลูกสูบ กําหนดเสนผานศูนยกลางเฉลีย่ เทากับ 50 mm ตองการทดสอบ วากระบวนการผลิตเปลี่ยนแปลงไปหรือไม ซึ่งอาจทําใหไดกระบอกสูบไมเปนไปตามกําหนด พารามิเตอรคือ µ (เสนผานศูนยกลางเฉลี่ย) ตามขอกําหนดระบุให µ = 50 ซึ่งเปนสภาพ เดิมที่ยังไมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แตสงสัยวานาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากขอกําหนดเดิม ดังนั้น สมมติฐานหลักคือ H0 : µ = 50 และสมมติฐานทางเลือกคือ H1 : µ ≠ 50 การตั้งสมมติฐานทางเลือกดวยเครื่องหมาย ≠ (ไมเทากับ) เปนการตั้งสมมติฐานแบบสอง ทาง (Two–Sided Alternative Hypothesis) 2. ผูผลิตรถยนตยี่หอหนึ่งอางวา อัตราการใชนํ้ามันเชื้อเพลิงของรถขณะวิ่งบนทางหลวง จะกินนํ้ามันดวยอัตราเฉลี่ยอยางนอย 35 ไมลตอแกลลอน ซึ่งทางกลุมผูบริโภคตองการตรวจสอบ วาโฆษณาเกินจริงหรือไม พารามิเตอรคือ µ (อัตราการใชนํ้ามันเชื้อเพลิงเฉลี่ย) ตามที่ผูผลิตกลาวอาง µ ≥ 35 ซึ่งเปนคุณลักษณะของรถยนตยี่หอนี้ และผูบริโภคสงสัยวามีคุณลักษณะไมตรงตามคําอาง
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
259
ดังนั้น สมมติฐานหลักคือ H0 : µ ≥ 35 และสมมติฐานทางเลือกคือ H1 : µ < 35 การตั้งสมมติฐานทางเลือกดวยเครื่องหมาย < (นอยกวา) หรือ > (มากกวา) เปนการตั้ง สมมติฐานแบบทางเดียว (One–Sided Alternative Hypothesis) 3. นักเคมีวิเคราะหคุณสมบัติการยอมสีของเสนใยชนิดที่ 1 พบวา ใหเปอรเซ็นตการติด ของสีโดยเฉลี่ยนอยกวาเสนใยชนิดที่ 2 ซึ่งหนวยจัดซื้อวัตถุดิบตองการตรวจสอบขอมูลดังกลาว กอนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อเสนใย พารามิเตอรคือ µ1 (เปอรเซ็นตการติดสีโดยเฉลี่ยของเสนใยชนิดที่ 1) และ µ2 (เปอรเซ็นต การติดสีโดยเฉลี่ยของเสนใยชนิดที่ 2) สมมติฐานหลักคือ H0 : µ1 ≤ µ2 และสมมติฐานทางเลือกคือ H1 : µ1 > µ2 ในการตั้งสมมติฐานสามารถทดสอบกับพารามิเตอรอื่นๆ เชน ความแปรปรวน หรือ สัดสวน เปนตน โดยทดสอบไดทงั้ กรณีประชากรหนึง่ ชุดหรือมากกวา ตารางที่ 9.1 จะเปนตัวอยาง ของการตัง้ สมมติฐานหลักและสมมติฐานทางเลือกของพารามิเตอร µ, σ2, p สําหรับกรณีสมุ ตัวอยาง จากประชากรหนึ่งชุดและสองชุด ตารางที่ 9.1 การตั้งสมมติฐานหลักและสมมติฐานทางเลือกของพารามิเตอร µ, σ2, p กรณีประชากร 1 ชุด พารามิเตอร คาเฉลี่ย ( µ) ความแปรปรวน (σ2) สัดสวน (p)
สมมติฐานหลัก H0
กรณีประชากร 2 ชุด
สมมติฐานทางเลือก สมมติฐานหลัก สมมติฐานทางเลือก H1 H0 H1
H0 : µ = µ0
H1 : µ ≠ µ0 H1 : µ > µ0 H1 : µ < µ0
H0 : σ2 = σ02
H1 : σ2 ≠ σ20 H1 : σ2 > σ20 H1 : σ2 < σ20
H0 : p = p0
H1 : p ≠ p0 H1 : p > p0 H1 : p < p0
H0 : µ1–µ2 = d0 H0 : σ21 = σ22
H0 : p1 – p2 = d0
H1 : µ1 – µ2 ≠ d0 H1 : µ1 – µ2 > d0 H1 : µ1 – µ2 < d0 H1 : σ21 ≠ σ22 H1 : σ21 > σ22 H1 : σ21 < σ22 H1 : p1 – p2 ≠ d0 H1 : p1 – p2 > d0 H1 : p1 – p2 < d0
260
สถิติวิศวกรรม
2. ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอร การทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอรที่พบบอยคือ คาเฉลี่ย ความแปรปรวน และสัดสวน ประกอบดวย 6 ขั้นตอนคือ 1. กําหนดสมมติฐานหลัก H0 2. กําหนดสมมติฐานทางเลือก H1 3. เลือกคาระดับนัยสําคัญ α 4. กําหนดบริเวณวิกฤติ (Critical Region) ตามระดับนัยสําคัญและการตั้งสมมติฐานทาง เลือก H1 (สมมติฐานแบบสองทางหรือทางเดียว) ดังรูปที่ 9.1 5. สุมตัวอยางขนาด n และคํานวณคาสถิติที่ใชทดสอบ 6. นําคาสถิติที่ไดจากการคํานวณตามขอที่ 5. เปรียบเทียบกับบริเวณวิกฤติตามขอที่ 4. แลวสรุปผลดังนี้ • ถาอยูในบริเวณวิกฤติ จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 • ถาอยูนอกบริเวณวิกฤติ จะยอมรับสมมติฐานหลัก H0
บริเวณวิกฤติ
H1 : θ ≠ θ0 N(0,1)
α/2
–zα/2
H1 : θ > θ0 N(0,1) บริเวณวิกฤติ
บริเวณ ยอมรับ 0
α/2
zα/2
Z0
tn–1
H1 : θ < θ0 N(0,1) บริเวณวิกฤติ
บริเวณ ยอมรับ 0
α
zα
–tα/2, n–1
0
f(x)
0
tα/2, n–1 f(x)
0 χ21–α/2, n–1
χ2α/2, n–1 x
tα, n–1
–tα, n–1 f(x) α
0
Z0
α
χ2n–1
α/2
บริเวณ ยอมรับ –zα 0 tn–1
α
χ2n–1 α/2
Z0
tn–1
α/2
α/2
α
χ2α, n–1 x
0 χ2n–1
α
0 χ21–α, n–1
รูปที่ 9.1 การทดสอบสมมติฐานแบบสองทางและทางเดียวของการแจกแจง Z, t และ χ2 ที่มา : Montgomery and Runger. 2003.
T0
x
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
261
รูปที่ 9.1 แสดงการทดสอบสมมติฐานแบบสองทาง (เชน H1 : µ ≠ µ0) จะพบวาบริเวณ วิกฤติแบงเปน 2 สวน แตละสวนมีพื้นที่ใตกราฟ α/2 สวนบริเวณของการยอมรับ (Acceptance Region) มีพื้นที่ใตกราฟ 1 – α ในขณะที่การทดสอบสมมติฐานทางเดียวดานบน (เชน H1 : µ > µ0) หรือทางเดียวดาน ลาง (เชน H1 : µ < µ0) จะพบวาบริเวณวิกฤติมีเพียงดานเดียวคือดานบน (Upper) หรือดาน ลาง (Lower) ดวยพื้นที่ใตกราฟเทากับ α สวนบริเวณของการยอมรับมีพื้นที่ใตกราฟ 1 – α การสรุปผลในขั้นตอนที่ 6 ของการทดสอบสมมติฐาน จะขอยกตัวอยางการแจกแจง Z คือ ถาคาสถิติ Z0 ที่คํานวณไดจากกลุมตัวอยางตกในบริเวณวิกฤติ จะสรุปผลวา ปฏิเสธสมมติฐาน หลัก H0 แตถาคาสถิติ Z0 ที่คํานวณไดจากกลุมตัวอยางตกในบริเวณของการยอมรับ จะสรุปผล วา ยอมรับสมมติฐานหลัก H0 สําหรับรายละเอียดของการทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอร แสดงดังตารางที่ 9.2
H0 : σ2 = σ20
H0 : µ = µ0
สมมติฐานหลัก (ขั้นตอนที่ 1)
X มีการแจกแจงปกติ χ2 =
(n – 1)S2 σ20
เมื่อ ν = n – 1
X – µ0 S/ n
1. X มีการแจกแจงแบบอื่นๆ 2. ไมทราบ σ2 3. n ≥ 30 Z=
X – µ0 Z= σ/ n
1. X มีการแจกแจงแบบอื่นๆ 2. ทราบ σ2 3. n ≥ 30
X – µ0 S/ n
Z=
X – µ0 เมื่อ ν = n – 1 t= S/ n
X – µ0 Z= σ/ n
H1 : σ2 ≠ σ20 H1 : σ2 > σ20 H1 : σ2 < σ20
α, n – 1
1–α, n – 1
χ2 < χ2
และ χ2 < χ21– α/2, n – 1 χ2 > χ2
α/2, n – 1
χ2 > χ2
Z > Zα/2 และ Z < –Zα/2 Z > Zα Z < –Zα
t > tα/2, n – 1 และ t < –tα/2, n – 1 t > tα, n – 1 t < –tα, n – 1
H1 : µ ≠ µ0 H1 : µ > µ0 H1 : µ < µ0
H1 : µ ≠ µ0 H1 : µ > µ0 H1 : µ < µ0
Z > Zα/2 และ Z < –Zα/2 Z > Zα Z < –Zα
บริเวณวิกฤติ (ขั้นตอนที่ 4)
H1 : µ ≠ µ0 H1 : µ > µ0 H1 : µ < µ0
สมมติฐานทางเลือก (ขั้นตอนที่ 2)
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรชุดเดียว
สถิติที่ใชทดสอบ (ขั้นตอนที่ 5)
1. X มีการแจกแจงปกติ 2. ไมทราบ σ2 3. n ≥ 30
1. X มีการแจกแจงปกติ 2. ไมทราบ σ2 3. n < 30
1. X มีการแจกแจงปกติ 2. ทราบ σ2
เงื่อนไขของเหตุการณ
ตารางที่ 9.2 การทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอร 262 สถิติวิศวกรรม
H0 : µ1 – µ2 = d0
X มีการแจกแจงปกติ
H0 : µD = d0
1. X1 และ X2 มี การแจกแจงปกติ 2. ไมทราบ σ21, σ22 แตรูวา σ21 = σ22 3. n1 < 30 และ n2 < 30
1. X1 และ X2 มี การแจกแจงปกติ 2. ทราบ σ21, σ22
1. X ∼ b(x; n, p) 2. n ≥ 30
เงื่อนไขของเหตุการณ
H0 : p = p0
สมมติฐานหลัก (ขั้นตอนที่ 1)
(n1 – 1)S12 + (n2 – 1)S22 n1 + n2 – 2
(X1 – X2) – d0 SP 1/n1 + 1/n2
และ ν = n1 + n2 – 2
เมื่อ SP =
t=
Z=
(X1 – X2) – d0 σ21/n1 + σ22/n2
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรสองชุด
D – d0 t= เมื่อ ν = n – 1 SD/ n
Z=
p^ – p0 p0q0/n
H1 : µ1 – µ2 ≠ d0 H1 : µ1 – µ2 > d0 H1 : µ1 – µ2 < d0
t > tα/2, ν และ t < –tα/2, ν t > tα, ν t < –tα, ν
Z > Zα/2 และ Z < –Zα/2 Z > Zα Z < –Zα
t > tα/2, n – 1 และ t < –tα/2, n – 1 t > tα, n – 1 t < – tα, n – 1
H1 : µD ≠ d0 H1 : µD > d0 H1 : µD < d0 H1 : µ1 – µ2 ≠ d0 H1 : µ1 – µ2 > d0 H1 : µ1 – µ2 < d0
Z > Zα/2 และ Z < – Zα/2 Z > Zα Z < –Zα
บริเวณวิกฤติ (ขั้นตอนที่ 4)
H1 : p ≠ p0 H1 : p > p0 H1 : p < p0
สมมติฐานทางเลือก (ขั้นตอนที่ 2)
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรชุดเดียว
สถิติที่ใชทดสอบ (ขั้นตอนที่ 5)
ตารางที่ 9.2 (ตอ) การทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอร
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
263
H0 : µ1 – µ2 = d0
สมมติฐานหลัก (ขั้นตอนที่ 1)
1. X1 และ X2 มีการแจกแจงอื่นๆ 2. ไมทราบ σ21, σ22 3. n1 ≥ 30 และ n2 ≥ 30
1. X1 และ X2 มีการแจกแจงอื่นๆ 2. ทราบ σ21, σ22 3. n1 ≥ 30 และ n2 ≥ 30
1. X1 และ X2 มีการแจกแจงปกติ 2. ไมทราบ σ21, σ22 แตรูวา σ21 ≠ σ22 3. n1 < 30 และ n2 < 30
เงื่อนไขของเหตุการณ
เมื่อ ν =
(X1 – X2) – d0 S21/n1 + S22/n2
Z=
Z=
(X1 – X2) – d0 S21/n1 + S22/n2
(X1 – X2) – d0 σ21/n1 + σ22/n2
[(S12/n1) + (S22/n2)]2 [(S12/n1)2/(n1 – 1)] + [(S22/n2)2/(n2 – 1)]
t=
H1 : µ1 – µ2 ≠ d0 H1 : µ1 – µ2 > d0 H1 : µ1 – µ2 < d0
H1 : µ1 – µ2 ≠ d0 H1 : µ1 – µ2 > d0 H1 : µ1 – µ2 < d0
สมมติฐานทางเลือก (ขั้นตอนที่ 2)
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรสองชุด
สถิติที่ใชทดสอบ (ขั้นตอนที่ 5)
ตารางที่ 9.2 (ตอ) การทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอร
Z > Zα/2 และ Z < –Zα/2 Z > Zα Z < –Zα
t > tα/2, ν และ t < – tα/2, ν t > tα, ν t < –tα, ν
บริเวณวิกฤติ (ขั้นตอนที่ 4)
264 สถิติวิศวกรรม
H0 : p1 – p2 = d0
X1 และ X2 มีการแจกแจงปกติ
H0 : σ21 = σ22
1. X1 ∼ b(x; n1, p1) และ X2 ∼ b(x; n2, p2) 2. n1 ≥ 30 และ n2 ≥ 30
เงื่อนไขของเหตุการณ
สมมติฐานหลัก (ขั้นตอนที่ 1)
Z=
p^ 1 – p^ 2 1
2
x +x ; p^ = n1 + n2
p^ 1(1 – p^ 1)/n1 + p^ 2(1 – p^ 2)/n2
(p^ 1 – p^ 2) – d0
p^ (1 – p^ )(1/n1 + 1/n2)
กรณี d0 ≠ 0
Z=
กรณี d0 = 0
เมื่อ ν1 = n1 – 1 และ ν2 = n2 – 1
S2 F = 12 S2
H1 : p1 – p2 ≠ d0 H1 : p1 – p2 > d0 H1 : p1 – p2 < d0
H1 : σ21 > σ22 H1 : σ21 < σ22
H1 : σ21 ≠ σ22
สมมติฐานทางเลือก (ขั้นตอนที่ 2)
กรณีสุมตัวอยางจากประชากรสองชุด
สถิติที่ใชทดสอบ (ขั้นตอนที่ 5)
ตารางที่ 9.2 (ตอ) การทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอร
Z > Zα/2 และ Z < – Zα/2 Z > Zα Z < – Zα
F > Fα/2, n1 – 1, n2 – 1 และ F < F1 – α/2, n1 – 1, n2 – 1 F > Fα, n1 – 1, n2 – 1 F < F1 – α, n1 – 1, n2 – 1
บริเวณวิกฤติ (ขั้นตอนที่ 4)
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
265
266
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 9.1 การเผาไหมเชื้อเพลิงของจรวด ตามมาตรฐานกําหนดใหมีอัตราเผาไหมเฉลี่ย
40 cm/s ถาทราบคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราการเผาไหมเทากับ 2 cm/s วิศวกรอากาศยาน (Aeronautical Engineer) ทดสอบการเผาไหมของเชื้อเพลิงจํานวน 25 ตัวอยาง พบอัตราการเผา ไหม 41.25 cm/s ที่ระดับนัยสําคัญ α = 0.05 จงทดสอบวาอัตราการเผาไหมเปนไปตามที่กําหนด หรือไม กําหนดใหอัตราการเผาไหมมีการแจกแจงปกติ
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ จรวด ตัวแปรสุม X คือ อัตราการเผาไหมของเชื้อเพลิง (cm/s) X ∼ N(40, 22) 1. H0 : µ = 40 2. H1 : µ ≠ 40 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติ Z > Z0.025 และ Z < –Z0.025 ∴ Z > 1.96 และ Z < –1.96 X–µ 5. คาสถิติ Z = σ/ n0 = 41.25 – 40 = 3.125 2/ 25 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 อัตราการเผาไหมของจรวดไมเปนไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว
ตัวอยางที่ 9.2 แบตเตอรีน่ กิ เกิล–ไฮโดรเจน (Ni–H) ใชแผนนิกเกิลเปนขัว้ บวก (Anode) คุณสมบัติ
สําคัญคือผิวพรุนของแผน (Plate’s Porosity) ซึ่งจะคอยควบคุมการสัมผัสกันระหวางขั้วบวกกับ ตัวเรงปฏิกริ ยิ าโปแตสเซียมไฮดรอกไซด โดยทัว่ ไปผูผ ลิตเซลลแบตเตอรีจ่ ะกําหนดผิวพรุนที่ 80% ขึน้ ไปเปนคามาตรฐาน เพือ่ ทดสอบคาผิวพรุนจึงสุม แผนนิกเกิลจํานวน 10 แผน ไดผลของคาผิวพรุน ดังนี้ 79.1, 79.5, 79.3, 79.3, 78.8, 79.0, 79.2, 79.7, 79.0, 79.2% จงทดสอบขอสมมติฐานวา การผลิตเซลลแบตเตอรีย่ งั คงมีคณ ุ ลักษณะตามทีก่ าํ หนดหรือไม ดวยระดับนัยสําคัญ 0.05 กําหนด คาผิวพรุนมีการแจกแจงปกติ
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
267
วิธีทํา
ประชากรและกลุมตัวอยางคือ เซลลแบตเตอรี่ Ni–H ตัวแปรสุม X คือ คาผิวพรุนของแผนนิกเกิล (%) 1. H0 : µ = 80 2. H1 : µ < 80 3. α = 0.05 –t0.05, 9 ∴ < –1.833 X–µ 5. คาสถิติ t = S/ n0 = 79.21 – 80 = –9.60 0.26/ 10 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 การผลิตเซลลแบตเตอรี่ไมไดคาผิวพรุนของแผนนิกเกิลตามคุณลักษณะที่กําหนด 4. บริเวณวิกฤติ
t t
t0.005, 31 และ t < –t0.005, 31 ∴ t > 2.75 และ t < –2.75 D–d 5. คาสถิติ t = S / n0 D = –7.10 – 0 = –13.212 3.04/ 32 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 วิธีผสมมีผลตอการใหคาออกเทนที่แตกตางกัน
ตัวอยางที่ 9.4 วัสดุ Carbon Fiber เปนวัสดุทางวิศวกรรมชั้นสูงที่สังเคราะหจากกระบวนการ
ทางเคมีในอุณหภูมิสูง โดยทําใหเกิดการจัดเรียงตัวของโมเลกุลคารบอนเปนเสนยาวและมี ความแข็งแรงสูง เสนใย Carbon Fiber มีความสามารถรับแรงดึงไดสูงสุด (Breaking Strength) ไมตํ่ากวา 1.2 GPa เมื่ออางอิงจากขอมูลในอดีต พบวาจะมี 10% ของเสนใยไฟเบอรที่มีคุณสมบัติ ไมเปนไปตามกําหนด วิศวกรสิ่งทอจึงสุมตัวอยางเสนใยจํานวน 100 ตัวอยางมาทดสอบ พบวามี 6 ตัวอยางทีค่ วามสามารถรับแรงดึงไดสงู สุดมีคา ตํา่ กวามาตรฐาน จงสรุปผลภายใตระดับนัยสําคัญ 0.01 วาคํากลาวอางนั้นถูกตองหรือไม
วิธีทํา
ประชากรและกลุมตัวอยางคือ เสนใย Carbon Fiber ตัวแปรสุม X คือ คาความสามารถรับแรงดึงไดสูงสุด (GPa) 1. H0 : p = 0.10 2. H1 : p ≠ 0.10
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
3. α = 0.01 4. บริเวณวิกฤติ ∴
5. คาสถิติ
269
Z > Z0.005 และ Z < –Z0.005 Z > 2.575 และ Z < –2.575 p^ – p0 Z = p0q0/n =
0.06 – 0.10 = –1.33 0.10(0.90)/100
6. สรุปผล ยอมรับ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 คํา อา งวา มี 10% ของเสน ใยไฟเบอรที่มีคุณ สมบัติไมเปน ไปตามกํา หนดนั้น เปน จริง
ตัวอยางที่ 9.5 ในการบรรจุผงซักฟอกชนิดเหลวลงขวดตามปริมาตรทีก่ าํ หนด ถาความแปรปรวน
ของปริมาตรเกิน 0.01 ออนซ2 จะไมผานการตรวจสอบคุณภาพ เพราะมีผงซักฟอกที่ปริมาตร ตํ่าหรือเกินกวามาตรฐานกําหนดอยู ดังนั้น พนักงานบรรจุจึงทดสอบดวยตัวอยางผงซักฟอก จํานวน 20 ขวด พบวามีความแปรปรวน 0.0153 ออนซ2 หากทราบวาปริมาตรของผงซักฟอก มีการแจกแจงปกติ จงทดสอบวากระบวนการบรรจุผงซักฟอกนี้มีความแปรปรวนตามขอกําหนด หรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ผงซักฟอกชนิดเหลวบรรจุขวด ตัวแปรสุม X คือ ปริมาตรการบรรจุ (ออนซ) 1. H0 : σ2 = 0.01 2. H1 : σ2 > 0.01 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติ χ2 > χ20.05, 19 ∴ χ2 > 30.14
270
สถิติวิศวกรรม
χ2
5. คาสถิติ
2 = (n – 1)S 2 σ0
=
19(0.0153) = 29.07 0.01
6. สรุปผล ยอมรับ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 กระบวนการบรรจุผงซักฟอกนี้มีความแปรปรวนตามขอกําหนด
ตัวอยางที่ 9.6 ปริมาณความรอนที่ผลิตไดจากถานหิน 2 ชนิด ซึ่งมีคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน σ1 = 125.5 ลานแคลอรี่/ตัน และ σ2 = 104.5 ลานแคลอรี่/ตัน ผูประกอบการอางวาปริมาณความ
รอนจากถานหินชนิดแรกมากกวาชนิดที่สองอยู 300 ลานแคลอรี่/ตัน ในการทดสอบขออางดัง กลาว ไดมีการสุมถานหินชนิดแรก 15 ตัวอยาง พบวามีคาความรอนเฉลี่ย 8230 ลานแคลอรี่/ตัน และสุมถานหินชนิดที่สอง 20 ตัวอยาง พบวามีคาความรอนเฉลี่ย 7940 ลานแคลอรี่/ตัน จงทดสอบสมมติฐานวาปริมาณความรอนที่ผลิตไดจากถานหินชนิดแรกมากกวาชนิดที่สองอยู 300 ลานแคลอรี่/ตัน ตามขอกลาวอางภายใตระดับนัยสําคัญ 0.025
วิธีทํา
ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ถานหิน ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ ปริมาณความรอนที่ผลิตไดจากถานหินชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 (ลานแคลอรี่/ตัน) 1. H0 : µ1 – µ2 = 300 2. H1 : µ1 – µ2 ≠ 300 3. α = 0.025 4. บริเวณวิกฤติ Z > Z0.0125 และ Z < –Z0.0125 ∴
5. คาสถิติ
Z > 2.24 และ Z < –2.24 (X – X ) – d Z = 1 2 0 σ21/n1 + σ22/n2 (8230 – 7940) – 300 = = –0.25 (125.52/15) + (104.5 2/20)
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
271
6. สรุปผล ยอมรับ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.025 ปริมาณความรอนที่ผลิตไดจากถานหินชนิดแรกมากกวาชนิดที่สองอยู 300 ลาน แคลอรี่/ตัน
ตัวอยางที่ 9.7 ทีมวิจยั ของโรงงานแปงมันสําปะหลังแหงหนึง่ ศึกษาเรือ่ งนํา้ เสียทีไ่ ดจากกระบวน
การผลิตแปงวามีศักยภาพสูงในการผลิตแกสชีวภาพ จึงทําการวิจัยเปรียบเทียบกัน 2 ระบบคือ มีระบบแกสชีวภาพ และไมมรี ะบบแกสชีวภาพ เพือ่ วัดศักยภาพการผลิตแกส จึงทําการเก็บขอมูล ทั้ง 2 ระบบจํานวน 100 hr พบวาตนแบบที่ 1 (มีระบบแกสชีวภาพ) และตนแบบที่ 2 (ไมมีระบบ แกสชีวภาพ) มีศักยภาพการผลิตแกสชีวภาพเฉลี่ย 834 และ 585 m3/hr ตามลําดับ และมีคา เบี่ยงเบนมาตรฐาน 34.2 และ 28.6 m3/hr ตามลําดับ จงทดสอบวาโรงงานแปงมันสําปะหลังควร จะติดตั้งระบบแกสชีวภาพหรือไม ภายใตระดับนัยสําคัญ 0.10
วิธีทํา
ประชากรและกลุมตัวอยางคือ โรงงานแปงมันสําปะหลัง ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ ศักยภาพการผลิตแกสที่ไดจากมีระบบแกสชีวภาพและไมมี ระบบแกสชีวภาพ (m3/hr) 1. H0 : µ1 = µ2 2. H1 : µ1 > µ2 3. α = 0.10 4. บริเวณวิกฤติ Z > Z0.10 ∴ Z > 1.28 (X1 – X2) – d0 5. คาสถิติ Z = S21/n1 + S22/n2 (834 – 585) – 0 = 55.85 34.22/100 + 28.62/100 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.10 ศักยภาพการผลิตแกสชีวภาพของตนแบบที่ 1 สูงกวาตนแบบที่ 2 โรงงาน ควรจะติดตั้ง ระบบแกสชีวภาพ =
272
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 9.8 การผลิตเสนใยจะผานเครื่องรีดซึ่งใชแรงกดที่ลูกกลิ้ง (Roller) 10 และ 20 lb/in2 ปริมาณแรงกดที่แตกตางกันอาจสงผลตอคุณสมบัติการดูดซับความชื้นของเสนใย (% Water Pickup) วิศวกรทําการสุมตัวอยางเสนใยเพื่อทดสอบดวยปริมาณแรงกดอยางละ 15 ตัวอยาง แลววัดผลการดูดซับความชื้น ไดผลดังนี้ แรงกด 10 lb/in2 : 51.8, 61.8, 57.3, 54.5, 64.0, 59.5, 61.2, 64.9, 54.5, 70.2, 59.1, 55.8, 65.4, 60.4, 56.7 แรงกด 20 lb/in2 : 55.6, 44.6, 46.7, 45.8, 49.9, 51.9, 44.1, 52.3, 51.0, 39.9, 51.6, 42.5, 45.5, 58.0, 49.0 จงทดสอบขอสมมติฐานวาแรงกดนอยจะใหเสนใยทีม่ กี ารดูดซับความชืน้ มาก ภายใตระดับ นัยสําคัญ 0.05 ถาทราบวาความแปรปรวนของการดูดซับความชื้นเทากัน
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ เสนใย ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ การดูดซับความชืน้ ของเสนใยเมือ่ ใชแรงกด 10 และ 20 lb/in2 (%) 1. H0 : µ1 = µ2 2. H1 : µ1 > µ2 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติ t > t0.05, 28 เมื่อ ν = n1+ n2 – 2 = 28 ∴ t > 1.701 (X – X ) – d 5. คาสถิติ t = 1 2 0 Sp 1/n1 + 1/n2 =
(59.807 – 48.560) – 0 = 6.201 4.967 1/15 + 1/15
14(4.943)2 + 14(4.991)2 = 4.967 28 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 แรงกดนอยจะใหเสนใยที่มีการดูดซับความชื้นมาก เมื่อ
Sp =
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
273
ตัวอยางที่ 9.9 การวิจัยเรื่องความเร็วในการสงผานกระแสประสาทของเสนประสาทในสมอง ของมนุษยวามีความเกี่ยวของกับภาวะความปกติของเสนประสาทหรือไม นักวิจัยจึงสุมตัวอยาง คนไขปกติและคนไขที่มีภาวะผิดปกติของเสนประสาทกลุมละ 32 คน และ 27 คน ตามลําดับ เพื่อ ทําการวัดความเร็วของการสงผานกระแสประสาทวาแตกตางกันหรือไม ปรากฏผลดังตารางที่ 9.4 ตารางที่ 9.4 ความเร็วของการสงผานกระแสประสาทในกลุมคนไขปกติและผิดปกติ ความเร็วเฉลี่ย (m/s)
คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (m/s)
คนไขปกติ
53.994
0.974
คนไขที่มีภาวะผิดปกติของเสนประสาท
48.594
2.490
กลุมตัวอยาง
จงทดสอบขอสมมติฐานภายใตระดับนัยสําคัญ 0.05 ถาทราบวาคาความแปรปรวนของ ความเร็วในการสงผานกระแสประสาทของกลุมคนไขทั้งสองกลุมไมเทากัน
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ คนไข ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ ความเร็วของการสงผานกระแสประสาท (m/s) 1. H0 : µ1 = µ2 2. H1 : µ1 ≠ µ2 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติ t > t0.025, 33 และ t < –t0.025, 33 เมื่อ
ν
=
[(S12/n1) + (S22/n2)]2 [(S12/n1)2/(n1 – 1)] + [(S22/n2)2/(n2 – 1)]
= 32.69 ≈ 33 ∴ t > 2.042 และ t < –2.042
274
สถิติวิศวกรรม
5. คาสถิติ
t = =
(X1 – X2) – d0
S21/n1 + S22/n2
(53.994 – 48.594) – 0 = 10.61 (0.9742/32) + (2.4902/27)
6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ความเร็วในการสงผานกระแสประสาทมีความเกีย่ วของกับภาวะความปกติของเสนประสาท
ตัวอยางที่ 9.10 การใชงานของระบบ FCC (Fire Control Computer) สําหรับอาวุธอากาศ
สูพ นื้ 2 ระบบทีแ่ ตกตางกันถูกนํามาทดสอบความแมนยํา ระบบที่ 1 ยิงโดนเปาหมาย 250 ครัง้ จาก 300 ครั้ง ขณะที่ระบบที่ 2 โดน 178 ครั้งจาก 260 ครั้ง จากผลการทดสอบดังกลาว จะสรุปไดหรือ ไมวาระบบ FCC ทั้งสองระบบมีความแมนยําแตกตางกัน ภายใตระดับนัยสําคัญ 0.05
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ระบบ FCC ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ จํานวนครัง้ ของการยิงโดนเปาหมายของระบบที่ 1 และที่ 2 (ครัง้ ) 1. H0 : p1 = p2 2. H1 : p1 ≠ p2 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติ Z > Z0.025 และ Z < –Z0.025 ∴ Z > 1.96 และ Z < –1.96 p^1 – p^2 5. คาสถิติ Z = p^ (1 – p^)[(1/n1) + (1/n2)] = เมื่อ
(250/300) – (178/260) = 4.13 0.7643(0.2357) [(1/300) + (1/260)]
+ 178 p^ = 250 300 + 260 = 0.7643
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
275
6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ระบบ FCC ทั้งสองระบบมีความแมนยําแตกตางกัน
ตัวอยางที่ 9.11 ผูผลิตครีบใบพัด (Impeller) ที่ใชกับเครื่องยนตไอพน (Jet Engine) ใหความ
สําคัญกับกระบวนการเจียผิวของสวนประกอบไทเทเนียมอัลลอย ในโรงงานมีการใชกระบวนการ เจียผิว 2 แบบที่แตกตางกัน วิศวกรการผลิตจะทําการวัดคาความหยาบของผิวชิ้นงานที่ได โดย ตั้งสมมติฐานไววา ความแปรปรวนของความหยาบผิวจากทั้งสองกระบวนการไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เพื่อทดสอบสมมติฐานนี้วาเปนจริงหรือไม วิศวกรจึงสุมตัวอยางครีบใบพัดที่ผลิต จากกระบวนการเจียผิวแบบที่ 1 จํานวน 11 ชิ้นสวน วัดคาเบี่ยงเบนมาตรฐานได 5.1 µin จาก กระบวนการเจียผิวแบบที่ 2 จํานวน 16 ชิ้นสวน วัดคาเบี่ยงเบนมาตรฐานได 4.7 µin จงทดสอบ สมมติฐานภายใตระดับนัยสําคัญ 0.10
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ครีบใบพัด ตัวแปรสุม X1 และ X2 คือ คาความหยาบผิวของสวนประกอบไทเทเนียมอัลลอยที่ไดจาก กระบวนการเจียผิวแบบที่ 1 และ 2 (µin) 1. H0 : σ12 = σ22 2. H1 : σ12 ≠ σ22 3. α = 0.10 4. บริเวณวิกฤติ F > F0.05, 10, 15 และ F < F0.95, 10, 15 ∴ F > 2.54 และ F < 0.35 S2 5. คาสถิติ F = 12 S2 (5.12) = 1.178 = (4.72) 6. สรุปผล ยอมรับ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.10 ความแปรปรวนของความหยาบผิวจากทั้งสองกระบวนการไมแตกตางกัน
276
สถิติวิศวกรรม
3. คา P – Value ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอรในสวนของการสรุปผลวา จะปฏิเสธหรือ ยอมรับสมมติฐานหลัก H0 นัน้ จะพิจารณาจากคาสถิตซิ งึ่ คํานวณจากกลุม ตัวอยางมาเปรียบเทียบ กับคาวิกฤติดงั รูปที่ 9.1 ถาคาสถิตมิ คี า มากกวาหรือเทากับคาสัมบูรณของคาวิกฤติ (หรือตกอยูใ น บริเวณวิกฤติ) จะปฏิเสธ H0 แตถา คาสถิตมิ คี า นอยกวาคาสัมบูรณของคาวิกฤติ (หรือตกอยูใ นบริเวณ ยอมรับ) จะยอมรับ H0 ตัวอยางเชน การทดสอบสมมติฐานสองทางของการแจกแจง Z จะไดวา Z0
≥ | Zα/2 |
สรุปผล ปฏิเสธ H0
Z0
< | Zα/2 |
สรุปผล ยอมรับ H0
อีกวิธีหนึ่งที่ใชในการสรุปผลคือ พิจารณาคา P – Value ที่ไดจากกลุมตัวอยางมาเปรียบ เทียบกับระดับนัยสําคัญ α คา P – Value เปนคาความนาจะเปนนอยทีส่ ดุ ทีท่ าํ ใหปฏิเสธสมมติฐาน หลัก H0ได ซึ่งจะเปนความนาจะเปนที่สอดคลองกับคาสถิติที่คํานวณจากกลุมตัวอยาง โปรแกรม วิเคราะหทางสถิติโดยสวนใหญจะแสดงผลวิเคราะหทั้งคาสถิติและคา P – Value การเทียบคา P – Value กับ α จะสะดวกตอการสรุปผลมากกวา เพราะไมตองเปดตารางสถิติเพื่อหาคาวิกฤติ มาเปรียบเทียบ ถาคา P – Value มีคานอยกวาหรือเทากับระดับนัยสําคัญ α จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 ถาคา P – Value มีคามากกวาระดับนัยสําคัญ α จะยอมรับสมมติฐานหลัก H0 คา P – Value จะสอดคลองกับพื้นที่ใตกราฟหรือความนาจะเปนของคาสถิติ ตัวอยาง เชน การแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน Z สามารถคํานวณหาคา P – Value ที่สอดคลองกับคาสถิติ Z0 ไดดังนี้ P – Value = 2 [1 – Φ (| Z0 | ) ] สําหรับการทดสอบสมมติฐานแบบสองทาง (Two–Tailed Test) = 1 – Φ (Z0) สําหรับการทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียวดานบน (Upper–Tailed Test) = Φ (Z0) สําหรับการทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียวดานลาง (Lower–Tailed Test) เมื่อ Φ (Z0) = P(Z ≤ Z0) ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงปกติมาตรฐาน N(0, 1)
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
Z = –1.96
คาสถิติเทียบกับคาวิกฤติ H0 : µ = 35 H1 : µ ≠ 35 ระดับนัยสําคัญ = 0.05 ขอมูลของกลุมตัวอยาง = 33.6 คาสถิติ Z0 = –2.47 Z = 1.96
Z0 = –2.47 สรุปผล เนื่องจากคาสถิติ z0 = (–2.47) มีคานอยกวา คาวิกฤติ Z = (–1.96) จึงปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0
277
คา P–Value เทียบกับคา α
α=0.025
H0 : µ = 35 H1 : µ ≠ 35 ระดับนัยสําคัญ = 0.05 ขอมูลของกลุมตัวอยาง = 33.6 คาสถิติ Z0 = –2.47 α=0.025
คา P–Value = 2 × 0.0068 = 0.0136 (สําหรับการทดสอบแบบสองทาง) สรุปผล เนื่องจากคา P–Value มีคานอยกวาระดับนัยสําคัญ α = 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0
รูปที่ 9.2 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานดวยคาสถิติ Z0 หรือคา P – Value ที่มา : http://mips.stanford.edu/courses/stats_data_analsys/
จากรูปที่ 9.2 เปนการทดสอบสมมติฐานแบบสองทาง คาสถิติ Z0 = –2.47 จะใหคา P – Value = 2 [1 – Φ ( | –2.47 | ) ] = 2(0.0068) = 0.0136 ซึ่งเมื่อเทียบกับระดับนัยสําคัญ α = 0.05 พบวา P – Value < α จึงสรุปไดวา ปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 อีกวิธีหนึ่งคือ เทียบคา สถิติ Z0 = –2.47 กับคาวิกฤติ Z = –1.96 ซึ่งจะใหผลสรุปที่เหมือนกัน
4. ประเภทของความผิดพลาดที่พบจากการทดสอบสมมติฐาน (Types of Error) การตัดสินใจทีจ่ ะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 นัน้ จะพิจารณาจากคาสถิตทิ คี่ าํ นวณ ไดจากกลุมตัวอยาง ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจได ประเภทของความผิด พลาดที่พบจากการทดสอบสมมติฐานแบงเปน 2 ประเภทคือ
1. ความผิดพลาดแบบที่หนึ่ง (Type I Error) เปนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดย
การปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 ทั้งๆ ที่ H0 เปนจริง กําหนดใหระดับนัยสําคัญ นาจะเปนของความผิดพลาดแบบที่หนึ่ง
α
แทนคาความ
2. ความผิดพลาดแบบที่สอง (Type II Error) เปนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดย
การยอมรับสมมติฐานหลัก H0 ทั้งๆ ที่ H0 เปนเท็จ กําหนดให β แทนคาความนาจะเปนของความ ผิดพลาดแบบที่สอง
278
สถิติวิศวกรรม
α
= P(Type I Error) = P(Reject H0 | H0 is True)
β
= P(Type II Error) = P(Fail to Reject H0 | H0 is False)
การยอมรับสมมติฐานหลักจะใช “Fail to Reject H0” แทนที่จะใช “Accept H0” เพราะ เปนการสรุปผลจากหลักฐานที่มีอยูซึ่งยังไมเพียงพอที่จะปฏิเสธ H0 ได (Insufficient Evidence to Reject H0) ดังนัน้ เพือ่ ความถูกตองและแมนยําในการสรุปผล จําเปนตองเก็บรวบรวมขอมูลเพิม่ ขึน้ ตารางที่ 9.5 ประเภทของความผิดพลาดจากการทดสอบสมมติฐาน สรุปผลจากการทดสอบสมมติฐาน
ขอเท็จจริง H0เปนจริง 3
ยอมรับ H0
(1 – α)
ปฏิเสธ H0
Type I Error (α)
7
H0เปนเท็จ 7
Type II Error (β) 3
(1 – β)
คา (1 – β) เรียกวาอํานาจการทดสอบ (Power of the Test) เปนความนาจะเปนที่ปฏิเสธ สมมติฐานโดยที่ H0 เปนเท็จ (1 – β) = Power = P(Reject H0 | H0 is False) อํานาจการทดสอบจะเปนตัววัดความไว (Sensitivity) ของการทดสอบสมมติฐาน โดยจะ บงบอกถึงความสามารถของการทดสอบที่จะตรวจพบความแตกตางที่เกิดขึ้น เชน ความไวที่ จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 เมื่อพบ H0 เปนเท็จ = 0.74 หรือ 74% ที่ตรวจพบเจอเหตุการณ ดังกลาว คาอํานาจการทดสอบยิ่งมีคามากยิ่งดี เพราะจะบงบอกถึงความรวดเร็วในการตรวจพบ แตถาอํานาจการทดสอบมีคานอย ผูวิเคราะหขอมูลควรเพิ่มคาระดับนัยสําคัญ α และ/หรือขนาด ของกลุมตัวอยาง n ใหมากขึ้น
4.1 ความนาจะเปนของความผิดพลาดแบบที่สอง ( )
ความนาจะเปนของความผิดพลาดแบบทีห่ นึง่ จะถูกกําหนดโดยผูว เิ คราะหขอ มูลวาตองการ ทดสอบภายใตระดับนัยสําคัญ α เทาใด สวนความนาจะเปนของความผิดพลาดแบบที่สองจะขึ้น กับขนาดของกลุมตัวอยาง
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
279
ตัวอยางของการคํานวณคา β เชน การทดสอบสมมติฐานแบบสองทางของคาเฉลี่ย H0 : µ =
µ0
H1 : µ ≠ µ0 สมมติวาสมมติฐานหลัก H0 เปนเท็จ และคาที่แทจริงของคาเฉลี่ยคือ µ = µ0 + δ โดยที่ δ > 0 ดังนั้น คาสถิติ X – µ0 X – (µ0 + δ) δ n = + σ Z0 = σ/ n σ/ n การแจกแจงของคาสถิติ Z0 เมื่อ H1 เปนจริงคือ Z0
∼
N
( δ σ n , 1)
ซึ่งการแจกแจงของคาสถิติ Z0 ภายใตสมมติฐานหลัก H0 และสมมติฐานทางเลือก H1 แสดงดังรูปที่ 9.3 ภายใต H0 : µ = µ0 ภายใต H1 : µ ≠ µ0 N(0, 1)
N
α
2
(
δ σ
n
)
,1
β
–Zα/2
0
Zα/2
δ σ
n
Z0
รูปที่ 9.3 การแจกแจงคาสถิติ Z0 ภายใตสมมติฐานหลัก H0 และสมมติฐานทางเลือก H1 ที่มา : Hines et al. 2003.
จากรูปที่ 9.3 ถา H1 เปนจริง ความผิดพลาดแบบทีส่ องจะเกิดขึน้ ในชวง –Zα/2 ≤ Z0 ≤ Zα/2 δ n โดยที่ Z0 ∼ N σ , 1 ดังนั้น ความนาจะเปนของความผิดพลาดแบบที่สอง หรือ β จะเทากับ ความนาจะเปนที่คา Z0 ตกอยูระหวาง –Zα/2 และ Zα/2 เมือ่ H1 เปนจริง (สวนที่แรเงาในรูป) นั่นคือ
(
)
280
สถิติวิศวกรรม
β
=
(
Φ Zα/2 –
δ
σ
n
) – Φ(–Z /2 – δ σ n ) α
ตัวอยางเชน ตองการทดสอบ H0 : µ = 50 และ H1 : µ ≠ 50 กําหนดให σ = 2.5 สุมตัวอยางขนาด n = 10 ระดับนัยสําคัญ α = 0.0574 จะไดบริเวณ วิกฤติคือ X > 51.5 และ X < 48.5 ดังรูปที่ 9.4 α
= P(X < 48.5 เมื่อ
µ
= 50) + P(X > 51.5 เมื่อ µ = 50)
คาของ Z ที่สัมพันธกับคาวิกฤติ 48.5 และ 51.5 คือ Z1 = 48.5 – 50 = (– 1.90) และ Z2 = 51.5 – 50 = 1.90 2.5/ 10 2.5/ 10 ดังนั้น α = P(Z < –1.90) + P(Z > 1.90) = 0.0287 + 0.0287 = 0.0574 N(0, 1)
α/2 = 0.0287
48.5
α/2 = 0.0287 µ = 50
51.5
X
บริเวณวิกฤติ α/2 –1.90
บริเวณ ยอมรับ 0
บริเวณวิกฤติ α/2 1.90
Z0
รูปที่ 9.4 ความผิดพลาดแบบที่หนึ่ง ที่มา : Hines et al. 2003. and Montgomery & Runger. 2003.
เพื่อจะคํานวณคา β จะตองระบุคาของ µ ที่ทําใหสมมติฐานทางเลือก H1 เปนจริงเสีย กอน สมมติวาจะปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 : µ = 50 ถาพบวา µ ≥ 52 ดังนั้น ความผิดพลาด แบบที่สองจะเกิดขึ้นในชวง 48.5 ≤ X ≤ 51.5 เมื่อ µ = 52 นั่นคือ = P(48.5 ≤ X ≤ 51.5 เมื่อ µ = 52) ขณะที่ µ = 52 คาของ Z เมื่อ X = 48.5 และ 51.5 จะเทากับ Z1 = 48.5 – 52 = –4.43 2.5/ 10 β
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
281
Z2 = 51.5 – 52 = –0.63 2.5/ 10 β = P(–4.43 ≤ Z ≤ –0.63)
และ ดังนั้น
= P(Z ≤ –0.63) – P (Z ≤ –4.43) = 0.2643 – 0 = 0.2643 จากรูปที่ 9.5 การแจกแจงของคาสถิติ Z0 เมื่อ H1 เปนจริง คือ Z0 ∼ N(2.53, 1) δ
ความนาจะเปน
โดยคาเฉลี่ย 2.53 ไดจาก
σ
n
=
2 10 2.5 = 2.53
0.6 ภายใต H0 : µ = 50 ภายใต H1 : µ = 52 0.5 0.4
ภายใต H0 : µ = 50 ภายใต H1 : µ = 52
N(0, 1)
0.3
N(2.53, 1)
0.2 0.1 0
β
46
48
50
x
52
54
–1.90
56
0
1.90 2.53
Z0
รูปที่ 9.5 ความผิดพลาดแบบที่สอง
ที่มา : Hines et al. 2003. and Montgomery & Runger. 2003.
4.2 ขนาดตัวอยางที่เหมาะสม (Sample Size)
ความผิดพลาดแบบที่สองขึ้นอยูกับขนาดตัวอยางที่สุมมาทดสอบดวย ในทางกลับกัน สามารถหาขนาดตัวอยางที่เหมาะสมได ถากําหนดคา β, α และ δ ตามที่ตองการ δ n δ n จาก β = Φ Zα/2 – σ – Φ –Zα/2 – σ ถา δ > 0 δ n จะได β ∼ Φ Zα/2 – σ
(
) (
)
( ) δ n เพราะวาพจนหลัง Φ(–Z /2 – σ ) ∼ 0 เมื่อ δ มีคาเปนบวก α
กําหนดให Zβ เปนคาเปอรเซ็นไทลดานบน (Upper Percentile) ของการแจกแจงปกติ มาตรฐาน ดังนั้น β = Φ (–Zβ) จะไดวา
282
สถิติวิศวกรรม
∴
Zβ
∼
ขนาดตัวอยางที่เหมาะสม n
∼
เมื่อ ∴
δ
=
δ
=
δ
σ
n
(Zα/2 + Zβ)2σ2 δ2
µ – µ0 (สําหรับการทดสอบสมมติฐานสองทาง)
ขนาดตัวอยางที่เหมาะสม n
เมื่อ
Zα/2 –
∼
(Zα + Zβ)2σ2 δ2
µ – µ0 (สําหรับการทดสอบสมมติฐานทางเดียว)
ตัวอยางเชน การทดสอบสมมติฐานสองทาง H0 : µ = 50 และ H1 : µ ≠ 50 ถาผูวิเคราะห
ขอมูลตองการทราบขนาดตัวอยางที่เหมาะสมเมื่อคาเฉลี่ยที่แทจริงแตกตางเดิม (H0 : µ = 50) เทากับ 2 และการทดสอบมีความไวในการตรวจจับความแตกตางนี้ดวยความนาจะเปน 0.90 กําหนดคา σ = 2.5 และ α = 0.05 จากขอมูลขางตน ทําใหทราบวา 1 – β = 0.90 ∴ β = 0.10 Zβ = Z0.10 = 1.28 และ ∴
δ
ขนาดตัวอยางที่เหมาะสม n
= 52 – 50 = 2 (Zα/2 + Zβ)2σ2
∼ ∼
δ2
(1.96 + 1.28)2 2.52 22
∼ 16.4 ∼
17 ตัวอยาง
5. ความสัมพันธระหวางการทดสอบสมมติฐาน และการประมาณคาพารามิเตอร การทดสอบสมมติฐานมีความเชื่อมโยงกับการประมาณคาพารามิเตอรในบทที่ 8 นั่นคือ ถา [L, U] เปนการประมาณคาแบบชวง 100(1 – α)% ของพารามิเตอร θ ดังนั้น การทดสอบ สมมติฐาน H0 : θ = θ0 และ H1 : θ ≠ θ0 จะใหขอสรุปวาปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 ถาคาสถิติ θ0 ไมอยูในชวงความเชื่อมั่น [L, U] จากตัวอยางที่ 9.1 เปนการทดสอบสมมติฐาน H0 : µ = 40 และ H1 : µ ≠ 40 ระดับนัย สําคัญ α = 0.05 ดังนั้น ชวงความเชื่อมั่น 100(1 – 0.05)% หรือ 95% ของพารามิเตอร µ หา
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
283
จาก X ± Zα/2 (σ/ n ) ไดเทากับ [40.466, 42.034] จะพบวาคาสถิติ µ0 = 40 ไมอยูในชวง ความเชื่อมั่นดังกลาว จึงใหขอสรุปเปนปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 ซึ่งสรุปตรงกันกับการทดสอบ สมมติฐาน รูปที่ 9.6 แสดงถึงความสัมพันธระหวางการทดสอบสมมติฐานกับการประมาณคาพารามิเตอร ทั้งแบบสองทางและแบบทางเดียว ดวยตัวอยางของการแจกแจงแบบ t พบวาชวงความเชื่อมั่นจะ เปนขอบเขตเดียวกับบริเวณยอมรับของการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งเปนบริเวณที่ P – Value ≥ α ปฏิเสธ H0 P – Value < α
H0 : µ = µ0 และ H1 : µ ≠ µ0 ยอมรับ H0 P – Value ≥ α
t s x – α/2, nn– 1
ปฏิเสธ H0 P – Value < α
t s x + α/2, nn– 1 ชวงความเชื่อมั่น (ก) แบบสองทาง x
H0 : µ ≥ µ0 และ H1 : µ < µ0 ปฏิเสธ H0 ยอมรับ H0 P – Value ≥ α P – Value < α x
t s x + α, n –n1
ชวงความเชื่อมั่น (ข) แบบทางเดียวดานลาง
H0 : µ ≤ µ0 และ H1 : µ > µ0 ปฏิเสธ H0 ยอมรับ H0 P – Value < α P – Value ≥ α t s x – α, n –n1
x
ชวงความเชื่อมั่น (ค) แบบทางเดียวดานบน
รูปที่ 9.6 ตัวอยางความสัมพันธระหวางการทดสอบสมมติฐานกับการประมาณคาพารามิเตอร ที่มา : Hayter. 2002.
284
สถิติวิศวกรรม
จากความสัมพันธระหวางการทดสอบสมมติฐานและการประมาณคาพารามิเตอรทกี่ ลาวมา ขางตน จะทําใหเห็นถึงความสัมพันธของ 3 คาคือ ขนาดตัวอยาง n ระดับนัยสําคัญ α และ อํานาจการทดสอบ 1 – β (หรือชวงความเชื่อมั่น (Length of Confidence Interval) ) แสดงดังรูป ที่ 9.7 กําหนดคาเพียง 2 คาจะทําใหทราบคาที่เหลือดวย เชน ในการทดสอบสมมติฐาน กําหนด n และ α จะทําใหทราบคาอํานาจการทดสอบ 1 – β หรือในการประมาณคาพารามิเตอร กําหนด n และ 1 – α จะทําใหทราบชวงความเชื่อมั่น ขนาดตัวอยาง n การทดสอบสมมติฐาน อํานาจการทดสอบ 1 – β
ระดับนัยสําคัญ α ขนาดตัวอยาง n การประมาณคาพารามิเตอร ระดับความเชื่อมั่น 1–α
ชวงความเชื่อมั่น
รูปที่ 9.7 ความสัมพันธระหวาง n, α และอํานาจการทดสอบ (หรือชวงความเชื่อมั่น) ของการทดสอบสมมติฐานและการประมาณคาพารามิเตอร ที่มา : Hayter. 2002.
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
285
แบบฝกหัด 1. จากขอมูลในอดีต ทราบวาการผลิตนํ้ามันชนิดหนึ่งจากนํ้ามันดิบวัดคาผลิตผลเฉลี่ยได 57.4% ควรจะสรุปอยางไรที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ถาสุมตัวอยางนํ้ามันจากการผลิตจํานวน 40 ครั้ง แลววัดคาผลิตผลเฉลี่ยไดเทากับ 59.1% และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.2% (เฉลย : ปฏิเสธ H0 คาผลิตผลเฉลี่ยของนํ้ามันดิบแตกตางจากคาเดิม) 2. ตัวแทนจําหนายวัคซีนของบริษัทที่ 1 อางวาวัคซีนมีอายุการใชงานไดนานกวาของบริษัท ที่ 2 ถาโรงพยาบาลแหงหนึ่งทําการสุมตัวอยางวัคซีนจากบริษัทที่ 1 จํานวน 40 หลอด แลววัดอายุการใชงานเฉลี่ยไดเทากับ 647 hr ดวยคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 27 hr สุม ตัวอยางวัคซีนจากบริษัทที่ 2 จํานวน 40 หลอด วัดอายุการใชงานเฉลี่ยไดเทากับ 638 hr ดวยคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 31 hr จงทดสอบที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 วาอายุการใชงานเฉลี่ย มีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติหรือไม (เฉลย : ยอมรับ H0 อายุการใชงานเฉลี่ยของวัคซีนไมแตกตางกัน) 3. เพื่อตรวจสอบคุณภาพของยางรถยนตที่ผลิตจากโรงงาน 2 แหง โดยวัดระยะวิ่ง (หนวย : ไมล) ไดคาดังนี้ ยางรถยนตผลิตจาก
ระยะวิ่ง (ไมล)
โรงงานที่ 1
8,260 8,130 8,350 8,070 8,340
โรงงานที่ 2
7,950 7,890 7,900 8,140 7,920 7,840
กําหนดใหความแปรปรวนของระยะวิง่ ของยางรถยนตจากโรงงานทั้งสองแหงเทากัน จงทดสอบที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 วาระยะวิ่งของยางรถยนตที่ผลิตจากโรงงานทั้งสองแหง ตางกันหรือไม ถาทราบวาระยะวิ่งมีการแจกแจงปกติ (เฉลย : ปฏิเสธ H0 ระยะวิ่งของยางรถยนตที่ผลิตจากโรงงานทั้งสองแหงไมเทากัน)
286
สถิติวิศวกรรม
4. ตัวชี้วัดคุณภาพของเสนใยฝาย (Cotton Fiber) วัดไดจากความสมํ่าเสมอของเสนใย Uniformity Ratio – UR หนวยจัดซื้อวัดคา UR จากตัวอยางของเสนใยฝาย 2 ยี่หอ ผลดัง ตาราง เสนใยฝาย
จํานวนตัวอยาง
คาเฉลี่ย
ความแปรปรวน
ยี่หอที่ 1
9
42
9
ยี่หอที่ 2
12
50
1
จงทดสอบวาเสนใยฝาย 2 ยี่หอนี้มีคา UR ตางกันหรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ถาทราบวาคาเบี่ยงเบนมาตรฐานของคา UR ของเสนใยฝาย 2 ยี่หอนี้แตกตางกัน และคา UR มีการแจกแจงปกติ (เฉลย : ปฏิเสธ H0 เสนใยฝาย 2 ยี่หอมีคา UR แตกตางกัน) 5. การทดสอบวาอุณหภูมิมีผลตอความแข็งของแทงโลหะหรือไม โดยสุมแทงโลหะจํานวน 12 แทง แลวแบงแตละแทงออกเปน 2 สวน แยกอบในเตาอบที่มีอุณหภูมิ 85 °C และ 100 °C จากนั้นวัดความแข็งของแทงโลหะทั้ง 12 คู ไดผลดังตาราง จงทดสอบวาเปนความจริงหรือ ไมที่จะกลาววาอุณหภูมิไมมีผลตอคาความแข็งของแทงโลหะ อุณหภูมิ
คาความแข็ง (ร็อคเวล)
85 °C
81
79
82
79
83
80
83
81
80
77
74
81
100 °C
76
79
80
75
77
74
76
80
82
79
75
81
(เฉลย : ปฏิเสธ H0 อุณหภูมิมีผลตอความแข็งของแทงโลหะ) 6. วิศวกรโครงสรางตรวจสอบรอยราวของอาคารในชุมชนแหงหนึง่ พบวาเทาทีผ่ า นมามีสดั สวน ของอาคารที่มีรอยราวบงบอกถึงการทรุดตัว 0.02 ถาวิศวกรตรวจสอบอาคารจํานวน 500 แหง พบวามีสัดสวนที่พบรอยราวบงบอกการทรุดตัว 0.01 จงทดสอบวาสัดสวนของอาคาร ที่พบรอยราวบงบอกการทรุดตัวมีสัดสวนที่ลดลงจริงหรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 (เฉลย : ยอมรับ H0 สัดสวนของอาคารที่พบรอยราวบงบอกการทรุดตัวมีคาไมลดลง)
บทที่ 9 การทดสอบสมมติฐาน
287
7. หลอดแกวชนิดหนึง่ ถูกออกแบบใหสามารถทนแรงดันไดตามมาตรฐานทีก่ าํ หนด ผูผ ลิตหลอด แกวอางวาในกระบวนการผลิตเดิมจะพบหลอดแกวชํารุด 10% แตเมือ่ ปรับปรุงกระบวนการ ผลิตใหมแลวคาดวาสัดสวนของหลอดแกวชํารุดจะลดลงเหลือนอยกวา 10% เพื่อพิสูจนขอ กลาวอางดังกลาว ลูกคาจึงทดลองสุมหลอดแกวที่ผลิตดวยกระบวนการใหม 100 หลอด พบวามีหลอดแกวชํารุด 5 หลอด จะสรุปไดหรือไมวากระบวนการผลิตแบบใหมดีกวาแบบ เดิมที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 กระบวนการผลิตแบบใหมดกี วาแบบเดิม) 8. การเปรียบเทียบความสามารถในการตรวจจับบรรจุภัณฑที่ถูกหยอนลงจากเครื่องบิน โดยใชระบบเรดาร 2 ระบบวาแตกตางกันหรือไม ไดทําการทดลองหยอนบรรจุภัณฑจาก เครื่องบินแลวตรวจจับดวยระบบเรดาร พบวาระบบที่ 1 ตรวจพบบรรจุภัณฑ 24 กลองจาก ทั้งหมด 100 กลอง และระบบที่ 2 ตรวจพบบรรจุภัณฑ 31 กลองจากทั้งหมด 100 กลอง จงทดสอบวาเรดารระบบที่ 1 มีประสิทธิภาพดอยกวาระบบที่ 2 ในแงที่วาใหสัดสวนของ บรรจุภัณฑที่ตรวจพบนอยกวาหรือไม ดวยระดับนัยสําคัญ 0.01 (เฉลย : ยอมรับ H0 เรดารระบบที่ 1 มีประสิทธิภาพไมดอยกวาระบบที่ 2) 9. ผูผลิตตัวตานทานไฟฟาชนิดปรับคาได (Variable Resistor) อางวาอัตราการทนกําลัง งานของตัวตานทานชนิดนี้มีการแจกแจงปกติดวยคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.9 W วิศวกร คุณภาพทําการสุมตัวอยางตัวตานทานไฟฟาจํานวน 10 ตัว วัดอัตราการทนกําลังงาน พบ วามีคา เบีย่ งเบนมาตรฐาน 1.2 W จงทดสอบวาคาเบีย่ งเบนมาตรฐานของอัตราการทนกําลัง งานในตัวตานทานไฟฟาชนิดนี้มากกวา 0.9 W หรือไมที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 (เฉลย : ยอมรับ H0 คาเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราการทนกําลังงานไมมากกวา 0.9 W) 10. สุมตรวจสอบตลับลูกปนที่ผลิตจากสายการผลิตที่ 1 จํานวน 5 ชิ้น และจากสายการผลิต ที่ 2 จํานวน 6 ชิ้น แลววัดเสนผานศูนยกลางของตลับลูกปน พบวาความแปรปรวนของ เสนผานศูนยกลางของตลับลูกปนจากสายการผลิตที่ 1 เทากับ 0.00045 m และจากสาย การผลิตที่ 2 เทากับ 0.00039 m จงทดสอบวาความแปรปรวนของเสนผานศูนยกลางตลับ ลูกปนจากสายการผลิตที่ 1 มากกวาจากสายการผลิตที่ 2 หรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 (เฉลย : ยอมรับ H0 ความแปรปรวนของเสนผานศูนยกลางตลับลูกปนจากสายการผลิตที่ 1 ไมมากกวาจากสายการผลิตที่ 2)
288
สถิติวิศวกรรม
11. การทดสอบคาความลาของโลหะที่ใชทําเฟอง 2 แบบ นักโลหะวิทยาไดสุมตัวอยางเฟอง แบบที่ 1 และแบบที่ 2 จํานวน 10 และ 9 ชิ้น ตามลําดับ แลวนําไปวิเคราะหหาคาความลา ของโลหะ ผลดังนี้ คาความลาของโลหะ เฟองแบบที่ 1
3.3 3.7 3.5 4.1 3.4 3.5 4.0 3.8 3.2 3.7
เฟองแบบที่ 2
3.2 3.6 3.1 3.4 3.0 3.4 2.8 3.1 3.3
นักโลหะวิทยาจะสรุปไดหรือไมวา คาความลาของโลหะในเฟองแบบที่ 1 มากกวาใน เฟองแบบที่ 2 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 (คําแนะนํา ใหทดสอบสมมติฐานของความแปรปรวน กอน แลวจึงทดสอบสมมติฐานของคาเฉลี่ย) (เฉลย : ยอมรับ H0 ความแปรปรวนเทากัน, ปฏิเสธ H0 ความลาของโลหะในเฟองแบบที่ 1 มากกวาในเฟองแบบที่ 2) 12. ผูผลิตกระดาษอารตมัน 2 ยี่หอ สงตัวอยางกระดาษมายังบริษัทเพื่อพิจารณาการสั่งซื้อ บริษัทจะตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษที่มีนํ้าหนักความหนาของกระดาษ (หนวย : แกรม) ตรงกับการใชงาน สุมตรวจกระดาษตัวอยางจากผูผลิตที่ 1 และที่ 2 จํานวน 10 และ 21 แผนตามลําดับ ผลดังนี้ นํ้าหนักความหนาของกระดาษ (แกรม) ผูผลิตที่ 1
218 236 178 244 148 171 198 168 160 174
ผูผลิตที่ 2
178 184 146 176 185 158 175 172 163 181 162 152 164 180 157 164 182 169 178 154 148
จงทดสอบวากระดาษอารตมันจากผูผลิตทั้งสองมีนํ้าหนักความหนาของกระดาษแตกตาง กันหรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 (คําแนะนํา ใหทดสอบสมมติฐานของความแปรปรวน กอน แลวจึงทดสอบสมมติฐานของคาเฉลี่ย) (เฉลย : ปฏิเสธ H0 ความแปรปรวนไมเทากัน, ยอมรับ H0 นํ้าหนักความหนาของกระดาษ จากผูผลิตทั้งสองไมแตกตางกัน)
10
การวิเคราะห ความแปรปรวน
จากพื้นฐานของบทที่ 9 เปนการทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอรที่ใชตรวจสอบความ เปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในประชากรที่ศึกษา 1 ชุดและ 2 ชุด โดยวิเคราะหจากกลุมตัวอยางที่ สุมมาและอนุมานไปสูคําตอบที่ตองการทราบของประชากร เชนเดียวกันกับการวิเคราะหความ แปรปรวน (Analysis of Variance – ANOVA) ที่ยังคงเปนวิธีการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลง ที่อาจจะเกิดขึ้น แตเปนในประชากรที่ศึกษาตั้งแต 3 ชุดขึ้นไป โดยใหความสําคัญกับการศึกษา ความแตกตางของคาเฉลี่ยของประชากร (µ1, µ2, …, µa) ซึ่งมีความเหมือนกันหรือตางกันใน แตละกลุม อันมีสาเหตุจากความแปรปรวนหรือความผันแปรในขอมูลที่เกิดจาก 2 แหลงคือ
1. ปจจัยศึกษา (Treatment) เปนปจจัยที่สนใจศึกษา สามารถควบคุมหรือกําหนดวา
จะทดสอบปจจัยนี้ในลักษณะใด แปรเปลี่ยนรูปแบบการทดลองของปจจัยนี้ได เพื่อใชศึกษาผล กระทบของปจจัยวามีผลตอคาสังเกต (Observation) ที่เก็บรวบรวมอยู
2. ปจจัยแวดลอมอื่นๆ (Error) เปนปจจัยอื่นๆ ที่ไมอยูในสิ่งที่สนใจศึกษา ไมมีการ
ควบคุม หรือควบคุมปจจัยเหลานี้ไมได ปจจัยเหลานี้จะมีผลกระทบตอคาสังเกตที่เก็บรวบรวม ดวยเชนกัน ∴ ความผันแปรในขอมูล = ความผันแปรจากปจจัยศึกษา + ความผันแปรจากปจจัยแวดลอมอืน ่ ๆ
ตัวอยางเชน การศึกษาชนิดของเรซินมีผลตอความแข็งแรงเฉือน (Shear Bond Strength)
หรือไม ทําการทดลองโดยเลือกชนิดของเรซินที่แตกตางกันมา 3 ชนิดคือ ED, MD และ PF แลว สุมตัวอยางจากเรซินแตละชนิด ชนิดละ 5 ตัวอยาง วัดคาความแข็งแรงเฉือนในแตละตัวอยาง
290
สถิติวิศวกรรม
ปจจัยที่ไดรับการควบคุมที่เราสนใจศึกษา (Treatment) คือ ชนิดของเรซิน ซึ่งสามารถ กําหนดหรือเลือกชนิดของเรซินที่ใชในการศึกษาได ปจจัยที่ไมไดรับการควบคุมอื่นๆ (Error) เชน อุณหภูมิ ความชื้น สิ่งแวดลอม เครื่องมือ อุปกรณ วิธีการวัด เปนตน ซึ่งปจจัยเหลานี้อยูนอกเหนือความสนใจหรือควบคุมไมได คาสังเกตหรือขอมูลที่เก็บรวบรวมคือ คาความแข็งแรงเฉือน จากตัวอยาง จะเห็นวาเราสนใจศึกษาเพียง 1 ปจจัยเทานั้นคือ ชนิดของเรซิน ซึ่งนํามา ศึกษา 3 ชนิด (Single–Factor Experiment with 3 Levels of the Factor) จํานวนของปจจัยศึกษา = จํานวนระดับของปจจัย (Levels of the Factor) = a = 3 แตละชนิดของปจจัยศึกษาจะมีจํานวนตัวอยาง = n = 5 จํานวนตัวอยางทั้งหมด = N = a . n = 15 ถาจะตั้งสมมติฐานเพื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยของประชากร จะไดวา H0 : µ1 = µ2 = µ3 H1 : µi ≠ µj อยางนอย 1 คูของ i, j ที่ i ≠ j ความแตกตางที่เกิดขึ้นในแตละประชากรมาจากความผันแปรของขอมูลจาก 2 สาเหตุคือ จากปจจัยศึกษาและจากปจจัยแวดลอมอืน่ ๆ เพือ่ จะวิเคราะหถงึ ความผันแปรหรือความแปรปรวน ที่เกิดขึ้นวามาจากสาเหตุใดบางนั้น สามารถตั้งสมมติฐานไดดังนี้ H0 : σ2tr = σ2E (สาเหตุของความผันแปรในขอมูลมาจากปจจัยแวดลอมอื่นๆ) H1 : σ2tr > σ2E (สาเหตุของความผันแปรในขอมูลมาจากทั้งสองปจจัย) การวิเคราะหความแปรปรวนเฉพาะปจจัยที่ตองการศึกษาเพียงปจจัยเดียว (One Factor) เรียกวาการวิเคราะหความแปรปรวนแบบทางเดียว (One–Way Classification ANOVA Model) ถา 1 ปจจัยมี a ระดับ (a Levels) (หรือมี a Treatments) แตละระดับจะมีการสุมตัวอยางมาเพื่อ วัดคาสังเกต ลักษณะของขอมูลไดมาจากการสุมตัวอยาง (Randomization) เรียกวา Completely Randomized Design หรือ CRD แตในการทดลองทีม่ กี ารกําหนดปจจัยควบคุม (Blocks) เพือ่ ชวย กําจัดแหลงของความผันแปร (Source of Variability) เรียกวา Completely Randomized Block Design หรือ CRBD
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
291
ตัวอยางเชน แผนดิสกจํานวน 48 แผนซึ่งตัดออกมาจากแผนดีบุก 4 แผน ดังรูปที่ 10.1 แผนดิสก 12 แผนที่ตัดมาจากแผนดีบุกแผนที่ 1 (Strip # 1) จะสงไปตรวจสอบที่หองปฏิบัติการ A ในทํานองเดียวกัน แผนดิสก 12 แผนตัดจากแผนดีบุกแผนที่ 2 (Strip # 2) จะสงไปตรวจสอบ ที่หองปฏิบัตการ B อีก 24 แผนที่เหลือก็จะสงไปตรวจสอบที่หองปฏิบัติการ C และ D ตามลําดับ แผนดีบุก
แผนดิสก
1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
2
13
14
15
16
17 18
19
20
21
22
23
24
3
25
26
27
28
29 30
31
32
33
34
35
36
4
37
38
39
40
41 42
43
44
45
46
47
48
รูปที่ 10.1 แผนดิสกที่ถูกตัดออกมาจากแผนดีบุก ที่มา : Johnson. 2005.
ลักษณะการทดลองแบบนี้ ตัวอยางจะถูกกําหนดอยางเปนแบบแผน (Pattern) ซึ่งจะทําให ผลการศึกษามีความผันแปรสูงจากความแตกตางของแผนดีบุก หรือแมแตความแตกตางของหอง ปฏิบัติการการตรวจสอบ เพื่อลดความผันแปรใหลดลง จึงออกแบบ การทดลองแบบ CRD ตัวอยางทั้งหมด 48 แผนจะถูกสุม (Random) โดยใชตารางเลขสุม (Table of Random Numbers) ชวย เพื่อสงตัวอยางไปตรวจสอบยังหองปฏิบัติการทั้ง 4 แหง ดังตารางที่ 10.1 ตารางที่ 10.1 การทดลองแบบ CRD หองปฏิบัติการ A
3
38
17
32
24
30
48
19
11
31
22
41
หองปฏิบัติการ B
44
20
15
25
45
4
14
5
39
7
40
34
หองปฏิบัติการ C
12
21
42
8
27
16
47
46
18
43
35
26
หองปฏิบัติการ D
9
2
28
23
37
1
10
6
29
36
33
13
292
สถิติวิศวกรรม
อยางไรก็ตาม ผลการสุม ตัวอยางขางตนชีใ้ หเห็นวายังคงมีความผันแปรในขอมูลไดอกี โดย มาจากการทดลองที่อาจคลาดเคลื่อนไป (Chance Variation) เชน ถาดูที่หองปฏิบัติการ D จะ พบวามีแผนดิสกจาก Strip #1 มากถึง 5 ตัวอยาง (แผนดิสก # 1, 2, 6, 9, 10) เพื่อปองกันไมให เกิดความผิดพลาดลักษณะนี้ การบล็อกที่แผนดีบุก (หรือ Strip) จะชวยใหเกิดการกระจายของ ตัวอยางจากแตละ Strip ไปยังหองปฏิบัติการไดอยางเทาเทียมกัน (Homogeneous Conditions) ลักษณะการบล็อกปจจัยที่อาจสงผลใหเกิดความแปรปรวนนี้จัดเปน การทดลองแบบ CRBD ดังตารางที่ 10.2 ตารางที่ 10.2 การทดลองแบบ CRBD แผนดีบุก # 1
แผนดีบุก #2
แผนดีบุก #3
แผนดีบุก #4
หองปฏิบัติการ A
8
4
10
23
24
19
26
29
35
37
44
48
หองปฏิบัติการ B
2
6
12
21
15
22
34
33
32
45
43
46
หองปฏิบัติการ C
1
5
11
16
20
13
36
27
30
41
38
47
หองปฏิบัติการ D
7
3
9
17
18
14
28
31
25
39
40
42
การศึกษาผลกระทบจากปจจัยศึกษา (Treatment Effect) สําหรับการทดลองที่มีระดับ ของปจจัยจํานวน a กลุม มีรูปแบบการทดลองได 2 แบบคือ Fixed–Effects Model และ Random–Effects Model สําหรับ Fixed–Effects Model จะเปนการออกแบบการทดลองที่ กําหนดจํานวนของปจจัยศึกษาที่แนนอน แต Random–Effects Model จะสุมเลือกปจจัยมา ศึกษาเพียงบางสวนเทานั้น ในบทนี้จะมุงศึกษาเฉพาะกรณี Fixed–Effects Model
1. Completely Randomized Design หรือ CRD การทดลองแบบ CRD เปนการทดลองที่มีการสุมตัวอยางจากประชากร a กลุมเพื่อศึกษา ผลกระทบของปจจัย 1 ปจจัยที่มีตอคาสังเกตหรือขอมูลที่ศึกษา yij โดยแตละกลุมจะประกอบ ดวยตัวอยางขนาด ni เมื่อ i คือจํานวนของกลุมหรือจํานวนระดับของปจจัยศึกษา (Treatment No.) = 1, 2, …, a และ j คือจํานวนของตัวอยางในแตละกลุมหรือจํานวนครั้งของการทดลองใน แตละระดับ (Sample No.) = 1, 2, …, ni ดังรูป
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
ตัวอยางจาก ประชากรที่ 1 (ระดับของปจจัยที่ 1)
ตัวอยางจาก ประชากรที่ i (ระดับของปจจัยที่ i)
ตัวอยางจาก ประชากรที่ a (ระดับของปจจัยที่ a)
y11 y12 .. . y1n1
yi1 yi2 .. . yini
ya1 ya2 .. . yana
...
...
ขนาดตัวอยาง ni
ขนาดตัวอยาง n1
293
ขนาดตัวอยาง na
รูปที่ 10.2 การทดลองแบบ CRD ที่มา : Hayter. 2002.
การวิเคราะหความแปรปรวนของการทดลองแบบ CRD จะเริ่มตนดวยการศึกษาความ ผันแปรที่เกิดขึ้นในคาสังเกตหรือขอมูล ซึ่งขอมูลแตละตัวจะไมเทากันเนื่องจากสาเหตุของความ แตกตางของปจจัยศึกษา (Treatment) หรือความแตกตางของปจจัยอื่นๆ ที่อยูนอกขอบเขตการ ศึกษา (Error) กอนทีจ่ ะกลาวถึงหลักการคํานวณของการวิเคราะหความแปรปรวน สัญลักษณตา งๆ ที่แทนคาสังเกต ผลรวม และคาเฉลี่ย แสดงดังตารางที่ 10.3 ตารางที่ 10.3 ลักษณะของขอมูลที่จะใชในการวิเคราะหความแปรปรวน ปจจัยศึกษา
คาสังเกต (yij)
ผลรวม (yi•)
คาเฉลี่ย (yi•)
1
y11 y12 … y1n
y1•
y1•
2
y21 y22 … y2n
y2•
y2•
a
ya1 ya2 … yan
ya•
ya•
y••
y••
a
n
y•• = y yij = y•• และ an •• Σ Σ i=1 j=1 n
yij = yi• Σ j=1
y และ ni• = yi•
294
สถิติวิศวกรรม
จากที่กลาวมาขางตน ความแตกตางของ 2 สาเหตุทําใหขอมูลแตละตัวไมเทากัน ถา พิจารณาองคประกอบของขอมูลแตละตัว จะพบวาประกอบดวย 3 สวนคือ 1. คาเฉลี่ยทั้งหมด (µ) 2. ผลกระทบจากปจจัยศึกษา (τi) 3. ผลกระทบจากปจจัยแวดลอมอื่นๆ (εij) yij =
µ + τi + εij
เมื่อ i = 1, 2, … , a และ j = 1, 2, … , n (กรณีของประชากร) หรือ yij = y•• + ( yi• – y••) + (yij – yi•) (กรณีของตัวอยาง) โดยที่ yij คือ คาสังเกตหรือขอมูลจากการทดลองของปจจัยศึกษาตัวที่ i ในการทดลอง ครั้งที่ j µ คือ พารามิเตอรรวมสําหรับทุกคาของปจจัยศึกษา หรือหมายถึงคาเฉลี่ยของ ประชากรทั้งหมด (Grand Mean) แตถาเปนคาเฉลี่ยของตัวอยางทั้งหมด จะเทากับ y•• τi คือ พารามิเตอรที่ใชอธิบายปจจัยศึกษาตัวที่ i (หรือเรียกวา Treatment Effects ที่ i) แตถาเปนผลกระทบจากความแตกตางของปจจัยศึกษา ใน ตัวอยางจะเทากับ (yi• – y••) εij คือ พารามิเตอรที่ใชอธิบายปจจัยแวดลอมอื่นๆ ของปจจัยศึกษาตัวที่ i ใน การทดลองครัง้ ที่ j แตถา เปนผลกระทบจากปจจัยแวดลอมอืน่ ๆ ในตัวอยาง จะเทากับ (yij – yi•) ตัวอยางเชน สวนผสมของกาวชนิดหนึ่งมีอยู 3 สูตร ซึ่งแตละสูตรจะใชเวลาในการแหง แตกตางกัน ทําการสุมตัวอยางของกาวทั้ง 3 สูตรไดผลดังนี้ สูตรที่ 1 : 13 10 8 11 8 สูตรที่ 2 : 13 11 14 14 สูตรที่ 3 : 4 1 3 4 2 4
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
295
จํานวนตัวอยางทั้งหมด (N) = 15 ตัวอยาง a
n
y•• = Σ Σ yij = 13 + 10 + ... + 4 = 120 i=1 j=1
และ
y•• = yN•• = 120 15 = 8
ถาพิจารณาแตละคาสังเกต yij จะพบวาประกอบดวย หรือ เชน
yij = y•• + (yi• – y••) + (yij – yi•) คาสังเกต = คาเฉลี่ยของประชากรทั้งหมด + ผลตางของปจจัยศึกษา + ผลตางจากปจจัยแวดลอมอื่นๆ 13 = 8 + (10 – 8) + (13 – 10) = 8 + 2 + 3
13 10 8 11 8 8 = 8 ดังนั้น 13 11 14 14 4 1 3 4 2 4 8 3 + 0 1
8 8 8 8 8 8 8 8 8 0 –2 –2 1 –2 0
8
2 2 2 2 2 + 5 5 5 5 –5 –5 –5 –5 –5 –5
8 8 1 –2 1 1 –1 1
การตรวจสอบความแตกตางทีเ่ กิดขึน้ ในคาสังเกตวามาจากสาเหตุใดนัน้ การตัง้ สมมติฐาน การวิเคราะหความแปรปรวนสามารถเจาะจงไปที่ผลกระทบจากปจจัยศึกษา (Treatment Effect หรือ τi) ไดโดยตรง เพื่อศึกษาดูวาความแตกตางของปจจัยศึกษามีผลตอคาสังเกต yij (หรือเรียก วาตัวแปรตอบสนอง (Response Variable)) หรือไม (ปจจัย ไมมีผล ตอคาสังเกต yij) H0 : τ1 = τ2 = = τa = 0 H1 : τi ≠ 0; อยางนอย 1 คาของ i (ปจจัย มีผล ตอคาสังเกต yij) เนือ่ งจากความผันแปรในขอมูล เทากับความผันแปรจากปจจัยศึกษา รวมกับความผันแปร จากปจจัยแวดลอมอืน่ ๆ ดังนัน้ ความผันแปรจะวัดจากคาเบีย่ งเบนทีเ่ กิดขึน้ จากปจจัยทัง้ สอง แสดง ดังรูปที่ 10.3 โดยใชตัวอยางของสวนผสมกาว 3 สูตรขางตน การทดสอบสมมติฐานขางตนจะ กําหนดให εij ∼ NID(0, σ2) นัน่ คือ ปจจัยแวดลอมอืน่ ๆ จะเปนตัวแปรสุม ทีม่ กี ารแจกแจงแบบปกติ และเปนอิสระตอกันดวยคาเฉลี่ยเทากับ 0 และความแปรปรวนเทากับ σ2 ซึ่งคาความแปรปรวนนี้ กําหนดใหมีคาคงที่ในทุกๆ กลุม
296
สถิติวิศวกรรม
เวลาที่กาวแหง
y32
คาเบี่ยงเบนเนื่องจาก ปจจัยแวดลอมอื่นๆ
y3•
y1• y••
คาเบี่ยงเบนทั้งหมด
คาเบี่ยงเบนเนื่องจาก ปจจัยศึกษา
y2•
สูตรที่ 1
สูตรที่ 2
สวนผสมของกาว
สูตรที่ 3
รูปที่ 10.3 คาเบี่ยงเบนเนื่องจากปจจัยศึกษาและปจจัยแวดลอมอื่นๆ
จากรูปที่ 10.3 คาเบี่ยงเบนทั้งหมด = คาเบีย่ งเบนเนือ่ งจากปจจัยศึกษา + คาเบีย่ งเบนเนือ่ งจากปจจัยแวดลอมอืน่ ๆ = (yi• – y••) + (yij – yi•) = yij – y•• ผลรวมของคาเบี่ยงเบนยกกําลังสองเรียกวา Sum of Squares (SS) a
n
ดังนั้น Total Sum of Squares (SST) = Σ Σ (yij – y••)2 i=1 j=1 a n
a
Treatment Sum of Squares (SStr) = Σ Σ (yi• – y••)2 = ni Σ (yi• – y••)2 i=1 j=1 a n
i=1
Error Sum of Squares (SSE) = Σ Σ (yij – yi•)2 i=1 j=1
SST = SStr + SSE ผลรวมของคากําลังสองจากปจจัยศึกษา (Treatment Sum of Squares) เปนการเปรียบเทียบ ผลตางกําลังสองของแตละกลุม และทําใหเห็นความแตกตางระหวางกลุมวามีมากนอยเพียงใด อาจเรียกไดวา ผลรวมของคากําลังสองระหวางกลุม ตัวอยาง (Between–Sample Sum of Squares)
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
297
ผลรวมของคากําลังสองจากปจจัยแวดลอมอื่นๆ (Error Sum of Squares) เปนการเปรียบ เทียบผลตางกําลังสองของคาสังเกตกับคาเฉลี่ยภายในกลุม ทําใหเห็นวาแมจะอยูในกลุมเดียวกัน ก็ยังเกิดความแตกตางของคาสังเกตได ซึ่งสาเหตุนาจะมาจากปจจัยอื่นๆ ที่ไมใชปจจัยศึกษา อาจ เรียกไดวาผลรวมของคากําลังสองภายในกลุมตัวอยาง (Within–Sample Sum of Squares) คาเฉลี่ยของผลรวมของคากําลังสอง (Sum of Squares) เรียกวา คาเฉลี่ยของคากําลังสอง (Mean Square (MS)) หาไดจาก Sum of Squares Mean Square = Degrees of Freedom a
(yi• – y••)2 SStr ni Σ ดังนั้น Treatment Mean Square (MStr) = df = i=1 a – 1 tr SS Error Mean Square (MSE) = df E = E
a n
Σ Σ (y – y )2 i=1 j=1 ij i• a(n – 1)
กรณีคาเฉลี่ยของประชากร (µ) แตละกลุมเทากัน คาเฉลี่ยของคากําลังสองทั้งสองจะเปน ตัวประมาณคาของความแปรปรวน (Estimates of σ2) ดังนั้น การวิเคราะหความแปรปรวนจึง เปรียบเทียบดูความแปรปรวนของปจจัยศึกษาเทียบกับปจจัยแวดลอมอืน่ ๆ เพือ่ หาขอสรุปวาสาเหตุ ความผันแปรในขอมูลมาจากปจจัยแวดลอมอืน่ ๆ เพียงอยางเดียวหรือมาจากทัง้ สองแหลง รูปแบบ ของการแจกแจง F (F Distribution) จะถูกใชในการเปรียบเทียบความแปรปรวนของทั้งสองปจจัย MS SS /df σ2 F = MStr = SS tr/dftr หรือเทากับ 2tr σ E E E E
เมื่อ ν1 = a – 1 และ ν2 = a(n – 1) = N – a ขัน้ ตอนการทดสอบสมมติฐานของการวิเคราะหความแปรปรวนประกอบดวย 6 ขัน้ ตอนคือ 1. ตั้งสมมติฐานหลัก H0 2. ตั้งสมมติฐานทางเลือก H1 3. กําหนดระดับนัยสําคัญ α 4. กําหนดบริเวณวิกฤติของการแจกแจง F
298
สถิติวิศวกรรม
α
Fα, dftreatment, dferror
F
รูปที่ 10.4 บริเวณแจกแจง F
5. คํานวณคาสถิติ F0 ดวยตาราง ANOVA • สําหรับกรณีขนาดตัวอยางของแตละกลุมเทากัน ตาราง ANOVA จะใชตารางที่ 10.4 • สําหรับกรณีขนาดตัวอยางของแตละกลุม ไมเทากัน ตาราง ANOVA จะใชตารางที่ 10.9 ตารางที่ 10.4 ตาราง ANOVA กรณีขนาดตัวอยางเทากัน แหลงของ ความผันแปร ปจจัยศึกษา
ผลรวมของ คากําลังสอง
องศาอิสระ
กําลังสองเฉลี่ย
คาสถิติ F0
y2i• y2•• – an Σ i=1 n
a–1
SStr a–1
MStr MSE
SST – SStr
a(n – 1)
SSE a (n – 1)
a
ปจจัยแวดลอมอื่นๆ ผลรวม
a
n
y2
Σ Σ y2 – •• i=1 j=1 ij an
an – 1
6. สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน • ถา F0 ≤ Fα, a – 1, N – a จะสรุปวายอมรับสมมติฐานหลัก H0 แสดงวา 1. ปจจัยศึกษาไมมีผลตอคาสังเกต yij หรือ 2. สาเหตุของความผันแปรในขอมูลมาจากปจจัยแวดลอมอื่นๆ หรือ 3. คาเฉลี่ยของประชากรแตละกลุมไมแตกตางกัน
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน •
299
ถา F0 > Fα, a – 1, N – a จะสรุปวาปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 แสดงวา 1. ปจจัยศึกษามีผลตอคาสังเกต yij หรือ 2. สาเหตุของความผันแปรในขอมูลมาจากทัง้ สองปจจัยคือ จากปจจัยศึกษาและจาก ปจจัยแวดลอมอื่นๆ หรือ 3. คาเฉลี่ยของประชากรแตละกลุมแตกตางกัน
ตัวอยางที่ 10.1 ผูผ ลิตกระดาษใหความสําคัญตอคุณสมบัตกิ ารทนตอแรงดึง (Tensile Strength)
ของผลิตภัณฑทใี่ ชกระดาษเปนวัตถุดบิ ในการทดลองทางอุตสาหกรรม วิศวกรดานการออกแบบ ผลิตภัณฑสนใจศึกษาวาคาการทนตอแรงดึงของผลิตภัณฑขึ้นอยูกับเปอรเซ็นตเยื่อไมเนื้อแข็ง ที่นําไปทํากระดาษหรือไม จึงไดนําถุงกระดาษซึ่งมีเปอรเซ็นตเยื่อไมที่แตกตางกัน 4 ชนิด ชนิดละ 6 ถุงมาทดลองและวัดคาการทนตอแรงดึง ปรากฏผลดังตารางที่ 10.5 จงหาขอสรุปการทดลอง ดวยระดับนัยสําคัญ 0.01 ตารางที่ 10.5 คุณสมบัติการทนตอแรงดึงของกระดาษ เปอรเซ็นตของ เยื่อไม (%) 5 10 15 20
วิธีทํา
#1 7 12 14 19
#2 8 17 18 25
คาการทนตอแรงดึง (psi) #3 #4 15 11 13 18 19 17 22 23
#5 9 19 16 18
#6 10 15 18 20
รวม 60 94 102 127 383
ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ถุงกระดาษ ตัวแปรสุม yij คือ คาการทนตอแรงดึง (psi) เมื่อ i คือ เปอรเซ็นตเยื่อไม = 5%, 10%, 15% และ 20% ← Treatment No. j คือ ถุงกระดาษถุงที่ = 1, 2, … , 6 ← Sample No.
300
สถิติวิศวกรรม
ดังนั้น a = 4 และ n = 6 ∴ an = N = 24 1. H0 : τ5% = τ10% = τ15% = τ20% = 0 2. H1 : τi ≠ 0; อยางนอย 1 คาของ i 3. α = 0.01 4. บริเวณวิกฤติ F > F0.01, 3, 20 ∴ F > 4.94 5. คาสถิติ คํานวณจากตาราง ANOVA ดังตารางที่ 10.6 ตารางที่ 10.6 ตาราง ANOVA แหลงของ ความผันแปร
ผลรวมของ คากําลังสอง
องศาอิสระ
กําลังสองเฉลี่ย
คาสถิติ F0
เยื่อไม
382.79
a–1=3
SStr a – 1 = 127.60
MStr MSE = 19.61
ปจจัยแวดลอมอื่นๆ
130.17
a(n – 1) = 20
SSE a(n – 1) = 6.51
ผลรวม
512.96
an – 1 = 23
2 4 6 SST = Σ Σ y2ij – yan•• i=1 j=1
2 = 72 + 82 +…+ 202– 383 = 512.96 4(6) 2 4 y2i y SStr = Σ n• – an•• i=1
2 2 2 2 2 = 60 + 94 + 102 + 127 – 383 = 382.79 6 4(6) 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 เปอรเซ็นตของเยื่อไมเนื้อแข็งมีผลตอคาการทนตอแรงดึงของถุงกระดาษ
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
301
ตัวอยางที่ 10.2 แผนดิสกจํานวน 48 แผน ถูกสุมตรวจคาความหนาของการเคลือบดีบุกโดย
หองปฏิบัติการ 4 แหง แหงละ 12 แผน เพื่อทดสอบวาหองปฏิบัติการทั้ง 4 แหงใหผลการ วิเคราะหแตกตางกันหรือไม คาความหนาของการเคลือบผิวดวยดีบุกบนแผนดิสกแสดงดังตาราง ที่ 10.7 จงทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสําคัญ 0.025 ตารางที่ 10.7 ความหนาของการเคลือบดีบุกบนแผนดิสก หองปฏิบัติการ A 0.25 0.27 0.22 0.30 0.27 0.28 0.32 0.24 0.31 0.26 0.21 0.28
B 0.18 0.28 0.21 0.23 0.25 0.20 0.27 0.19 0.24 0.22 0.29 0.16
C 0.19 0.25 0.27 0.24 0.18 0.26 0.28 0.24 0.25 0.20 0.21 0.19
D 0.23 0.30 0.28 0.28 0.24 0.34 0.20 0.18 0.24 0.28 0.22 0.21
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ แผนดิสก ตัวแปรสุม yij คือ คาความหนาของการเคลือบผิวดวยดีบุก (mm) เมื่อ i คือ หองปฏิบัติการ = A, B, C และ D ← Treatment No. j คือ แผนดิสกแผนที่ = 1, 2, … , 12 ← Sample No. ดังนั้น a = 4 และ n = 12 ∴ an = N = 48
302
สถิติวิศวกรรม
1. H0 : τA = τB = τC = τD = 0 2. H1 : τi ≠ 0; อยางนอย 1 คาของ i 3. α = 0.025 4. บริเวณวิกฤติ F > F0.025, 3, 44 ∴ F > 3.46 5. คาสถิติ คํานวณจากตาราง ANOVA ดังตารางที่ 10.8 ตารางที่ 10.8 ตาราง ANOVA แหลงของ ความผันแปร
ผลรวมของ คากําลังสอง
องศาอิสระ
กําลังสองเฉลี่ย
คาสถิติ F0
หองปฏิบัติการ
0.0130
a–1 = 3
SStr a – 1 = 0.0043
MStr MSE = 2.87
ปจจัยแวดลอมอื่นๆ
0.0679
a(n – 1) = 44
SSE a(n – 1) = 0.0015
ผลรวม
0.0809
an – 1 = 47
2 4 12 SST = Σ Σ y2ij – yan•• i=1 j=1
2 = 0.252 + 0.272 +…+ 0.212 – 11.69 4(12) = 0.0809 2 4 y2i SStr = Σ n• – yan•• i=1 2 2 2 2 2 = 3.21 + 2.72 + 2.76 + 3.00 – 11.69 = 0.0130 12 4(12)
6. สรุปผล ยอมรับ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.025 หองปฏิบัติการทั้งสี่แหงใหผลการวิเคราะหไมแตกตางกัน ในกรณีขนาดตัวอยางจากประชากรแตละกลุมไมเทากัน n1, n2, …, na ตาราง ANOVA จะสรุปไดดังตารางที่ 10.9
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
303
ตารางที่ 10.9 ตาราง ANOVA กรณีขนาดตัวอยางไมเทากัน แหลงของ ความผันแปร ปจจัยศึกษา
ผลรวมของ คากําลังสอง
องศาอิสระ
กําลังสอง เฉลี่ย
คาสถิติ F0
y2i• y2•• – N Σ i=1 ni
a–1
SStr a–1
MStr MSE
SST – SStr
N–a
SSE N–a
a
ปจจัยแวดลอมอื่นๆ ผลรวม
ni
2
y y2ij – N•• Σ Σ i=1 j=1 a
N–1
ตัวอยางที่ 10.3 การศึกษาการกัดกรอนของโลหะที่ถูกจุมลงในสารละลายชนิดหนึ่ง บันทึกคา
อัตราการกัดกรอน (Corrosion Rate) ในโลหะตางชนิดกันคือ อะลูมิเนียม เหล็กกลาไรสนิม โลหะ ผสม 1 และโลหะผสม 2 ไดผลดังนี้ (หนวย : เปอรเซ็นต) อะลูมิเนียม (Al) : เหล็กกลาไรสนิม (SS) : โลหะผสม 1 (Alloy 1) : โลหะผสม 2 (Alloy 2) :
75 74 73 71
77 76 74 74
76 75 72 74
79 78 74 73
74 74 70 74
77 77 73 73
75 75 77 74 71 71
จงทดสอบวา โลหะตางชนิดกันมีคา อัตราการกัดกรอนแตกตางกันหรือไม ทีร่ ะดับนัยสําคัญ 0.05 และหาชวงความเชื่อมั่น 95% ของผลตางเฉลี่ยในอัตราการกัดกรอน
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ โลหะที่นํามาทดสอบ ตัวแปรสุม yij คือ คาอัตราการกัดกรอน (%) เมื่อ i คือ ชนิดของโลหะ = Al, SS, Alloy 1, Alloy 2 ← Treatment No. j คือ โลหะตัวอยาง = 1, 2, … , ni ← Sample No. ดังนั้น a = 4 และ ni = 7, 8, 8, 7 ∴ N = 30
304
สถิติวิศวกรรม
1. H0 : τAl = τSS = τAlloy 1 = τAlloy 2 = 0 2. H1 : τi ≠ 0; อยางนอย 1 คาของ i 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติ F > F0.05, 3, 26 ∴ F > 2.98 5. คาสถิติ คํานวณจากตาราง ANOVA ดังตารางที่ 10.10 ตารางที่ 10.10 ตาราง ANOVA แหลงของ ความผันแปร
ผลรวมของ คากําลังสอง
องศาอิสระ
กําลังสองเฉลี่ย
คาสถิติ F0
ชนิดของโลหะ
77.58
a–1 = 3
SStr a – 1 = 25.86
MStr MSE = 11.38
ปจจัยแวดลอมอื่นๆ
59.09
N – a = 26
SSE N – a = 2.27
ผลรวม
136.67
N – 1 = 29
2 4 ni SST = Σ Σ y2ij – yN•• i=1 j=1
2 = 752 + 772 + … + 712 – 2230 30 = 136.67 2 2 4 y SStr = Σ ni • – y •• N i=1 i 2 6062 5812 5102 22302 = 533 7 + 8 + 8 + 7 – 30 = 77.58
6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 โลหะทั้งสี่ชนิดมีอัตราการกัดกรอนที่แตกตางกัน ชวงความเชื่อมั่นของผลตางเฉลี่ยอัตราสวนการกัดกรอนของโลหะทั้ง 4 ชนิด สามารถ เปรียบเทียบเปนคูๆ ไดทั้งหมด a = a(a – 1) คู 2 2 = 42 = 4(4 2– 1) = 6 คู
()
()
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
305
ชวงความเชื่อมั่นหาไดจาก yk – yl ± tα/2, N – a
(
s2 n1 + n1 l k
)
โดยคา MSE จะเปนคาประมาณของ s2 ดังนั้น ชวงความเชื่อมั่น 95% ของโลหะทั้งสี่ชนิดเทากับ
(
)
2.27 17 + 18 = (–1.210, 1.996) Al – Alloy 1 : 76.143 – 72.625 ± 2.056 2.27 17 + 18 = (1.915, 5.121) Al – Alloy 2 : 76.143 – 72.857 ± 2.056 2.27 17 + 17 = (1.630, 4.942) SS – Alloy 1 : 75.750 – 72.625 ± 2.056 2.27 18 + 18 = (1.576, 4.674) SS – Alloy 2 : 75.750 – 72.857 ± 2.056 2.27 18 + 17 = (1.290, 4.496) Alloy1 – Alloy 2 : 72.625 – 72.857 ± 2.056 2.27 18 + 17 = (–1.835, 1.371) Al – SS : 76.143 – 75.750 ± 2.056
( (
) )
( (
) )
(
)
2. เงื่อนไขของการวิเคราะหความแปรปรวน (Model Checking)
ในการทดสอบสมมติฐานการเทากันของคาเฉลีย่ ของประชากรตัง้ แต 3 ประชากรขึน้ ไป หรือ การวิเคราะหความแปรปรวนจะกระทําไดนนั้ เงือ่ นไขทัง้ สามจะตองตรวจสอบและเปนจริงกอน นัน่ คือ 1. ประชากรทั้ง a กลุมมีการแจกแจงแบบปกติ 2. คาความแปรปรวนของแตละประชากรเทากัน คือ σ21 = σ22 = … = σ2a 3. การสุมตัวอยางแตละชุดจากแตละประชากรจะเปนอิสระตอกัน ดังนั้น การทดสอบคาเงื่อนไขดังกลาววาเปนจริงหรือไมนั้น มีวิธีการตรวจสอบดังนี้ 1. กราฟความนาจะเปนแบบปกติ (Normal Probability Plot) 2. กราฟระหวางคา Residuals กับระดับของปจจัย และเปรียบเทียบการกระจายของคา Residuals (Plot Residuals against the Factor Levels and Compare the Spread in the Residuals) 3. กราฟระหวางคา Residuals กับเวลาหรือลําดับการทดลอง (Plot Residuals against the Time or Run Order)
306
สถิติวิศวกรรม
คา Residuals (eij) เปนคาความแตกตางระหวางคาสังเกต yij กับคาเฉลี่ยของแตละปจจัย (Treatment Mean) yi• นั่นคือ eij = yij – yi• จากตัวอยางที่ 10.1 สามารถคํานวณคา Residuals ไดดังตารางที่ 10.11 ตารางที่ 10.11 คา Residuals ของตัวอยางที่ 10.1 เปอรเซ็นต ของเยื่อไม (%)
คา Residuals
5
–3.00
–2.00
5.00
1.00
–1.00
0.00
10
–3.67
1.33
–2.67
2.33
3.33
–0.67
15
–3.00
1.00
2.00
0.00
–1.00
1.00
20
–2.17
3.83
0.83
1.83
–3.17
–1.17
กราฟความนาจะเปนแบบปกติ (Normal Probability Plot) ดังรูปที่ 10.5 ซึ่งเปนกราฟ ระหวางคา Residuals กับคาตัวแปรสุมปกติมาตรฐาน (Z) มีแนวโนมเปนเสนตรง แสดงถึงถุง กระดาษที่มีเปอรเซ็นตเยื่อไมตางกันทั้ง 4 กลุมนั้น คาการทนตอแรงดึงมีการแจกแจงแบบปกติ
คาปกติมาตรฐาน z
2 1 0 –1 –2 –4
–2
0 2 คา Residuals
4
6
รูปที่ 10.5 กราฟความนาจะเปนแบบปกติของตัวอยางที่ 10.1 ที่มา : Montgomery and Runger. 2003.
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
307
สวนกราฟระหวางคา Residuals กับระดับของปจจัย (Plot Residuals Against the Factor Levels) ดังรูปที่ 10.6 ซึ่งเปนกราฟระหวางคา Residuals กับเปอรเซ็นตของเยื่อไมทั้ง 4 กลุมคือ 5%, 10%, 15% และ 20% และรูปที่ 10.7 เปนกราฟระหวางคา Residuals กับ yi• (บางครั้งเรียก วา Fitted Valve) ซึง่ กราฟทัง้ สองรูปไมมกี ารกระจายตัวทีผ่ ดิ ปกติ แสดงถึงคาความแปรปรวนของ ถุงกระดาษแตละกลุมเทากัน นั่นคือ σ21 = σ22 = σ23 = σ24 4
คา Residuals
2 0
5%
10%
15%
20%
–2 –4
รูปที่ 10.6 คา Residuals กับเปอรเซ็นตของเยื่อไมของตัวอยางที่ 10.1 ที่มา : Montgomery and Runger. 2003.
คา Residuals
4 2 0
10.0
15.0
20.0
25.0
y i•
–2 –4
รูปที่ 10.7 คา Residuals กับ yi• ของตัวอยางที่ 10.1 ที่มา : Montgomery and Runger. 2003.
308
สถิติวิศวกรรม
กราฟระหวางคา Residuals กับเวลาหรือลําดับการทดลอง (Plot Residuals Against the Time or Run Order) จะใชสําหรับการตรวจสอบเงื่อนไขการสุมตัวอยางแตละชุดจากแตละ ประชากรที่เปนอิสระตอกัน โดยดูวาคา Residuals ทั้งที่เปนคาบวกและคาลบไมไดมีลักษณะการ กระจายที่เปนรูปแบบ (Pattern) แตมีการกระจายอยางอิสระตอกัน
3. Completely Randomized Block Design หรือ CRBD
การทดลองแบบ CRBD เปนการทดลองที่มีการควบคุม (บล็อก) ตัวแปรบางตัวที่สงผลให เกิดความคลาดเคลื่อนในการทดลอง จากตัวอยางแผนดิสกที่อธิบายไวในสวนนําของบทนี้ จะเห็น วามีการบล็อกของแผนดีบุก (Strip) โดยใหแตละหองปฏิบัติการมีตัวอยางที่มาจาก Strip ทั้ง 4 อัน อันละ 3 ตัวอยางเทาๆ กัน เปนการกําจัดความผันแปรที่เกิดจากจํานวน Strip ที่แตกตางกัน ทําให ลักษณะของการทดลองอยูในสภาพที่คลายคลึงกัน (Homogeneous Conditions) ในแตละบล็อก แตยังคงความแตกตางระหวางบล็อกอยู (Fixed in Each Block but Vary from Block to Block) วิธีทดสอบที่จับคูคาสังเกตหรือ Paired t – Test ถูกใชในการเปรียบเทียบคาเฉลี่ย 2 กลุม โดยมีการควบคุมตัวแปรที่สงผลใหเกิดความคลาดเคลื่อนในการทดลอง ซึ่งเปนหลักการเดียวกัน กับการทดลองแบบ CRBD จึงอาจกลาวไดวาการทดลองแบบ CRBD เปนสวนขยายตอจากวิธี ทดสอบที่จับคูคาสังเกต แตใชในกรณีปจจัยที่สนใจศึกษามีมากกวา 2 ระดับ บล็อก 1 y11 y21 y31 .. . ya1
บล็อก 2 y12 y22 y32 .. . ya2
...
บล็อก b y1b y2b y3b .. . yab
รูปที่ 10.8 การทดลองแบบ CRBD ที่มา : Hines et al. 2003.
ปจจัยทีส่ นใจศึกษามีจาํ นวน a ปจจัย โดยปจจัยศึกษา (Treatment) จะมีปจ จัยควบคุม (Block) จํานวน b บล็อก เริม่ แรกจะศึกษาคาสังเกต 1 คา ซึง่ วัดมาจากตัวอยางทีส่ มุ จากแตละปจจัยศึกษาใน แตละบล็อก นั่นคือแตละหองปฏิบัติการจะทดสอบเพียงแผนดิสก 1 แผนที่สุมมาจากแผนดีบุก
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
309
แตละแผน การวิเคราะหความแปรปรวนที่ดูเหมือนจะมี 2 ปจจัยคือ ปจจัยศึกษาและปจจัยควบคุม เรียกวาการวิเคราะหความแปรปรวนแบบสองทาง (Two–Way Classification ANOVA Model) สําหรับสัญลักษณตางๆ ที่แทนคาสังเกตและคาเฉลี่ย แสดงดังตารางที่ 10.14 ตารางที่ 10.14 ลักษณะของขอมูลที่จะใชในการวิเคราะหความแปรปรวน ปจจัยศึกษา
ปจจัยควบคุม B1
B2
1
y11
y12
2
y21
y22
i
yi2
y2j
yij
yaj
ya1
ya2
คาเฉลี่ย (y•j)
y•1
y•2
Bb y1b
y1•
y2b
a
y1j
yi1
Bj
คาเฉลี่ย (yi•)
y•j
y2•
yib
yi•
yab
ya•
y•b
y••
การทดลองแบบ CRBD นั้น องคประกอบของขอมูลแตละตัวประกอบดวย 4 สวนคือ 1. คาเฉลี่ยทั้งหมด (µ) 2. ผลกระทบจากปจจัยศึกษา (τi) 3. ผลกระทบจากปจจัยควบคุมแวดลอม (βj) 4. ผลกระทบจากปจจัยแวดลอมอื่นๆ (εij) yij =
µ + τi + βj + εij
เมื่อ i = 1, 2, …, a และ j = 1, 2, …, b หรือ yij = y•• + (yi• – y••) + (y•j – y••) + (yij – yi•)
(กรณีของประชากร) (กรณีของตัวอยาง)
310
สถิติวิศวกรรม
การทดลองแบบ CRBD แตกตางจากการทดลองแบบ CRD ตรงที่มีผลกระทบจากปจจัย ควบคุมเขามาเพิ่ม โดยที่ βj คือ พารามิเตอรที่ใชอธิบายปจจัยควบคุมตัวที่ j (หรือเรียกวา Block Effects ที่ j) แตถาเปนผลกระทบจากความแตกตางของปจจัยควบคุม ในตัวอยางจะเทากับ (y•j – y••) คาเบี่ยงเบนทั้งหมด = คาเบี่ยงเบนเนื่องจากปจจัยศึกษา + คาเบี่ยงเบนเนื่องจาก ปจจัยควบคุม + คาเบี่ยงเบนเนื่องจากปจจัยแวดลอมอื่นๆ ∴ yij – y•• = (yi• – y••) + (y•j – y••) + (yij – yi• – y•j + y••) a
b
a
b
ดังนั้น Σ Σ (yij – y••)2 = Σ Σ [(yi• – y••) + (y•j – y••) + (yij – yi• – y•j + y••)]2 i=1 j=1
=
i=1 j=1 a b a b b Σ (yi• – y••)2 + a Σ (y•j – y••)2 + Σ Σ (yij – yi• – y•j + y••)2 i=1 j=1 i=1 j=1
SST = SStr + SSbl + SSE หลักการวิเคราะหความแปรปรวนของการทดลอง CRBD จะคลายคลึงกับการทดลอง CRD แตตาราง ANOVA จะมีความแตกตางกัน โดยเพิ่มการวิเคราะหความผันแปรเนื่องจาก ปจจัยควบคุมเขามาดวยดังตารางที่ 10.12 ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบดูวาปจจัยศึกษาและ/หรือปจจัย ควบคุมมีผลตอคาสังเกต yij หรือไม ตารางที่ 10.12 ตาราง ANOVA ของการทดลอง CRBD แหลงของ ความผันแปร
ผลรวมของคา กําลังสอง
องศาอิสระ
กําลังสอง เฉลี่ย
คาสถิติ F0
ปจจัยศึกษา
a y2 2 i• – y •• Σ ab i=1 b
a–1
SStr a–1
MStr MSE
ปจจัยควบคุม
b y2 2 •j – y •• Σ ab j=1 a
b–1
SSbl b–1
SST – SStr – SSbl
(a – 1)(b – 1)
SSE (a – 1)(b – 1)
MSbl MSE
ปจจัยแวดลอมอืนื่ ๆ ผลรวม
a
b
y2••
Σ Σ y2 – i=1 j=1 ij ab
ab – 1
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
311
เชนเดียวกันกับการทดลองแบบ CRD การวิเคราะหความแปรปรวนของการทดลองแบบ CRBD จะกระทําไดก็ตอเมื่อเงื่อนไขทั้ง 3 ของประชากรเปนจริงเสียกอน ซึ่งวิธีการตรวจสอบ เงื่อนไขแสดงไวในหัวขอที่ 2
ตัวอยางที่ 10.4 กระบวนการอัดเรียบมีการเลือกใชนํ้ายาที่มีสวนผสมทางเคมีแตกตางกัน 4
ชนิด เพื่อศึกษาดูวาชนิดของนํ้ายามีผลตอความเรียบของผาหรือไม นํ้ายาแตละชนิดจะใชทดสอบ ผาตัวอยาง 5 ผืน การทดลองแบบ CRBD ถูกใชในการทดสอบผาตัวอยางแตละผืนในนํ้ายาแตละ ชนิด ผลการทดลองแสดงดังตารางที่ 10.13 ตารางที่ 10.13 ความเรียบของผาจากการใชนํ้ายาชนิดตางๆ 1
ผาตัวอยางผืนที่ 2 3 4
5
1 2 3 4
1.3 2.2 1.8 3.9
1.6 2.4 1.7 4.4
0.5 0.4 0.6 2.0
1.2 2.0 1.5 4.1
1.1 1.8 1.3 3.4
ผลรวม (y•j)
9.2
10.1
3.5
8.8
คาเฉลี่ย (y•j)
2.30
2.53
0.88
2.20
นํ้ายาชนิดที่
ผลรวม (yi•)
คาเฉลี่ย (yi•)
7.6
39.2
1.96
1.90
(y••)
(y••)
5.7 8.8 6.9 17.8
1.14 1.76 1.38 3.56
จงทดสอบวาการใชนาํ้ ยาทีม่ สี ว นผสมทางเคมีแตกตางกัน จะทําใหความเรียบของผาแตก ตางกันหรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
วิธีทํา ประชากรและกลุมตัวอยางคือ ผาที่นํามาทดสอบ ตัวแปรสุม yij คือ คาความเรียบของผา เมื่อ i คือ ชนิดของนํ้ายา = 1, 2, 3, 4 ← Treatment No. j คือ ผาตัวอยางผืนที่ = 1, 2, 3, 4, 5 ← Block No. ดังนั้น a = 4 และ b = 5 ∴ N = 20
312
สถิติวิศวกรรม
1. H0 : τ1 = τ2 = τ3 = τ4 = 0 2. H1 : τi ≠ 0; อยางนอย 1 คาของ i 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติสําหรับชนิดของนํ้ายา (ปจจัยศึกษา) F > F0.05, 3, 12 ∴ F > 3.49 สําหรับตัวอยางผา (ปจจัยควบคุม) F > F0.05, 4, 12 ∴ F > 3.26 5. คาสถิติ คํานวณจากตาราง ANOVA ดังตารางที่ 10.14 ตารางที่ 10.14 ตาราง ANOVA แหลงของ ความผันแปร
ผลรวมของ คากําลังสอง
องศาอิสระ
กําลังสองเฉลี่ย
คาสถิติ F0
ชนิดของนํ้ายา (ปจจัยศึกษา)
18.04
a–1 = 3
SStr = 6.01 a–1
MStr = 75.13 MSE
ตัวอยางผา (ปจจัยควบคุม)
6.69
b–1=4
SSbl = 1.67 b–1
MSbl = 20.88 MSE
ปจจัยแวดลอมอื่นๆ
0.96
(a – 1)(b – 1) = 12
SSE (a – 1)(b – 1) = 0.08
ผลรวม
25.69
ab – 1 = 19
2 4 5 SST = Σ Σ y2ij – yab•• i=1 j=1
2 = 1.32 + 1.62 + ... + 3.42 – 39.2 = 25.69 20 2 2 4 y SStr = Σ i • – y •• i=1 b ab 2 2 2 2 2 = 5.7 + 8.8 + 6.9 + 17.8 – 39.2 = 18.04 20 5
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
313
2 5 y2 SSbl = Σ a•j – y •• ab j=1 2 2 2 2 2 2 = 9.2 + 10.1 + 3.5 + 8.8 + 7.6 – 39.2 = 6.69 4 20
SSE = SST – SStr – SSbl = 25.69 – 18.04 – 6.69 = 0.96 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ทั้งชนิดของนํ้ายา (ปจจัยศึกษา) และ ตัวอยางผา (ปจจัยควบคุม) การใชนาํ้ ยาทีม่ สี ว นผสมทางเคมีแตกตางกันและตัวอยางผาทีไ่ มเหมือนกัน จะทําใหความ เรียบของผาแตกตางกัน (หรือชนิดของนํ้ายาและประเภทของตัวอยางผามีผลตอความเรียบของผา) ในการทดลองแบบ CRBD ชวงความเชื่อมั่น (1 – α) ของผลตางของคาเฉลี่ยแตละคู (Pairwise Comparison of the Factor Level Means) จํานวน ( a2 ) = a(a – 1) คู หาไดจาก 2 S(qα, a, ν) yk – yl ± b โดย S =
∧
σ
=
MSE
และ qα, a, ν เปนคาวิกฤติดานบน (Upper α Point) ของการแจกแจง Studentized Range Distribution ดังตารางในภาคผนวกที่ ก.9 เมื่อ ν = (a – 1)(b – 1) จากตัวอยางที่ 10.4 ถาตองการหาชวงความเชื่อมั่น 95% ของผลตางของคาเฉลี่ยใน นํ้ายาทั้งสี่ชนิด จะไดจํานวนคู
( 42 )
4(4 – 1) = 6 คู 2 MSE (q0.05, 4, 12) S(q ) และ α, a, ν = b b =
= ( 0.08)(4.20) = 0.531 5
314
สถิติวิศวกรรม
ผลเปรียบเทียบของนํ้ายาแตละคูเปนดังนี้ L1 – L2 : 1.14 – 1.76 ± 0.531 = (–1.151, –0.089) L1 – L3 : 1.14 – 1.38 ± 0.531 = (–0.771, 0.291) L1 – L4 : 1.14 – 3.56 ± 0.531 = (–2.951, –1.889) L2 – L3 : 1.76 – 1.38 ± 0.531 = (–0.151, 0.911) L2 – L4 : 1.76 – 3.56 ± 0.531 = (–2.331, –1.269) L3 – L4 : 1.38 – 3.56 ± 0.531 = (–2.711, –1.649) ผลจากการวิเคราะหความแปรปรวนอาจชี้ใหเห็นวามีความแตกตางของคาเฉลี่ยในแตละ กลุม ดังนั้น อาจศึกษาตอจากผลวิเคราะหดังกลาวเพื่อดูวากลุมใดบางที่แตกตางกัน โดยดูไดจาก S(qα, a, ν) Tα = b ถา | yk – yl | > Tα จะสรุปไดวา คาเฉลี่ยคูดังกลาวมีความแตกตางกัน การวิเคราะหเพื่อหาคูของปจจัยศึกษาที่มีความแตกตางกันเรียกวา Multiple Comparison Method ซึ่งวิธีการคํานวณที่ใชผลตางมาเปรียบเทียบกับคา Tα จะเรียกวาวิธี Tukey’s Test จากตัวอยางที่ 10.4 พบวา T0.05 = 0.531 | yL1 – yL2 | = | 1.14 – 1.76 | = 0.62 | yL1 – yL3 | = | 1.14 – 1.38 | = 0.24 | yL1 – yL4 | = | 1.14 – 3.56 | = 2.42 | yL2 – yL3 | = | 1.76 – 1.38 | = 0.38 | yL2 – yL4 | = | 1.76 – 3.56 | = 1.80 | yL3 – yL4 | = | 1.38 – 3.56 | = 2.18 ดังนั้น สรุปไดวามี 2 คูที่ไมแตกตางกันคือ 1. นํ้ายาชนิดที่ 1 และ 3 2. นํ้ายาชนิดที่ 2 และ 3 สําหรับคูที่เหลือจะมีความแตกตางกัน ซึ่งใหผลในทิศทางเดียวกันกับการหาชวงความ เชื่อมั่นขางตน ซึ่งจะพบวาเฉพาะ 2 คูเทานั้นคือคูที่ 1 กับ 3 และคูที่ 2 กับ 3 ที่ชวงความเชื่อมั่น ครอบคลุมคา 0 อยูดวย คา 0 จะเปนการบอกโดยนัยวา µk ไมแตกตางจาก µl นั่นเอง
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
315
แบบฝกหัด 1. การบันทึกผลการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดของชางเทคนิค 4 คนประจําหองปฏิบัติการแหง หนึ่ง โดยบันทึกจํานวนครั้งที่ผิดพลาดในการทํางานทั้งหมด 5 วันติดตอกัน ผลดังตาราง จงทดสอบวาชางเทคนิคทั้ง 4 คนมีประสิทธิภาพการทํางานที่แตกตางกันหรือไม ที่ระดับ นัยสําคัญ 0.01 (เฉลย : ยอมรับ H0 ชางเทคนิคทั้ง 4 คนมีประสิทธิภาพการทํางานไมแตกตางกัน) ชางเทคนิค # 1
ชางเทคนิค # 2
ชางเทคนิค # 3
ชางเทคนิค # 4
6
14
10
9
14
9
12
12
10
12
7
8
8
10
15
10
11
14
11
11
2. การวัดคานํ้าหนักที่สูญเสียไปของชิ้นสวนทางกล (หนวย : mg) จากการเสียดสี โดยวัดหลัง จากการใชงานภายใตสารหลอลื่น 3 ชนิดที่แตกตางกัน จงทดสอบวาชนิดของสารหลอลื่นมี ผลตอการสูญเสียนํ้าหนักของชิ้นสวนทางกลหรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.025 สารหลอลื่นชนิดที่ 1
12.2
11.8
13.1
11.0
3.9
4.1
10.3
8.4
สารหลอลื่นชนิดที่ 2
10.9
5.7
13.5
9.4
11.4
15.7
10.8
14.0
สารหลอลื่นชนิดที่ 3
12.7
19.9
13.6
11.7
18.3
14.3
22.8
20.4
(เฉลย : ปฏิเสธ H0 ชนิดของสารหลอลื่นมีผลตอการสูญเสียนํ้าหนักของชิ้นสวนทางกล)
316
สถิติวิศวกรรม
3. การจําลองสถานการณที่แตกตางกัน 3 รูปแบบ เพื่อทดสอบนักบิน 28 คนวาสามารถตอบ สนองและแกปญหาเฉพาะหนาไดดีเพียงใด ผลของเวลาตอบสนอง (หนวย : ms) แสดง ดังตาราง สถานการณจําลองที่ 1
14
13
9
15
11
13
14
11
สถานการณจําลองที่ 2
10
12
9
7
11
8
12
9
สถานการณจําลองที่ 3
11
5
9
10
6
8
8
7
10
13
9
10
จงทดสอบวาสถานการณจําลองที่แตกตางกันมีผลตอการตอบสนองของนักบินหรือ ไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 สถานการณจําลองที่แตกตางกันมีผลตอการตอบสนองของนักบิน) 4. อะลูมิเนียมอัลลอยถูกนํามาใชในขดลวดเหนี่ยวนําเพื่อคุณสมบัติตานทานไฟฟาตํ่า จงหา ขอสรุปวาการเลือกใชประเภทของอะลูมเิ นียมอัลลอยมีผลตอกระแสไฟฟาทีไ่ หลผานขดลวด หรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 อัลลอย
กระแสไฟฟา (A)
ชนิดที่ 1
1.085
1.016
1.009
ชนิดที่ 2
1.051
0.993
1.002
ชนิดที่ 3
0.985
1.001
0.990
ชนิดที่ 4
1.101
1.015
1.034 0.988
1.011
(เฉลย : ยอมรับ H0 การเลือกใชประเภทของอะลูมเิ นียมอัลลอยไมมผี ลตอกระแสไฟฟาทีไ่ หล ผานขดลวด)
บทที่ 10 การวิเคราะหความแปรปรวน
317
5. การทดสอบประสิทธิภาพของสารทําความสะอาดหัวฉีดเชือ้ เพลิง โดยบันทึกคาความสะอาด ของหัวฉีดเมื่อใชสารทําความสะอาด 4 ชนิดกับหัวฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต 3 ประเภท ผลดังนี้ เครื่องยนต # 1
เครื่องยนต # 2
เครื่องยนต # 3
สาร A
45
43
51
สาร B
47
46
52
สาร C
48
50
55
สาร D
42
37
49
ถากําหนดใหชนิดของสารทําความสะอาดเปนปจจัยศึกษา และประเภทของเครือ่ งยนต เปนปจจัยควบคุม จงวิเคราะหความแปรปรวนทีร่ ะดับนัยสําคัญ 0.05 เพือ่ ดูวา มีความแตกตาง ในสารทําความสะอาดหรือในเครื่องยนตหรือไม (เฉลย : ปฏิเสธ H0 ชนิดของสารทําความสะอาดและประเภทของเครือ่ งยนต มีผลตอคาความ สะอาดของหัวฉีดเชื้อเพลิง) 6. นักวิจัยในหองปฏิบัติการแหงหนึ่งทําการวัดความทนตอแรงดึง (หนวย : ออนซ) ของเสนใย ลินิน 5 ชนิด ดวยเครื่องมือวัดที่แตกตางกัน 4 เครื่อง ผลดังตาราง เครื่องวัด # 1
เครื่องวัด # 2
เครื่องวัด # 3
เครื่องวัด # 4
เสนใยชนิดที่ 1
20.6
20.7
20.0
21.4
เสนใยชนิดที่ 2
24.7
26.5
27.1
24.3
เสนใยชนิดที่ 3
25.2
23.4
21.6
23.9
เสนใยชนิดที่ 4
24.5
21.5
23.6
25.2
เสนใยชนิดที่ 5
19.3
21.5
22.2
20.6
ถากําหนดใหชนิดของเสนใยลินนิ เปนปจจัยศึกษา และเครือ่ งมือวัดเปนปจจัยควบคุม จงวิเคราะหความแปรปรวนที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 ชนิดของเสนใยลินินมีผลตอความทนตอแรงดึง และยอมรับ H0 ประเภท ของเครื่องมือวัดไมมีผลตอความทนตอแรงดึง)
318
สถิติวิศวกรรม
7. วิธีการบมคอนกรีตมีผลตอคาความแข็งแรงของคอนกรีตหรือไม วิศวกรโยธาจึงสุมกลุม (Batch) ของคอนกรีตทั้งหมด 15 กลุม แตละกลุมใชวิธีการบมที่แตกตางกัน 3 วิธี วัดคา ความแข็งแรง ผลดังตาราง คาความแข็งแรง (MPa) กลุมคอนกรีตที่
วิธีการบม A
วิธีการบม B
วิธีการบม C
1
30.7
33.7
30.5
2
29.1
30.6
32.6
3
30.0
32.2
30.5
4
31.9
34.6
33.5
5
30.5
33.0
32.4
6
26.9
29.3
27.8
7
28.2
28.4
30.7
8
32.4
32.4
33.6
9
26.6
29.5
29.2
10
28.6
29.4
33.2
7.1 ถากําหนดใหวธิ กี ารบมคอนกรีตเปนปจจัยศึกษา และกลุม ของคอนกรีตเปนปจจัยควบคุม จงทดสอบวาวิธกี ารบมคอนกรีตทีแ่ ตกตางกันมีผลตอคาความแข็งแรงของคอนกรีตหรือ ไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 วิธีการบมคอนกรีตมีผลคาความแข็งแรงของคอนกรีต) 7.2 จงวิเคราะหวา กลุม ของคอนกรีตทีแ่ ตกตางกันมีผลตอคาความแข็งแรงของคอนกรีตหรือ ไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 กลุมของคอนกรีตมีผลตอความแข็งแรงของคอนกรีต) 7.3 ถาไมมีผลกระทบจากความแตกตางกันของกลุมของคอนกรีต หรือไมมีปจจัยควบคุม (Block) จงใชการวิเคราะหความแปรปรวนแบบ One–Way ANOVA เพื่อสรุปผลการ ศึกษา ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 (เฉลย : ยอมรับ H0 วิธีการบมคอนกรีตไมมีผลตอคาความแข็งแรงของคอนกรีต)
11
การถดถอยเชิงเสน และสหพันธ
ในการศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปรหรือปจจัยตั้งแต 2 ตัวขึ้นไปวามีความสัมพันธ กันอยางไร ดวยการสรางตัวแบบในการทํานายคาของตัวแปรนั้น จะใชเทคนิคทางสถิติที่เรียกวา การวิเคราะหการถดถอย (Regression Analysis) ตัวอยางเชน การศึกษาความสัมพันธระหวาง ความแข็งของโลหะชนิดหนึ่งกับคามอดูลัสของยัง (Young’s Modulus) วาเกี่ยวของกันอยางไร การวิเคราะหการถดถอยจะชวยสรางตัวแบบซึ่งทํานายคามอดูลัสของยังเมื่อความแข็งของโลหะ มีคาตางๆ หรือตัวอยางของการคาดการณระยะทางที่รถยนตวิ่งไดจากสมการความสัมพันธของ ฟงกชันความหนาของดอกยาง เปนตน การทํานายหรือการคาดการณนั้นตองอาศัยสูตรหรือตัว แบบของความสัมพันธระหวางตัวแปรตาม (Dependent Variable) กับตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ที่อาจมีมากกวาหนึ่งตัวแปร ถากําหนดให Y เปนตัวแปรตาม และ X1, X2, …, Xk เปนตัวแปรอิสระ k ตัวแปรซึ่ง มีความสัมพันธกันกับตัวแปร Y อธิบายความสัมพันธระหวางตัวแปรไดดวยสมการถดถอย (Regression Equation) Y = φ (X1, X2, …, Xk) ซึ่งนอกจากจะทําใหทราบรูปแบบของความ สัมพันธแลว ยังสามารถใชทํานายคาของตัวแปรตาม Y หากทราบคาของตัวแปรอิสระ X ได อีกดวย
1. การถดถอยเชิงเสนอยางงาย (Simple Linear Regression) การถดถอยเชิงเสนอยางงายเปนการอธิบายความสัมพันธเชิงเสนตรงระหวางตัวแปรเพียง 2 ตัวคือ ตัวแปรอิสระ X กับตัวแปรตาม Y ถา (x1, y1) (x2, y2) …(xn, yn) เปนขอมูลจํานวน n
320
สถิติวิศวกรรม
คูที่ไดจากการทดลอง ซึ่งตัวแปร X จะสามารถกําหนดหรือควบคุมคาที่ตองการ ขณะที่ตัวแปร Y จะเปนผลที่ไดจากการทดลอง ขอมูลชุดดังกลาวจะเปนการเริ่มตนสําหรับการวิเคราะหหาสมการ ถดถอย ในบทเรียนนี้มุงศึกษาเฉพาะความสัมพันธเชิงเสนตรงของตัวแปร 2 ตัวเทานั้น จึงควร เริ่มตนดวยการดูแนวโนมความสัมพันธระหวาง 2 ตัวแปรกอน โดยใชแผนภาพการกระจาย (Scatter Plot) เพื่อดูวาขอมูลมีแนวโนมจะเปนเชิงเสนตรงหรือไม ยกตัวอยางเชน ในการศึกษา ผลกระทบของอุณหภูมิวามีผลตอคา Yield ของผลิตภัณฑหรือไมนั้น วิศวกรไดทดลองปรับ อุณหภูมิที่ใชในกระบวนการผลิต (หนวย : °C) แลวทําการวัดคา Yield ของผลิตภัณฑที่ผลิตออก มา (หนวย : %) ทดลองทั้งหมด 10 ครั้ง ผลการทดลองดังตารางที่ 11.1 ตารางที่ 11.1 ขอมูลของอุณหภูมิและคา Yield ของผลิตภัณฑ อุณหภูมิ Yield
100 45
110 51
120 54
130 61
140 66
150 70
160 74
170 78
180 85
190 89
กอนที่จะวิเคราะหหาสมการถดถอยที่แสดงถึงความสัมพันธระหวาง 2 ตัวแปรคือ ตัวแปร อิสระ X ซึ่งแทนอุณหภูมิ (สามารถปรับหรือกําหนดอุณหภูมิที่เราตองการทดลองได) และตัวแปร ตาม Y ซึ่งแทนคา Yield (ผลที่ไดจากการทดลอง) ควรจะดูแนวโนมของขอมูลวาเปนเชิงเสนตรง หรือไม โดยใชแผนภาพการกระจาย ดังรูปที่ 11.1
Yield, Y
100 90 80 70 60 50 40 30 20 10 0
100 110 120 130 140 150 160 170 180 190 อุณหภูมิ, X
รูปที่ 11.1 แผนภาพการกระจาย ที่มา : Hines et al. 2003.
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
321
พบวาแนวโนมของขอมูล (x1, y1) (x2, y2) … (x10, y10) เปนเชิงเสนตรง จึงสามารถวิเคราะห หาสมการถดถอยเชิงเสนไดตอไป สําหรับสมการถดถอยเชิงเสนอยางงายจะอยูในรูป yi =
β0 + β1xi + εi
เมื่อพารามิเตอร β0 เปนระยะตัดแกน Y (Y Intercept) พารามิเตอร β1 เปนคาความ ชัน (Slope) และ εi เปนคาความคลาดเคลื่อนอยางสุม (Random Error) ที่มีคาเฉลี่ย 0 และ ความแปรปรวน σ2 นั่นคือ εi ∼ N(0, σ2) ซึ่งอาจกลาวไดวา Yi ∼ N (β0 + β1xi, σ2) มีลักษณะ ดังรูปที่ 11.2 การแจกแจงของ y3 เสนการถดถอย y = β0 + β1x
y
.
.. 1xn β0 + β
การแจกแจงของ y1
การแจกแจง ของ y2
... β0 + β1x2 β0 + β1x1
x2
x1
...
xn
x
รูปที่ 11.2 สมการถดถอยเชิงเสนอยางงาย ที่มา : Hayter. 2002.
จากรูปที่ 11.2 จะสังเกตไดวา E(Yi) = β0 + β1xi พารามิเตอร β0 และ β1 เปนพารามิเตอร ที่ไมทราบคา จําเปนตองประมาณคาพารามิเตอรทั้งสองดวยตัวประมาณคา β^0 และ β^1 ดวย หลักการของ Least Squares คือ ผลตางกําลังสองระหวางคาสังเกต yi และคาที่ไดจากสมการ n ถดถอย y^i จะมีคานอยที่สุด หรือ Σ ε2i มีคานอยที่สุด โดยที่ εi = yi – y^i i=1
322
สถิติวิศวกรรม
y 17 ε4
16 ε ε1 3
15 14 13
ε2
ε6
12
ε5
y^ = β^0 + β^1x
11 4
5
6 7 8 9 10 รูปที่ 11.3 สมการถดถอยเชิงเสน และคา εi
x
จากรูปที่ 11.3 คา εi เรียกวา Residual เปนระยะหางจากจุด (xi, yi) ไปยังเสนตรง ^y = β^ + β^ x ซึ่งเรียกวา เสนการถดถอย (Regression Line) 0 1 n n n ถากําหนดให L = Σ ε2i = Σ (yi – y^i)2 = Σ (yi – β0 – β1xi)2 i=1 i=1 i=1 จากหลักการของ Least Squares คา L จะมีคานอยที่สุด ∂L = 0 โดย และ
∂β0 ∂L ∂β1
= 0
แกสมการหาคา β^0 และ β^1 จะไดวา ^
β0
^
β1
= y – β^1x n
=
(n )( n ) 2 n n n Σ x2i – (Σ xi) i=1 i=1
n Σ xiyi – Σ xi Σ yi i=1 i=1 i=1
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
323
ดังนั้น สามารถหาสมการที่ใชประมาณคาสมการถดถอยเชิงเสนแบบงายได นั่นคือ y^ =
^
^
β0 + β1x
เพื่อใหเขาใจผลรวมกําลังสอง (Sum of Squares) และผลรวมของผลคูณระหวางตัวแปร (Sum of Cross – Products) และสามารถใชในการคํานวณตอไป สัญลักษณของผลรวมตางๆ มีดงั นี้
( ) 2 n n n (yi – y)2 = Σ y2i – 1n ( Σ yi) Σ i=1 i=1 i=1
2 n n n ผลรวมกําลังสองของตัวแปรอิสระ X = Sxx = Σ (xi – x)2 = Σ x2i – 1n Σ xi i=1 i=1 i=1
ผลรวมกําลังสองของตัวแปรตาม Y = Syy =
n
ผลรวมของผลคูณระหวางตัวแปร X และ Y = Sxy = Σ (xi – x) (yi – y) i=1
( )( )
n n n = Σ xiyi – 1n Σ xi Σ yi i=1 i=1 i=1
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความสัมพันธของตัวประมาณคาความชัน สามารถหาตัวประมาณคา β^1 ไดจาก ^
β1
^
β1
ขางตน จะพบวา
S = Sxy xx
เมื่อไดสมการประมาณคาของสมการถดถอยเชิงเสนแลว กอนที่จะนําไปใชในการทํานาย คาของตัวแปรตาม Y ได จะตองทําการตรวจสอบกอนวา ตัวแปรทั้งสองคือตัวแปรอิสระ X และ ตัวแปรตาม Y มีความสัมพันธเชิงเสนตรงจริง ดวย การทดสอบความมีนัยสําคัญของตัวแบบ ถดถอย หรือเรียกวา การทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอรความชัน β1 เพื่อดูวาคาความ ชันระหวาง 2 ตัวแปรมีคาเปน 0, บวก หรือลบ ถาคาความชันเปน 0 (หรือ β1 = 0) แสดงวา ตัวแปร X และ Y ไมมีความสัมพันธกัน การเปลี่ยนแปลงของคา X ไมไดทําใหคา Y เปลี่ยนแปลง ไปดวย จึงไมสามารถใชสมการถดถอยเชิงเสนมาทํานายคาของ Y ได แตถาคาความชันเปนบวก หรือลบ (β1 > 0 หรือ β1 < 0) แสดงวาตัวแปร X และ Y มีความสัมพันธกัน โดยอาจสัมพันธ กันเชิงบวก (แปรตามกัน) หรือสัมพันธกันเชิงลบ (แปรผกผันกัน) บอยครั้งที่การตั้งสมมติฐาน ทดสอบวา X และ Y สัมพันธกันหรือไม จะอยูในรูปของ β1 ≠ 0 เพราะตองการตรวจสอบวา ตัวแปรทั้งสองสัมพันธกันหรือไมเทานั้น ไมไดเนนวาสัมพันธเชิงบวกหรือลบตอกัน
324
สถิติวิศวกรรม
y
y
y
β1 = 0
β1 > 0
x
β1 < 0
x
x
รูปที่ 11.4 ความหมายของพารามิเตอรความชัน β1 ที่มา : Hayter. 2002.
การทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอรความชัน ทดสอบ t หรือสถิติทดสอบ F (ตาราง ANOVA)
β1
นั้นสามารถทําได 2 วิธีคือ ใชสถิติ
วิธีที่ 1 ใชสถิติทดสอบ t ขั้นตอนการตั้งสมมติฐานทั้ง 6 ขั้นตอน ประกอบดวย 1. 2. 3. 4.
H0 : β1 = 0 (หมายถึงตัวแปร X และ Y ไมมีความสัมพันธกัน) H1 : β1 ≠ 0 (หมายถึงตัวแปร X และ Y มีความสัมพันธกัน) กําหนดระดับนัยสําคัญของการทดสอบ α บริเวณวิกฤติ t > tα/2, n – 2 และ t < –tα/2, n – 2
5. คาสถิติ t0 =
^
β1
MSΕ/Sxx
6. สรุปผล ถา | t0 | ≤ tα/2, n – 2 ถา | t0 | > tα/2, n – 2
จะสรุปวายอมรับสมมติฐานหลัก H0 จะสรุปวาปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0
คา MSE (หรือ Mean Square Error, Residual Mean Square) คือ คาความแปรปรวน ของความคลาดเคลื่อน (Error) มีคาเทากับผลรวมกําลังสองของความคลาดเคลื่อน หารดวย องศาอิสระ n – 2 (จํานวนขอมูล n ซึ่งเสียความเปนอิสระไป 2 ตัว จากการประมาณคา β0 และ β1 เพื่อสรางสมการถดถอยเชิงเสน) SS MSE = n – E2 n
n
n
i=1
i=1
i=1
SSE = Σ ε2i = Σ (yi – y^i)2 = Σ y2i – ny2 – β^1Sxy
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
325
วิธีที่ 2 ใชสถิติทดสอบ F (หรือ ตาราง ANOVA) ขั้นตอนการตั้งสมมติฐานทั้ง 6 ขั้น
ตอน ประกอบดวย 1. H0 = β1 = 0 (หมายถึง ตัวแปร X และ Y ไมมีความสัมพันธกัน) 2. H1 = β1 ≠ 0 (หมายถึง ตัวแปร X และ Y มีความสัมพันธกัน) 3. กําหนดระดับนัยสําคัญของการทดสอบ α 4. บริเวณวิกฤติ F > Fα, 1, n – 2 5. คาสถิติ ใชตาราง ANOVA วิเคราะหหาคาสถิติ F0 ดังตารางที่ 11.2 ตารางที่ 11.2 ตาราง ANOVA แหลงของ ความผันแปร การถดถอย (Regression) ความคลาดเคลื่อน จากปจจัยอืน่ (Error) ผลรวม
ผลรวมของคา กําลังสอง ∧2
(
องศาอิสระ
n
n
(Σ xi ) x2 – i=1
SSR = β1 Σ i i=1
n
SSE= SST – SSR n
SST= Syy =Σ y2i – ny2 i=1
2
)
กําลังสองเฉลี่ย คาสถิติ F0
1
MSR =
SSE 1
n–2
MSE =
SSE n–2
MSR MSE
n–1
6. สรุปผล ถา F0 ≤ Fα, 1, n – 2 จะสรุปวายอมรับสมมติฐานหลัก H0 ถา F0 > Fα, 1, n – 2 จะสรุปวาปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 ในการวิเคราะหดว ยตาราง ANOVA นัน้ จะมองความผันแปรในการทํานายหรือความแปรปรวน มาจาก 2 สาเหตุคือ จากการถดถอย (Regression) และจากปจจัยอื่นๆ ที่กอใหเกิดความคลาด เคลื่อน (Error) ผลรวมของผลตางกําลังสองระหวางคาทํานาย y^i รอบๆ คาเฉลี่ยของตัวแปรตาม Y (หรือ y) เรียกวา SSR (Regression Sum of Squares) และผลรวมของผลตางกําลังสองระหวาง ขอมูล yi รอบๆ คาทํานาย y^i เรียกวา SSE (Error Sum of Squares) ดังรูปที่ 11.5 ผลรวมทั้งหมด เรียกวา SST (Total Sum of Squares) ซึ่งเทากับ SSR + SSE
326
สถิติวิศวกรรม
y 18
yi y^i
17 16
yi – y^i คาเบี่ยงเบนจากปจจัยอื่น y^i – y คาเบี่ยงเบนจากการถดถอย
15 y 14 13 12 11 4
5
6
8
7x
9
10 x
รูปที่ 11.5 คาเบี่ยงเบนจากการถดถอยและคาเบี่ยงเบนจากปจจัยอื่น
จากรูปที่ 11.5
n
SSR = Σ (y^i – y)2 = i=1 n
^
β1Sxy
=
^
β12Sxx
SSE = Σ (yi – y^i)2 = SST – SSR i=1
n
n
i=1
i=1
SST = Syy = Σ (yi – y)2 = Σ y2i – ny2 การทดสอบสมมติฐานของความชัน β1 จะใชสถิติทดสอบ t หรือสถิติทดสอบ F (ตาราง ANOVA) วิธีไหนก็ได ผลการทดสอบจะเหมือนกันไมวาจะเลือกตัวใดเปนสถิติทดสอบ ทั้งนี้ เพราะวากําลังสองของ t มีคาเทากับ F ดังนี้ t2 =
(
^
MS /Sxx ) β1
Ε
2
=
^
β12 Sxx
MSE
SS /1 MS = MSR = MSR = F E E
การสรุปผลของการทดสอบสมมติฐาน β1นั้น พบวาถาผลสรุปเปนยอมรับสมมติฐาน หลัก H0 แสดงวาไมมีความสัมพันธเชิงเสนระหวางตัวแปร X และ Y ดังนั้น จึงไมสามารถใช สมการถดถอยเชิงเสนที่สรางขึ้นในการทํานายคาของ Y ได สําหรับการยอมรับสมมติฐานหลัก H0 นั้นตีความหมายได 2 แบบคือ
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
327
1. ตัวแปร X ไมมีผลตอตัวแปร Y ดังรูปที่ 11.6 (ก) หรือ 2. ความสัมพันธระหวางตัวแปร X และ Y ไมใชเชิงเสนตรง ดังรูปที่ 11.6 (ข) y
y
(ก)
x
(ข)
x
รูปที่ 11.6 ความหมายของการยอมรับสมมติฐานหลัก H0 ที่มา : Hines et al. 2003.
ถาผลสรุปเปนปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 แสดงวาตัวแปร X และ Y มีความสัมพันธเชิงเสน ตอกัน หรืออาจกลาวไดวาตัวแปร X มีผลตอตัวแปร Y แตจะใชสมการถดถอยไดนั้น ควรตรวจ สอบรูปแบบความสัมพันธระหวางตัวแปร X กับ Y ดวยแผนภาพการกระจาย (Scatter Plot) เสียกอน สําหรับการปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 นั้น ตีความหมายได 2 แบบคือ 1. ตัวแปร X และ Y แสดงความสัมพันธเชิงเสนดังรูปที่ 11.7 (ก) ซึ่งสมการถดถอยเชิง เสนจะมีความเหมาะสมใชทํานายคาของ Y ได หรือ 2. ความสัมพันธระหวาง X และ Y เปนรูปแบบอื่นๆ ที่ไมใชเสนตรงดังรูปที่ 11.7 (ข) ดังนั้น สมการถดถอยรูปแบบอื่นจะมีความเหมาะสมมากกวาแบบเชิงเสน y
y
x (ก) (ข) รูปที่ 11.7 ความหมายของการปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 ที่มา : Hines et al. 2003.
x
328
สถิติวิศวกรรม
ตัวอยางที่ 11.1 การศึกษาความสัมพันธระหวางความเร็วลม (Air Velocity) กับสัมประสิทธิ์
การระเหย (Evaporation Coefficient) ของการเผาไหมหยดนํ้ามันเชื้อเพลิงในเครื่องยนตชนิด หนึ่ง บันทึกขอมูลไดดังตารางที่ 11.3 ตารางที่ 11.3 ขอมูลความเร็วลมและสัมประสิทธิ์การระเหย ความเร็วลม (cm/s) x 20 60 100 140 180 220 260 300 340 380
สัมประสิทธิ์การระเหย (mm2/s) y 0.18 0.37 0.35 0.78 0.56 0.75 1.18 1.36 1.17 1.65
จงหา 1. จงวาดแผนภาพการกระจายและบอกแนวโนมของความสัมพันธระหวางความเร็วลมกับ สัมประสิทธิ์การระเหย 2. จงหาคาประมาณของสมการถดถอย y^ = β^0 + β^1x 3. จงทดสอบวามีความสัมพันธเชิงเสนระหวางความเร็วลมกับสัมประสิทธิ์การระเหย หรือไม ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 โดยใชสถิติทดสอบ t 4. ทดสอบความสัมพันธระหวางตัวแปรทั้งสอง โดยใชสถิติทดสอบ F
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
329
วิธีทํา
สัมประสิทธิ์การระเหย (mm2/s)
1. วาดแผนภาพการกระจาย และบอกแนวโนมความสัมพันธระหวางความเร็วลมกับ สัมประสิทธิ์การระเหย y 1.8 1.6 1.4 1.2 1.0 0.8 0.6 0.4 0.2 0 40 80 120 160 200 240 280 320 360 400 x ความเร็วลม (cm/s)
รูปที่ 11.8 แผนภาพการกระจายและแนวโนมความสัมพันธระหวางความเร็วลมกับสัมประสิทธิ์การระเหย ที่มา : Johnson. 2005.
∴ ความสัมพันธระหวางความเร็วลมกับสัมประสิทธิ์การระเหยมีแนวโนมสัมพันธเชิงเสน
2. คาประมาณสมการถดถอย y^ = n
^
β1
= =
^
β0
∴
^
^
β0 + β1x
(n )( n ) 2 n n n Σ x2i – (Σ xi) i=1 i=1
n Σ xiyi – Σ xi Σ yi i=1 i=1 i=1
10(2175.40) – 2000(8.35) = 0.00383 10(532000) – 20002
= y – β^1x
(
)
= 8.35 – 0.00383 2000 10 = 0.069 10 คาประมาณสมการถดถอย y^ = β^0 + β^1x = 0.069 + 0.00383x
330
สถิติวิศวกรรม
3. ทดสอบความสัมพันธเชิงเสนระหวางความเร็วลมกับสัมประสิทธิ์การระเหยที่ระดับนัย สําคัญ 0.05 โดยใช สถิติทดสอบ t 1. H0 : β1 = 0 2. H1 : β1 ≠ 0 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติ t > t0.025, 8 และ t < –t0.025, 8 ∴ t > 2.306 และ t < – 2.306 5. คาสถิติ ^
β1
t0 =
MSΕ/Sxx 0.00383 = 8.75 0.0252/132000
= n
Sxx = Σ x2i –
โดย
(Σi=1n xi)2 n
i=1
2 = 532000 – 2000 10 = 132000 n
Sxy = Σ xiyi – i=1
n
n
xi . Σ yi Σ i=1 i=1 n
= 2175.40 – 2000(8.35) = 505.40 10 n
SSE = Σ y2i – ny2 – β^1Sxy i=1
∴
( )
2 = 9.1097 – 10 8.35 – 0.00383(505.40) = 0.2018 10 SS MSE = n – E2 = 0.2018 = 0.0252 8
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
331
6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 มีความสัมพันธเชิงเสนระหวางความเร็วลมกับสัมประสิทธิ์การระเหย 4. ทดสอบความสัมพันธเชิงเสนระหวางความเร็วลมกับสัมประสิทธิ์การระเหยที่ระดับนัย สําคัญ 0.05 โดยใช สถิติทดสอบ F 1. H0 : β1 = 0 2. H1 : β1 ≠ 0 3. α = 0.05 4. บริเวณวิกฤติ F > F0.05, 1, 8 ∴ F > 5.32 5. คาสถิติ คํานวณจากตาราง ANOVA ดังตารางที่ 11.4 ตารางที่ 11.4 ตาราง ANOVA แหลงของ ความผันแปร
ผลรวมของคากําลังสอง
องศาอิสระ
กําลังสองเฉลี่ย
คาสถิติ F0
การถดถอย
SSR = 1.935
1
SSR 1 = 1.935
MSR MSE = 76.49
ความคลาดเคลื่อน จากปจจัยอื่น
SSE = 0.202
n–2=8
SSE n – 2 = 0.0252
SST = Syy = 2.137
n–1=9
ผลรวม
โดย
n
SST = Syy = Σ y2i – ny2 i=1
( )
= 9.1097 – 10 8.35 10
2
= 2.1375
332
สถิติวิศวกรรม
SSR =
(
^ n β12 Σ x2i i=1
–
(Σi=1n xi)2 n
(
) )
2 = (0.00383)2 532000 – 2000 10 = 1.935 SSE = SST – SSR
= 2.1375 – 1.935 = 0.202 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 มีความสัมพันธเชิงเสนระหวางความเร็วลมกับสัมประสิทธิ์การระเหย
ตัวอยางที่ 11.2 ในการศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิวามีผลตอคา Yield ของผลิตภัณฑหรือ
ไมนั้น วิศวกรไดทดลองปรับอุณหภูมิที่ใชในกระบวนการผลิต (หนวย °C) แลวทําการวัดคา Yield ของผลิตภัณฑที่ผลิตออกมา (หนวย %) ทดลองทั้งหมด 10 ครั้ง ผลการทดลองดังตารารางที่ 11.5 ตารางที่ 11.5 คาอุณหภูมิและคา Yield ของผลิตภัณฑ อุณหภูมิ
100
110
120
130
140
150
160
170
180
190
Yield
45
51
54
61
66
70
74
78
85
89
ถาทราบจากแผนภาพการกระจาย (ดังรูปที่ 11.1) วาตัวแปรทั้งสองมีแนวโนมมีความ สัมพันธเชิงเสนตรงตอกัน จงวิเคราะหหาสมการถดถอยเชิงเสน และทดสอบตัวแบบถดถอยดวย สถิติทดสอบ t และ F ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01
วิธีทํา ตัวแปรอิสระ X คือ อุณหภูมิ (ควบคุมและกําหนดคาในการทดลองได) ตัวแปรตาม Y คือ Yield (ผลที่ไดจากการทดลอง) 1. วิเคราะหหาสมการถดถอยเชิงเสน จากชุดขอมูล 10 คา (n = 10)
( )
2
10 10 Sxx = Σ x2i – 1 Σ xi 10 i=1 i=1 = 218500 – 1 (1450)2 = 8250 10
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
( )( )
10 10 10 Sxy = Σ xiyi – 1 Σ xi Σ yi 10 i=1 i=1 i=1 = 101570 – 1 (1450)(673) = 3985 10 S xy ^ ∴ β1 = Sxx = 3985 8250 = 0.483 ^ ^ β0 = y – β1x 1450 = 673 10 – 0.483 10 = –2.739
(
คาประมาณสมการถดถอย y^ =
^
)
^
β0 + β1x
= –2.739 + 0.483x 2. 1. 2. 3. 4.
ทดสอบตัวแบบถดถอยที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 โดยใช สถิติทดสอบ t H0 : β1 = 0 H1 : β1 ≠ 0 α = 0.01 บริเวณวิกฤติ t > t0.005, 8 และ t < –t0.005, 8 ∴ t > 3.355 และ t < –3.355 5. คาสถิติ ^
β1
t0 =
MSΕ/Sxx 0.483 = 46.24 0.90/8250
= 10
SSE = Σ y2i – 10y2 – β^1Sxy
โดย
i=1
∴
= 47225 – 10(67.3)2 – (0.483)(3985) = 7.23 SS MSE = 10 –E2 = 7.23 8 = 0.90
333
334
สถิติวิศวกรรม
6. สรุปผล ปฏิเสธ H 0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 มีความสัมพันธเชิงเสนระหวางอุณหภูมิกับคา Yield ของผลิตภัณฑ 3. 1. 2. 3. 4.
ทดสอบตัวแบบถดถอยที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 โดยใช สถิติทดสอบ F H0 : β1 = 0 H1 : β1 ≠ 0 α = 0.01 บริเวณวิกฤติ F > F0.01, 1, 8 F > 11.26 ∴ 5. คาสถิติ คํานวณจากตาราง ANOVA ดังตารางที่ 11.6 ตารางที่ 11.6 ตาราง ANOVA
แหลงของ ความผันแปร
องศาอิสระ
กําลังสองเฉลี่ย
คาสถิติ F0
1924.87 7.23
1 8
1924.87 0.90
2138.74
1932.10
9
ผลรวมของคากําลังสอง
การถดถอย ความคลาดเคลื่อน จากปจจัยอื่น ผลรวม
โดย
10
SST = Syy = Σ y2i – 10y2 i=1
= 47225 – 10(67.3)2 = 1932.10 SSR = β^12 Sxx = (0.483)2(8250) = 1924.87 6. สรุปผล ปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 มีความสัมพันธเชิงเสนระหวางอุณหภูมิกับคา Yield ของผลิตภัณฑ นอกจากการทดสอบสมมติฐานของพารามิเตอรความชัน ความเชื่อมั่น 100(1 – α)% ของพารามิเตอรความชัน β1 ไดจาก ^
β1 – tα/2, n – 2
MSE Sxx
^
≤ β1 ≤ β1+ tα/2, n – 2
β1
MSE Sxx
แลว ยังสามารถหาชวง
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
335
ในทํานองเดียวกัน สามารถหาชวงความเชื่อมั่น 100(1 – α)% ของพารามิเตอรจุดตัด แกน Y (Y Intercept) β0 ไดจาก ^
β0 – tα/2, n – 2
2 MSE 1n + Sx xx
^
≤ β0 ≤ β0 + tα/2, n– 2
2 MSE 1n + Sx xx
จากตัวอยางที่ 11.2 ถาตองการหาชวงความเชื่อมั่น 99% ของความชัน β1 จะได 0.483 – 3.355 ∴
0.90 8250
≤ β1 ≤
0.448
≤ β1 ≤
0.483 + 3.355
0.90 8250
0.518
ชวงความเชื่อมั่น 99% ของจุดตัดแกน β0 จะได – 2.739 – 3.355
1 + 1452 0.90 10 8250 ∴
–7.919
≤ β0 ≤ – 2.739 + 3.355
≤ β0 ≤
1 + 1452 0.90 10 8250
2.441
2. การทดสอบความเหมาะสมของ Model
วิธกี ารทีใ่ ชในการทดสอบความเหมาะสมของสมการถดถอย (Regression Model) แบงเปน
2.1 การวิเคราะหคา Residuals
คา Residuals εi = yi – y^i เมื่อ i = 1, 2, …, n โดยที่คา yi เปนคาสังเกต และ y^i เปน คาประมาณที่ไดจากสมการถดถอย การวิเคราะหคา Residuals จะใชตรวจสอบเงื่อนไขที่วา คาความคลาดเคลื่อน (Errors) มีการแจกแจงแบบ NID (0, σ2) หรือไม กราฟ Residuals กับคา y^i ดังรูปที่ 11.9 อาจแสดงใหเห็นเปน 4 รูปแบบคือ รูป (ก) กระจายตัวอยางสมํ่าเสมอ (Satisfactory) แสดงใหเห็นถึงการแจกแจงปกติ (Normality) ขณะที่รูป (ข) ทรงกรวย (Funnel) รูป (ค) คันธนูคู (Double Bow) และรูป (ง) ไมเปนเชิงเสน (Nonlinear) จะแสดงใหเห็นถึงความไมปกติ มีลักษณะ เปนรูปแบบ (Pattern)
336
สถิติวิศวกรรม
εi
εi
0
0
y^i (ก) กระจายตัวอยางสมํ่าเสมอ εi
(ข) ทรงกรวย
y^i
εi
0
0
y^i
(ค) คันธนูคู
(ง) ไมเปนเชิงเสน
y^i
รูปที่ 11.9 กราฟ Residuals กับคา y^i ที่มา : Hines et al. 2003.
จากตัวอยางที่ 11.2 ถาตองการวิเคราะหคา Residuals จะไดดังตารางที่ 11.7 ตารางที่ 11.7 คา Residuals yi
45.00
51.00
54.00
61.00
66.00
70.00
74.00
78.00
85.00
89.00
y^i
45.56
50.39
55.22
60.05
64.88
69.72
74.55
79.38
84.21
89.04
εi = yi – y^i
–0.56
0.61
–1.22
0.95
1.12
0.28
–0.55
–1.38
0.79
–0.04
โดย y^i คํานวณจากสมการถดถอยเชิงเสน y^ = –2.739 + 0.483x เมื่อนําคา Residuals มาสรางกราฟ Normal Probability Plot เพื่อตรวจสอบความ เปนปกติ (Normality) พบวาคา Residuals เรียงตัวกันเปนแนวเสนตรง ซึง่ แสดงถึงขอมูลมีการแจกแจง ปกติ
ความนาจะเปน
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
2 5 10 20 30 40 50 60 70 80 90 95 98
–1.5 –1.0 –0.5
0.0
0.5 1.0
1.5
2.0
337
98 95 90 80 70 60 50 40 30 20 10 5 2
คา Residuals รูปที่ 11.10 กราฟ Normal Probability Plot ที่มา : Hines et al. 2003.
รูปที่ 11.11 เปนกราฟระหวางคา Residuals กับ y^i และกราฟระหวางคา Residuals กับ xi แสดงใหเห็นวาเปนไมมีความผิดปกติเกิดขึ้น กราฟมีลักษณะคลายคลึงกับรูปแบบกระจาย ตัวอยางสมํ่าเสมอ (Satisfactory) ที่กลาวมาขางตน εi
εi
2.00 1.00 0.00 –1.00 –2.00 40
50
60
70
80
90
y^i
2.00 1.00 0.00 –1.00 –2.00
100 110 120 130 140 150 160 170 180 190
xi
รูปที่ 11.11 กราฟระหวางคา Residuals กับ y^i และ xi ที่มา : Hines et al. 2003.
2.2 Lack – Fit Test
Lack – Fit Test เปนการตรวจสอบดูวา ตัวแบบการถดถอย (Regression Model) มีลกั ษณะ ของความสัมพันธทเี่ หมาะ (Fit) กับขอมูลหรือไม รูปที่ 11.12 จะแสดงใหเห็นวาขอมูลกับ Regression Model ไมเหมาะกัน (Lack of Fit) แนวโนมของขอมูลไมเปนเชิงเสน ซึ่งขัดแยงกับสมการถดถอย เชิงเสนตรง y^ = β^0+ β^1x
338
สถิติวิศวกรรม
y ^ ^ y^ = β0 + β1x
x
รูปที่ 11.12 ตัวอยางการตรวจสอบ Lack – Fit Test ที่มา : Hines et al. 2003.
2.3 Coefficient of Determination (r2)
Coefficient of Determination (r2) เปนคาสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ จะถูกใชบอยใน การตัดสินใจวา Regression Model ที่ไดมีความเหมาะสมหรือไม การคํานวณคา r2 จะกลาวถึง ในหัวขอสหสัมพันธ (Correlation) ที่อยูถัดไป
3. สหสัมพันธเชิงเสน (Linear Correlation) สหสัมพันธคือ ตัวชี้วัดความสัมพันธระหวางตัวแปรตั้งแต 2 ตัวขึ้นไปวามีความสัมพันธ กันมากนอยเพียงใด ในที่นี้จะศึกษาเฉพาะตัวแปรเพียง 2 ตัว สําหรับสหสัมพันธเชิงเสนระหวาง ตัวแปร X และ Y จะเปนการศึกษาถึงความสัมพันธเชิงเสนตรงวามีมากนอยเพียงใด สัมประสิทธิ์ที่ใชวัดความสัมพันธมากนอยระหวางตัวแปรเรียกวา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ (Correlation Coefficient, ρ) ρ
= Cov(X,Y) = E(XY) σ– E(X)E(Y) σ σσ x y
x y
สําหรับคาประมาณของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ (Sample Correlation, r)
ρ
คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธตัวอยาง
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
339
n
r =
=
(xi – x)(yi – y) Σ i=1
n
n
(xi – x)2 Σ (yi – y)2 Σ i=1 i=1 Sxy = SxxSyy
^
β1
Sxx Syy =
SSR SST
คาของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ (r) มีคาตั้งแต – 1 ถึง 1 ( – 1 ≤ r ≤ 1) ถา r = 1 หรือ – 1 แสดงวาเสนถดถอยผานทุกๆ จุดหรือไมมีความคลาดเคลื่อนเลย เครื่องหมายบวก (+) แสดงถึง คาของตัวแปรทั้งสองมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันหรือแปรตามกัน สวนเครื่องหมาย ลบ (–) เปนการเปลี่ยนแปลงกลับกันหรือแปรผกผันกัน ถาคาสัมบูรณของ r ใกล 1 มาก แสดงวามีความสัมพันธเชิงเสนอยางดี แตถาใกลคา 0 แสดงวามีความสัมพันธเชิงเสนนอย และถา r = 0 หมายถึงไมมีความสัมพันธเชิงเสนตอกัน r = 0.9
r = 0.5
(ก)
(ข)
r = –0.9
(ง)
r=0
(จ)
r = –0.5
(ค) r=0
(ฉ)
รูปที่ 11.13 ลักษณะของความสัมพันธเมื่อพิจารณาจากสัมประสิทธิ์สหสัมพันธตัวอยาง ที่มา : Johnson. 2005.
340
สถิติวิศวกรรม
นอกจากคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธแลว ยังมีสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจ (Coefficient of Determination, r2) ที่ใชเปนตัววัดความสัมพันธเชิงเสนระหวางตัวแปร X และ Y r2 =
SST – SSE SSR = SST SST
คา r2 มีคาตั้งแต 0 ถึง 1 (0 ≤ r2 ≤ 1) การอธิบายความสัมพันธจะอยูในรูปของเปอรเซ็นต โดยแสดงวา 100r2% ของการแปรผันของตัวแปร Y เปนผลเนื่องมาจากการมีสัมพันธเชิงเสน กับตัวแปร X เชน r = 0.80 (หรือ r2 = 0.64) หมายความวา 64% ของการแปรผันของตัวแปร Y เปนผลเนื่องมาจากการมีสัมพันธเชิงเสนกับตัวแปร X
ตัวอยางที่ 11.3 จากตัวอยางที่ 11.1 จงคํานวณและอธิบายความหมาย 1. คาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ (r) 2. คาสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจ (r2)
วิธีทํา 1. คาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ (r) r = =
SSR SST 1.935 = 0.952 2.137
ความหมาย สัมประสิทธิ์การระเหย (Y) มีความสัมพันธเชิงเสน (สหสัมพันธเชิงบวก) กับ ความเร็วลม (X) 2. คาสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจ (r2) r2 = 0.9055 = 90.55% ความหมาย 90.55% ของความผันแปรของสัมประสิทธิ์การระเหย (Y) เปนผลเนื่องมา จากความมีสัมพันธเชิงเสนกับความเร็วลม (X)
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
341
แบบฝกหัด 1. คลังสินคาแหงหนึ่งตองการปรับปรุงประสิทธิภาพของคนงานในการขนถายสินคาจากรถ บรรทุกเขาคลังสินคาซึ่งมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จึงทดลองปรับอุณหภูมิของเครื่อง ปรับอากาศ (หนวย : °F) แลววัดเวลาในการขนถายสินคา (หนวย : min) ผลดังตาราง อุณหภูมิ
เวลาในการขนถายสินคา
52 68 64 88 80 75 59 63 85 74 71 66
64 53 58 59 49 54 38 48 68 63 58 47
1.1 จงหาคาประมาณสมการถดถอย y^ = β^ 0 + β^ 1x, (เฉลย : y^ = 36.2 + 0.266 x) 1.2 จงทดสอบความมีนัยสําคัญของตัวแบบถดถอยที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 (เฉลย : ยอมรับ H0 อุณหภูมิและเวลาในการขนถายสินคาไมมีความสัมพันธกัน) 1.3 จงคํานวณคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ พรอมอธิบายความหมาย
(เฉลย : r = 0)
1.4 จงประมาณเวลาในการขนถายสินคาเมื่ออุณหภูมิเปน 72 °F (เฉลย : เนื่องจากไมมีความสัมพันธกัน จึงไมสามารถประมาณเวลาไดดวยสมการ ถดถอย)
342
สถิติวิศวกรรม
2. เปอรเซ็นตความบริสุทธิ์ของออกซิเจนที่ผลิตไดจากกระบวนการกลั่นถูกอางวาสัมพันธกับ เปอรเซ็นตของไฮโดรคารบอนในเครื่องควบแนน เพื่อตรวจสอบขออางดังกลาวจึงทดลอง เก็บขอมูล 1 เดือน ผลดังนี้ %O2 บริสุทธิ์
86.91 89.85 90.28 86.34 92.58 87.33 86.29 91.86 95.61 89.86
%ไฮโดรคารบอน
1.02
%O2 บริสุทธิ์
96.73 99.42 98.66 96.07 93.65 87.31 95.00 96.85 85.20 90.56
%ไฮโดรคารบอน
1.46
1.11
1.55
1.43
1.55
1.11
1.55
1.01
1.40
0.95
1.15
1.11
1.01
0.87
0.99
1.43
0.95
1.02
0.98
2.1 จงหาคาประมาณสมการถดถอย y^ = β^ 0 + β^ 1x (เฉลย y^ = 77.9 + 11.8 x) 2.2 จงทดสอบความมีนัยสําคัญของตัวแบบถดถอยที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 เปอรเซ็นต O2 และเปอรเซ็นตไฮโดรคารบอนมีความสัมพันธกัน) 2.3 จงคํานวณคาสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจ พรอมอธิบายความหมาย (เฉลย : r2 = 38.9%) 2.4 จงหาชวงความเชื่อมั่น 99% ของพารามิเตอรความชัน β1 (เฉลย : 11.8 ± 10.032) 3. วัตถุดบิ ทีใ่ ชในการผลิตเสนใยสังเคราะหถกู เก็บไวในพืน้ ทีค่ วบคุมความชืน้ เพือ่ ปองกันความ เสียหายของวัตถุดบิ จึงมีการตรวจวัดคาความชืน้ สัมพัทธของพืน้ ทีจ่ ดั เก็บและความชืน้ ของ วัตถุดิบ (%) โดยสุมตรวจวัดทั้งหมด 12 วันผลดังนี้ ความชื้นสัมพัทธ ความชื้นของวัตถุดิบ
42 35 50 43 48 62 31 36 44 39 55 48 12
8
14
9
11 16
7
9
12 10 13 11
3.1 จงวาดแผนภาพการกระจาย 3.2 จงหาคาประมาณสมการถดถอย y^ = β^ 0 + β^ 1x (เฉลย : y^ = –0.95 + 0.269 x) 3.3 จงทดสอบความมีนัยสําคัญของตัวแบบถดถอยที่ระดับนัยสําคัญ 0.025 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 ความชื้นสัมพัทธและความชื้นของวัตถุดิบมีความสัมพันธกัน) 3.4 จงคํานวณคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ พรอมอธิบายความหมาย (เฉลย : r = 0.914)
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
343
4. บริษทั ผูผ ลิตสารเคมีตอ งการศึกษาผลกระทบของเวลาทีใ่ ชในการแยกสารทีม่ ตี อ ประสิทธิภาพ ของกระบวนการแยกสาร โดยสุมตรวจสอบจากสารตัวอยางจํานวน 10 ชนิด ไดผลดังนี้
สารตัวอยางที่
เวลาที่ใชในการแยกสาร (min)
ประสิทธิภาพของ กระบวนการ (%)
1
27
57
2
45
64
3
41
80
4
19
46
5
35
62
6
39
72
7
19
52
8
49
77
9
15
57
10
31
68
4.1 ใหหาตัวแบบถดถอยเชิงเสนตรงอยางงาย (เฉลย y^ = 39.1 + 0.764 x) 4.2 จงทดสอบความมีนัยสําคัญของตัวแบบถดถอยที่ได ดวยระดับนัยสําคัญ 0.10 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 เวลาทีใ่ ชและประสิทธิภาพของกระบวนการแยกสารมีความสัมพันธ กัน) 4.3 จงคํานวณคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ พรอมอธิบายความหมาย (เฉลย : r = 0.825)
344
สถิติวิศวกรรม
5. การทดสอบความเขมขนของสารเติม Additive วามีความสัมพันธกบั เวลาทีส่ นี าํ้ มันแหงอยางไร นักวิจยั จึงทดลองเติมสาร Additive ลงในสีนาํ้ มันดวยความเขมขนตางๆ แลววัดเวลาทีส่ แี หง สนิท ผลดังนี้ ความเขมขนของ สารเติม (%)
เวลาที่สีนํ้ามันแหง (hr)
4.0
8.7
4.2
8.8
4.4
8.3
4.6
8.7
4.8
8.1
5.0
8.0
5.2
8.1
5.4
7.7
5.6
7.5
5.8
7.2
5.1 ใหหาตัวแบบถดถอยเชิงเสนตรงอยางงาย (เฉลย y^ = 12.2 – 0.833 x) 5.2 จงทดสอบความมีนัยสําคัญของตัวแบบถดถอยที่ได ดวยระดับนัยสําคัญ 0.05 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 ความเขมขนของสารเติม และเวลาทีส่ นี าํ้ มันแหงมีความสัมพันธกนั ) 5.3 จงคํานวณคาสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจ พรอมอธิบายความหมาย (เฉลย : r2 = 88.5%)
บทที่ 11 การถดถอยเชิงเสนและสหสัมพันธ
345
6. การสํารวจทางหลวงแหงหนึง่ เพือ่ ศึกษาความสัมพันธระหวางปริมาณนํา้ ฝน (m3) และปริมาณ การระบายนํ้า (m3) สําหรับใชเปนขอมูลพื้นฐานในการซอมบํารุง สุมตรวจสอบทั้งหมด 15 ชวง ผลดังนี้ ทางหลวงชวงที่
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10 11 12 13 14 15
ปริมาณนํ้าฝน
5
12 14 17 23 30 40 47 55 67 72 81 96 112 127
ปริมาณการระบายนํ้า 4
10 13 15 15 25 27 46 38 46 53 70 82 99 100
6.1 ใหหาตัวแบบถดถอยเชิงเสนตรงอยางงาย (เฉลย y^ = 1.13 + 0.827 x) 6.2 จงทดสอบความมีนัยสําคัญของตัวแบบถดถอยที่ได ดวยระดับนัยสําคัญ 0.01 (เฉลย : ปฏิเสธ H0 ปริมาณนํ้าฝนและปริมาณการระบายนํ้ามีความสัมพันธกัน) 6.3 จงคํานวณคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ พรอมอธิบายความหมาย (เฉลย : r = 0.987)
ภาคผนวก
ตารางที่ ก.1 ตารางที่ ก.2 ตารางที่ ก.3 ตารางที่ ก.4 ตารางที่ ก.5 ตารางที่ ก.6 ตารางที่ ก.7 ตารางที่ ก.8 ตารางที่ ก.9
ตัวเลขสุม ประเภทของการแจกแจงความนาจะเปน ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบทวินาม ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบปวสซอง ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน คาของตัวแปรสุม χ2 ภายใตความนาจะเปน α ที่กําหนด คาของตัวแปรสุม t ภายใตความนาจะเปน α ที่กําหนด คาของตัวแปรสุม F ภายใตความนาจะเปน α = 0.25, 0.10, 0.05, 0.025, 0.01 คาของตัวแปรสุม q ภายใตความนาจะเปน α = 0.01, 0.05
348
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.1 ตัวเลขสุม 3407 5044 0045 7536 7653 6157 6593 3187 4780 9414 1948 1843 4944 3882 6596 4793 2112 0743 8856 8027 3134 0633 8771 2672 3136 6490 8628 9270 5723 6228 7645 6842 6126 4956 1327 9188 0271 2127 2102 1706 7501 5705 3234 5641 2127
1440 9859 4999 1448 4231 1144 8668 7434 1071 6170 2360 0914 8903 3195 9009 2503 0232 1083 5352 4975 1688 9002 6069 1304 1916 7491 0501 0504 3807 8874 3379 5836 7792 0215 4736 1516 9627 1847 9201 6011 7635 1900 2599 4935 1868
ตัวเลขสุมบนชวง (0,1) 6960 8675 5649 4658 7779 7986 4930 7408 7551 7843 4801 3147 1233 4409 0609 4779 0951 3757 4871 0946 3155 0315 4418 1569 6814 2733 7968 2581 1398 2429 7244 9682 5418 9705 7861 6861 0460 0188 0530 8287 3298 9532 2055 4081 4842 2906 6807 2028 5334 1443 7306 8071 9779 5973 3384 8891 9189 2346 5786 0693 4071 3766 0570 1305 2256 5956 1598 4275 6017 2186 8279 2430 8886 8617 9312 6562 5355 3794 4618 3364 6709 5018 7013 4423 4997 4699 2231 7271 2621 5746 8376 3030 0351 6203 6171 2698 9337 7773 7286 3468 8038 6144 6229 8965 7215 5279 5433 2254 9442 9217 4656 1331 5122 8332 2911 7318 7670 5280 5552 5180 2301 0889 6955 7144 8707 9065 3295 9160 8441 7971 8917 1978 3664 9376 1984
5793 0520 3124 3071 6448 9562 3941 1101 8541 4763 0596 7865 7790 9066 7852 1075 6418 1141 1680 5615 2142 9256 5946 4896 5070 3555 1289 2147 3193 6333 8290 4086 4236 9753 6458 5768 7603 8195 6079 4630 8113 8163 0085 5649 6315
1514 6697 0527 4749 2900 2354 9662 0043 1003 9192 4971 7293 9118 8225 5915 7175 9639 4393 3192 2047 3492 8979 8189 3698 2720 7510 0543 4089 8130 0345 3640 5469 1788 3131 3937 8718 8826 3322 2676 4747 4364 9846 9317 5799 8396
349
ภาคผนวก
ตารางที่ ก.2 ประเภทของการแจกแจงความนาจะเปน รูปแบบ
การแจกแจงความนาจะเปน
คาเฉลี่ย
ความแปรปรวน
1,a≤b n
(b + a) 2 np
(b – a + 1)2 – 1 12 np(1 – p)
(1 – p)x–1 p x = 1, 2, …, 0 ≤ p ≤ 1
1 p
(1 – p) p2
( xk –– 11 ) (1 – p)x – k pk
k p
k (1 – p) p2
( kx ) ( Nn –– xk ) ( Nn )
nk N
n Nk (1 – Nk ) NN –– 1n
e–µ µx , x = 0, 1, 2, …, 0 < µ x!
µ
µ
(b + a) 2
(b – a)2 12
µ
σ2
การแจกแจงแบบไมตอเนื่อง ยูนิฟอรม ทวินาม เรขาคณิต ทวินามลบ
( nx ) px(1 – p)n – x
x = 0, 1, …, n, 0 ≤ p ≤ 1
x = k, k + k, k + 2, …, 0 ≤ p ≤ 1 ไฮเพอรจีออเมตริก
(
x = max(0, n – N + k), 1,…, min(k, n), k ≤ N, n ≤ N ปวสซอง การแจกแจงแบบตอเนื่อง ยูนิฟอรม ปกติ เอกซโปเนนเชียล เออรแลงก แกมมา ไวบูลล
1 b – a, a ≤ x ≤ b 1 e– 12 ( x –σµ )2 σ 2π – ∞ < x < ∞, – ∞ < µ < ∞, 0 < σ
1
λe–λx, 0 ≤ x, 0 < λ λkxk–1 e–λx
(k – 1)! , 0 < x, k = 1, 2,… λkxk–1e–λx Γ(k) , 0 < x, 0 < k, 0 < λ β x β–1 –(x/δ)β e δ
(δ)
0 < x, 0 < β, 0 < δ
1
λ2
λ
k
k
λ2
λ
k
k
λ2
λ δΓ
(1 + β1 )
(1 + β2 ) 2 –δ2 [ Γ (1 + β1 ) ] δ 2Γ
)
350
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.3 ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบทวินาม x P(X ≤ x) = Σ k!(nn!– k)! px(1 – p)n–k k=0
n 2 3
4
5
6
7
8
x 0 1 2 0 1 2 3 0 1 2 3 4 0 1 2 3 4 5 0 1 2 3 4 5 6 0 1 2 3 4 5 6 7 0 1 2 3 4 5 6 7 8
0.05 0.9025 0.9975 1.0000 0.8574 0.9928 0.9999 1.0000 0.8145 0.9860 0.9995 1.0000 1.0000 0.7738 0.9774 0.9988 1.0000 1.0000 1.0000 0.7351 0.9672 0.9978 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 0.6983 0.9556 0.9962 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.6634 0.9428 0.9942 0.9996 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.10 0.8100 0.9900 1.0000 0.7290 0.9720 0.9990 1.0000 0.6561 0.9477 0.9963 0.9999 1.0000 0.5905 0.9185 0.9914 0.9995 1.0000 1.0000 0.5314 0.8857 0.9842 0.9987 0.9999 1.0000 1.0000 0.4783 0.8503 0.9743 0.9973 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 0.4305 0.8131 0.9619 0.9950 0.9996 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.15 0.7225 0.9775 1.0000 0.6141 0.9392 0.9966 1.0000 0.5220 0.8905 0.9880 0.9995 1.0000 0.4437 0.8352 0.9734 0.9978 0.9999 1.0000 0.3771 0.7765 0.9527 0.9941 0.9996 1.0000 1.0000 0.3206 0.7166 0.9262 0.9879 0.9988 0.9999 1.0000 1.0000 0.2725 0.6572 0.8948 0.9786 0.9971 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000
0.20 0.6400 0.9600 1.0000 0.5120 0.8960 0.9920 1.0000 0.4096 0.8192 0.9728 0.9984 1.0000 0.3277 0.7373 0.9421 0.9933 0.9997 1.0000 0.2621 0.6553 0.9011 0.9830 0.9984 0.9999 1.0000 0.2097 0.5767 0.8520 0.9667 0.9953 0.9996 1.0000 1.0000 0.1678 0.5033 0.7969 0.9437 0.9896 0.9988 0.9999 1.0000 1.0000
p 0.25 0.5625 0.9375 1.0000 0.4219 0.8438 0.9844 1.0000 0.3164 0.7383 0.9492 0.9961 1.0000 0.2373 0.6328 0.8965 0.9844 0.9990 1.0000 0.1780 0.5339 0.8306 0.9624 0.9954 0.9998 1.0000 0.1335 0.4449 0.7564 0.9294 0.9871 0.9987 0.9999 1.0000 0.1001 0.3671 0.6785 0.8862 0.9727 0.9958 0.9996 1.0000 1.0000
0.30 0.4900 0.9100 1.0000 0.3430 0.7840 0.9730 1.0000 0.2401 0.6517 0.9163 0.9919 1.0000 0.1681 0.5282 0.8369 0.9692 0.9976 1.0000 0.1176 0.4202 0.7443 0.9295 0.9891 0.9993 1.0000 0.0824 0.3294 0.6471 0.8740 0.9712 0.9962 0.9998 1.0000 0.0576 0.2553 0.5518 0.8059 0.9420 0.9887 0.9987 0.9999 1.0000
0.35 0.4225 0.8775 1.0000 0.2746 0.7182 0.9571 1.0000 0.1785 0.5630 0.8735 0.9850 1.0000 0.1160 0.4284 0.7648 0.9460 0.9947 1.0000 0.0754 0.3191 0.6471 0.8826 0.9777 0.9982 1.0000 0.0490 0.2338 0.5323 0.8002 0.9444 0.9910 0.9994 1.0000 0.0319 0.1691 0.4278 0.7064 0.8939 0.9747 0.9964 0.9998 1.0000
0.40 0.3600 0.8400 1.0000 0.2160 0.6480 0.9360 1.0000 0.1296 0.4752 0.8208 0.9744 1.0000 0.0778 0.3370 0.6826 0.9130 0.9898 1.0000 0.0467 0.2333 0.5443 0.8208 0.9590 0.9959 1.0000 0.0280 0.1586 0.4199 0.7102 0.9037 0.9812 0.9984 1.0000 0.0168 0.1064 0.3154 0.5941 0.8263 0.9502 0.9915 0.9993 1.0000
0.45 0.3025 0.7975 1.0000 0.1664 0.5748 0.9089 1.0000 0.0915 0.3910 0.7585 0.9590 1.0000 0.0503 0.2562 0.5931 0.8688 0.9815 1.0000 0.0277 0.1636 0.4415 0.7447 0.9308 0.9917 1.0000 0.0152 0.1024 0.3164 0.6083 0.8471 0.9643 0.9963 1.0000 0.0084 0.0632 0.2201 0.4770 0.7396 0.9115 0.9819 0.9983 1.0000
0.50 0.2500 0.7500 1.0000 0.1250 0.5000 0.8750 1.0000 0.0625 0.3125 0.6875 0.9375 1.0000 0.0312 0.1875 0.5000 0.8125 0.9688 1.0000 0.0156 0.1094 0.3438 0.6562 0.8906 0.9844 1.0000 0.0078 0.0625 0.2266 0.5000 0.7734 0.9375 0.9922 1.0000 0.0039 0.0352 0.1445 0.3633 0.6367 0.8555 0.9648 0.9961 1.0000
ภาคผนวก
351
ตารางที่ ก.3 (ตอ) ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบทวินาม p n
x
0.05
0.10
0.15
0.20
0.25
0.30
0.35
0.40
0.45
0.50
9
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
0.6302 0.9288 0.9916 0.9994 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.5987 0.9139 0.9885 0.9990 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.5688 0.8981 0.9848 0.9984 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.5404 0.8816 0.9804 0.9978 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.3874 0.7748 0.9470 0.9917 0.9991 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.3487 0.7361 0.9298 0.9872 0.9984 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.3138 0.6974 0.9104 0.9815 0.9972 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.2824 0.6590 0.8891 0.9744 0.9957 0.9995 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.2316 0.5995 0.8591 0.9661 0.9944 0.9994 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.1969 0.5443 0.8202 0.9500 0.9901 0.9986 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.1673 0.4922 0.7788 0.9306 0.9841 0.9973 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.1422 0.4435 0.7358 0.9078 0.9761 0.9954 0.9993 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.1342 0.4362 0.7382 0.9144 0.9804 0.9969 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 0.1074 0.3758 0.6778 0.8791 0.9672 0.9936 0.9991 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 0.0859 0.3221 0.6174 0.8389 0.9496 0.9883 0.9980 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0687 0.2749 0.5583 0.7946 0.9274 0.9806 0.9961 0.9994 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0751 0.3003 0.6007 0.8343 0.9511 0.9900 0.9987 0.9999 1.0000 1.0000 0.0563 0.2440 0.5256 0.7759 0.9219 0.9803 0.9965 0.9996 1.0000 1.0000 1.0000 0.0422 0.1971 0.4552 0.7133 0.8854 0.9657 0.9924 0.9988 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 0.0317 0.1584 0.3907 0.6488 0.8424 0.9456 0.9857 0.9972 0.9996 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0404 0.1960 0.4628 0.7297 0.9012 0.9747 0.9957 0.9996 1.0000 1.0000 0.0282 0.1493 0.3828 0.6496 0.8497 0.9527 0.9894 0.9984 0.9999 1.0000 1.0000 0.0198 0.1130 0.3127 0.5696 0.7897 0.9218 0.9784 0.9957 0.9994 1.0000 1.0000 1.0000 0.0138 0.0850 0.2528 0.4925 0.7237 0.8822 0.9614 0.9905 0.9983 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000
0.0207 0.1211 0.3373 0.6089 0.8283 0.9464 0.9888 0.9986 0.9999 1.0000 0.0135 0.0860 0.2616 0.5138 0.7515 0.9051 0.9740 0.9952 0.9995 1.0000 1.0000 0.0088 0.0606 0.2001 0.4256 0.6683 0.8513 0.9499 0.9878 0.9980 0.9998 1.0000 1.0000 0.0057 0.0424 0.1513 0.3467 0.5833 0.7873 0.9154 0.9745 0.9944 0.9992 0.9999 1.0000 1.0000
0.0101 0.0705 0.2318 0.4826 0.7334 0.9006 0.9750 0.9962 0.9997 1.0000 0.0060 0.0464 0.1673 0.3823 0.6331 0.8338 0.9452 0.9877 0.9983 0.9999 1.0000 0.0036 0.0302 0.1189 0.2963 0.5328 0.7535 0.9006 0.9707 0.9941 0.9993 1.0000 1.0000 0.0022 0.0196 0.0834 0.2253 0.4382 0.6652 0.8418 0.9427 0.9847 0.9972 0.9997 1.0000 1.0000
0.0046 0.0385 0.1495 0.3614 0.6214 0.8342 0.9502 0.9909 0.9992 1.0000 0.0025 0.0233 0.0996 0.2660 0.5044 0.7384 0.8980 0.9726 0.9955 0.9997 1.0000 0.0014 0.0139 0.0652 0.1911 0.3971 0.6331 0.8262 0.9390 0.9852 0.9978 0.9998 1.0000 0.0008 0.0083 0.0421 0.1345 0.3044 0.5269 0.7393 0.8883 0.9644 0.9921 0.9989 0.9999 1.0000
0.0020 0.0195 0.0898 0.2539 0.5000 0.7461 0.9102 0.9805 0.9980 1.0000 0.0010 0.0107 0.0547 0.1719 0.3770 0.6230 0.8281 0.9453 0.9893 0.9990 1.0000 0.0005 0.0059 0.0327 0.1133 0.2744 0.5000 0.7256 0.8867 0.9673 0.9941 0.9995 1.0000 0.0002 0.0032 0.0193 0.0730 0.1938 0.3872 0.6128 0.8062 0.9270 0.9807 0.9968 0.9998 1.0000
10
11
12
352
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.3 (ตอ) ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบทวินาม p n
x
0.05
0.10
0.15
0.20
0.25
0.30
0.35
0.40
0.45
0.50
13
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
0.5133 0.8646 0.9755 0.9969 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.4877 0.8470 0.9699 0.9958 0.9996 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.4633 0.8290 0.9638 0.9945 0.9994 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.2542 0.6213 0.8661 0.9658 0.9935 0.9991 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.2288 0.5846 0.8416 0.9559 0.9908 0.9985 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.2059 0.5490 0.8159 0.9444 0.9873 0.9978 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.1209 0.3983 0.6920 0.8820 0.9658 0.9924 0.9987 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.1028 0.3567 0.6479 0.8535 0.9533 0.9885 0.9978 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0874 0.3186 0.6042 0.8227 0.9383 0.9832 0.9964 0.9994 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0550 0.2336 0.5017 0.7473 0.9009 0.9700 0.9930 0.9988 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0440 0.1979 0.4481 0.6982 0.8702 0.9561 0.9884 0.9976 0.9996 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0352 0.1671 0.3980 0.6482 0.8358 0.9389 0.9819 0.9958 0.9992 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0238 0.1267 0.3326 0.5843 0.7940 0.9198 0.9757 0.9944 0.9990 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0178 0.1010 0.2811 0.5213 0.7415 0.8883 0.9617 0.9897 0.9978 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0134 0.0802 0.2361 0.4613 0.6865 0.8516 0.9434 0.9827 0.9958 0.9992 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0097 0.0637 0.2025 0.4206 0.6543 0.8346 0.9376 0.9818 0.9960 0.9993 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 0.0068 0.0475 0.1608 0.3552 0.5842 0.7805 0.9067 0.9685 0.9917 0.9983 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0047 0.0353 0.1268 0.2969 0.5155 0.7216 0.8689 0.9500 0.9848 0.9963 0.9993 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0037 0.0296 0.1132 0.2783 0.5005 0.7159 0.8705 0.9538 0.9874 0.9975 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 0.0024 0.0205 0.0839 0.2205 0.4227 0.6405 0.8164 0.9247 0.9757 0.9940 0.9989 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 0.0016 0.0142 0.0617 0.1727 0.3519 0.5643 0.7548 0.8868 0.9578 0.9876 0.9972 0.9995 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000
0.0013 0.0126 0.0579 0.1686 0.3530 0.5744 0.7712 0.9023 0.9679 0.9922 0.9987 0.9999 1.0000 1.0000 0.0008 0.0081 0.0398 0.1243 0.2793 0.4859 0.6925 0.8499 0.9417 0.9825 0.9961 0.9994 0.9999 1.0000 1.0000 0.0005 0.0052 0.0271 0.0905 0.2173 0.4032 0.6098 0.7869 0.9050 0.9662 0.9907 0.9981 0.9987 1.0000 1.0000 1.0000
0.0004 0.0049 0.0269 0.0929 0.2279 0.4268 0.6437 0.8212 0.9302 0.9797 0.9959 0.9995 1.0000 1.0000 0.0002 0.0029 0.0170 0.0632 0.1672 0.3373 0.5461 0.7414 0.8811 0.9574 0.9886 0.9978 0.9997 1.0000 1.0000 0.0001 0.0017 0.0107 0.0424 0.1204 0.2608 0.4522 0.6535 0.8182 0.9231 0.9745 0.9937 0.9989 0.9999 1.0000 1.0000
0.0001 0.0017 0.0112 0.0461 0.1334 0.2905 0.5000 0.7095 0.8666 0.9539 0.9888 0.9983 0.9999 1.0000 0.0001 0.0009 0.0065 0.0287 0.0898 0.2120 0.3953 0.6047 0.7880 0.9102 0.9713 0.9935 0.9991 0.9999 1.0000 0.0000 0.0005 0.0037 0.0176 0.0592 0.1509 0.3036 0.5000 0.6964 0.8491 0.9408 0.9824 0.9963 0.9995 1.0000 1.0000
14
15
ภาคผนวก
353
ตารางที่ ก.3 (ตอ) ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบทวินาม n 16
20
x 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
0.05 0.4401 0.8108 0.9571 0.9930 0.9991 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.3585 0.7358 0.9245 0.9841 0.9974 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.10 0.1853 0.5147 0.7892 0.9316 0.9830 0.9967 0.9995 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.1216 0.3917 0.6769 0.8670 0.9568 0.9887 0.9976 0.9996 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.15 0.0743 0.2839 0.5614 0.7899 0.9209 0.9765 0.9944 0.9989 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0388 0.1756 0.4049 0.6477 0.8298 0.9327 0.9781 0.9941 0.9987 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.20 0.0281 0.1407 0.3518 0.5981 0.7982 0.9183 0.9733 0.9930 0.9985 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0115 0.0692 0.2061 0.4114 0.6296 0.8042 0.9133 0.9679 0.9900 0.9974 0.9994 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
p 0.25 0.0100 0.0635 0.1971 0.4050 0.6302 0.8103 0.9204 0.9729 0.9925 0.9984 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0032 0.0243 0.0913 0.2252 0.4148 0.6172 0.7858 0.8982 0.9591 0.9861 0.9961 0.9991 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.30 0.0033 0.0261 0.0994 0.2459 0.4499 0.6598 0.8247 0.9256 0.9743 0.9929 0.9984 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0008 0.0076 0.0355 0.1071 0.2375 0.4164 0.6080 0.7723 0.8867 0.9520 0.9829 0.9949 0.9987 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.35 0.0010 0.0098 0.0451 0.1339 0.2892 0.4900 0.6881 0.8406 0.9329 0.9771 0.9938 0.9987 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 0.0002 0.0021 0.0121 0.0444 0.1182 0.2454 0.4166 0.6010 0.7624 0.8782 0.9468 0.9804 0.9940 0.9985 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.40 0.0003 0.0033 0.0183 0.0651 0.1666 0.3288 0.5272 0.7161 0.8577 0.9417 0.9809 0.9951 0.9991 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 0.0000 0.0005 0.0036 0.0160 0.0510 0.1256 0.2500 0.4159 0.5956 0.7553 0.8725 0.9435 0.9790 0.9935 0.9984 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.45 0.0001 0.0010 0.0066 0.0281 0.0853 0.1976 0.3660 0.5629 0.7441 0.8759 0.9514 0.9851 0.9965 0.9994 0.9999 1.0000 1.0000 0.0000 0.0001 0.0009 0.0049 0.0189 0.0553 0.1299 0.2520 0.4143 0.5914 0.7507 0.8692 0.9420 0.9786 0.9936 0.9985 0.9997 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.50 0.0000 0.0003 0.0021 0.0106 0.0384 0.1051 0.2272 0.4018 0.5982 0.7728 0.8949 0.9616 0.9894 0.9979 0.9997 1.0000 1.0000 0.0000 0.0000 0.0002 0.0013 0.0059 0.0207 0.0577 0.1316 0.2517 0.4119 0.5881 0.7483 0.8684 0.9423 0.9793 0.9941 0.9987 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000
354
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.3 (ตอ) ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบทวินาม p n
x
0.05
0.10
0.15
0.20
0.25
0.30
0.35
0.40
0.45
0.50
25
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
0.2774 0.6424 0.8729 0.9659 0.9928 0.9988 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0718 0.2712 0.5371 0.7636 0.9020 0.9666 0.9905 0.9977 0.9995 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0172 0.0931 0.2537 0.4711 0.6821 0.8385 0.9305 0.9745 0.9920 0.9979 0.9995 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0038 0.0274 0.0982 0.2340 0.4207 0.6167 0.7800 0.8909 0.9532 0.9827 0.9944 0.9985 0.9996 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0008 0.0070 0.0321 0.0962 0.2137 0.3783 0.5611 0.7265 0.8506 0.9287 0.9703 0.9893 0.9966 0.9991 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0001 0.0016 0.0090 0.0332 0.0905 0.1935 0.3407 0.5118 0.6769 0.8106 0.9022 0.9558 0.9825 0.9940 0.9982 0.9995 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0000 0.0003 0.0021 0.0097 0.0320 0.0826 0.1734 0.3061 0.4668 0.6303 0.7712 0.8746 0.9396 0.9745 0.9907 0.9971 0.9992 0.9998 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0000 0.0001 0.0004 0.0024 0.0095 0.0294 0.0736 0.1536 0.2735 0.4246 0.5858 0.7323 0.8462 0.9222 0.9656 0.9868 0.9957 0.9988 0.9997 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0000 0.0000 0.0001 0.0005 0.0023 0.0086 0.0258 0.0639 0.1340 0.2424 0.3843 0.5426 0.6937 0.8173 0.9040 0.9560 0.9826 0.9942 0.9984 0.9996 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
0.0000 0.0000 0.0000 0.0001 0.0005 0.0020 0.0073 0.0216 0.0539 0.1148 0.2122 0.3450 0.5000 0.6550 0.7878 0.8852 0.9461 0.9784 0.9927 0.9980 0.9995 0.9999 1.0000 1.0000 1.0000 1.0000
ภาคผนวก
355
ตารางที่ ก.4 ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบปวสซอง x µk e –µ
P(X ≤ x) = Σ k=0
k!
µ
x 0 1 2 3 4 5 6
0.1 0.905 0.995 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
0.2 0.819 0.982 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000
0.3 0.741 0.963 0.996 1.000 1.000 1.000 1.000
0.4 0.670 0.938 0.992 0.999 1.000 1.000 1.000
0.5 0.607 0.910 0.986 0.998 1.000 1.000 1.000
0.6 0.549 0.878 0.977 0.997 1.000 1.000 1.000
0.7 0.497 0.844 0.966 0.994 0.999 1.000 1.000
0.8 0.449 0.809 0.953 0.991 0.999 1.000 1.000
0.9 0.407 0.772 0.937 0.987 0.998 1.000 1.000
1.0 0.368 0.736 0.920 0.981 0.996 0.999 1.000
x 0 1 2 3 4 5 6 7 8
1.1 0.333 0.699 0.900 0.974 0.995 0.999 1.000 1.000 1.000
1.2 0.301 0.663 0.879 0.966 0.992 0.998 1.000 1.000 1.000
1.3 0.273 0.627 0.857 0.957 0.989 0.998 1.000 1.000 1.000
1.4 0.247 0.592 0.833 0.946 0.986 0.997 0.999 1.000 1.000
1.5 0.223 0.558 0.809 0.934 0.981 0.996 0.999 1.000 1.000
1.6 0.202 0.525 0.783 0.921 0.976 0.994 0.999 1.000 1.000
1.7 0.183 0.493 0.757 0.907 0.970 0.992 0.998 1.000 1.000
1.8 0.165 0.463 0.731 0.891 0.964 0.990 0.997 0.999 1.000
1.9 0.150 0.434 0.704 0.875 0.956 0.987 0.997 0.999 1.000
2.0 0.135 0.406 0.677 0.857 0.947 0.983 0.995 0.999 1.000
x 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
2.2 0.111 0.355 0.623 0.819 0.928 0.975 0.993 0.998 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
2.4 0.091 0.308 0.570 0.779 0.904 0.964 0.988 0.997 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000
2.6 0.074 0.267 0.518 0.736 0.877 0.951 0.983 0.995 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000
2.8 0.061 0.231 0.469 0.692 0.848 0.935 0.976 0.992 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000
3.0 0.050 0.199 0.423 0.647 0.815 0.916 0.966 0.988 0.996 0.999 1.000 1.000 1.000
3.2 0.041 0.171 0.380 0.603 0.781 0.895 0.955 0.983 0.994 0.998 1.000 1.000 1.000
3.4 0.033 0.147 0.340 0.558 0.744 0.871 0.942 0.977 0.992 0.997 0.999 1.000 1.000
3.6 0.027 0.126 0.303 0.515 0.706 0.844 0.927 0.969 0.988 0.996 0.999 1.000 1.000
3.8 0.022 0.107 0.269 0.473 0.668 0.816 0.909 0.960 0.984 0.994 0.998 0.999 1.000
4.0 0.018 0.092 0.238 0.433 0.629 0.785 0.889 0.949 0.979 0.992 0.997 0.999 1.000
356
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.4 (ตอ) ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบปวสซอง µ
x 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
4.2 0.015 0.078 0.210 0.395 0.590 0.753 0.867 0.936 0.972 0.989 0.996 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
4.4 0.012 0.066 0.185 0.359 0.551 0.720 0.844 0.921 0.964 0.985 0.994 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000
4.6 0.010 0.056 0.163 0.326 0.513 0.686 0.818 0.905 0.955 0.980 0.992 0.997 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000
4.8 0.008 0.048 0.143 0.294 0.476 0.651 0.791 0.887 0.944 0.975 0.990 0.996 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000
5.0 0.007 0.040 0.125 0.265 0.440 0.616 0.762 0.867 0.932 0.968 0.986 0.995 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000
5.2 0.006 0.034 0.109 0.238 0.406 0.581 0.732 0.845 0.918 0.960 0.982 0.993 0.997 0.999 1.000 1.000 1.000
5.4 0.005 0.029 0.095 0.213 0.373 0.546 0.702 0.822 0.903 0.951 0.977 0.990 0.996 0.999 0.999 1.000 1.000
5.6 0.004 0.024 0.082 0.191 0.342 0.512 0.670 0.797 0.886 0.941 0.972 0.988 0.995 0.998 0.999 1.000 1.000
5.8 0.003 0.021 0.072 0.170 0.313 0.478 0.638 0.771 0.867 0.929 0.965 0.984 0.993 0.997 0.999 1.000 1.000
6.0 0.002 0.017 0.062 0.151 0.285 0.446 0.606 0.744 0.847 0.916 0.957 0.980 0.991 0.996 0.999 0.999 1.000
x 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23
6.5 0.002 0.011 0.043 0.112 0.224 0.369 0.527 0.673 0.792 0.877 0.933 0.966 0.984 0.993 0.997 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
7.0 0.001 0.007 0.030 0.082 0.173 0.301 0.450 0.599 0.729 0.830 0.901 0.947 0.973 0.987 0.994 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
7.5 0.001 0.005 0.020 0.059 0.132 0.241 0.378 0.525 0.662 0.776 0.862 0.921 0.957 0.978 0.990 0.995 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
8.0 0.000 0.003 0.014 0.042 0.100 0.191 0.313 0.453 0.593 0.717 0.816 0.888 0.936 0.966 0.983 0.992 0.996 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
8.5 0.000 0.002 0.009 0.030 0.074 0.150 0.256 0.386 0.523 0.653 0.763 0.849 0.909 0.949 0.973 0.986 0.993 0.997 0.999 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000
9.0 0.000 0.001 0.006 0.021 0.055 0.116 0.207 0.324 0.456 0.587 0.706 0.803 0.876 0.926 0.959 0.978 0.989 0.995 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000
9.5 0.000 0.001 0.004 0.015 0.040 0.089 0.165 0.269 0.392 0.522 0.645 0.752 0.836 0.898 0.940 0.967 0.982 0.991 0.996 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000
10.0 0.000 0.000 0.003 0.010 0.029 0.067 0.130 0.220 0.333 0.458 0.583 0.697 0.792 0.864 0.917 0.951 0.973 0.986 0.993 0.997 0.998 0.999 1.000 1.000
10.5 0.000 0.000 0.002 0.007 0.021 0.050 0.102 0.179 0.279 0.397 0.521 0.639 0.742 0.825 0.888 0.932 0.960 0.978 0.988 0.994 0.997 0.999 0.999 1.000
11.0 0.000 0.000 0.001 0.005 0.015 0.038 0.079 0.143 0.232 0.341 0.460 0.579 0.689 0.781 0.854 0.907 0.944 0.968 0.982 0.991 0.995 0.998 0.999 1.000
ภาคผนวก
357
ตารางที่ ก.4 (ตอ) ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบปวสซอง µ
x 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14
11.5 0.000 0.000 0.001 0.003 0.011 0.028 0.060 0.114 0.191 0.289 0.402 0.520 0.633 0.733 0.815
12.0 0.000 0.000 0.001 0.002 0.008 0.020 0.046 0.090 0.155 0.242 0.347 0.462 0.576 0.682 0.772
12.5 0.000 0.000 0.000 0.002 0.005 0.015 0.035 0.070 0.125 0.201 0.297 0.406 0.519 0.628 0.725
13.0 0.000 0.000 0.000 0.001 0.004 0.011 0.026 0.054 0.100 0.166 0.252 0.353 0.463 0.573 0.675
13.5 0.000 0.000 0.000 0.001 0.003 0.008 0.019 0.041 0.079 0.135 0.211 0.304 0.409 0.518 0.623
14.0 0.000 0.000 0.000 0.000 0.002 0.006 0.014 0.032 0.062 0.109 0.176 0.260 0.358 0.464 0.570
14.5 0.000 0.000 0.000 0.000 0.001 0.004 0.010 0.024 0.048 0.088 0.145 0.220 0.311 0.413 0.518
15.0 0.000 0.000 0.000 0.000 0.001 0.003 0.008 0.018 0.037 0.070 0.118 0.185 0.268 0.363 0.466
15.5 0.000 0.000 0.000 0.000 0.001 0.002 0.006 0.013 0.029 0.055 0.096 0.154 0.228 0.317 0.415
16.0 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.001 0.004 0.010 0.022 0.043 0.077 0.127 0.193 0.275 0.368
x 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35
11.5 0.878 0.924 0.954 0.974 0.986 0.992 0.996 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
12.0 0.844 0.899 0.937 0.963 0.979 0.988 0.994 0.997 0.999 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
12.5 0.806 0.869 0.916 0.948 0.969 0.983 0.991 0.995 0.998 0.999 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
13.0 0.764 0.835 0.890 0.930 0.957 0.975 0.986 0.992 0.996 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
13.5 0.718 0.798 0.861 0.908 0.942 0.965 0.980 0.989 0.994 0.997 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
14.0 0.669 0.756 0.827 0.883 0.923 0.952 0.971 0.983 0.991 0.995 0.997 0.999 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
14.5 0.619 0.711 0.790 0.853 0.901 0.936 0.960 0.976 0.986 0.992 0.996 0.998 0.999 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
15.0 0.568 0.664 0.749 0.819 0.875 0.917 0.947 0.967 0.981 0.989 0.994 0.997 0.998 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
15.5 0.517 0.615 0.705 0.782 0.846 0.894 0.930 0.956 0.973 0.984 0.991 0.995 0.997 0.999 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
16.0 0.467 0.566 0.659 0.742 0.812 0.868 0.911 0.942 0.963 0.978 0.987 0.993 0.996 0.998 0.999 0.999 1.000 1.000 1.000 1.000 1.000
358
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.5 ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน Φ(z) =
z
P(Z ≤ z) = ∫ –
∞
1 e– 12 u2 du 2π
Φ(z)
z z –3.9 –3.8 –3.7 –3.6 –3.5 –3.4 –3.3 –3.2 –3.1 –3.0 –2.9 –2.8 –2.7 –2.6 –2.5 –2.4 –2.3 –2.2 –2.1 –2.0 –1.9 –1.8 –1.7 –1.6 –1.5 –1.4 –1.3 –1.2 –1.1 –1.0 –0.9 –0.8 –0.7 –0.6 –0.5 –0.4 –0.3 –0.2 –0.1 –0.0
0.09 0.0000 0.0001 0.0001 0.0001 0.0002 0.0002 0.0003 0.0005 0.0007 0.0010 0.0014 0.0019 0.0026 0.0036 0.0048 0.0064 0.0084 0.0110 0.0143 0.0183 0.0233 0.0294 0.0367 0.0455 0.0559 0.0681 0.0823 0.0985 0.1170 0.1379 0.1611 0.1867 0.2148 0.2451 0.2776 0.3121 0.3483 0.3859 0.4247 0.4641
0.08 0.0000 0.0001 0.0001 0.0001 0.0002 0.0003 0.0004 0.0005 0.0007 0.0010 0.0014 0.0020 0.0027 0.0037 0.0049 0.0066 0.0087 0.0113 0.0146 0.0188 0.0239 0.0301 0.0375 0.0465 0.0571 0.0694 0.0838 0.1003 0.1190 0.1401 0.1635 0.1894 0.2177 0.2483 0.2810 0.3156 0.3520 0.3897 0.4286 0.4681
0.07 0.0000 0.0001 0.0001 0.0001 0.0002 0.0003 0.0004 0.0005 0.0008 0.0011 0.0015 0.0021 0.0028 0.0038 0.0051 0.0068 0.0089 0.0116 0.0150 0.0192 0.0244 0.0307 0.0384 0.0475 0.0582 0.0708 0.0853 0.1020 0.1210 0.1423 0.1660 0.1922 0.2206 0.2514 0.2843 0.3192 0.3557 0.3936 0.4325 0.4721
0.06 0.0000 0.0001 0.0001 0.0001 0.0002 0.0003 0.0004 0.0006 0.0008 0.0011 0.0015 0.0021 0.0029 0.0039 0.0052 0.0069 0.0091 0.0119 0.0154 0.0197 0.0250 0.0314 0.0392 0.0485 0.0594 0.0721 0.0869 0.1038 0.1230 0.1446 0.1685 0.1949 0.2236 0.2546 0.2877 0.3228 0.3594 0.3974 0.4364 0.4761
0 0.05 0.0000 0.0001 0.0001 0.0001 0.0002 0.0003 0.0004 0.0006 0.0008 0.0011 0.0016 0.0022 0.0030 0.0040 0.0054 0.0071 0.0094 0.0122 0.0158 0.0202 0.0256 0.0322 0.0401 0.0495 0.0606 0.0735 0.0885 0.1056 0.1251 0.1469 0.1711 0.1977 0.2266 0.2578 0.2912 0.3264 0.3632 0.4013 0.4404 0.4801
0.04 0.0000 0.0001 0.0001 0.0001 0.0002 0.0003 0.0004 0.0006 0.0008 0.0012 0.0016 0.0023 0.0031 0.0041 0.0055 0.0073 0.0096 0.0125 0.0162 0.0207 0.0262 0.0329 0.0409 0.0505 0.0618 0.0749 0.0901 0.1075 0.1271 0.1492 0.1736 0.2005 0.2296 0.2611 0.2946 0.3300 0.3669 0.4052 0.4443 0.4840
0.03 0.0000 0.0001 0.0001 0.0001 0.0002 0.0003 0.0004 0.0006 0.0009 0.0012 0.0017 0.0023 0.0032 0.0043 0.0057 0.0075 0.0099 0.0129 0.0166 0.0212 0.0268 0.0336 0.0418 0.0516 0.0630 0.0764 0.0918 0.1093 0.1292 0.1515 0.1762 0.2033 0.2327 0.2643 0.2981 0.3336 0.3707 0.4090 0.4483 0.4880
0.02 0.0000 0.0001 0.0001 0.0001 0.0002 0.0003 0.0005 0.0006 0.0009 0.0013 0.0018 0.0024 0.0033 0.0044 0.0059 0.0078 0.0102 0.0132 0.0170 0.0217 0.0274 0.0344 0.0427 0.0526 0.0643 0.0778 0.0934 0.1112 0.1314 0.1539 0.1788 0.2061 0.2358 0.2676 0.3015 0.3372 0.3745 0.4129 0.4522 0.4920
0.01 0.0000 0.0001 0.0001 0.0002 0.0002 0.0003 0.0005 0.0007 0.0009 0.0013 0.0018 0.0025 0.0034 0.0045 0.0060 0.0080 0.0104 0.0136 0.0174 0.0222 0.0281 0.0351 0.0436 0.0537 0.0655 0.0793 0.0951 0.1131 0.1335 0.1562 0.1814 0.2090 0.2389 0.2709 0.3050 0.3409 0.3783 0.4168 0.4562 0.4960
0.00 0.0000 0.0001 0.0001 0.0002 0.0002 0.0003 0.0005 0.0007 0.0010 0.0013 0.0019 0.0026 0.0035 0.0047 0.0062 0.0082 0.0107 0.0139 0.0179 0.0228 0.0287 0.0359 0.0446 0.0548 0.0668 0.0808 0.0968 0.1151 0.1357 0.1587 0.1841 0.2119 0.2420 0.2743 0.3085 0.3446 0.3821 0.4207 0.4602 0.5000
ภาคผนวก
359
ตารางที่ ก.5 (ตอ) ความนาจะเปนสะสมของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน Φ(z) =
P(Z ≤ z) = ∫
z –∞
1 e– 12 u2 du 2π Φ(z)
0 Z 0.0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6 0.7 0.8 0.9 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 1.9 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 2.9 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 3.9
0.00 0.5000 0.5398 0.5793 0.6179 0.6554 0.6915 0.7257 0.7580 0.7881 0.8159 0.8413 0.8643 0.8849 0.9032 0.9192 0.9332 0.9452 0.9554 0.9641 0.9713 0.9772 0.9821 0.9861 0.9893 0.9918 0.9938 0.9953 0.9965 0.9974 0.9981 0.9987 0.9990 0.9993 0.9995 0.9997 0.9998 0.9998 0.9999 0.9999 1.0000
0.01 0.5040 0.5438 0.5832 0.6217 0.6591 0.6950 0.7291 0.7611 0.7910 0.8186 0.8438 0.8665 0.8869 0.9049 0.9207 0.9345 0.9463 0.9564 0.9649 0.9719 0.9778 0.9826 0.9864 0.9896 0.9920 0.9940 0.9955 0.9966 0.9975 0.9982 0.9987 0.9991 0.9993 0.9995 0.9997 0.9998 0.9998 0.9999 0.9999 1.0000
0.02 0.5080 0.5478 0.5871 0.6255 0.6628 0.6985 0.7324 0.7642 0.7939 0.8212 0.8461 0.8686 0.8888 0.9066 0.9222 0.9357 0.9474 0.9573 0.9656 0.9726 0.9783 0.9830 0.9868 0.9898 0.9922 0.9941 0.9956 0.9967 0.9976 0.9982 0.9987 0.9991 0.9994 0.9995 0.9997 0.9998 0.9999 0.9999 0.9999 1.0000
0.03 0.5120 0.5517 0.5910 0.6293 0.6664 0.7019 0.7357 0.7673 0.7967 0.8238 0.8485 0.8708 0.8907 0.9082 0.9236 0.9370 0.9484 0.9582 0.9664 0.9732 0.9788 0.9834 0.9871 0.9901 0.9925 0.9943 0.9957 0.9968 0.9977 0.9983 0.9988 0.9991 0.9994 0.9996 0.9997 0.9998 0.9999 0.9999 0.9999 1.0000
0.04 0.5160 0.5557 0.5948 0.6331 0.6700 0.7054 0.7389 0.7704 0.7995 0.8264 0.8508 0.8729 0.8925 0.9099 0.9251 0.9382 0.9495 0.9591 0.9671 0.9738 0.9793 0.9838 0.9875 0.9904 0.9927 0.9945 0.9959 0.9969 0.9977 0.9984 0.9988 0.9992 0.9994 0.9996 0.9997 0.9998 0.9999 0.9999 0.9999 1.0000
z 0.05 0.5199 0.5596 0.5987 0.6368 0.6736 0.7088 0.7422 0.7734 0.8023 0.8289 0.8531 0.8749 0.8944 0.9115 0.9265 0.9394 0.9505 0.9599 0.9678 0.9744 0.9798 0.9842 0.9878 0.9906 0.9929 0.9946 0.9960 0.9970 0.9978 0.9984 0.9989 0.9992 0.9994 0.9996 0.9997 0.9998 0.9999 0.9999 0.9999 1.0000
0.06 0.5239 0.5636 0.6026 0.6406 0.6772 0.7123 0.7454 0.7764 0.8051 0.8315 0.8554 0.8770 0.8962 0.9131 0.9279 0.9406 0.9515 0.9608 0.9686 0.9750 0.9803 0.9846 0.9881 0.9909 0.9931 0.9948 0.9961 0.9971 0.9979 0.9985 0.9989 0.9992 0.9994 0.9996 0.9997 0.9998 0.9999 0.9999 0.9999 1.0000
0.07 0.5279 0.5675 0.6064 0.6443 0.6808 0.7157 0.7486 0.7794 0.8078 0.8340 0.8577 0.8790 0.8980 0.9147 0.9292 0.9418 0.9525 0.9616 0.9693 0.9756 0.9808 0.9850 0.9884 0.9911 0.9932 0.9949 0.9962 0.9972 0.9979 0.9985 0.9989 0.9992 0.9995 0.9996 0.9997 0.9998 0.9999 0.9999 0.9999 1.0000
0.08 0.5319 0.5714 0.6103 0.6480 0.6844 0.7190 0.7517 0.7823 0.8106 0.8365 0.8599 0.8810 0.8997 0.9162 0.9306 0.9429 0.9535 0.9625 0.9699 0.9761 0.9812 0.9854 0.9887 0.9913 0.9934 0.9951 0.9963 0.9973 0.9980 0.9986 0.9990 0.9993 0.9995 0.9996 0.9997 0.9998 0.9999 0.9999 0.9999 1.0000
0.09 0.5359 0.5753 0.6141 0.6517 0.6879 0.7224 0.7549 0.7852 0.8133 0.8389 0.8621 0.8830 0.9015 0.9177 0.9319 0.9441 0.9545 0.9633 0.9706 0.9767 0.9817 0.9857 0.9890 0.9916 0.9936 0.9952 0.9964 0.9974 0.9981 0.9986 0.9990 0.9993 0.9995 0.9997 0.9998 0.9998 0.9999 0.9999 0.9999 1.0000
360
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.6 คาของตัวแปรสุม χ2 ภายใตความนาจะเปน α ที่กําหนด
α χ2 , ν α
ν
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 40 50 60 70 80 90 100
α
0.995 0.00 + 0.01 0.07 0.21 0.41 0.68 0.99 1.34 1.73 2.16 2.60 3.07 3.57 4.07 4.60 5.14 5.70 6.26 6.84 7.43 8.03 8.64 9.26 9.89 10.52 11.16 11.81 12.46 13.12 13.79 20.71 27.99 35.53 43.28 51.17 59.20 67.33
0.990 0.00 + 0.02 0.11 0.30 0.55 0.87 1.24 1.65 2.09 2.56 3.05 3.57 4.11 4.66 5.23 5.81 6.41 7.01 7.63 8.26 8.90 9.54 10.20 10.86 11.52 12.20 12.88 13.57 14.26 14.95 22.16 29.71 37.48 45.44 53.54 61.75 70.06
0.975 0.00 + 0.05 0.22 0.48 0.83 1.24 1.69 2.18 2.70 3.25 3.82 4.40 5.01 5.63 6.27 6.91 7.56 8.23 8.91 9.59 10.28 10.98 11.69 12.40 13.12 13.84 14.57 15.31 16.05 16.79 24.43 32.36 40.48 48.76 57.15 65.65 74.22
0.950 0.00 + 0.10 0.35 0.71 1.15 1.64 2.17 2.73 3.33 3.94 4.57 5.23 5.89 6.57 7.26 7.96 8.67 9.39 10.12 10.85 11.59 12.34 13.09 13.85 14.61 15.38 16.15 16.93 17.71 18.49 26.51 34.76 43.19 51.74 60.39 69.13 77.93
ν คือ องศาอิสระ (Degrees of Freedom) = n – 1
0.900 0.02 0.21 0.58 1.06 1.61 2.20 2.83 3.49 4.17 4.87 5.58 6.30 7.04 7.79 8.55 9.31 10.09 10.87 11.65 12.44 13.24 14.04 14.85 15.66 16.47 17.29 18.11 18.94 19.77 20.60 29.05 37.69 46.46 55.33 64.28 73.29 82.36
0.500 0.45 1.39 2.37 3.36 4.35 5.35 6.35 7.34 8.34 9.34 10.34 11.34 12.34 13.34 14.34 15.34 16.34 17.34 18.34 19.34 20.34 21.34 22.34 23.34 24.34 25.34 26.34 27.34 28.34 29.34 39.34 49.33 59.33 69.33 79.33 89.33 99.33
0.100 2.71 4.61 6.25 7.78 9.24 10.65 12.02 13.36 14.68 15.99 17.28 18.55 19.81 21.06 22.31 23.54 24.77 25.99 27.20 28.41 29.62 30.81 32.01 33.20 34.28 35.56 36.74 37.92 39.09 40.26 51.81 63.17 74.40 85.53 96.58 107.57 118.50
0.050 3.84 5.99 7.81 9.49 11.07 12.59 14.07 15.51 16.92 18.31 19.68 21.03 22.36 23.68 25.00 26.30 27.59 28.87 30.14 31.41 32.67 33.92 35.17 36.42 37.65 38.89 40.11 41.34 42.56 43.77 55.76 67.50 79.08 90.53 101.88 113.14 124.34
0.025 5.02 7.38 9.35 11.14 12.83 14.45 16.01 17.53 19.02 20.48 21.92 23.34 24.74 26.12 27.49 28.85 30.19 31.53 32.85 34.17 35.48 36.78 38.08 39.36 40.65 41.92 43.19 44.46 45.72 46.98 59.34 71.42 83.30 95.02 106.63 118.14 129.56
0.010 6.63 9.21 11.34 13.28 15.09 16.81 18.48 20.09 21.67 23.21 24.72 26.22 27.69 29.14 30.58 32.00 33.41 34.81 36.19 37.57 38.93 40.29 41.64 42.98 44.31 45.64 46.96 48.28 49.59 50.89 63.69 76.15 88.38 100.42 112.33 124.12 135.81
0.005 7.88 10.60 12.84 14.86 16.75 18.55 20.28 21.96 23.59 25.19 26.76 28.30 29.82 31.32 32.80 34.27 35.72 37.16 38.58 40.00 41.40 42.80 44.18 45.56 46.93 48.29 49.65 50.99 52.34 53.67 66.77 79.49 91.95 104.22 116.32 128.30 140.17
ภาคผนวก
361
ตารางที่ ก.7 คาของตัวแปรสุม t ภายใตความนาจะเปน α ที่กําหนด α
0 α
tα,ν
0.40 0.25 0.10 0.05 0.025 0.01 0.005 0.0025 0.001 0.0005 1 0.325 1.000 3.078 6.314 12.706 31.821 63.657 127.320 318.310 636.620 2 0.289 0.816 1.886 2.920 4.303 6.965 9.925 14.089 23.326 31.598 3 0.277 0.765 1.638 2.353 3.182 4.541 5.841 7.453 10.213 12.924 4 0.271 0.741 1.533 2.132 2.776 3.747 4.604 5.598 7.173 8.610 5 0.267 0.727 1.476 2.015 2.571 3.365 4.032 4.773 5.893 6.869 6 0.265 0.718 1.440 1.943 2.447 3.143 3.707 4.317 5.208 5.959 7 0.263 0.711 1.415 1.895 2.365 2.998 3.499 4.029 4.785 5.408 8 0.262 0.706 1.397 1.860 2.306 2.896 3.355 3.833 4.501 5.041 9 0.261 0.703 1.383 1.833 2.262 2.821 3.250 3.690 4.297 4.781 10 0.260 0.700 1.372 1.812 2.228 2.764 3.169 3.581 4.144 4.587 11 0.260 0.697 1.363 1.796 2.201 2.718 3.106 3.497 4.025 4.437 12 0.259 0.695 1.356 1.782 2.179 2.681 3.055 3.428 3.930 4.318 13 0.259 0.694 1.350 1.771 2.160 2.650 3.012 3.372 3.852 4.221 14 0.258 0.692 1.345 1.761 2.145 2.624 2.977 3.326 3.787 4.140 15 0.258 0.691 1.341 1.753 2.131 2.602 2.947 3.286 3.733 4.073 16 0.258 0.690 1.337 1.746 2.120 2.583 2.921 3.252 3.686 4.015 17 0.257 0.689 1.333 1.740 2.110 2.567 2.898 3.222 3.646 3.965 18 0.257 0.688 1.330 1.734 2.101 2.552 2.878 3.197 3.610 3.922 19 0.257 0.688 1.328 1.729 2.093 2.539 2.861 3.174 3.579 3.883 20 0.257 0.687 1.325 1.725 2.086 2.528 2.845 3.153 3.552 3.850 21 0.257 0.686 1.323 1.721 2.080 2.518 2.831 3.135 3.527 3.819 22 0.256 0.686 1.321 1.717 2.074 2.508 2.819 3.119 3.505 3.792 23 0.256 0.685 1.319 1.714 2.069 2.500 2.807 3.104 3.485 3.767 24 0.256 0.685 1.318 1.711 2.064 2.492 2.797 3.091 3.467 3.745 25 0.256 0.684 1.316 1.708 2.060 2.485 2.787 3.078 3.450 3.725 26 0.256 0.684 1.315 1.706 2.056 2.479 2.779 3.067 3.435 3.707 27 0.256 0.684 1.314 1.703 2.052 2.473 2.771 3.057 3.421 3.690 28 0.256 0.683 1.313 1.701 2.048 2.467 2.763 3.047 3.408 3.674 29 0.256 0.683 1.311 1.699 2.045 2.462 2.756 3.038 3.396 3.659 30 0.256 0.683 1.310 1.697 2.042 2.457 2.750 3.030 3.385 3.646 40 0.255 0.681 1.303 1.684 2.021 2.423 2.704 2.971 3.307 3.551 60 0.254 0.679 1.296 1.671 2.000 2.390 2.660 2.915 3.232 3.460 120 0.254 0.677 1.289 1.658 1.980 2.358 2.617 2.860 3.160 3.373 ∞ 0.253 0.674 1.282 1.645 1.960 2.326 2.576 2.807 3.090 3.291 ν = องศาอิสระ (Degrees of Freedom) = n – 1 ν
362
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก. 8–1 คาของตัวแปรสุม F ภายใตความนาจะเปน α = 0.25
α
fα, ν1, ν2 ƒ0.25, ν1, ν2 องศาอิสระของตัวตั้ง (ν1)
ν1
องศาอิสระของตัวหาร (ν2)
ν2
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 40 60 120 ∞
1 5.83 2.57 2.02 1.81 1.69 1.62 1.57 1.54 1.51 1.49 1.47 1.46 1.45 1.44 1.43 1.42 1.42 1.41 1.41 1.40 1.40 1.40 1.39 1.39 1.39 1.38 1.38 1.38 1.38 1.38 1.36 1.35 1.34 1.32
2 7.50 3.00 2.28 2.00 1.85 1.76 1.70 1.66 1.62 1.60 1.58 1.56 1.55 1.53 1.52 1.51 1.51 1.50 1.49 1.49 1.48 1.48 1.47 1.47 1.47 1.46 1.46 1.46 1.45 1.45 1.44 1.42 1.40 1.39
3 8.20 3.15 2.36 2.05 1.88 1.78 1.72 1.67 1.63 1.60 1.58 1.56 1.55 1.53 1.52 1.51 1.50 1.49 1.49 1.48 1.48 1.47 1.47 1.46 1.46 1.45 1.45 1.45 1.45 1.44 1.42 1.41 1.39 1.37
4 8.58 3.23 2.39 2.06 1.89 1.79 1.72 1.66 1.63 1.59 1.57 1.55 1.53 1.52 1.51 1.50 1.49 1.48 1.47 1.47 1.46 1.45 1.45 1.44 1.44 1.44 1.43 1.43 1.43 1.42 1.40 1.38 1.37 1.35
5 8.82 3.28 2.41 2.07 1.89 1.79 1.71 1.66 1.62 1.59 1.56 1.54 1.52 1.51 1.49 1.48 1.47 1.46 1.46 1.45 1.44 1.44 1.43 1.43 1.42 1.42 1.42 1.41 1.41 1.41 1.39 1.37 1.35 1.33
6 8.98 3.31 2.42 2.08 1.89 1.78 1.71 1.65 1.61 1.58 1.55 1.53 1.51 1.50 1.48 1.47 1.46 1.45 1.44 1.44 1.43 1.42 1.42 1.41 1.41 1.41 1.40 1.40 1.40 1.39 1.37 1.35 1.33 1.31
7 9.10 3.34 2.43 2.08 1.89 1.78 1.70 1.64 1.60 1.57 1.54 1.52 1.50 1.49 1.47 1.46 1.45 1.44 1.43 1.43 1.42 1.41 1.41 1.40 1.40 1.39 1.39 1.39 1.38 1.38 1.36 1.33 1.31 1.29
8 9.19 3.35 2.44 2.08 1.89 1.78 1.70 1.64 1.60 1.56 1.53 1.51 1.49 1.48 1.46 1.45 1.44 1.43 1.42 1.42 1.41 1.40 1.40 1.39 1.39 1.38 1.38 1.38 1.37 1.37 1.35 1.32 1.30 1.28
9 9.26 3.37 2.44 2.08 1.89 1.77 1.70 1.63 1.59 1.56 1.53 1.51 1.49 1.47 1.46 1.44 1.43 1.42 1.41 1.41 1.40 1.39 1.39 1.38 1.38 1.37 1.37 1.37 1.36 1.36 1.34 1.31 1.29 1.27
10 9.32 3.38 2.44 2.08 1.89 1.77 1.69 1.63 1.59 1.55 1.52 1.50 1.48 1.46 1.45 1.44 1.43 1.42 1.41 1.40 1.39 1.39 1.38 1.38 1.37 1.37 1.36 1.36 1.35 1.35 1.33 1.30 1.28 1.25
12 9.41 3.39 2.45 2.08 1.89 1.77 1.68 1.62 1.58 1.54 1.51 1.49 1.47 1.45 1.44 1.43 1.41 1.40 1.40 1.39 1.38 1.37 1.37 1.36 1.36 1.35 1.35 1.34 1.34 1.34 1.31 1.29 1.26 1.24
15 9.49 3.41 2.46 2.08 1.89 1.76 1.68 1.62 1.57 1.53 1.50 1.48 1.46 1.44 1.43 1.41 1.40 1.39 1.38 1.37 1.37 1.36 1.35 1.35 1.34 1.34 1.33 1.33 1.32 1.32 1.30 1.27 1.24 1.22
20 9.58 3.43 2.46 2.08 1.88 1.76 1.67 1.61 1.56 1.52 1.49 1.47 1.45 1.43 1.41 1.40 1.39 1.38 1.37 1.36 1.35 1.34 1.34 1.33 1.33 1.32 1.32 1.31 1.31 1.30 1.28 1.25 1.22 1.19
24 9.63 3.43 2.46 2.08 1.88 1.75 1.67 1.60 1.56 1.52 1.49 1.46 1.44 1.42 1.41 1.39 1.38 1.37 1.36 1.35 1.34 1.33 1.33 1.32 1.32 1.31 1.31 1.30 1.30 1.29 1.26 1.24 1.21 1.18
30 9.67 3.44 2.47 2.08 1.88 1.75 1.66 1.60 1.55 1.51 1.48 1.45 1.43 1.41 1.40 1.38 1.37 1.36 1.35 1.34 1.33 1.32 1.32 1.31 1.31 1.30 1.30 1.29 1.29 1.28 1.25 1.22 1.19 1.16
40 9.71 3.45 2.47 2.08 1.88 1.75 1.66 1.59 1.54 1.51 1.47 1.45 1.42 1.41 1.39 1.37 1.36 1.35 1.34 1.33 1.32 1.31 1.31 1.30 1.29 1.29 1.28 1.28 1.27 1.27 1.24 1.21 1.18 1.14
60 120 9.76 9.80 3.46 3.47 2.47 2.47 2.08 2.08 1.87 1.87 1.74 1.74 1.65 1.65 1.59 1.58 1.54 1.53 1.50 1.49 1.47 1.46 1.44 1.43 1.42 1.41 1.40 1.39 1.38 1.37 1.36 1.35 1.35 1.34 1.34 1.33 1.33 1.32 1.32 1.31 1.31 1.30 1.30 1.29 1.30 1.28 1.29 1.28 1.28 1.27 1.28 1.26 1.27 1.26 1.27 1.25 1.26 1.25 1.26 1.24 1.22 1.21 1.19 1.17 1.16 1.13 1.12 1.08
∞
9.85 3.48 2.47 2.08 1.87 1.74 1.65 1.58 1.53 1.48 1.45 1.42 1.40 1.38 1.36 1.34 1.33 1.32 1.30 1.29 1.28 1.28 1.27 1.26 1.25 1.25 1.24 1.24 1.23 1.23 1.19 1.15 1.10 1.00
ภาคผนวก
363
ตารางที่ ก.8–2 คาของตัวแปรสุม F ภายใตความนาจะเปน α = 0.10 ƒ0.10, ν1, ν2 ν1 ν2
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 12 15 20 24 30 40 60 120 ∞ 39.86 49.50 53.59 55.83 57.24 58.20 58.91 59.44 59.86 60.19 60.71 61.22 61.74 62.00 62.26 62.53 62.79 63.06 63.33 8.53 9.00 9.16 9.24 9.29 9.33 9.35 9.37 9.38 9.39 9.41 9.42 9.44 9.45 9.46 9.47 9.47 9.48 9.49 5.54 5.46 5.39 5.34 5.31 5.28 5.27 5.25 5.24 5.23 5.22 5.20 5.18 5.18 5.17 5.16 5.15 5.14 5.13 4.54 4.32 4.19 4.11 4.05 4.01 3.98 3.95 3.94 3.92 3.90 3.87 3.84 3.83 3.82 3.80 3.79 3.78 3.76 4.06 3.78 3.62 3.52 3.45 3.40 3.37 3.34 3.32 3.30 3.27 3.24 3.21 3.19 3.17 3.16 3.14 3.12 3.10 3.78 3.46 3.29 3.18 3.11 3.05 3.01 2.98 2.96 2.94 2.90 2.87 2.84 2.82 2.80 2.78 2.76 2.74 2.72 3.59 3.26 3.07 2.96 2.88 2.83 2.78 2.75 2.72 2.70 2.67 2.63 2.59 2.58 2.56 2.54 2.51 2.49 2.47 3.46 3.11 2.92 2.81 2.73 2.67 2.62 2.59 2.56 2.54 2.50 2.46 2.42 2.40 2.38 2.36 2.34 2.32 2.29 3.36 3.01 2.81 2.69 2.61 2.55 2.51 2.47 2.44 2.42 2.38 2.34 2.30 2.28 2.25 2.23 2.21 2.18 2.16 3.29 2.92 2.73 2.61 2.52 2.46 2.41 2.38 2.35 2.32 2.28 2.24 2.20 2.18 2.16 2.13 2.11 2.08 2.06 3.23 2.86 2.66 2.54 2.45 2.39 2.34 2.30 2.27 2.25 2.21 2.17 2.12 2.10 2.08 2.05 2.03 2.00 1.97 3.18 2.81 2.61 2.48 2.39 2.33 2.28 2.24 2.21 2.19 2.15 2.10 2.06 2.04 2.01 1.99 1.96 1.93 1.90 3.14 2.76 2.56 2.43 2.35 2.28 2.23 2.20 2.16 2.14 2.10 2.05 2.01 1.98 1.96 1.93 1.90 1.88 1.85 3.10 2.73 2.52 2.39 2.31 2.24 2.19 2.15 2.12 2.10 2.05 2.01 1.96 1.94 1.91 1.89 1.86 1.83 1.80 3.07 2.70 2.49 2.36 2.27 2.21 2.16 2.12 2.09 2.06 2.02 1.97 1.92 1.90 1.87 1.85 1.82 1.79 1.76 3.05 2.67 2.46 2.33 2.24 2.18 2.13 2.09 2.06 2.03 1.99 1.94 1.89 1.87 1.84 1.81 1.78 1.75 1.72 3.03 2.64 2.44 2.31 2.22 2.15 2.10 2.06 2.03 2.00 1.96 1.91 1.86 1.84 1.81 1.78 1.75 1.72 1.69 3.01 2.62 2.42 2.29 2.20 2.13 2.08 2.04 2.00 1.98 1.93 1.89 1.84 1.81 1.78 1.75 1.72 1.69 1.66 2.99 2.61 2.40 2.27 2.18 2.11 2.06 2.02 1.98 1.96 1.91 1.86 1.81 1.79 1.76 1.73 1.70 1.67 1.63 2.97 2.59 2.38 2.25 2.16 2.09 2.04 2.00 1.96 1.94 1.89 1.84 1.79 1.77 1.74 1.71 1.68 1.64 1.61 2.96 2.57 2.36 2.23 2.14 2.08 2.02 1.98 1.95 1.92 1.87 1.83 1.78 1.75 1.72 1.69 1.66 1.62 1.59 2.95 2.56 2.35 2.22 2.13 2.06 2.01 1.97 1.93 1.90 1.86 1.81 1.76 1.73 1.70 1.67 1.64 1.60 1.57 2.94 2.55 2.34 2.21 2.11 2.05 1.99 1.95 1.92 1.89 1.84 1.80 1.74 1.72 1.69 1.66 1.62 1.59 1.55 2.93 2.54 2.33 2.19 2.10 2.04 1.98 1.94 1.91 1.88 1.83 1.78 1.73 1.70 1.67 1.64 1.61 1.57 1.53 2.92 2.53 2.32 2.18 2.09 2.02 1.97 1.93 1.89 1.87 1.82 1.77 1.72 1.69 1.66 1.63 1.59 1.56 1.52 2.91 2.52 2.31 2.17 2.08 2.01 1.96 1.92 1.88 1.86 1.81 1.76 1.71 1.68 1.65 1.61 1.58 1.54 1.50 2.90 2.51 2.30 2.17 2.07 2.00 1.95 1.91 1.87 1.85 1.80 1.75 1.70 1.67 1.64 1.60 1.57 1.53 1.49 2.89 2.50 2.29 2.16 2.06 2.00 1.94 1.90 1.87 1.84 1.79 1.74 1.69 1.66 1.63 1.59 1.56 1.52 1.48 2.89 2.50 2.28 2.15 2.06 1.99 1.93 1.89 1.86 1.83 1.78 1.73 1.68 1.65 1.62 1.58 1.55 1.51 1.47 2.88 2.49 2.28 2.14 2.03 1.98 1.93 1.88 1.85 1.82 1.77 1.72 1.67 1.64 1.61 1.57 1.54 1.50 1.46 2.84 2.44 2.23 2.09 2.00 1.93 1.87 1.83 1.79 1.76 1.71 1.66 1.61 1.57 1.54 1.51 1.47 1.42 1.38 2.79 2.39 2.18 2.04 1.95 1.87 1.82 1.77 1.74 1.71 1.66 1.60 1.54 1.51 1.48 1.44 1.40 1.35 1.29 2.75 2.35 2.13 1.99 1.90 1.82 1.77 1.72 1.68 1.65 1.60 1.55 1.48 1.45 1.41 1.37 1.32 1.26 1.19 ∞ 2.71 2.30 2.08 1.94 1.85 1.77 1.72 1.67 1.63 1.60 1.55 1.49 1.42 1.38 1.34 1.30 1.24 1.17 1.00
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 40 60 120
องศาอิสระของตัวหาร (ν2)
องศาอิสระของตัวตั้ง (ν1)
364
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.8–3 คาของตัวแปรสุม F ภายใตความนาจะเปน α = 0.05 ƒ0.05, ν1, ν2 ν1
องศาอิสระของตัวหาร (ν2)
ν2
องศาอิสระของตัวตั้ง (ν1)
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 12 15 20 24 30 40 60 120 ∞ 161.4 199.5 215.7 224.6 230.2 234.0 236.8 238.9 240.5 241.9 243.9 245.9 248.0 249.1 250.1 251.1 252.2 253.3 254.3 18.51 19.00 19.16 19.25 19.30 19.33 19.35 19.37 19.38 19.40 19.41 19.43 19.45 19.45 19.46 19.47 19.48 19.49 19.50 10.13 9.55 9.28 9.12 9.01 8.94 8.89 8.85 8.81 8.79 8.74 8.70 8.66 8.64 8.62 8.59 8.57 8.55 8.53 7.71 6.94 6.59 6.39 6.26 6.16 6.09 6.04 6.00 5.96 5.91 5.86 5.80 5.77 5.75 5.72 5.69 5.66 5.63 6.61 5.79 5.41 5.19 5.05 4.95 4.88 4.82 4.77 4.74 4.68 4.62 4.56 4.53 4.50 4.46 4.43 4.40 4.36 5.99 5.14 4.76 4.53 4.39 4.28 4.21 4.15 4.10 4.06 4.00 3.94 3.87 3.84 3.81 3.77 3.74 3.70 3.67 5.59 4.74 4.35 4.12 3.97 3.87 3.79 3.73 3.68 3.64 3.57 3.51 3.44 3.41 3.38 3.34 3.30 3.27 3.23 5.32 4.46 4.07 3.84 3.69 3.58 3.50 3.44 3.39 3.35 3.28 3.22 3.15 3.12 3.08 3.04 3.01 2.97 2.93 5.12 4.26 3.86 3.63 3.48 3.37 3.29 3.23 3.18 3.14 3.07 3.01 2.94 2.90 2.86 2.83 2.79 2.75 2.71 4.96 4.10 3.71 3.48 3.33 3.22 3.14 3.07 3.02 2.98 2.91 2.85 2.77 2.74 2.70 2.66 2.62 2.58 2.54 4.84 3.98 3.59 3.36 3.20 3.09 3.01 2.95 2.90 2.85 2.79 2.72 2.65 2.61 2.57 2.53 2.49 2.45 2.40 4.75 3.89 3.49 3.26 3.11 3.00 2.91 2.85 2.80 2.75 2.69 2.62 2.54 2.51 2.47 2.43 2.38 2.34 2.30 4.67 3.81 3.41 3.18 3.03 2.92 2.83 2.77 2.71 2.67 2.60 2.53 2.46 2.42 2.38 2.34 2.30 2.25 2.21 4.60 3.74 3.34 3.11 2.96 2.85 2.76 2.70 2.65 2.60 2.53 2.46 2.39 2.35 2.31 2.27 2.22 2.18 2.13 4.54 3.68 3.29 3.06 2.90 2.79 2.71 2.64 2.59 2.54 2.48 2.40 2.33 2.29 2.25 2.20 2.16 2.11 2.07 4.49 3.63 3.24 3.01 2.85 2.74 2.66 2.59 2.54 2.49 2.42 2.35 2.28 2.24 2.19 2.15 2.11 2.06 2.01 4.45 3.59 3.20 2.96 2.81 2.70 2.61 2.55 2.49 2.45 2.38 2.31 2.23 2.19 2.15 2.10 2.06 2.01 1.96 4.41 3.55 3.16 2.93 2.77 2.66 2.58 2.51 2.46 2.41 2.34 2.27 2.19 2.15 2.11 2.06 2.02 1.97 1.92 4.38 3.52 3.13 2.90 2.74 2.63 2.54 2.48 2.42 2.38 2.31 2.23 2.16 2.11 2.07 2.03 1.98 1.93 1.88 4.35 3.49 3.10 2.87 2.71 2.60 2.51 2.45 2.39 2.35 2.28 2.20 2.12 2.08 2.04 1.99 1.95 1.90 1.84 4.32 3.47 3.07 2.84 2.68 2.57 2.49 2.42 2.37 2.32 2.25 2.18 2.10 2.05 2.01 1.96 1.92 1.87 1.81 4.30 3.44 3.05 2.82 2.66 2.55 2.46 2.40 2.34 2.30 2.23 2.15 2.07 2.03 1.98 1.94 1.89 1.84 1.78 4.28 3.42 3.03 2.80 2.64 2.53 2.44 2.37 2.32 2.27 2.20 2.13 2.05 2.01 1.96 1.91 1.86 1.81 1.76 4.26 3.40 3.01 2.78 2.62 2.51 2.42 2.36 2.30 2.25 2.18 2.11 2.03 1.98 1.94 1.89 1.84 1.79 1.73 4.24 3.39 2.99 2.76 2.60 2.49 2.40 2.34 2.28 2.24 2.16 2.09 2.01 1.96 1.92 1.87 1.82 1.77 1.71 4.23 3.37 2.98 2.74 2.59 2.47 2.39 2.32 2.27 2.22 2.15 2.07 1.99 1.95 1.90 1.85 1.80 1.75 1.69 4.21 3.35 2.96 2.73 2.57 2.46 2.37 2.31 2.25 2.20 2.13 2.06 1.97 1.93 1.88 1.84 1.79 1.73 1.67 4.20 3.34 2.95 2.71 2.56 2.45 2.36 2.29 2.24 2.19 2.12 2.04 1.96 1.91 1.87 1.82 1.77 1.71 1.65 4.18 3.33 2.93 2.70 2.55 2.43 2.35 2.28 2.22 2.18 2.10 2.03 1.94 1.90 1.85 1.81 1.75 1.70 1.64 4.17 3.32 2.92 2.69 2.53 2.42 2.33 2.27 2.21 2.16 2.09 2.01 1.93 1.89 1.84 1.79 1.74 1.68 1.62 4.08 3.23 2.84 2.61 2.45 2.34 2.25 2.18 2.12 2.08 2.00 1.92 1.84 1.79 1.74 1.69 1.64 1.58 1.51 4.00 3.15 2.76 2.53 2.37 2.25 2.17 2.10 2.04 1.99 1.92 1.84 1.75 1.70 1.65 1.59 1.53 1.47 1.39 3.92 3.07 2.68 2.45 2.29 2.17 2.09 2.02 1.96 1.91 1.83 1.75 1.66 1.61 1.55 1.55 1.43 1.35 1.25 ∞ 3.84 3.00 2.60 2.37 2.21 2.10 2.01 1.94 1.88 1.83 1.75 1.67 1.57 1.52 1.46 1.39 1.32 1.22 1.00
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 40 60 120
ภาคผนวก
365
ตารางที่ ก.8–4 คาของตัวแปรสุม F ภายใตความนาจะเปน α = 0.025 ƒ0.025, ν1, ν2 ν1
องศาอิสระของตัวหาร (ν2)
ν2
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 40 60 120 ∞
องศาอิสระของตัวตั้ง (ν1) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 12 15 20 24 647.8 799.5 864.2 899.6 921.8 937.1 948.2 956.7 963.3 968.6 976.7 984.9 993.1 997.2 38.51 39.00 39.17 39.25 39.30 39.33 39.36 39.37 39.39 39.40 39.41 39.43 39.45 39.46 17.44 16.04 15.44 15.10 14.88 14.73 14.62 14.54 14.47 14.42 14.34 14.25 14.17 14.12 12.22 10.65 9.98 9.60 9.36 9.20 9.07 8.98 8.90 8.84 8.75 8.66 8.56 8.51 10.01 8.43 7.76 7.39 7.15 6.98 6.85 6.76 6.68 6.62 6.52 6.43 6.33 6.28 8.81 7.26 6.60 6.23 5.99 5.82 5.70 5.60 5.52 5.46 5.37 5.27 5.17 5.12 8.07 6.54 5.89 5.52 5.29 5.12 4.99 4.90 4.82 4.76 4.67 4.57 4.47 4.42 7.57 6.06 5.42 5.05 4.82 4.65 4.53 4.43 4.36 4.30 4.20 4.10 4.00 3.95 7.21 5.71 5.08 4.72 4.48 4.32 4.20 4.10 4.03 3.96 3.87 3.77 3.67 3.61 6.94 5.46 4.83 4.47 4.24 4.07 3.95 3.85 3.78 3.72 3.62 3.52 3.42 3.37 6.72 5.26 4.63 4.28 4.04 3.88 3.76 3.66 3.59 3.53 3.43 3.33 3.23 3.17 6.55 5.10 4.47 4.12 3.89 3.73 3.61 3.51 3.44 3.37 3.28 3.18 3.07 3.02 6.41 4.97 4.35 4.00 3.77 3.60 3.48 3.39 3.31 3.25 3.15 3.05 2.95 2.89 6.30 4.86 4.24 3.89 3.66 3.50 3.38 3.29 3.21 3.15 3.05 2.95 2.84 2.79 6.20 4.77 4.15 3.80 3.58 3.41 3.29 3.20 3.12 3.06 2.96 2.86 2.76 2.70 6.12 4.69 4.08 3.73 3.50 3.34 3.22 3.12 3.05 2.99 2.89 2.79 2.68 2.63 6.04 4.62 4.01 3.66 3.44 3.28 3.16 3.06 2.98 2.92 2.82 2.72 2.62 2.56 5.98 4.56 3.95 3.61 3.38 3.22 3.10 3.01 2.93 2.87 2.77 2.67 2.56 2.50 5.92 4.51 3.90 3.56 3.33 3.17 3.05 2.96 2.88 2.82 2.72 2.62 2.51 2.45 5.87 4.46 3.86 3.51 3.29 3.13 3.01 2.91 2.84 2.77 2.68 2.57 2.46 2.41 5.83 4.42 3.82 3.48 3.25 3.09 2.97 2.87 2.80 2.73 2.64 2.53 2.42 2.37 5.79 4.38 3.78 3.44 3.22 3.05 2.93 2.84 2.76 2.70 2.60 2.50 2.39 2.33 5.75 4.35 3.75 3.41 3.18 3.02 2.90 2.81 2.73 2.67 2.57 2.47 2.36 2.30 5.72 4.32 3.72 3.38 3.15 2.99 2.87 2.78 2.70 2.64 2.54 2.44 2.33 2.27 5.69 4.29 3.69 3.35 3.13 2.97 2.85 2.75 2.68 2.61 2.51 2.41 2.30 2.24 5.66 4.27 3.67 3.33 3.10 2.94 2.82 2.73 2.65 2.59 2.49 2.39 2.28 2.22 5.63 4.24 3.65 3.31 3.08 2.92 2.80 2.71 2.63 2.57 2.47 2.36 2.25 2.19 5.61 4.22 3.63 3.29 3.06 2.90 2.78 2.69 2.61 2.55 2.45 2.34 2.23 2.17 5.59 4.20 3.61 3.27 3.04 2.88 2.76 2.67 2.59 2.53 2.43 2.32 2.21 2.15 5.57 4.18 3.59 3.25 3.03 2.87 2.75 2.65 2.57 2.51 2.41 2.31 2.20 2.14 5.42 4.05 3.46 3.13 2.90 2.74 2.62 2.53 2.45 2.39 2.29 2.18 2.07 2.01 5.29 3.93 3.34 3.01 2.79 2.63 2.51 2.41 2.33 2.27 2.17 2.06 1.94 1.88 5.15 3.80 3.23 2.89 2.67 2.52 2.39 2.30 2.22 2.16 2.05 1.94 1.82 1.76 5.02 3.69 3.12 2.79 2.57 2.41 2.29 2.19 2.11 2.05 1.94 1.83 1.71 1.64
30 1001 39.46 14.08 8.46 6.23 5.07 4.36 3.89 3.56 3.31 3.12 2.96 2.84 2.73 2.64 2.57 2.50 2.44 2.39 2.35 2.31 2.27 2.24 2.21 2.18 2.16 2.13 2.11 2.09 2.07 1.94 1.82 1.69 1.57
40 1006 39.47 14.04 8.41 6.18 5.01 4.31 3.84 3.51 3.26 3.06 2.91 2.78 2.67 2.59 2.51 2.44 2.38 2.33 2.29 2.25 2.21 2.18 2.15 2.12 2.09 2.07 2.05 2.03 2.01 1.88 1.74 1.61 1.48
60 1010 39.48 13.99 8.36 6.12 4.96 4.25 3.78 3.45 3.20 3.00 2.85 2.72 2.61 2.52 2.45 2.38 2.32 2.27 2.22 2.18 2.14 2.11 2.08 2.05 2.03 2.00 1.98 1.96 1.94 1.80 1.67 1.53 1.39
120
1014 39.49 13.95 8.31 6.07 4.90 4.20 3.73 3.39 3.14 2.94 2.79 2.66 2.55 2.46 2.38 2.32 2.26 2.20 2.16 2.11 2.08 2.04 2.01 1.98 1.95 1.93 1.91 1.89 1.87 1.72 1.58 1.43 1.27
∞ 1018 39.50 13.90 8.26 6.02 4.85 4.14 3.67 3.33 3.08 2.88 2.72 2.60 2.49 2.40 2.32 2.25 2.19 2.13 2.09 2.04 2.00 1.97 1.94 1.91 1.88 1.85 1.83 1.81 1.79 1.64 1.48 1.31 1.00
366
สถิติวิศวกรรม
ตารางที่ ก.8–5 คาของตัวแปรสุม F ภายใตความนาจะเปน α = 0.01 ƒ0.01, ν1, ν2 องศาอิสระของตัวตั้ง (ν1)
ν1 ν2
1
องศาอิสระของตัวหาร (ν2)
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 40 60 120
4052 98.50 34.12 21.20 16.26 13.75 12.25 11.26 10.56 10.04 9.65 9.33 9.07 8.86 8.68 8.53 8.40 8.29 8.18 8.10 8.02 7.95 7.88 7.82 7.77 7.72 7.68 7.64 7.60 7.56 7.31 7.08 6.85 ∞ 6.63
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
15
20
24
30
40
60
120
∞
4999.5 99.00 30.82 18.00 13.27 10.92 9.55 8.65 8.02 7.56 7.21 6.93 6.70 6.51 6.36 6.23 6.11 6.01 5.93 5.85 5.78 5.72 5.66 5.61 5.57 5.53 5.49 5.45 5.42 5.39 5.18 4.98 4.79 4.61
5403 99.17 29.46 16.69 12.06 9.78 8.45 7.59 6.99 6.55 6.22 5.95 5.74 5.56 5.42 5.29 5.18 5.09 5.01 4.94 4.87 4.82 4.76 4.72 4.68 4.64 4.60 4.57 4.54 4.51 4.31 4.13 3.95 3.78
5625 99.25 28.71 15.98 11.39 9.15 7.85 7.01 6.42 5.99 5.67 5.41 5.21 5.04 4.89 4.77 4.67 4.58 4.50 4.43 4.37 4.31 4.26 4.22 4.18 4.14 4.11 4.07 4.04 4.02 3.83 3.65 3.48 3.32
5764 99.30 28.24 15.52 10.97 8.75 7.46 6.63 6.06 5.64 5.32 5.06 4.86 4.69 4.36 4.44 4.34 4.25 4.17 4.10 4.04 3.99 3.94 3.90 3.85 3.82 3.78 3.75 3.73 3.70 3.51 3.34 3.17 3.02
5859 99.33 27.91 15.21 10.67 8.47 7.19 6.37 5.80 5.39 5.07 4.82 4.62 4.46 4.32 4.20 4.10 4.01 3.94 3.87 3.81 3.76 3.71 3.67 3.63 3.59 3.56 3.53 3.50 3.47 3.29 3.12 2.96 2.80
5928 99.36 27.67 14.98 10.46 8.26 6.99 6.18 5.61 5.20 4.89 4.64 4.44 4.28 4.14 4.03 3.93 3.84 3.77 3.70 3.64 3.59 3.54 3.50 3.46 3.42 3.39 3.36 3.33 3.30 3.12 2.95 2.79 2.64
5982 99.37 27.49 14.80 10.29 8.10 6.84 6.03 5.47 5.06 4.74 4.50 4.30 4.14 4.00 3.89 3.79 3.71 3.63 3.56 3.51 3.45 3.41 3.36 3.32 3.29 3.26 3.23 3.20 3.17 2.99 2.82 2.66 2.51
6022 99.39 27.35 14.66 10.16 7.98 6.72 5.91 5.35 4.94 4.63 4.39 4.19 4.03 3.89 3.78 3.68 3.60 3.52 3.46 3.40 3.35 3.30 3.26 3.22 3.18 3.15 3.12 3.09 3.07 2.89 2.72 2.56 2.41
6056 99.40 27.23 14.55 10.05 7.87 6.62 5.81 5.26 4.85 4.54 4.30 4.10 3.94 3.80 3.69 3.59 3.51 3.43 3.37 3.31 3.26 3.21 3.17 3.13 3.09 3.06 3.03 3.00 2.98 2.80 2.63 2.47 2.32
6106 99.42 27.05 14.37 9.89 7.72 6.47 5.67 5.11 4.71 4.40 4.16 3.96 3.80 3.67 3.55 3.46 3.37 3.30 3.23 3.17 3.12 3.07 3.03 2.99 2.96 2.93 2.90 2.87 2.84 2.66 2.50 2.34 2.18
6157 99.43 26.87 14.20 9.72 7.56 6.31 5.52 4.96 4.56 4.25 4.01 3.82 3.66 3.52 3.41 3.31 3.23 3.15 3.09 3.03 2.98 2.93 2.89 2.85 2.81 2.78 2.75 2.73 2.70 2.52 2.35 2.19 2.04
6209 99.45 26.69 14.02 9.55 7.40 6.16 5.36 4.81 4.41 4.10 3.86 3.66 3.51 3.37 3.26 3.16 3.08 3.00 2.94 2.88 2.83 2.78 2.74 2.70 2.66 2.63 2.60 2.57 2.55 2.37 2.20 2.03 1.88
6235 99.46 26.00 13.93 9.47 7.31 6.07 5.28 4.73 4.33 4.02 3.78 3.59 3.43 3.29 3.18 3.08 3.00 2.92 2.86 2.80 2.75 2.70 2.66 2.62 2.58 2.55 2.52 2.49 2.47 2.29 2.12 1.95 1.79
6261 99.47 26.50 13.84 9.38 7.23 5.99 5.20 4.65 4.25 3.94 3.70 3.51 3.35 3.21 3.10 3.00 2.92 2.84 2.78 2.72 2.67 2.62 2.58 2.54 2.50 2.47 2.44 2.41 2.39 2.20 2.03 1.86 1.70
6287 99.47 26.41 13.75 9.29 7.14 5.91 5.12 4.57 4.17 3.86 3.62 3.43 3.27 3.13 3.02 2.92 2.84 2.76 2.69 2.64 2.58 2.54 2.49 2.45 2.42 2.38 2.35 2.33 2.30 2.11 1.94 1.76 1.59
6313 99.48 26.32 13.65 9.20 7.06 5.82 5.03 4.48 4.08 3.78 3.54 3.34 3.18 3.05 2.93 2.83 2.75 2.67 2.61 2.55 2.50 2.45 2.40 2.36 2.33 2.29 2.26 2.23 2.21 2.02 1.84 1.66 1.47
6339 99.49 26.22 13.56 9.11 6.97 5.74 4.95 4.40 4.00 3.69 3.45 3.25 3.09 2.96 2.84 2.75 2.66 2.58 2.52 2.46 2.40 2.35 2.31 2.27 2.23 2.20 2.17 2.14 2.11 1.92 1.73 1.53 1.32
6366 99.50 26.13 13.46 9.02 6.88 5.65 4.46 4.31 3.91 3.60 3.36 3.17 3.00 2.87 2.75 2.65 2.57 2.59 2.42 2.36 2.31 2.26 2.21 2.17 2.13 2.10 2.06 2.03 2.01 1.80 1.60 1.38 1.00
ภาคผนวก
367
ตารางที่ ก.9 ค่าของตัวแปรสุม q ภายใตความนาจะเปน α = 0.01 และ 0.05 α
องศาอิสระ ν
5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 24 30 40 60 120
∞
องศาอิสระ ν
5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 24 30 40 60 120
∞
2 5.70 5.24 4.95 4.74 4.60 4.48 4.39 4.32 4.26 4.21 4.17 4.13 4.10 4.07 4.05 4.02 3.96 3.89 3.82 3.76 3.70 3.64
3 6.97 6.33 5.92 5.63 5.43 5.27 5.14 5.04 4.96 4.89 4.83 4.78 4.74 4.70 4.67 4.64 4.54 4.45 4.37 4.28 4.20 4.12
4 7.80 7.03 6.54 6.20 5.96 5.77 5.62 5.50 5.40 5.32 5.25 5.19 5.14 5.09 5.05 5.02 4.91 4.80 4.70 4.60 4.50 4.40
5 8.42 7.56 7.01 6.63 6.35 6.14 5.97 5.84 5.73 5.63 5.56 5.49 5.43 5.38 5.33 5.29 5.17 5.05 4.93 4.82 4.71 4.60
6 8.91 7.97 7.37 6.96 6.66 6.43 6.25 6.10 5.98 5.88 5.80 5.72 5.66 5.60 5.55 5.51 5.37 5.24 5.11 4.99 4.87 4.76
7 9.32 8.32 7.68 7.24 6.91 6.67 6.48 6.32 6.19 6.08 5.99 5.92 5.85 5.79 5.73 5.69 5.54 5.40 5.27 5.13 5.01 4.88
8 9.67 8.61 7.94 7.47 7.13 6.87 6.67 6.51 6.37 6.26 6.16 6.08 6.01 5.94 5.89 5.84 5.69 5.54 5.39 5.25 5.12 4.99
9 9.97 8.87 8.17 7.68 7.32 7.05 6.84 6.67 6.53 6.41 6.31 6.22 6.15 6.08 6.02 5.97 5.81 5.65 5.50 5.36 5.21 5.08
= 0.01 a
10 10.20 9.10 8.37 7.87 7.49 7.21 6.99 6.81 6.67 6.54 6.44 6.35 6.27 6.20 6.14 6.09 5.92 5.76 5.60 5.45 5.30 5.16
11 10.50 9.30 8.55 8.03 7.65 7.36 7.13 6.94 6.79 6.66 6.55 6.46 6.38 6.31 6.25 6.19 6.02 5.85 5.69 5.53 5.38 5.23
12 10.70 9.49 8.71 8.18 7.78 7.48 7.25 7.06 6.90 6.77 6.66 6.56 6.48 6.41 6.34 6.29 6.11 5.93 5.77 5.60 5.44 5.29
13 10.90 9.65 8.86 8.31 7.91 7.60 7.36 7.17 7.01 6.87 6.76 6.66 6.57 6.50 6.43 6.37 6.19 6.01 5.84 5.67 5.51 5.35
14 11.10 9.81 9.00 8.44 8.03 7.71 7.46 7.26 7.10 6.96 6.84 6.74 6.66 6.58 6.51 6.45 6.26 6.08 5.90 5.73 5.56 5.40
15 11.20 9.95 9.12 8.55 8.13 7.81 7.56 7.36 7.19 7.05 6.93 6.82 6.73 6.65 6.58 6.52 6.33 6.14 5.96 5.79 5.61 5.45
16 11.40 10.10 9.24 8.66 8.23 7.91 7.65 7.44 7.27 7.12 7.00 6.90 6.80 6.72 6.65 6.59 6.39 6.20 6.02 5.84 5.66 5.49
17 11.60 10.20 9.35 8.76 8.32 7.99 7.73 7.52 7.34 7.20 7.07 6.97 6.87 6.79 6.72 6.65 6.45 6.26 6.07 5.89 5.71 5.54
18 11.70 10.30 9.46 8.85 8.41 8.07 7.81 7.59 7.42 7.27 7.14 7.03 6.94 6.85 6.78 6.71 6.51 6.31 6.12 5.93 5.75 5.57
19 11.80 10.40 9.55 8.94 8.49 8.15 7.88 7.66 7.48 7.33 7.20 7.09 7.00 6.91 6.84 6.76 6.56 6.36 6.17 5.98 5.79 5.61
20 11.90 10.50 9.65 9.03 8.57 8.22 7.95 7.73 7.55 7.39 7.26 7.15 7.05 6.96 6.89 6.82 6.61 6.41 6.21 6.02 5.83 5.65
11 7.17 6.65 6.30 6.05 5.87 5.72 5.61 5.51 5.43 5.36 5.31 5.26 5.21 5.17 5.14 5.11 5.01 4.92 4.82 4.73 4.64 4.55
12 7.32 6.79 6.43 6.18 5.98 5.83 5.71 5.61 5.53 5.46 5.40 5.35 5.31 5.27 5.23 5.20 5.10 5.00 4.90 4.81 4.71 4.62
13 7.47 6.92 6.55 6.29 6.09 5.93 5.81 5.71 5.63 5.55 5.49 5.44 5.39 5.35 5.31 5.26 5.16 5.08 4.98 4.88 4.78 4.68
14 7.60 7.03 6.66 6.39 6.19 6.03 5.90 5.80 5.71 5.64 5.57 5.52 5.47 5.43 5.39 5.36 5.25 5.15 5.04 4.94 4.84 4.74
15 7.72 7.14 6.76 6.48 6.28 6.11 5.98 5.88 5.79 5.71 5.65 5.59 5.54 5.50 5.46 5.43 5.32 5.21 5.11 5.00 4.90 4.80
16 7.83 7.24 6.85 6.57 6.36 6.19 6.06 5.95 5.86 5.79 5.72 5.66 5.61 5.57 5.53 4.49 5.38 5.27 5.16 5.06 4.95 4.85
17 7.93 7.34 6.94 6.65 6.44 6.27 6.13 6.02 5.93 5.85 5.78 5.73 5.67 5.63 5.59 5.55 5.44 5.33 5.22 5.11 5.00 4.89
18 8.03 7.43 7.02 6.73 6.51 6.34 6.20 6.09 5.99 5.91 5.85 5.79 5.73 5.69 5.65 5.61 5.49 5.38 5.27 5.15 5.04 4.93
19 8.12 7.51 7.10 6.80 6.58 6.40 6.27 6.15 6.05 5.97 5.90 5.84 5.79 5.74 5.70 5.66 5.55 5.43 5.31 5.20 5.09 4.97
20 8.21 7.59 7.17 6.87 6.64 6.47 6.33 6.21 6.11 6.03 5.96 5.90 5.84 5.79 5.75 5.71 5.59 5.47 5.36 5.24 5.13 5.01
α = 0.05
a
2 3.64 3.46 3.34 3.26 3.20 3.15 3.11 3.08 3.06 3.03 3.01 3.00 2.98 2.97 2.96 2.95 2.92 2.89 2.86 2.83 2.80 2.77
3 4.60 4.34 4.16 4.04 3.95 3.88 3.82 3.77 3.73 3.70 3.67 3.65 3.63 3.61 3.59 3.58 3.53 3.49 3.44 3.40 3.36 3.31
4 5.22 4.90 4.68 4.53 4.41 4.33 4.26 4.20 4.15 4.11 4.08 4.05 4.02 4.00 3.98 3.96 3.90 3.85 3.79 3.74 3.68 3.63
5 5.67 5.30 5.06 4.89 4.76 4.65 4.57 4.51 4.45 4.41 4.37 4.33 4.30 4.28 4.25 4.23 4.17 4.10 4.04 3.98 3.92 3.86
6 6.03 5.63 5.36 5.17 5.02 4.91 4.82 4.75 4.69 4.64 4.59 4.56 4.52 4.49 4.47 4.45 4.37 4.30 4.23 4.16 4.10 4.03
7 6.33 5.90 5.61 5.40 5.24 5.12 5.03 4.95 4.88 4.83 4.78 4.74 4.70 4.67 4.65 4.62 4.54 4.46 4.39 4.31 4.24 4.17
8 6.58 6.12 5.82 5.60 5.43 5.30 5.20 5.12 5.05 4.99 4.94 4.90 4.86 4.82 4.79 4.77 4.68 4.60 4.52 4.44 4.36 4.29
9 6.80 6.32 6.00 5.77 5.59 5.46 5.35 5.27 5.19 5.13 5.08 5.03 4.99 4.96 4.92 4.90 4.81 4.72 4.63 4.55 4.47 4.39
10 6.99 6.49 6.16 5.92 5.74 5.60 5.49 5.39 5.32 5.25 5.20 5.15 5.11 5.07 5.04 5.01 4.92 4.82 4.73 4.65 4.56 4.47
368
สถิติวิศวกรรม
บรรณานุกรม กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. 2543. สถิติสําหรับงานวิศวกรรม เลม 1 และเลม 2. สํานักพิมพ ส.ส.ท., กรุงเทพฯ. กัลยา วานิชยบัญชา. 2545. หลักสถิติ. โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. ธี ร ะศั ก ดิ์ อุ รั จ นานนท . 2546. ความน า จะเป น และสถิ ติ ป ระยุ ก ต เล ม 1 และเล ม 2. บริษัทสยามสปอรตซินดิเคท, กรุงเทพฯ. ดํารง ทิพยโยธา. 2544. ความนาจะเปนและสถิติ สรุปเนื้อหา โจทยแบบฝกหัดและเฉลย. โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. ทวีรัตนา ศิวดุลย. 2539. สถิติและความนาจะเปน. แมคกรอ-ฮิล, กรุงเทพฯ. ทองคํา คุมสิน. 2527. สถิติวิศวกรรมศาสตรและวิทยาศาสตร. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลา พระนครเหนือ, กรุงเทพฯ. มิ่งขวัญ เหรียญประยูร. 2542. ความนาจะเปนและสถิติ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลา ธนบุรี, กรุงเทพฯ. วีนสั พีชวณิชย. 2535. ทฤษฎีความนาจะเปนและการประยุกต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, กรุงเทพฯ. ศันสนีย สุภาภา. 2539. ความนาจะเปนและสถิติประยุกตสําหรับวิศวกร. สํานักพิมพฟสิกส เซ็นเตอร, กรุงเทพฯ.
ภาคผนวก
369
Brase, C. H. and C. P. Brase. 2000. Understanding Basic Statistics. 2nd ed. Houghton Mifflin Company, Illinois. Devore, J. and N. Farnum. 2005. Applied Statistics for Engineers and Scientists. 2nd ed. Thomson Brooks/Cole, California. Hayter, A. J. 2002. Probability and Statistics for Engineers and Scientists. Duxbury, California. Hines, W. W., D. C. Montgomery, D. M. Goldsman and C.M. Borror. 2003. Probability and Statistics in Engineering. 4th ed. John Wiley and Sons, New York. Hogg, R. V. and E. A. Tanis. 1997. Probability and Statistical Inference. 5th ed. PrinticeHall, New Jersey. Johnson, A. R. 2005. Probability and Statistics for Engineers. 7th ed. Pearson Prentice Hall, New Jersey. Kottegoda, N. T. and Rosso, R. 1997. Statistics, Probability, and Reliability for Civil and Environmental Engineers. McGraw-Hill, Singapore. Montgomery, D. C. and G. C. Runger. 2003. Applied Statistics and Probability for Engineers. 3rd ed. John Wiley and Sons, New York. Vardeman, S. B. and Jobe, J. M. 2001. Basic Engineering Data Collection and Analysis. Duxbury, California. Navidi, W. 2008. Statistics for Engineers and Scientists. 2nd ed. McGraw-Hill, Singapore. Ott, R. L. 1993. An Introduction to Statistical Methods and Data Analysis. 4th ed. Duxbury Press, California.